|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#1
|
||||
|
||||
ภาวะเนื้อเยื่อของปอดฉีกขาด จากการลดความกดบรรยากาศ และ ฟองอากาศอุดตันหลอดเลือดสมอง
ภาวะเนื้อเยื่อของปอดฉีกขาด จากการลดความกดบรรยากาศ และ ฟองอากาศอุดตันหลอดเลือดสมอง
โดยสุขภาพกับการดำน้ำ โดยหมอเอ๋เมื่อ 13 สิงหาคม 2011 เวลา 14:19 น. ชื่อแบบไม่แปลเป็นไทยของภาวะเนื้อเยื่อของปอดฉีกขาดก็คือ Lung over-inflation syndrome , Pulmonary barotrauma (PBT), Lung Burst ส่วน ฟองอากาศอุดตันหลอดเลือดสมอง นั้นมาจาก Cerebral Arterial Gas Embolism ( CABG ) ครับ ... ที่ต้องพูดถึงสองเรื่องนี้ด้วยกันเพราะ ... เค้ามักจะมาคู่กันเสมอ ... ถ้ามีอาการผิดปกติที่การหายใจ หายใจลำบาก จุกแน่น เจ็บเวลาหายใจ มีอาการเขียว ขาดอากาศ ต้องไปเช็ค อาการทางสมองด้วย และ ถ้ามีอาการทางสมอง ต้องระวังเรื่องการบาดเจ็บที่ปอดด้วยเสมอเช่นกัน ทุกครั้ง ... จะอธิบายกลไกการเกิดแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ก็ต้องอาศัยกฏของก็าซ ของบอยด์ คือ ... " ความกดบรรยากาศ ผกผันกับปริมาตรของก็าซ " ... ความดันสูง ปริมาตรลดลง ความดันลดลง ปริมาตร ขยายใหญ่ขึ้น ....... ถ้าจะมาเทียบกับการหายใจใต้น้ำ ตราบใดที่เรามีการหายใจเข้าออกปกติ ก็ จะไม่เป็นปัญหา ที่ต้องระวังเป็นพิเศษเรื่องการหายใจคือเมื่อมีการเปลี่ยนความลึกไปในที่ๆ ตื้นขึ้น ... หากเรา หายใจออกไม่ทันหรือไม่เพียงพอที่จะระบาย ปริมาตรของอากาศในปอดที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการลดความกดบรรยากาศ ก็จะนำไปสู่ การฉีกขาดของถุงลมในปอดได้ ... ยิ่งหากเป็นการ กลั้นหายใจในขณะ เปลี่ยนความลึกไปในที่ๆ ตื้นมากขึ้น หรือในขระขึ้นสู่ผิวน้ำ นอกจากถุงลมในปอดจะแตกแล้ว อาจทำให้เยื่อหุ้มปอดฉีกขาาดอันจะนำไปสู่ภาวะที่เลวร้ายกว่าคือ ภาวะลมรั่วในช่องอก หรือ Pneumothorax ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากเกิดในที่ๆ ห่างไกลความช่วยเหลือจากแพทย์และพยาบาล ........และเมื่อมีการฉีกขาดของถุงลมในปอด อาจมีการฉีกขาดของเส้นเลือดฝอยที่ห่อหุ้มถุงลมนั้นๆ เป็นเหตุให้ฟองอากาศไหลกลับเข้าหัวใจห้องซ้ายและ วิ่งไปสู่สมองได้ ...... โรคทั้งสองอย่างนี้ จึงมักจะมาคู่กันเสมอครับ ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงที่ ให้เกิด PBT แบ่งเป็นดังนี้ครับ ปัจจัยนำที่ทำให้เกิด PBT 1 การหายใจออกที่ไม่เพียงพอ หรือ ไม่เหมาะสม ในขณะขึ้นสู่ผิวน้ำหรือเปลี่ยนความลึกไปยังที่ตื้น 2 อาการตกใจแบบ Panic ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ 3 อุปรณ์ที่มีปัญหาขัดข้องระหว่างอยู่ใต้น้ำ 4 นักดำน้ำที่มีประสบการณ์ และ ความชำนาญน้อย เผลอเรอหรือลืมขั้นตอนขึ้นสู่ผิวน้ำที่ถูกวิธี ปัจจัยที่เร่งให้เกิด PBT การเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ หรือ ซ่อนอยู่ของนักดำน้ำ เช่น 1. asthma หรือ หอบหืด ที่ยังเป็นๆ หายๆ และจำเป็นต้องใช้ยาพ่นเพื่อรักษาอาการอยู่เสมอ 2. intrapulmonary