#20
|
||||
|
||||
ในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยถอยจมเลยต้องเอา “ปลากะพงมาเลี้ยงกุ้งฝอย” ..................... โดย สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ สัตว์น้ำที่จับได้โดยเรือประมงอวนลากมีหลากหลายชนิดแ ละขนาด จากสถิติปริมาณไม่ถึงร้อยละ 40 มีคุณภาพดีพอสำหรับการบริโภค ที่เหลือส่งขายโรงงานปลาป่น การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตร เพียงเล็กน้อย ทำให้ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งของประเทศมีความหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่ งของโลก ประกอบกับการมีชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกว่าสองพันกิโลเม ตร ทำให้เราได้เปรียบประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ ทั้งในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง ที่มีหลากหลายชนิดและมีปริมาณมากมายมหาศาล ตลอดจนความกว้างใหญ่ของอาณาเขตพื้นที่ทะเลให้ชาวประม งไทยได้ทำมาหากินกัน ด้วยลักษณะทางธรรมชาติของทะเลในเขตร้อน ทำให้องค์ประกอบชนิดของปลาในทะเลมีความหลากหลาย (Multi Species Composition) มากกว่าทะเลในเขตอบอุ่น ซึ่งมีองค์ประกอบชนิดของปลาที่มีความหลากหลายน้อยกว่ า (Single Specie Composition) ดังนั้น การทำประมงของไทยที่เป็นการทำประมงขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับส ัตว์น้ำ เช่น เครื่องมือประมงอวนลาก หรือการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เลือกจับช นิดสัตว์น้ำ เช่น อวนรุน โพงพาง เป็นต้น จะจับปลาได้หลากหลายชนิด และหลากหลายขนาดในการทำประมงแต่ละครั้ง ดังตัวอย่างงานวิจัยของกรมประมงที่ได้เสนอไว้ว่า องค์ประกอบของผลผลิตสัตว์น้ำอวนลากมีสัดส่วนของสัตว์ น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการ (targeted species) มีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ด (ไม่สามารถใช้บริโภค ใช้สำหรับผลิตอาหารสัตว์) ถึงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดทั้งหมด เป็นสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อ น (Chantawong, 1993) ซึ่งถ้าคำนวนร้อยละ 30 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่สูญเสียไปของผลผลิตสัต ว์น้ำของอวนลากทั้งหมดทั่วประเทศ จะเห็นว่าเป็นตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปอย่างมหาศาลในแต่ละปี ในอดีต การผลิตปลาป่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการประมง โดยจะใช้ของเหลือจากการทำประมง หรือที่เรียกว่า “ปลาเป็ด” ซึ่งประกอบด้วยปลาที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะไม่เป็นที่นิยมรับประทานกัน และ/หรือปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง แต่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น ลูกปลาอินทรี ปลาทู ปลาเก๋า ปลากระพง เป็นต้น ที่ติดมากับเครื่องมือประมงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต “ปลาป่น” เพื่อนำไปใช้เลี้ยงกุ้งในฟาร์มเป็นหลัก และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆรองลงไป แต่หลังจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมา ก และรวดเร็วในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้การผลิตปลาป่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมกา รผลิตอาหารสัตว์ของประเทศ ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิต และปริมาณความต้องการผลผลิตปลาป่นที่ชัดเจนขึ้น การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีข ีดจำกัด เพื่อเป็นอาหารของคนในประเทศ และเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ความต้องการปลาป่นมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อความต้องการผลผลิตปลาป่นมีปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งปรับเปลี่ยนพฤติก รรมการทำประมงให้ตอบสนองกับความต้องการนี้ ตัวอย่างเช่น ในประมาณปี พ.ศ.2545 ผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่า ในฤดูปิดอ่าวไทยในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ปลาทูวางไข่ และเจริญเติบโต มีเรือประมงอวนล้อมปั่นไฟขนาดใหญ่เข้ามาแอบลักลอบจับ ลูกปลาทูในเขตห้ามทำการประมง เพื่อนำไปขายให้แก่โรงงานปลาป่นด้วยราคาเพียง 5 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะนั้นราคาปลาขนาดปกติซื้อขายที่แพปลาราคา 17 บาทต่อกิโลกรัม) อวนล้อมแต่ละลำสามารถจับลูกปลาทูได้ประมาณ 10-20 ตันต่อคืน ทำให้ลูกปลาทูถูกจับอย่างมากมายมหาศาลในช่วงฤดูวางไข่ของแต่ละปี หรือตัวอย่างของการทำประมงอวนลาก ที่ทำประมงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการหยุดพัก เพราะถึงแม้ว่าการทำประมงในบางช่วงเวลาจะไม่สามารถจั บปลาเศรษฐกิจเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ แต่เรืออวนลากเหล่านี้ก็ยังสามารถจับปลาเป็ดขายให้แก่โรงงานปลาป่นได้ ลูกเรือประมงกำลังคัดเลือกสัตว์น้ำที่จับโดยเครื่องมือประมงอวนลาก ซึ่งใช้วิธีกวาดต้อนใต้ท้องทะเลมาก่อน แล้วค่อยคัดแยกที่หลัง ทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศท้องทะเล และตัดวงจรชีวิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญๆ อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมปลาป่นได้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำประมงอ ย่างเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ ทะเลไม่มีโอกาสฟื้นตัว และลูกปลาวัยอ่อนมีโอกาสถูกจับมากกว่าได้เจริญเติบโต เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ปลาเป็ดที่ขายให้แก่โรงงานปลาป่นมาจากการทำประมงขนาดใหญ่ ที่เน้นจับปลาในปริมาณมาก ไม่เลือกชนิดสัตว์น้ำ จับมาก่อน และค่อยคัดแยกทีหลัง ในขณะที่ผลผลิตที่มาจากเรือประมงขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ชนิด และขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำเป้าหมายดังที่ตั้งใจไว้ เช่น ถ้าจะจับปูม้าก็ใช้อวนลอยปู จับกุ้งก็จะใช้อวนลอยกุ้งสามชั้น จับหมึกหอมก็จะใช้ลอบหมึก หรือจับปลากระบอกก็จะใช้อวนลอยปลากระบอก เป็นต้น อาจจะมีสัตว์น้ำชนิดอื่นๆติดมาบ้าง ก็จะถูกนำมาเป็นอาหารสำหรับสมาชิกในครัวเรือน เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ปลาทะเลเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณต่อสุขภาพสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทไก่ หมู และเนื้อวัว แต่ปลาทะเลที่มีคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกลับถูกตัดวงจรชีวิต ถูกจับมาแปรรูปเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับสำนวนไทยที่ว่า “เอากุ้งฝอยมาตกปลากะพง” ซึ่งหมายถึงการเอาสิ่งใดใดที่มีมูลค่าต่ำมาแลกเปลี่ย น หรือมาทำให้เกิดสิ่งอื่นๆที่มีมูลค่าสูงกว่า เพราะเรากำลังเอา “ปลากะพงไปเลี้ยงกุ้งฝอย” ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ “ปลากะพง” นั้นไม่มีเจ้าของ เป็นสมบัติสาธารณะ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได ้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ “กุ้งฝอย” กลับเป็นของบริษัทผลิตปลาป่น และอาหารรายใหญ่ของประเทศ จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 8 มกราคม 2556
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|