เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #32  
เก่า 12-04-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้! ภัยจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์




จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.จนถึง 8 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว พบว่าอุทกภัยระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ทำให้หลายพื้นที่ใน 10 จังหวัดได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร พังงา นราธิวาส สตูล สงขลา และ กระบี่ มีประชาชนเดือดร้อน 6 แสนกว่าครัวเรือน หรือ 2 ล้านกว่าคน เสียชีวิตประมาณ 60 ราย

สาเหตุของพายุฝน-อุทกภัยร้ายแรงในภาคใต้หนนี้ นักวิชาการชี้ว่า นอกจากปรากฏ การณ์ 'ลานิญ่า-โลกร้อน' จะมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว การกระทำของมนุษย์เองก็มีส่วนทำให้ภัยน้ำท่วม-น้ำป่า-ดินถล่มภาคใต้รุนแรงกว่าปกติด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำลายป่าธรรมชาติ สร้างสิ่งกีด ขวางทางน้ำ ตัดถนน หรือใช้พื้นที่ผิด ประเภท!

นายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนว่า สืบเนื่องจากปรากฏการณ์ "เอลนิโญ่" เมื่อปลายปีพ.ศ.2552 ถึงต้นปีพ.ศ.2553 ทำให้เกิดภัยแล้งอย่างหนักในขณะนั้น

ต่อมาเดือนก.ค.2553 ก็เริ่มเข้าสู่ปรากฏการณ์ "ลานิญ่า" ในระยะแรกยังไม่เห็นผลกระทบมากนัก จนเมื่อเข้าสู่เดือนต.ค.เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมในภาคกลาง และภาคอีสาน

เมื่อเข้าสู่เดือนพ.ย.-ธ.ค.2553 ปรากฏการณ์ลานิญ่าทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคใต้ และส่งผลต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ขณะที่ภาคกลางหนาวเย็น ซึ่งการคาดการณ์ด้วยโมเดลพยากรณ์อากาศก่อนหน้านี้ปรากฏการณ์ลานิญ่า จะหมดลงในเดือนมี.ค.2554 แต่จากโมเดลล่าสุด ลานิญ่ามีผลต่อสภาพอากาศของประเทศไทยไปอีก 2 เดือน คือสิ้นสุดเดือนพ.ค.2554 หลังจากนั้นจะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลตามปกติ

นายธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า สภาพอากาศแปรปรวนเป็นผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นนั้น คิดว่าไม่เกี่ยวกัน เป็นเพียงการคาดการณ์ของแต่ละบุคคลมากกว่า



น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้! ภัยจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์



อย่างไรก็ตาม นับจากนี้ไปภัยพิบัติจะอยู่ใกล้ตัวมากขึ้น การเตรียมการแจ้งข้อมูลข่าวสารจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ขอให้ประชาชนติดตามคำแจ้งเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

ด้าน นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กลุ่มในภาคฐานทรัพยากร กล่าวว่า

จากการติดตามข่าวพบว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงสาเหตุเป็น 2 กระแส

กระแสหนึ่งบอกว่าเกิดจากมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนพัดเข้าสู่ประเทศไทย เหมือนมรสุมทั่วไป ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนัก

อีกกระแสบอกว่าเป็นผลกระทบจากสึนามิในญี่ปุ่น ทำให้กระแสน้ำอุ่นเปลี่ยนทิศ

แต่ถ้าดูข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาและคำบอกเล่าของคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป พบว่า อากาศไม่เคยเป็นอย่างนี้มาก่อน ที่ผ่านมาในช่วงเม.ย.-พ.ค.จะพบเพียงพายุฤดูร้อนในแถบ จ.เชียงราย แต่ขณะนี้กลับมาเกิดที่ภาคใต้

ทั้งหมดนี้น่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศของโลก (โลกร้อน) ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร

อย่างไรก็ตาม "สิ่งกีดขวางทางน้ำ" เช่น ถนน สะพาน ก็ทำให้สถานการณ์ในบางพื้นที่เลวร้ายยิ่งขึ้น

บางแห่งเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ลงทุน "ยกถนน" ให้สูงขึ้น แต่ไม่สนใจขยายความกว้างของสะพาน เพราะต้องการประหยัดงบฯ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ทั้งๆที่ถ้าคำนวณปริมาณน้ำในภาคใต้ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสั้นๆ น้ำน่าจะลดได้เองใน 1-2 วัน

แทนที่จะทุ่มงบฯ กับการยกระดับถนน น่าจะลงทุน "ขยายสะพาน" จะดีกว่า

ส่วนที่บางคนตกใจว่า ทำไมน้ำถึงท่วมสนามบิน ถ้าสังเกตจะเห็นว่า "สนามบินนครศรีธรรมราช" เป็น "หนองน้ำ" มาก่อน และบริเวณโดยรอบก็เป็นป่าเสม็ด รวมไปถึงบริเวณมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก็เป็นที่สาธารณะที่ชาวบ้านสงวนไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ไม่เหมาะแก่การทำการเกษตร

ส่วนกรณีศึกษาเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ทั้งน้ำท่วม น้ำป่า และดินถล่ม ในพื้นที่ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค.จนถึงช่วงต้นเดือนเม.ย. ที่ผ่านมานั้น พล.ต.ดร.นพรัตน์ เศรษฐกุล อาจารย์ประจำสำนักวิศวกรรมศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญปฐพีธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อธิบายเจาะลึกถึงสาเหตุว่า

พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเหมือนอยู่ในกระทะ โดยมีภูเขาล้อมรอบอยู่

ภูเขาเหล่านั้นเป็นหินแกรนิตและหินดินดานที่ผุแล้ว เนื่องจากพื้นที่ทางใต้จะมีฝนตกอยู่ตลอดเวลา และในบริเวณเทือกเขาหลวงมีความลาดชันสูง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเกิดฝนตกติดต่อกันและค่อนข้างหนัก ทำให้หินที่ผุพังที่อยู่ตามยอดเขาไม่สามารถที่จะอุ้มน้ำไว้ได้

จากนั้นเมื่อมีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก จึงค่อยๆกัดเซาะเศษหินที่ผุพังที่อยู่ข้างบนยอดเขาลงมาก่อน จนเกิดการรวมตัวของน้ำ เศษหิน เศษดิน และต้นไม้ต่างๆ จากยอดภูเขาที่ได้ล้อมรอบพื้นที่นั้นไหลรวมกัน จนทำให้กระแสน้ำไหลทะลักเข้าสู่หมู่บ้านในพื้นที่ ต.กรุงชิง อย่างรุนแรงและรวดเร็ว

ปัจจัยอีกประการที่ทำให้น้ำท่วมหนักใน อ.นบพิตำ พล.ต.ดร. นพรัตน์ ชี้ว่า

ปัจจุบันต้นไม้ป่าธรรมชาติค่อนข้างจะเหลือน้อย เพราะส่วนใหญ่คนที่อยู่บริเวณนั้นจะโค่นป่าเพื่อเอาพื้นที่ไปใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ต้นยางพารา และยังมีการใช้พื้นที่ในลำน้ำ ถมทางน้ำบ้าง ด้านข้างก็มีถนนยกระดับสูงขึ้นมา

ตามปกติแทนที่น้ำจะไหลตามธรรมชาติของมัน แต่การที่มีคนเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวก็ทำให้การไหลของน้ำเผชิญกับอุปสรรคกีดขวาง เกิดดินถล่ม ส่งผลให้หลายหมู่บ้านในพื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติ ทำให้สะพานขาด ชาวบ้านถูกตัดขาดจากพื้นที่รอบนอก

สําหรับแนวทางแก้ปัญหา พล.ต.ดร.นพรัตน์ ระบุว่า ปัญหาจากภัยธรรมชาติ เราไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า

แม้ตอนนี้จะมีหน่วยงานทางราชการที่เกี่ยวข้องนำ "กระบอกตวงน้ำฝน" มาวัดไว้ว่า ถ้าหากปริมาณน้ำฝนมีมากกว่า 100 มิลลิเมตรภายใน 3 วัน จะต้องรายงานให้ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติทราบ

แต่เนื่องจากชาวบ้านไม่ได้มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพื้นที่นั้นๆ วิธีที่จะช่วยได้ดี คือ เราต้องชี้แนะให้กับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านตามยอดเขา หรือหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณจุดเสี่ยง ให้ทราบว่าพื้นที่ที่อยู่อาศัยมีความเสี่ยงอย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น มีวิธีการป้องกันอย่างไร ด้วยการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพาชาวบ้านขึ้นไปสำรวจบนเขาว่า หินที่อยู่บนยอดเขาต่างๆ นั้นผุพังในระดับใดแล้ว เสี่ยงอันตรายหรือไม่

รวมทั้งให้ศึกษาถึงความลาดชันของภูเขา หรือการเก็บตัวอย่างของหินและดินด้วยการทดสอบว่าปริมาณน้ำเท่าใด ที่จะทำให้เกิดการไหลของดินและหินเหล่านั้น โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้เตือนตัวเองจะดีกว่าที่ต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลาง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องคอยเป็นผู้เตือนภัยให้ชาวบ้านทราบ บางทีอาจจะสายเกินกว่าที่ชาวบ้านจะรับมือได้

"ทุกคนต้องตระหนักแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงผันผวนของภูมิอากาศโลกเป็นสัญญาณเตือนที่จะต้องปรับตัวพร้อมรับกับสถานการณ์ กรณีที่เกิดขึ้นในนครศรีธรรมราชเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในขณะนี้ ได้เข้าไปหาชุมชนพบว่ายังไม่มีความรู้พื้นฐานลักษณะทางธรณีที่ชุมชนอาศัยอยู่เลย ยังยึดอยู่กับปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก เพียงแค่รู้ว่าเมื่อฝนตกมากต้องอพยพ ชุมชนควรรู้ในเรื่องธรณีวิทยาของพื้นที่ด้วย" พล.ต.ดร.นพรัตน์ กล่าว


"ลานิญ่า" เป็นคำดั้งเดิมจากภาษาสเปน มีความหมายว่า "เด็กผู้หญิง" จัดเป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับ "เอลนิโญ่" เกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

เมื่อเกิดลานิญ่า อุณหภูมิบนผิวน้ำทะเลมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกจะต่ำลงอย่างผิดปกติราว 3-5 องศาเซลเซียส ทำให้ความดันฝั่งตะวันตกต่ำกว่าความดันฝั่งตะวันออก เกิดลมพายุพัดเสริมลมสินค้าทิศตะวันออกพัดพาน้ำและอากาศที่หนาวเย็นไปยังทิศตะวันตก

ด้วยระดับน้ำทะเลซีกตะวันตกที่เพิ่มสูงกว่าสภาวะปกติ ประกอบกับลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่หอบน้ำฝนพัดผ่านมา ทำให้ "ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ซึ่งประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ด้วย ต้องเผชิญกับฝนตกหนัก น้ำท่วม และหน้าดินพังทลายอยู่บ่อยครั้ง

แต่ข้อดีของลานิญ่า คือ น้ำเย็นใต้มหาสมุทรจะยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวน้ำ ทำให้เกิดธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ฝูงปลาชุกชุม




จาก .................. ข่าวสด วันที่ 12 เมษายน 2544
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:14


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger