#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 8 ? 9 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10 ? 13 ส.ค. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 10 ? 13 ส.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
เที่ยวอันซีนพังงา "หาดนางทอง" ทรายสีดำสวยแปลกตา พังงา 7 ส.ค. ? สวยแปลกตา "หาดนางทอง" อันซีนพังงา มีหาดทรายสีดำที่พบเพียงไม่กี่แห่งในโลก ถือเป็นจุดเช็กอินที่ห้ามพลาดในการมาเที่ยวเขาหลัก หาดนางทอง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นชายหาดที่บางช่วงเวลาพื้นทรายจะมีสีดำ สวยงามแปลกตา ซึ่งในโลกนี้พบเพียงไม่กี่แห่ง โดยเฉพาะในยามที่น้ำทะเลลดลงต่ำสุด จะมองเห็นหาดทรายสีดำเป็นบริเวณกว้าง จึงถูกขนานนามว่า ?หาดทรายสีดำ? ซึ่งสีดำเหล่านี้ก็คือ "แร่ดีบุก" ที่ถูกคลื่นทะเลซัดขึ้นมากองบนชายหาด และดึงกลับลงไปในทะเล สลับกันไปมา จนกลายเป็นหาดทรายสีดำ จุดเช็กอินที่ต้องห้ามพลาดในการมาเที่ยวเขาหลัก ซึ่งในอดีตบริเวณนี้ยาวไปตลอดแนวชายฝั่ง อ.ตะกั่วป่า เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ดีบุก พอคลื่นซัดแร่ดีบุกขึ้นมา ชาวบ้านจะตักมากองรวมกัน แล้วแยกเอาทรายออกให้เหลือเพียงแต่สีดำ ก่อนจะนำไปแยกเอาแร่ดีบุกออกมาขาย นอกจากหาดทรายสีดำที่หาดนางทอง ใกล้กันเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตก หรือแสงสุดท้ายของวัน มองไปในทะเลอันดามัน จะเห็นประภาคารเขาหลัก ตั้งอยู่บนกองหินหน้าชายหาด ซึ่งสร้างขึ้นหลังเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 สำหรับเตือนภัยทางทะเลและดูแลนักท่องเที่ยว ปัจจุบันได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาชมวิวยามเย็น รอชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เป็นภาพที่สวยงามสุดประทับใจ. https://tna.mcot.net/region-1403163
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
กรมอุตุยืนยัน! ลานีญาจะรุนแรงสุด พฤศจิกายน 2567 นี้ จริงหรือไม่ที่เดือนพฤศจิกายนนี้ ปรากฎการณ์ลานีญา หรือฝนตกหนักจะรุนแรงที่สุด กรมอุตุนิยมวิทยาและอ.เสรี ศุภราทิตย์ ยืนยันแล้วว่าจริง! ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าเดือนพฤศจิกายน 2567 ปรากฏการณ์ลานีญาจะรุนแรงที่สุดจริงหรือไม่? โดยจากการตรวจสอบพบว่า เป็นข้อเท็จจริง การเฝ้าระวังปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2567 สถานการณ์ปัจจุบัน พบว่าปรากฏการณ์เอนโซได้อยู่ในสภาวะปกติ โดยอุณหภูมิผิวน้ำทะเลเฉลี่ยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาต่างจากค่าปกติประมาณ -0.1 ถึง 0.5 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิน้ำทะเลที่อยู่ลึกจากผิวน้ำลงไปจนถึงระดับ 300 เมตร ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา พบว่า บริเวณอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่ำกว่าค่าปกติยังคงอยู่บริเวณด้านตะวันออกของมหาสมุทรฯ และขยายพื้นที่ขึ้นมาที่พื้นผิวของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ส่วนที่ระดับลึกบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกแถบศูนย์สูตร อุณหภูมิน้ำทะเลยังคงต่ำกว่าค่าปกติ แต่ที่ระดับใกล้ผิวน้ำทะเลอุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นบ้างเล็กน้อย ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้ระบบการหมุนเวียนบรรยากาศที่ระดับ 850 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสคาล: hPa) หรือที่ความสูงประมาณ 1.5 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลมตะวันออกที่มีกำลังใกล้เคียงกับค่าปกติพัดปกคลุมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกแถบศูนย์สูตร สำหรับลมที่ระดับ 200 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสคาล: hPa) หรือที่ความสูงประมาณ 11 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลมที่มีกำลังแรงกว่าปกติพัดข้ามแถบศูนย์สูตรบริเวณด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกแถบศูนย์สูตร การคาดหมาย จากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่มีค่าต่ำกว่าค่าปกติ และระบบการหมุนเวียนบรรยากาศบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองเชิงพลวัตแล้ว คาดว่า ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2567 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงพฤศจิกายน 2567 ถึงมกราคม 2568 ด้านรศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Keep The World ของสปริงนิวส์เกี่ยวกับประเด็นลานีญาปี 2567 ว่า สำหรับประเทศไทย ลานีญากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่จะแรงสุดในเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ระดับที่สูงสุดในเดือนพฤศจิกายนจะต่ำกว่าในอดีต หรืออยู่ในระดับปานกลาง นั่นหมายความว่าจะมีฝนตกลงมามากกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้มากจนน่าตระหนก แต่ที่ผ่านมา เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง โครงสร้างพื้นฐานในเมืองก็มีส่วน เพราะไปกีดขวางจนเป็นอุปสรรคทำให้น้ำท่วมได้ง่าย ดังนั้น ความแรงน้ำปีนี้ โดยเฉพาะลุ่มเจ้าพระยา น่าจะหนักเท่าปี 2565 หรือเบากว่า นอกจากนี้ต้องขึ้นอยู่กับพายุด้วย ดังนั้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เท่าปี 2554 ปีนี้ยังไม่มา ปัจจัยยังเกิดไม่ครบ มันจะครบอีกทีในปีพ.ศ. 2573 https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851971
