#1
|
||||
|
||||
เทพา ยักษ์ใหญ่แห่งเจ้าพระยา
<<ปลาเทพา>>
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius sanitwongsei อยู่ในวงศ์ปลาสวาย พบเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงเท่านั้น ปัจจุบัน ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากแม่น้ำเจ้าพระยา (Extinct) และหายากในแม่น้ำโขง เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในแม่น้ำเจ้าพระยามีความยาวได้ถึง3เมตรหนัก350กิโลกรัม(น้องๆปลาบึกเลยทีเดียว)ขนาดทั่วๆไปอยู่ที่ประมาณ1-1.5เมตรน้ำหนัก50-60กิโลกรัม เป็นปลาหนังหรือปลาไม่มีเกล็ดรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่หัวจะแบนและใหญ่กว่าครีบต่างๆยื่นยาวออกมาและมีขนาดใหญ่ทำให้ดูสง่างามมากกว่าปลาในวงศ์เดียวกันเช่นปลาสวาย หลังยกสูงเป็นสีดำ ช่วงใต้ลำตัวเป็นสีเงิน มีหนวดยาวพอประมาณที่ใต้ปากล่าง 1 คู่ มุมปาก 1 คู่ ใช้ในการหาอาหาร ฟันแหลมคม มีตาขนาดเล็กเหนือมุมปากเล็กน้อย เป็นปลากินเนื้อที่อาสัยอยู่รวมกันเป็นฝูงในวัยอ่อนอยู่รวมกันเป็นฝูงจับได้ง่ายจึงถูกจับไปขายเป็นปลาสวยงามจนเกือบหมดเนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีสามารถผสมเทียมปลาเทพาได้ มีปากกว้างกินซากสัตว์ลอยตามน้ำหรือว่าปลาที่สามารถเข้าปากสามารถกินได้หมด ปลาเทพา ได้รับฉายาว่า เจ้าแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นปลาที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ที่สุด ล่าสุดไม่มีใครพบมันในแหล่งน้ำธรรมชาติจึงถูกขึ้น บัญชีให้อยู่ในสภาวะสัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ สาเหตุจากมนุษย์ใช้เครื่องมือดักจับที่ไม่เหมาะสมและ ทำลายสิ่งแวดล้อมปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ ปลาเทพาในธรรมชาติชอบน้ำที่ใสสะอาดมีการไหลเวียนอย่างดี เนื่องจากมันจะว่ายอยู่ตลอดเวลา หากเลี้ยงเป็นปลาตู้ควรใส่เครื่องพ่นน้ำเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนที่ดี ต่อมาสถานีวิจัยประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา กรมประมง จึงทำการวิจัยเพาะขยายพันธุ์ โดยวิธีการผสมเทียม จนได้ รับความสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้ปลาวัยอ่อนจำนวนหนึ่ง เมื่อผ่านวัยอนุบาลแล้วได้นำไป ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และนำไป เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ กรมประมง บางเขน มีปลาเทพาความยาวถึง 2.5 เมตร และ หนักกว่า 100 กิโลกรัม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-940-6543 0-2562-0600-15 ต่อ 5118, 5222, 5224. ข้อมูลจาก http://news.enterfarm.com/%E0%B8%9B%...%E0%B8%B2.html แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย KENG@SK : 15-07-2010 เมื่อ 23:15 |
#2
|
||||
|
||||
ต่อเรื่องการกินของปลาเทพาครับ
ปลาเทพาเป็นปลาที่กินจุจนหลังจากกินอาหารท้องจะใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยหนวดทั้ง4ของปลาเทพาจะใช้ดมกลิ่นหาอาหารครับคนสมัยก่อนไม่กินปลาชนิดนี้เนื่องจากบอกว่ามันกินหมาเน่าที่ลอยตามน้ำมา ส่วนเรื่องความสามารถในการกินที่อะไรเข้าปากมีที่มาเนื่องจากได้ไปอ่านในกระทู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาเทพามาครับ มีคนนึงเลี้ยงปลาเทพาขนาด5นิ้ว(เข้าใจว่าเป็นแบบshotbody)พร้อมกับปลากรายขนาด4นิ้วตื่นเช้ามาพบว่าปลากรายหายไปเหลือแต่ปลาเทพาพุงกางตัวเดียว..... อีกคนนึงครับเลี้ยงปลาเทพาไซส์เดียวกันครับคราวนี้รวมกับปลาอะโรวาน่าเงิน(ปลามังกร)ขนาด4นิ้วและปลาเสือตอขนาด3.5นิ้ว3ตัวพอมาดูอีกทีอะโรว่าน่าเงินหายเหลือแต่เสือตอทั้ง3กับปลาเทพาพุงกาง(อีกตามเคย)... เพราะฉะนั้นถ้าใครจะเลี้ยงอะไรคู่กับปลาเทพาต้องดูอัตราการเจริญเติบโต+ขนาดดีๆนะครับไม่งั้นก็เท่ากับเอาไปเป็นปลาเหยื่อปลาเทพาเท่านั้นเองถ้ามันไล่ทัน แต่ยังไงก็ตามถึงเทพาจะมีความสามารถในการกินสูงมากแต่ในธรรมชาติโอกาสที่จะกินได้แบบนี้มีน้อยเนื่องจากมีพื้นที่กว้างทำให้ไล่กันจนมุมยาก และเทพามักจะอาศัยอยู่ตามที่น้ำลึกจึงหาโอกาสได้ยากปลาตามธรรมชาติจึงไม่คุกคามต่อประชากรปลาชนิดอื่นจนเป็นอันตราย แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย KENG@SK : 19-11-2010 เมื่อ 15:40 |
#3
|
||||
|
||||
ปลาเทพาShortbody
ความจริงปลาเทพาshotbodyมันเป็นปลาพิการครับโดยที่ลำตัวจะสั้นลง(คล้ายๆคนแคระ)และครีบช่วงหางส่วนใหญ่ของปลาแบบนี้จะผิดส่วนไป สำหรับคนที่หลงไหลความสง่างามของมันเวลาที่มันว่ายครีบยาวๆลู่ไปตามน้ำพร้อมกับลำตัวสะบัดอย่างรวดเร็ว(เช่นผม)อาจจะไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ครับแต่คนส่วนใหญ่อาจจะชอบเนื่องจาก 1. น่ารักดี ปลาแบบนี้จะมีลำตัวป้อมๆกลมๆผู้เลี้ยงจึงบอกว่าน่ารัก 2. โตเต็มที่มีขนาดไม่ยาวมาก เพราะว่าคนส่วนใหญ่จะเลี้ยงในตู้ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงปลาขนาดธรรมดาได้เนื่องจากความยาวของมันจะเกินขนาดตู้และตู้ใหญ่ราคาแพง 3. มันแปลก เหตุผลนี้เจอบ่อยครับโดยเฉพาะเรื่องปลาเนี่ยบ่อยมากเพราะคนมักจะเคยชินกับของปกติพอมาเจอแบบแปลกๆเลยอยากลองเลี้ยงดู ปลาเทพาshotbodyมีความสั้นหลายแบบ(สั้นมากไปจนถึงสั้นน้อย)โดยจะใช้เป็นเบอร์ตั้งแต่0เป็นต้นไปยิ่งเบอร์น้อยยิ่งสั้นและ"แพง"ครับโดยเฉพาะถ้าครีบไม่ผิดรูป(ส่วนน้อย) ราคาปลาเทพาไซส์ปกติถ้าเทียบกับแบบshotbodyโดยที่ตัว5นิ้วราคาอยู่ที่100-150บาทสำหรับแบบปกติแต่ราคาแบบshotbodyอาจจะถึง2000-3000บาทครับ.... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย KENG@SK : 31-08-2010 เมื่อ 23:20 |
#4
|
||||
|
||||
มาถึงตอนนี้ผมขอเล่าเกี่ยวกับปลาเทพาที่เคยเจอละกันครับ
ตอนที่อยู่ที่รร.อัสสัมชัญธนบุรีเค้าเปิดบางส่วนของบ้านพักผู้อำนวยการที่เป็นบ่อปลาเป็นวังมัจฉา(ปี2547)ผมก็เข้าไปดู โอ้โห้ปลาสวายแต่ละตัวยาวเป็นเมตรครับใหญ่กว่าที่ดอนหวานตั้งครึ่งแต่หลังๆเริ่มชินแล้วครับกลายเป็นว่าเห็นปลาที่อื่นเล็กไปหมด ที่นี่เลี้ยงปลาบึกไว้ด้วยครับเห็นว่าเลี้ยงกันมาเป็นสิบปีแล้วปลาบึกนี่ถ้าใครไปจะเห็นชัดมากตัวสีน้ำตาลอ่อนปากสีขาวกว้างฟุตเศษตัวยาว1.5-2เมตรมีอยู่ประมาณ8ตัวครับ พออยู่ป.6เลยได้ลองจับปลาดูครับจับแบบดึงหางเอาสนุกๆไปๆมาคนเริ่มมาดูเยอะคล้ายๆโชว์จระเข้(แถมยอดขายอาหารปลาพุ่งขึ้นประมาณ5เท่า) หลังๆเหลือแค่ลูบหัวเพราะเดี๋ยวเรื่องไปถึงหูฝ่ายปกครองงานจะเข้าอีก มีวันนึงก็ได้ยินเพื่อนบอกมาว่าเจอปลาตัวโตๆปากกว้างๆอยู่แถวด้านหลังวังมัจฉาพอดีเค้าทำบ่อเป็นตัวcครับเลยมีด้านนึงที่เงียบๆผมเลยไปดูแล้วก็เอาขนมปังก้อนประมาณกำมือโยนลงไปล่อรออยู่5นาทีจนจะกลับแล้วก็เห็นครีบคล้ายๆฉลามว่ายวนรอบขนมปังแล้วก็โผล่ปากมางาบขนมปังไปกินที่ละก้อนทีนี้ละครับเลยกระหน่ำโยนลงไปอีก เห็นมันทำแบบนี้หลายรอบอยู่เหมือนกับบางทีก็ไม่กินเฉยๆไปจนปลามันคงแทบจะจำหน้าได้แล้วจนพอออกมาอยู่สวนกุหลาบก็เลยว่างเว้นจากมันมานานโดย ตัวที่นี่ผมกะว่าราวๆเมตรครึ่งน้ำหนักราวๆ50-60กิโลและมีตัวเล็กกว่านี้อีก2ตัวส่วนตัวอื่นจะมีรึเปล่าไม่ทราบเพราะว่าบ่อกว้างน้ำลึกขุ่นและบางส่วนห้ามเข้า เสียดายตอนนั้นผมไม่มีกล้องเลยไม่ได้ถ่ายมาซักรูปไว้ว่างๆคงจะต้องลองกลับไปหามันอีกซักรอบ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย KENG@SK : 31-08-2010 เมื่อ 23:31 |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณน้องเก่งสำหรับความรู้เรื่องปลาน้ำจืดตัวโตอย่างปลาเทพาที่หาดูได้ยาก ให้เราได้รับทราบเป็นความรู้ค่ะ... อ่านดูแล้ว...ปลาเทพาเป็นปลาที่น่าสนใจมาก น่าดีใจที่มีการเพาะพันธุ์และนำกลับสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติเพื่อให้เขาได้แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป อย่างไรก็ตาม....เราน่าจะเรียกปลาเทพาว่า "ปลาไดโว่" คือ กินไม่เลือกชนิดปลา และขอกินไว้ก่อน...พ่อสอนไว้...เมื่อปล่อยเขา ในน่านน้ำตามธรรมชาติ ก็เกรงว่าเขาจะไปกินปลาท้องถิ่นซะเรียบหมดละก็จะยุ่งกันใหญ่ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก....สายชลจะได้ยินชื่อและได้เห็นตัว ปลาเทพา คู่กับ ปลาเทโพ เสมอ แต่ไม่เคยแยกออกว่า ปลาตัวไหนเป็นเทพา ตัวไหนเป็นเทโพ ไหนๆก็ไหนๆ....น้องเก่งได้เล่าเรื่องปลาเทพาไปแล้ว ขอความกุณาเล่าเรื่องปลาเทโพให้เราได้อ่านกันด้วยน่าจะดีนะคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...
__________________
Saaychol |
#6
|
|||
|
|||
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการปล่อยปลาที่มีการเพาะฟักได้กลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยเฉพาะสายพันธุ์ท้องถิ่นที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ครับ แต่ก็เป็นห่วงเช่นเดียวกับพี่น้อยครับในกรณีที่ปลาที่ปล่อยนั้นเป็นปลานักล่าที่สามารถกินทุกอย่างที่ขวางหน้า
แต่สำหรับปลาเทพาผมว่าไม่น่าจะมีปัญหาครับหากเราปล่อยอย่างถูกที่ถูกทาง คงไม่เป็นการรบกวนสายพันธุ์ในธรรมชาติ เช่นในแม่น้ำใหญ่ๆที่เคยเป็นแห่งอาศัยของมันเนื่องจากจะมีปัจจัยที่ควบคุมประชากรตามธรรมชาติของมันอยู่แล้ว และปลาเทพา น่าจะเป็นปลาที่กินซากมากกว่า และอาจจะเป็นนักล่าด้วยแต่คงไม่กินดุเดือดนักเมื่อเทียบกับ ช่อน ชะโด ที่เป็นมือโปรในบ้านเรา อีกอย่างปลาพวกนี้กว่าจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต้องใช้เวลานานครับ (ซึ่งไม่รู้ว่าจะทันกับอัตราการจับของชาวประมงหรือปล่าว?) แต่ที่ผมเป็นห่วงมากกว่าคือ ปล่อยแล้วมันจะสามารถรอดชีวิตและสืบเผ่าพันธุ์ได้หรือปล่าว เพราะสายน้ำที่เป็นแหล่งกำเนิดของปลาพวกนี้ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจำนวนมากทั้งจากชุมชน และโรงงาน ปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำ การสูญเสียแห่งวางไข่ยังคงมีอยู่ หากปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขก็ยังคงเป็นความเสี่ยงสำหรับปลาที่ปล่อยออกไปอยู่ดี (โดยเฉพาะปลาที่ถูกเลี้ยงมาแบบคุณหนู คุณชาย) ยังไงก็ยังอยากจะเห็นปลาเทพาในธรรมชาตินะครับ สนับสนุนสุดตัว เพราะมันยังไม่ถึงเวลาที่ปลาเหล่านี้จะกลายเป็นเพียงตำนาน |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้และข้อคิดเห็นดีๆอย่างนี้....สมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปลาและสิ่งแวดล้อมจริงๆเลยน้อง sea addict..... เรื่องสิ่งแวดล้อมบ้านเราเป็นสิ่งที่น่าห่วงใยมากค่ะ โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำทั้งแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ไปจนถึงทะเล... แหล่งน้ำเกิดความเสียหาย เน่าเหม็น....สรรพชีวิตทั้งหลายที่อาศัยในแหล่งน้ำต่างๆ ไม่ว่าพืชหรือสัตว์ก็พลอยได้รับผลกระทบ เจ็บป่วยล้มตาย หรือถึงขั้นสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ได้ มนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคทั้งน้ำ.....สัตว์และพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ....ก็ย่อมได้รับผลกระทบเช่นกัน ถ้าไม่มีการจัดการเรื่องแหล่งน้ำอย่างเป็นเรื่องเป็นราวแล้ว อนาคตของมนุษยชาติก็เห็นทีจะขาดแคลนทั้งน้ำและอาหารจากแหล่งน้ำที่จะใช้บริโภคอย่างแน่นอน ถ้าภาครัฐยังติดขัดไม่สามารถจะทำอะไรได้อย่างได้ผลเต็มที่.....ชาวบ้านตาดำๆอย่างเราก็คงจะต้องไม่นิ่งดูดาย หันมาช่วยกันคนละไม้คนละมือดีกว่านั่งอยู่เฉยๆ ว่าด้วยเรื่องปลาเทพา - เทโพ แต่ก็อดแวะมาเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ได้นะคะ...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-07-2010 เมื่อ 15:39 |
#8
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
นั่นสิครับเพราะว่าผมก็ยังไม่เคยเจอมันตามธรรมชาติเลยเจอก็อย่างที่บอกไว้คือปลาเลี้ยง ส่วนเรื่องน้ำเนี่ยปัญหาใหญ่เลยเพราะว่า เจ้าพระยาก็เน่า แม่น้ำโขงก็แห้งซะ ยังไงก็ต้องมีการศึกษาจริงๆจรังๆเกี่ยวกับที่ๆจะปล่อยมันซักครั้ง ส่วนเรื่องอาหารคงไม่มีปัญหาเพราะว่ามันกินได้หมดเศษข้าวหรือขนมปังมันก็ปรับตัวให้กินได้ คงไม่มีใครอยากให้ปลาเทพายักษ์กลายเป็นตำนานแบบปลากะโห้ตัวเท่าเรือที่หายไปหมดแล้ว..... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย KENG@SK : 17-07-2010 เมื่อ 19:53 |
#9
|
||||
|
||||
น้องเก่งคะ....ปลาที่แหวกว่าย คอยงับขนมปังอยู่ในเขาดิน เป็นปลาประเภทใดบ้างคะ ทราบไหมคะ แล้วปลากะโห้ มันสูญพันธุ์ไปแล้วจริงๆหรือคะ...
__________________
Saaychol |
#10
|
||||
|
||||
กระโห้แบบตัวยักษ์ๆเกือบหมดแล้วครับเพราะเคยมีแบบตัวเท่าเรือหนักเป็นร้อยกิโลอยู่แถวแม่น้ำแม่กลองแต่หลังๆมานี้เห็นว่าเหลืออยู่น้อยมากแล้วและชาวประมงก็จับมันด้วย(ถ้ามีโอกาส)น่าเสียดายมากแต่ถ้าเป็นปลาเล็กๆก็ยังมีอยู่ครับตอนนี้เค้าเอามาเลี้ยงด้วยซ้ำตัว10นิ้ว60บาท
ส่วนในเขาดินผมคิดว่าน่าจะเป็นปลาสวายครับเพราะถ้าปลาเทพาปากจะกว้างและครีบจะยาวกว่านี้แต่จะมีปลาเทโพหรือปลาสายยูมาปนด้วยรึเปล่าไม่มั่นใจครับเพราะผมไม่ได้เจาะรายละเอียดแต่หลักๆก็เป็นปลาสวายครับ แล้วก็ถ้าผมดูไม่ผิดผมเคยเห็นปลาบึกตัวนึงครับน่าจะยาวราวๆ1.5-2เมตรพอดีผมเห็นแต่ปากกว้างประมาณฟุตกว่าพะงาบๆอยู่ลึกจากผิวน้ำประมาณหนึ่งฟุตครึ่งไม่ยอมกลับตัวให้ดูหรือว่าโผล่ส่วนอื่นมาให้อาหารล่อแล้วก็ไม่ยอมให้เห็นเลยเมื่อประมาณ6ปีที่แล้วอันนี้ไม่มั่นใจนะครับแต่ลักษณะคล้ายกับที่เคยเห็นมากเลยคาดว่าน่าจะเป็นปลาบึกครับแต่หลังจากนั้นก็ไม่เคยเจออีกเลยครับเจอครั้งเดียว |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|