#30
|
||||
|
||||
แนวหน้า 3-7-15 แนะ'เรือประมง'อย่ากลัวกม.ใหม่ พบไร้ทะเบียนกว่า 1.6 หมื่นลำ 2 ก.ค.58 นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีปัญหาเรือประมงหยุดออกหาปลา เพราะเกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม จากการบังคับใช้กฎหมายประมงฉบับใหม่ที่เข้มงวด ว่า พี่น้องชาวประมงไม่ต้องกังวล เรือลำใดที่มีการขออนุญาตถูกต้อง 3 ด้าน คือ 1.ตัวเรือมีทะเบียนเรือ จากกรมเจ้าท่า 2.มีใบอนุญาตการทำงานของไต้ก๋ง นายท้ายเรือ และช่างเครื่อง จากกรมเจ้าท่า และ 3.มีใบอนุญาตทำการประมง หรืออาชญาบัตร ซึ่งไปติดต่อขออนุญาตได้ที่สำนักงานอำเภอ ก็สามารถออกเรือได้ไม่มีปัญหา ถ้ามีใบอนุญาตไม่ครบขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถไปติดต่อขอได้ที่หน่วยเคลื่อนที่เร็วของกรมประมง และกรมเจ้าท่า 8 จุดทั่วประเทศ สามารถออกใบอนุญาตได้เสร็จภายในวันเดียว สำหรับจำนวนเรือประมงทั่วประเทศ ที่มีทะเบียนเรือถูกต้อง ข้อมูลเดิมกรมเจ้าท่า รายงานว่ามีทั้งสิ้น 42,000 ลำ แต่เมื่อมีการลงพื้นที่สำรวจจริงพบว่า มีเรือที่มีทะเบียนประมาณ 28,000 ลำเท่านั้น และยังพบเรือที่ไม่มีทะเบียนถึง 16,900 ลำ โดยเรือที่ไม่มีทะเบียนส่วนใหญ่พบว่าเป็นเรือประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส หรือความยาว 11 - 12 เมตร กลุ่มนี้ขอให้ชาวบ้านมาขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง ราชการปลดล็อคให้แล้ว สามารถขอใบอนุญาตได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ก.ค.นี้ นายชวลิต กล่าวต่อว่า สำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่ขึ้นทะเบียนเรือแล้วมีทั้งสิ้นประมาณ 20,000 ลำ ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหามีประมาณ 4,000 ลำ เพราะเป็นกลุ่มที่มีทะเบียนเรือ แต่ไม่มีอาชญาบัตร เพราะใช้เครื่องมือจับปลาที่กฎหมายห้าม 4 ประเภท ได้แก่ อวนรุน อวนลาก อวนล้อมปลากะตัก และอวนช้อนครอบปลากะตัก ซึ่งเรือกลุ่มนี้เป็นเงื่อนไขที่สหภาพยุโรป (อียู) อาจออกใบเหลืองรอบ 2 หรือออกใบแดงให้แก่สินค้าประมงไทยได้ ที่ผ่านมารัฐได้ผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมายให้แล้ว ตอนนี้ผ่อนผันอีกไม่ได้ จึงกลายเป็นเรือกลุ่มที่มีความกังวลกฎหมายใหม่แล้วไม่ออกเรือ แต่ประเมินว่าเรือจำนวนนี้กระทบต่อผลผลิตอาหารทะเลไทยไม่มาก "ตอนนี้ได้สั่งการให้กรมประมงเร่งไปประเมินให้ชัดเจนโดยเร็วว่า เรือประมงที่หยุดออกหาปลาในช่วงนี้จะมีผลกระทบต่อปริมาณการจับสัตว์น้ำของไทย ซึ่งปกติมีประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี เป็นจำนวนเท่าไร อียูให้เวลาไทยปรับปรุงตัวในเดือน ก.ย.นี้ ประเด็นหลักที่อียูให้ความสำคัญ คือ การแก้ปัญหาการจับปลามากเกินที่ทรัพยากรสัตว์น้ำจะรองรับได้ หรือโอเวอร์ฟิชชิง ซึ่งกรมประมงได้ควบคุม โดยจำกัดเครื่องมือประมง 4 ชนิด ที่ทำลายทรัพยากรหน้าดินรุนแรง ที่ผ่านมาได้หยุดออกอาชญาบัตรให้ตั้งแต่ปี 2523 และจากนี้จะไม่ออกใหม่ให้อีก" นายชวลิต กล่าว
__________________
Saaychol |
|
|