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
หวั่น "ลานีญา" ทุบเศรษฐกิจปี?67 สูญ 1.4 หมื่นล้าน ชี้ระบบป้องกันนํ้า ต้องดี! SHORT CUT - วันนี้สถานการณ์ "ลานีญา" ในไทยยังน่าเป็นห่วง เพราะทำฝนตก-น้ำท่วม เกือบทุกวัน และแนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น - หลายฝ่ายกังวล "ลานีญา" ทุบเศรษฐกิจปี?67 สูญ 1.4 หมื่นล้าน ชี้ รัฐต้องมีระบบระบาย -ป้องกันนํ้า ที่ดี - ชี้ช่วงวันที่ 12 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ฝนจะกลับมาตกในประเทศไทยมากขึ้น สถานการณ์ "ลานีญา" ในไทยยังน่าเป็นห่วงทำฝนตก-น้ำท่วม ทุบเศรษฐกิจปี?67 สูญ 1.4 หมื่นล้าน เอกชนชี้รัฐต้องทำระบบระบายน้ำ -ป้องกันนํ้าท่วม ต้องดีมีประสิทธิภาพ เบื่อกันบ้างมั้ย? ช่วงนี้จะไปไหนมาไหน ขึ้นเหนือล่องใต้ ไปทำงานไปเที่ยว ก็ลำบากไปหมดเพราะฝนตกแทบจะทุกวัน นั่นคือ ไทยได้รับผลกระทบจาก ?ลานีญา? แล้ว และจะได้รับผลกระทบไปเรื่อยๆจากนี้ไป หลายพื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม น้ำหลาก เพราะปริมาณฝนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐบาลเริ่มนั่งไม่ติดแล้ว ต้องเร่งมาหารือ เพื่อหามาตรการรับมือ ลานีญา ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ประชุมได้ติดตามร่างแผน 3 ปี ด้านทรัพยากรน้ำ และโครงการสำคัญ เพื่อให้ "น้ำถึงไร่นา น้ำสะอาดทุกหมู่บ้าน แก้ปัญหาภัยพิบัติด้านน้ำ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ว่า ขณะนี้ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญา แล้ว ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมไปจนถึงกันยายน 2567 และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายไปทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำท่าอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง แน่นอนว่าลานีญา ได้สร้างความกังวลให้หลายฝ่าย โดย นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการบริษัททีมกรุ๊ป (มหาชน) เเละนายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเกิดปรากฏการณ์ลานีญาในปี 2567 มีผลกระทบกับประเทศไทยโดยตรง ซึ่งจะมีปริมาณนํ้าฝนมากกว่าปกติ และตกหนักในพื้นที่หลายจังหวัด นํ้าท่วมฉับพลัน นํ้าป่าไหลหลาก นํ้าล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ และมีอุณภูมิลดลง "สำหรับประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม ร่องฝนที่ทำให้เกิดฝนตกตามฤดูกาล จะเลื่อนขึ้นไปอยู่ที่ประเทศลาวและคุนหมิง ประเทศจีน ฝนจะตกมากในพื้นที่ดังกล่าว จนกว่าร่องฝนและภาวะลานีญาจะกลับมาที่ประเทศไทยอีกครั้ง คือ ช่วงวันที่ 12 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ฝนจะกลับมาตกในประเทศไทยมากขึ้น" ทั้งนี้จะเริ่มจากเริ่มจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในพื้นที่จังหวัดนครพนม หนองคาย อุดรธานี และข้ามไปทางภาคเหนือ เช่น น่าน แพร่ เชียงราย จะมีฝนตกหนัก มีโอกาสที่จะมีนํ้าท่วม นํ้าป่าไหลหลาก นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิด "พายุจร" ที่มาจากแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ จากนั้นในเดือนกันยายน ฝนจะตกหนัก ในพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ผลกระทบสูงมาก คาดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในเกณฑ์เดียวกันกับปี 2565 จากนั้นช่วงเดือนตุลาคม 2567 ร่องฝนกับหย่อมฝนโดยธรรมชาติของลมมรสุมจะเคลื่อนตํ่าลงไป พาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกของไทย เช่น กาญจนบุรี ราชบุรี แล้วก็พาดผ่านภาคกลางภาคกลาง ไล่ตั้งแต่ อ่างทอง สิงห์บุรี อยุธยา กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ขณะที่ภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี มีจุดอ่อนที่ต้องระมัดระวังในช่วงเดือนตุลาคม เนื่องจากมีการแปรสภาพพื้นที่รับนํ้าเป็นโครงการพัฒนาต่างๆมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทีมกรุ๊ป ได้มีการวิเคราะห์อีกว่า ผลกระทบในปี 2567 จะอยู่ในระดับเดียวกับสถานการณ์นํ้าท่วมในปี 2565 ที่กระทบทุกภูมิภาคของประเทศ คิดเป็นพื้นที่ 2.9 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 1.3 ล้านไร่ที่ถูกท่วมแล้วเสียหาย ซึ่งจากสถานการณ์นํ้าท่วมในปี 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือบ้านเรือนที่ประสบอุทกภัย ด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง และที่อยู่อาศัยวงเงินรวม 14,273.35 ล้านบาท ลานีญา คือ สิ่งเร่งด่วนที่รัฐ และเอกชน ต้องหาแนวทางรับมือ ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องเตรียมรับมือเพื่อที่จะลดผลกระทบ ทั้งการดูแลอุปกรณ์ในการระบายนํ้า และป้องกันนํ้าท่วม ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารสภาพอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมพร้อมรับมือลานีญาที่กำลังที่เกิดขึ้นแล้ว! https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/851973
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|