|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#1
|
||||
|
||||
โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เก็บขยะและตัดอวน อันดามันเหนือ เดือนกุมภาพันธ์ 2554
โครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ / ตรวจเยี่ยมหอยมือเสือ เก็บขยะ และตัดอวน ในทะเลอันดามัน เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ดำเนินงานร่วมโดย www.saveoursea.net กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ณ. อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ และ อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน ระหว่างวันที่ 9 – 14 กุมภาพันธ์ 2554 ที่มาของโครงการ www.SaveOurSea.net (SOS) ซึ่งสมาชิกเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งมีความรักในทะเลและมีความสนใจในการทำงานร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์น้ำต่างๆที่มีต่อระบบนิเวศทางทะเล จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และ ป่าชายเลน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ได้นำหอยมือเสือจำนวน 200 ตัวไปทดลองปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์เมื่อเดือนมกราคม 2549 และ ได้นำหอยมือเสือจำนวน 200 ตัว / 100 ตัว และ 100 ตัว ไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันเมื่อเดือนเมษายน 2550 / เดือนเมษายน 2551 และเดือนมกราคม 2552 ตามลำดับ และ เมื่อเดือนเมษายน 2551 ยังได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ นำพันธุ์ปลาเด็มเซล จำนวน 850 ตัว และเมื่อเดือนมกราคม 2553 ได้นำม้าน้ำ จำนวน 140 ตัว ไปปล่อยในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอีกด้วย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 จะเป็นช่วงที่สมาชิก SOS และเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ จะเดินทางไปดำน้ำเพื่อปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ตรวจ-เยี่ยมหอยมือเสือ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และตรวจ-เยี่ยมหอยมือเสือ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และร่วมกันทำกิจกรรมเสริมคือการเก็บขยะ และตัดอวน ในบริเวณจุดดำน้ำต่างๆของอุทยานทั้ง 2 แห่ง เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์แนวปะการังให้สะอาดและสวยงาม และเป็นที่น่ายินดีที่ www.SaveOurSea.net (SOS) ได้รับการอนุเคราะห์จาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ มอบพันธุ์สัตว์น้ำ ที่ได้รับการเพาะขยายพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ฯให้กับสมาชิก SOS จำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปปล่อยให้แพร่พันธุ์เพิ่มเติมในแนวปะการังของพื้นที่ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ได้กำหนดการดำเนินงานไว้ในระหว่างวันที่ 9 – 14 กุมภาพันธ์ 2554 ณ. บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และ หมู่เกาะสิมิลัน วัตถุประสงค์ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวของสมาชิก SOS มีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้คือ 1. หากการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงของคณะทำงานแห่งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ ได้รับผลสำเร็จด้วยดีก็จะเป็นการส่งเสริมให้สัตว์เหล่านั้นที่ปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลงมากในธรรมชาติเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ได้มีโอกาสแพร่ขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติที่เหมาะสม และจะเป็นตัวดึงดูดความสนใจของนักดำน้ำ โดยจะช่วยส่งเสริมให้บริเวณที่ปล่อยสัตว์น้ำต่างๆกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของนักดำน้ำทั้งแบบสกูบ้าและสนอร์เกิ้ล ในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลันและสุรินทร์ ได้อีกด้วย 2. เพื่อสำรวจตรวจเยี่ยมหอยมือเสือที่ได้นำไปปล่อยไว้ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เมื่อเดือนมกราคม 2549 และหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อเดือนเมษายน 2550 / เดือนเมษายน 2551 และเดือนมกราคม 2552 ซึ่งจะทำให้ทราบถึงอัตราการอยู่รอดและการเจริญเติบโตของหอยมือเสือดังกล่าว 3. เพื่อให้นักดำน้ำอาสาสมัครได้ร่วมกันเก็บขยะ และตัดซากอวนที่อยู่ใต้ท้องทะเล ซึ่งจะส่งผลให้ใต้ทะเลในบริเวณนั้นสะอาดและสวยงามยิ่งขึ้น 4. การปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นทั้ง จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกของ SOS ได้มีโอกาสบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม และช่วยปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์น้ำและธรรมชาติทางทะเลให้เกิดแก่มวลหมู่สมาชิกของ SOS รวมทั้งเพื่อให้สมาชิก SOS ได้มีโอกาสร่วมพบปะสังสรรค์อันจะเป็นการเพิ่มพูนความรักความสามัคคีในมวลหมู่สมาชิกได้อีกทางหนึ่ง ผู้ร่วมโครงการ 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กระบี่ กรมประมง เป็นผู้จัดพันธุ์สัตว์น้ำจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปปล่อย 2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้การสนับสนุนในการเข้าปฏิบัติงานในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และ หมู่เกาะสุรินทร์ จนเสร็จสิ้นโครงการ 3. สมาชิกอาสาสมัคร ของ SOS ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 ท่าน 4. เรือโชคศุลี สนับสนุนโครงการด้วยการคิดค่าเรือในราคาพิเศษ แผนการดำเนินงาน การดำเนินงานตามโครงการมีแผนการดำเนินงานดังนี้ วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 อาสาสมัครออกเดินทางจากภูมิลำเนาที่อาศัย ไปยังท่าเรือทับละมุ จังหวัดพังงา โดยรวมกลุ่มนัดหมายตกลงเรื่องการเดินทางกันเอง (ควรจะถึงภูเก็ตไม่เกิน 20.00 น. เพื่อให้เรือพร้อมออกเดินทางจากท่าเรือทับละมุได้ในเวลา 22.00 น.) อาสาสมัครที่เดินทางไปถึงก่อนช่วยกันขนพันธุ์สัตว์น้ำขึ้นเรือโชคศุลี วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 07.30 น.... ดำน้ำสำรวจตรวจหอยมือเสือที่เกาะสุรินทร์ 09.30 น......หลังอาหารเช้า ทยอยขึ้นเกาะสุรินทร์ 10.00 น. .....หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์หรือผู้แทนกล่าวต้อนรับ และมอบพันธุ์สัตว์น้ำ ให้สมาชิก SOS เป็นผู้นำไปปล่อย 11.00 น....ลำเลียงพันธุ์สัตว์น้ำ ลงทะเล และดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ บริเวณกองหินริเชลิว 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณกองหินริเชลิว 19.00 น....ดำน้ำกลางคืนบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์เพื่อสันทนาการ วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 08.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณเกาะตาชัย 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณเกาะบอน 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 19.00 น....ดำน้ำกลางคืนบริเวณหมู่เกาะสิมิลันเพื่อสันทนาการ วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 08.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 18.00 น....ดำน้ำช่วงพระอาทิตย์ตกบริเวณหมู่เกาะสิมิลันเพื่อสันทนาการ วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2554 07.30 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 11.00 น....ดำน้ำเก็บขยะและตัดอวนบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน 12.00 น....พักรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อน 15.00 น....ลงดำน้ำ เพื่อตรวจเช็คหอยมือเสือที่ เกาะ 5 หลังจากนั้นเรือแล่นกลับเข้าฝั่งที่ท่าเรือทับละมุ วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 08.30 น....ขึ้นจากเรือและแยกย้ายกันเดินทางกลับภูมิลำเนา หมายเหตุ : รายการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่จำต้องแจ้งล่วงหน้า คุณสมบัติอาสาสมัคร เฉพาะการดำน้ำ จะต้องเป็นสมาชิก SOS ที่จบการเรียนดำน้ำกับสถาบันสอนดำน้ำสากล ขั้น Advanced Scuba Diver และมีประสบการณ์การดำน้ำอย่างน้อย 25 dives หรือเคยร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำกับ SOS มาแล้ว ประมาณการค่าใช้จ่าย 1. สมาชิกที่อาสาสมัครไปร่วมปฏิบัติงานร่วมกันจ่ายค่าเรือ ค่าดำน้ำ 14 - 15 ไดฟ์ (ไม่รวมอุปกรณ์) ค่าอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และค่ารถตู้รับ-ส่ง สนามบิน – ท่าเรือ โดยกำหนดชำระเงินในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 และ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 ในราคาที่จะแจ้งเฉพาะผู้ที่จะไปเป็นการส่วนตัว 2. ผู้ร่วมโครงการจ่ายค่าเดินทางไป-กลับระหว่างภูมิลำเนา – สนามบินภูเก็ต อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 1. อุปกรณ์ดำน้ำครบชุด และถุงมือดำน้ำ (อาสาสมัครเป็นผู้จัดหาเอง) 2. ทุ่นหรือถุงลม (Air Sausages อาสาสมัครเป็นผู้จัดหาเอง) 3. เชือก และถุงขยะ(มีผู้จัดหาให้) 4. มีด หรือกรรไกรและถุงตาข่าย (อาสาสมัครเป็นผู้จัดหาเอง ยกเว้นสมาชิกที่ไปร่วมกิจกรรมเป็นครั้งแรกจะได้รับแจก 1 ชุด)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 27-02-2011 เมื่อ 12:11 |
|
|