เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #27  
เก่า 04-11-2013
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นเชิงลึกอย่างไรในเรื่องการเ ปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

รู้จริงกับภาวะโลกร้อน


นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นเชิงลึกอย่างไรในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ


By โดย คลอเดีย คอร์นวอลล์

.............................................................................................................

โลกของเราร้อนขึ้นจริงหรือ มนุษย์เป็นต้นเหตุใช่ไหม คำถามจากนักวิชาการซึ่งซุ่มเงียบนี้แพร่ออกไปสู่หนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือ และบล็อกต่างๆจนเป็นประเด็นร้อน แต่หากพิจารณาให้รอบคอบ จริงๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่าอย่างไร รีดเดอร์ส ไดเจสท์จึงตัดสินใจหาคำตอบ

หลายรายงานสรุปว่าร้อนขึ้นจริง ตั้งแต่ปี 2393 เป็นต้นมา เกิดปีที่ร้อนที่สุด 11 ครั้งในช่วงปี 2538 ถึง 2549 เมื่อปีก่อน คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ของสหประชาชาติ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี 2550 ร่วมกับอัล กอร์ รายงานว่า โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเมื่อปี 2393 ประมาณ 0.75 องศา แม้ตัวเลขจะดูไม่มาก แต่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างใหญ่หลวง โลกในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายมีอากาศเย็นกว่าปัจจุบันประมาณห้าองศาเท่านั้น

เนื่องจากอากาศอบอุ่นขึ้น สัตว์และพืชจึงขยายเขตการกระจายพันธุ์ไปสู่ขั้วโลกเพื่อค้นหาถิ่นอาศัยที่เย็นกว่า ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 นักวิจัยชาวอังกฤษพบปลาเขตร้อนที่ไม่เคยพบมาก่อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ เมื่อปี 2544 ชาวประมงจับปลาสากได้ในบริเวณนอกชายฝั่งคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งอยู่ไกลกว่าเขตการกระจายพันธุ์ปกติของปลาชนิดนี้มาก

ในปี 2548 องค์การศึกษาธารน้ำแข็งโลกซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ซูริกในสวิตเซอร์แลนด์แถลงว่า ธารน้ำแข็งในยุโรปลดปริมาตรลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยมีเมื่อปี 2393 เดือนมีนาคม 2550 นักวิจัยชาวรัสเซียรายงานการพบชั้นดินเยือกแข็งที่ไม่คงตัวในแถบไบคาล มองโกเลีย และจีน ในเดือนตุลาคม 2550 นักวิจัยชาวอังกฤษแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่อบอุ่นขึ้นเป็นสาเหตุให้โลกมีความชื้นเพิ่มขึ้นร้อยละ2.2 ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


โลกเคยร้อนเท่านี้ไหม

เคย แถมยังร้อนกว่านี้ด้วย เมื่อ 450,000 ถึง 800,000 ปีก่อน กรีนแลนด์เคยเป็นผืนป่า ดังนั้น อุณหภูมิต้องอบอุ่นกว่าปัจจุบันพอสมควร และยังมีช่วงเวลาอื่นๆอีกด้วย


ทำไมต้องกังวลด้วย

ที่น่าเป็นห่วงก็ตรงความเร็วที่อุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลง ในอดีต อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ในศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2519 อุณหภูมิสูงขึ้นเร็วกว่าช่วงศตวรรษใดๆในรอบ 1,000 ปีที่ผ่านมา สำหรับประเทศทางตอนเหนือของโลก เช่น แคนาดา หรือรัสเซีย อากาศที่อบอุ่นขึ้นอาจช่วยเพิ่มพืชผลทางการเกษตรมากขึ้นและประโยชน์อื่นๆ


อะไรทำให้โลกร้อนขึ้น

ไอพีซีซีสรุปว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกและปรากฏการณ์เรือนกระจก กว่า 25 สมาคมวิทยาศาสตร์และสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของกลุ่มประเทศจี 8 รับรองผลสรุปนี้ แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนยังไม่เห็นพ้องโดยแย้งว่าผลกระทบจากมนุษย์มีน้อยมาก


ปรากฏการณ์เรือนกระจกคืออะไร

ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ชาร์ลสันแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันอธิบายว่า ปรากฏการณ์นี้ "มีอยู่ในตำราวิทยาศาสตร์มากว่าร้อยปีแล้วและได้รับการทดสอบอย่างถี่ถ้วน" ก๊าซจำพวกหนึ่งจะทำให้ชั้นบรรยากาศกักพลังงานความร้อนให้อยู่บนผิวโลก หากปราศจากปรากฏการณ์เรือนกระจก อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะอยู่ที่ -18 องศาเซลเซียส แทนที่จะเป็น 14.6 องศาซึ่งกำลังสบาย


ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร

ก๊าซเรือนกระจกหลัก ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (ซีเอฟซี) และไอน้ำ ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ ยกเว้นซีเอฟซีซึ่งเป็นสารทางการค้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เผาป่า และเผาไร่จะเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ เช่นเดียวกับบ่อขยะ โรงกลั่นน้ำมันและเหมืองถ่านหิน การกระทำของเรายังส่งผลกระทบต่อไอน้ำทางอ้อม เมื่อโลกร้อนขึ้น น้ำจะระเหยเป็นไอน้ำมากขึ้น


ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นแค่ไหน

"ตั้งแต่เริ่มยุคอุตสาหกรรม คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 35" กาวิน ชมิดท์ นักอุตุนิยมวิทยาแห่งสถาบันวิจัยอวกาศก็อดดาร์ดของนาซา กล่าว "มีเทนเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า ไนตรัสออกไซด์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17" นักวิทยาศาสตร์เป็นห่วงเรื่องคาร์บอนไดออกไซด์เพราะเป็นก๊าซที่มีมากที่สุดซึ่งมีผลกระทบกับเราโดยตรง ขณะเราควบคุมการปล่อยสารซีเอฟซีและมีเทนได้แล้ว แต่ยังควบคุมก๊าซนี้ไม่ได้ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศยังคงสูงขึ้นประมาณร้อยละ 0.4 ต่อปีจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85 ของพลังงานที่เราต้องการ


คาร์บอนไดออกไซด์จะกระจายหายไปเองไหม

"ก๊าซนี้ไม่หายไปเอง แต่จะอยู่ได้หลายร้อยปี" ชมิดท์แห่งนาซากล่าว แต่ละปีทั่วโลกปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 23.5 กิกาตัน (หนึ่งกิกาตันเท่ากับหนึ่งล้านล้านกิโลกรัม) โชคดีที่ปริมาณดังกล่าวจะยังคงอยู่ในบรรยากาศเพียงครึ่งเดียว ส่วนที่เหลือธรรมชาติจะดูดซับไป

แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดคือมหาสมุทร ซึ่งจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราปล่อยออกมามากกว่าหนึ่งในสี่ทุกปี ขณะนี้ มหาสมุทรดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 50 เท่าของที่มีอยู่ในบรรยากาศและสิบเท่าของที่มีในสิ่งมีชีวิตบนบก แต่ยังไม่ชัดเจนว่ามหาสมุทรจะเก็บกักอย่างปลอดภัยได้มากกว่านี้เท่าไร

เคน คาลไดรา นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศประจำสถาบันคาร์เนกีแห่งวอชิงตันในรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า คาร์บอนไดออกไซด์ในมหาสมุทรจะกลายเป็น กรดคาร์บอนิกซึ่งกัดกร่อนโครงร่างที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตของสัตว์ทะเล

ป่าและพืชพรรณดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เกือบหนึ่งในสี่ เมื่อพืชสังเคราะห์แสงก็จะสลายคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นออกซิเจนที่พืชคายออกมาและคาร์บอนที่พืชนำไปสร้างเซลล์ ศาสตราจารย์เดวิด เอลสเวิร์ตแห่งมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์นซิดนีย์ ออสเตรเลีย กำลังศึกษาว่าต้นไม้และพืชจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นโดยการปลูกต้นยูคาลิปตัสในห้องที่เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ให้สูงขึ้น


นอกจากก๊าซเรือนกระจก มีปัจจัยอื่นอีกไหมที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงวงโคจรของโลกและการเปลี่ยนแปลงการเอียงของแกนหมุนของโลกซึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นแบบแผนเปลี่ยนแปลงการรับแสงอาทิตย์ของบริเวณต่างๆบนโลก และอาจเป็นสาเหตุว่าทำไมยุคน้ำแข็งจึงเกิดเป็นช่วงๆ ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานที่มีความผันแปรเล็กน้อยด้วย เมื่อความเข้มของดวงอาทิตย์สูง จุดดับบนดวงอาทิตย์จะเพิ่มจำนวนขึ้นและดวงอาทิตย์สว่างขึ้น แต่นักวิจัยแห่งสถาบันแมกซ์พลังก์เพื่อการวิจัยระบบสุริยจักรวาลกล่าวว่าความผันแปรในความเข้มของดวงอาทิตย์ไม่ได้ทำให้อุณหภูมิช่วงที่ผ่านมานี้สูงขึ้น ในปี 2547 พวกเขาสังเกตพบว่าขณะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ดวงอาทิตย์ไม่ได้สว่างมากไปกว่าเดิมเลย

อนุภาคขนาดเล็กที่ภูเขาไฟปล่อยออกมาและมลพิษจากอุตสาหกรรมสามารถสะท้อน พลังงานบางส่วนจากดวงอาทิตย์กลับออกไปสู่อวกาศทำให้อากาศเย็นลง ในปี 2534 ภูเขาไฟพินาทูโบในฟิลิปปินส์พ่นเถ้าออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมากจนอุณหภูมิลดลงครึ่งองศาเซลเซียสเป็นเวลาสองปี

ไอน้ำและเมฆมีบทบาทเช่นกัน แต่ยากจะคาดการณ์ผลกระทบได้ น้ำที่ระเหยจากมหาสมุทรที่อบอุ่นจะเกิดเป็นเมฆที่ทั้งสามารถเก็บกักความร้อนและสะท้อนความร้อนออกไปในอวกาศ "เมฆชั้นต่ำมีแนวโน้มจะทำให้โลกเย็นลง" ศาสตราจารย์ชาร์ลสันกล่าว "เมฆชั้นสูงจะทำให้โลกร้อนขึ้น"

วงจรย้อนกลับส่งผลถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและยากจะคำนวณ เช่น เมื่อโลกร้อนขึ้น ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งในทะเลละลาย พื้นผิวโลกก็จะสะท้อนแสงออกไปอวกาศน้อยลง โลกจะร้อนขึ้น น้ำแข็งก็ละลายมากขึ้น โลกจึงยิ่งร้อนขึ้นไปอีก เป็นต้น


(อ่านต่อข้างล่าง)

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 04-11-2013 เมื่อ 22:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:46


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger