#11
|
||||
|
||||
เตือนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเสี่ยงจม สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ผลศึกษาชี้ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ 2 ใน 3 ของโลก เสี่ยงจมอยู่ใต้น้ำ รวมถึง ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ทรุดลงทุกปี เพราะการใช้น้ำบาดาล วารสารจีโอไซแอนซ์ เผยแพร่ผลการศึกษาใหม่สุดว่า พื้นที่ปากแม่น้ำขนาดใหญ่ราว 2 ใน 3 ของโลก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรเกือบ 1,000 ล้านคน กำลังตกอยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ กล่าวคือเจอทั้งดินทรุด และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น การค้นพบดังกล่าว ที่มีพื้นฐานการจากศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม แสดงให้เห็นว่า 85% ของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาด ใหญ่สุด 33 แห่ง ประสบกับภาวะน้ำท่วมหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กินพื้นที่ราว 260,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าภายในศตวรรษนี้ พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีความเสี่ยงเผชิญกับน้ำท่วมใหญ่ จะเพิ่มขึ้นมากถึง 50% หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก เจมส์ ซิฟอิทสกี้ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยขั้วโลก และเทือกเขาแอลป์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด แกนนำจัดทำการศึกษาครั้งนี้ ระบุว่า แม้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจะเป็นเอเชีย แต่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และทำการเกษตรอย่างมาก ในทุกๆ ทวีป ยกเว้นออสเตรเลีย กับขั้วโลกใต้ ก็ล้วนแต่ตกอยู่ในภาวะอันตราย ในการวัดระดับความรุนแรงที่แบ่งออกเป็น 5 ระดับนั้น พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะจมอยู่ใต้น้ำล้วนอยู่ในจีน คือ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเหลืองทางตอนเหนือของประเทศ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้ และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล ใกล้กับกวางโจว ขณะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไน ล์ ของอียิปต์ แม่น้ำเจ้าพระยาของไทย และแม่น้ำโรนของฝรั่งเศส ล้วนแต่ติดอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงเช่นกัน โดยปากแม่น้ำที่มีความเสี่ยงรองลงมา 7 แห่ง รวมถึง แม่น้ำคงคา ในบังกลาเทศ แม่น้ำอิระวดีของพม่า แม่น้ำโขง ในเวียดนาม และแม่น้ำมิสซิสซิปปี ของสหรัฐ ผลการศึกษาระบุว่า สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจะมีตะกอนมาสะสมตามธรรมชาติเมื่อน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นแล้วท่วมกินพื้นที่กว้าง แต่มนุษย์มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำหลายแห่งจมจากการทำเขื่อนกั้นต้นน้ำแ ละเปลี่ยนเส้นทางไหลของน้ำ ทำให้ตะกอนไม่ไหลลงมาสะสม นอกจากนี้การทำเหมืองใต้ดินและการสูบน้ำบาดาลก็มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีอัตราการทรุดตัวถึงปีละ 2-6 นิ้ว ผลจากการสูบน้ำบาดาลไปใช้ จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|