#1
|
||||
|
||||
ปลาการ์ตูน
ปลาการ์ตูน ..... อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับปลาการ์ตูน และมันแปลงเพศตัวเองอย่างไรคะ แจ๋น เสมอใจ ..... ตอบ แจ๋น ปลา การ์ตูน (Clownfish) อันดับ Perciformes วงศ์ Pomacentridae วงศ์ย่อย Amphiprioninae เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล มีหลายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน (Pomacentridae) พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล (sea anemone) มีสีสันสวยงาม โดยทั่วไปประกอบด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง และมีสีขาวพาดกลางลำตัว 1-3 แถบ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นชนิดเดียวกันก็จะมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอ ซึ่งความแตกต่างนี้ทำให้มันจำคู่ได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันด้วย ปลาการ์ตูนอยู่กันเป็นครอบครัว กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เป็นปลาที่หวงถิ่นมาก มีเขตที่อยู่ของตนเอง ปลาการ์ตูนออกลูกเป็นไข่ และมันสามารถเปลี่ยนเพศได้ เรื่องนี้ นพดล ค้าขาย แห่งศูนย์การศึกษาการพัฒนาประมงอ่างคุ้งกระเบน อธิบายว่า ปลาการ์ตูนเปลี่ยนเพศเมื่อสิ่งแวดล้อมกำหนดบทบาทให้ โดยในระยะแรกเริ่มหลังจากที่ฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าเป็นเพศใด จนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยจึงจะปรากฏเป็นปลาเพศผู้ และในปลารุ่นเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นปลาเพศเมีย โดยในสังคมของปลาการ์ตูนกลุ่มหนึ่งๆจะมีปลาเพศเมียเพียงตัวเดียวเท่านั้น ตัวใหญ่ที่สุดในฝูง สีสันไม่สดใสมากนัก พฤติกรรมก้าวร้าว ส่วนปลาเพศผู้มีขนาดเล็กกว่า สีสันสวยงามกว่า จากปลาเพศผู้ เมื่อมีสิ่งเร้าจากภายนอกและภายในเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ เทเลนฟาลอน (Telenephalon) จะส่งสัญญาณมาที่ธาลามัส (Thalamus) และไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศผู้ อวัยวะเป้าหมายส่วนที่จะพัฒนาจนสามารถทำงานได้คืออัณฑะผลิตสเปิร์ม ส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดจะมีพัฒนาการตรงกันข้าม ไฮโปธาลามัสจะส่งคำสั่งไปยังต่อมใต้สมองให้หลั่งฮอร์โมนเฉพาะของเพศเมีย อวัยวะเป้าหมายคือรังไข่ ผลิตไข่ และถ้าเพศเมียตายไป ปลาการ์ตูนเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แข็งแกร่งที่สุด จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพศทดแทนด้วยกลไกแบบหลังภายใน 4 สัปดาห์ โดยจะเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็ว พร้อมสีสันสวยน้อยลง ปลาการ์ตูนมีทั้ง หมด 28 ชนิด ในเมืองไทยพบปลาการ์ตูน 7 ชนิด พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอินเดียน ดอกไม้ทะเลที่ปลาการ์ตูนชื่นชอบเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง มันมีเข็มพิษ แต่ไม่เป็นอันตรายกับปลาการ์ตูน เป็นพฤติกรรมที่สัตว์สองชนิดพึ่งพากันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย ดอกไม้ทะเลมีหนวดยาวมากมายพลิ้วไหวไปตามกระแสน้ำ ส่วนร่างยึดติดกับโขดหินหรือปะการังเอาไว้ หนวดที่เห็นอ่อนนุ่มเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้หาอาหาร บริเวณปลายหนวดเต็มไปด้วยเข็มพิษจำนวนมหาศาล เมื่อมีปลาว่ายหลงผ่านมา ดอกไม้ทะเลจะใช้หนวดพิษทิ่มแทงเหยื่อให้เป็นอัมพาต แล้วใช้หนวดจับเข้าปาก จึงไม่มีปลาอื่นกล้าว่ายเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล ยกเว้นเพียงปลาการ์ตูน มันเที่ยวว่ายหากินสาหร่ายเล็กๆอยู่รอบๆ ครั้นมีศัตรูมารบกวน มันจะรีบว่ายเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในกอดอกไม้ทะเล ซึ่งที่จริงปลาการ์ตูนก็ได้รับพิษเช่นกัน แต่มันรู้จักปรับตัวโดยใช้วิธีว่ายเข้าไปสัมผัสกับดอกไม้ทะเลทีละน้อยๆแล้วถอยออกมา ทำอยู่จนกระทั่งร่างกายสร้างเมือกขึ้นมาคลุมตัว ช่วยป้องกันเข็มพิษดอกไม้ทะเลได้ในที่สุด สรุปว่าที่ปลาการ์ตูนไม่ตายเพราะพิษของดอกไม้ทะเลเพราะมีเมือกเคลือบทั้งตัว ถ้าเอาเมือกออกปลาการ์ตูนจะถูกพิษของดอกไม้ทะเลตาย ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนตามศูนย์วิจัยหรือฟาร์มต่างๆ แต่ลูกปลาที่ได้จากการเพาะพันธุ์ไม่สามารถนำไปปล่อยแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เพราะมันไม่สามารถปรับตัว ไม่สามารถป้องกันตัวเองจากศัตรู สุดท้ายก็ต้องไปเป็นเหยื่อปลาที่อยู่ตามธรรมชาติ จาก : ข่าวสด คอลัมน์ รู้ไปโม้ด วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
จากข้อมูลอันนี้เนี่ย จริงๆแล้วมันก็รอด สักประมาณ 40-50% ม่ายช่ายเหรอคะ หรือจริงๆ แล้ว เราไม่สามารถรู้ได้ เพราะพอมันโตแล้ว เราก็ไม่ได้ตามไปตรวจเช็คน้องปลาการ์ตูน |
#3
|
||||
|
||||
ที่หินม่วง น่าจะเหลืออยู่เยอะ เพราะนอกจากจะมีดอกไม้ทะเลว่างๆเหลือเฟือแล้ว ยังไม่มีอะไรรบกวนมากเหมือนที่หินมุสัง ซึ่งมีปลาเจ้าถิ่นมากมาย เดือนหน้าเราจะไปดูผลกันครับ .....
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|