fibrosis คือ การมีผังผืดที่ปอด ที่อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุเช่น เคยมีปอดติดเชื้อ , ปอดอักเสบ , วัณโรคปอด , หรือ เนื้อปอดบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือ การผ่าตัด 3. cysts , lung bleb คือถุงลมที่มีการพองตัวหรือก่อตัวแบบผิดปกติ แต่ไม่เคยมีอาการแสดงใดๆ อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกตินี้ อาจตรวจไม่พบด้วย X-Ray ในทาปกติทั่วไป และอาจจะต้องใช้ การตรวจพิเศษเช่น CT , MRI มาช่วย 4. infection คือการติดเชื้อที่ปอดในขณะนั้น เช่นหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ วัณโรคปอด จะทำให้มีสารคัดหลั่งและเสมหะ ออกมาอุดกั้นหลอดลมเล็กๆ เมื่อลดความกดบรรยากาศ อากาศที่โดนขังไว้ภายในไม่สามารถระบายปริมาตรที่เพิ่มขึ้นได้ จึงมีการแตกและฉีกขาดของเนื้อเยื่อปอด 5. pleural adhesions คือ การที่มีเนื้อปอดแฟบติดกันถาวร มักเป็นรอยแผลเป็น ที่เกิดตามหลัง การบาดเจ็บหรือติดเชื้อของเนื้อเยื่อของปอด ... เมื่อเกิด adhesions จะทำให้ความยืดหยุ่ยของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น เสียไปและฉีกขาดได้ง่ายเมื่อมีการขยายตัว 6. previous pneumothorax ภาวะลมรั่วในช่องอกที่ ไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุ เช่นจากแรงกระแทก , การถูกยิง, ถูกแทง ,การผ่าตัด ... โดยเฉพาะ การเกิด pneumothorax ที่อยู่เฉยๆ ก็เกิดเอง หรือที่เรียกว่า spontaneous pneumothorax เพราะมักจะเกิดจาก จากbleb ที่ซ่อนอยู่ และพบว่า คนที่เป็นแล้วจะเกิดซ้ำได้ 20-50% โดยที่ 90% จะเกิดที่ปอดข้างเดิม และหากเป็นครั้งที่สองแล้ว โอกาศจะเกิดครั้งที่สามก็จะสูงขึ้นเป็น 60-80% ดังนั้น หากนักดำน้ำ ที่เคยมีภาวะดังกล่าว การไปดำน้ำ จึงถือเป็นอันตราย ที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เราจะป้องกันโรคนี้ได้อย่างไรดี ก็คงต้อง เคร่งครัดต่อ พื้นฐานความปลอดภัยในการดำน้ำ ทุกๆประการ ... อาจต้องฝึกหัดเรื่อง การปรับแรงลอยตัวที่เหมาะสม การขึ้นสู่ผิวน้ำที่ไม่เร็วจนเกินไป การหายใจออกให้เพียงพอและไม่กลั้นหายใจขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ หรือเปลี่ยนความลึกไปยังที่ตื้นกว่าการดำน้ำแล้วเช็คอุปกรณ์ ก่อนและหลังการดำทุกครั้ง การตรวจเช็คอากาศใต้น้ำบ่อยๆ การดำน้ำที่ต้องมีระบบ บัดดี้ทุกครัง การควบคุมสติในการแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องใต้น้ำ ฯ ส่วนหากมีอาการเจ็บป่วยใดๆ ของระบบทางเดินหายใจ หรือ โรคปอดใดๆ ทั้งที่เคยเป็น กำลังเป็น หรือเพิ่งจะหาย ..... ก่อนไปดำน้ำควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ใต้น้ำก่อน ทำการดำน้ำ หรือ กลับไปทำการดำน้ำทุกครั้งครับ หวังว่าข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ จะมีประโยชน์ ในการระมัดระวังไม่ให้เกิด การบาดเจ็บของปอดจากการดำน้ำนะครับ
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 23-02-2024 เมื่อ 05:10 |
|
|