เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-08-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว



ระยะนี้เราได้ยินเรื่องแผ่นดินไหวกันบ่อยๆ จนนึกเกรงกันไปว่า โลกเราจะใกล้แตกแล้วหรือไร

เรามาทำความรู้จักกับเรื่องแผ่นดินไหว ที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้รวบรวมมาให้เราได้ศึกษาหาความรู้เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นกลัวจนเกินกว่าเหตุ และหากว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริงๆ เราจะได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติมากขึ้นค่ะ....



อะไรเป็นสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว

ความสั่นสะเทือนของพื้นดินเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทำของธรรมชาติและมนุษย์

ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน ตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก หรือตามแนวรอยเลื่อน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก เป็นต้น

ส่วนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิดต่างๆ การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้น


แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร

แผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นได้จาก

1. แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดจากตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน พม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ส่วนมากบริเวณที่รู้สึกสั่นไหวได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพมหานคร

2. แผ่นดินไหวเกิดจากแนวรอยเลื่อนที่ยังสามารถเคลื่อนตัวซึ่งยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเมยอุทัยธานี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนคลองมะรุย เป็นต้น


ภัยจากแผ่นดินไหวมีอะไรบ้างและส่งผลกระทบอย่างไร

ภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น พื้นดินแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทะลายเนื่องจากแรงสั่นไหว ไฟไหม้ ก๊าซรั่ว คลื่นซูนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางคมนาคมเสียหาย เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดหรือขัดข้อง การคมนาคมทางบก ทางอากาศชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก มีผลต่อการลงทุนและการประกันภัย เป็นต้น


บริเวณใดในประเทศไทยที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวสูงกว่าบริเวณอื่น


บริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทยได้แก่

1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณ ภาคเหนือและตะวันตก ของประเทศไทย

2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหว เป็นระยะเวลานาน ๆ บริเวณนั้นจะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก

3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา เช่น บริเวณที่ลุ่ม หรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น


องค์ประกอบอะไรที่ทำให้ความเสี่ยงและอันตรายจากแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้น?

มีองค์ประกอบหลายประการที่ทำให้บางบริเวณมีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรืออาจได้รับความเสียหายมากกว่าบริเวณอื่น ได้แก่

1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่

2. บริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่น อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวซึ่งมีศักยภาพพอเพียงที่จะทำเกิดความเสียหาย เช่น รอยเลื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหว

3. ช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หากเป็นช่วงที่เหมาะสม บางครั้งในบริเวณหนึ่งแผ่นดินไหว เกิดในเวลากลางวันจะทำความเสียหายมาก แต่บางบริเวณแผ่นดินไหวที่เกิดในเวลากลางคืนอาจทำความเสียหายมากกว่า ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมหรือการอยู่อาศัย ของมนุษย์ในช่วงเวลานั้นๆ

4. มีการวางแผน และประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องมาตรการป้องกันและบรรเทาภัย แผ่นดินไหวของบริเวณ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว หากมีแผนที่ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง สร้างได้แข็งแรงมีมาตรฐาน โดยมีความแข็งแรงสามารถ ป้องกันได้ตามค่าอัตราเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวที่เหมาะสม ตลอดจนรูปร่างที่ดีของสิ่งก่อสร้าง จะสามารถบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินของชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดี

5. ตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือน มีสภาพทางธรณีวิทยาเป็นเช่นไร บริเวณที่เป็นหินแข็งย่อมมีการดูดซับพลังงาน ความสั่นสะเทือนได้ดีกว่าบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งมักจะขยายค่าความสั่นสะเทือนได้ดี ดังนั้นอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณ ที่เป็นดินอ่อนจึงควรมีการพิจารณาในเรื่องการก่อสร้างที่เหมาะสมกับค่าแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น

6. ความยาวนานของการสั่นไหว ถ้ายิ่งมีช่วงเวลามาก ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นมาก

7. ความลึกของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่เกิดลึกๆ จะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่า แผ่นดินไหวตื้น

8. ทิศทางการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน จะมีผลต่อสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตรงหรือรับแรงในทิศทางของการเคลื่อนตัว


หน่วยงานใดที่มีความรับผิดชอบหรือมีความเกี่ยวข้องเรื่องแผ่นดินไหวในประเทศไทย

สำหรับการวางนโยบายในระดับประเทศ มีคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหลายหน่วยงาน และผู้เชี่ยวขาญด้านแผ่นดินไหว วิศวกร รวมทั้งหน่วยงานที่อยู่ในภาครัฐและเอกชน ทำหน้าที่ดำเนิน กิจกรรมด้านแผ่นดินไหวของประเทศทางด้านวิชาการ โดยจัดตั้งโครงการ แผนงานต่าง ๆ เพื่อการป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหวของชาติ มีนาวาเอกขจิต บัวจิตติ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเป็น รองประธานฯ กองพยากรณ์อากาศเป็นฝ่ายเลขานุการฯ

นอกจากนั้นมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการตรวจวัดแผ่นดินไหว ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวอยู่ทั่วประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายบริเวณเขื่อน ต่างๆ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ติดตั้งเครือข่าย แบบ ARRAY ที่จังหวัดเชียงใหม่ และกรมชลประทาน ติดตั้งเครือข่ายเล็กๆ บริเวณจังหวัดแพร่


เมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย จะเกิดแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) อีกหรือไม่

โดยปกติไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ณ ที่ใด เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดในระดับ ปานกลาง ตั้งแต่ 5.0 ริคเตอร์ ขึ้นไป มักเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีก แต่ขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมักจะลดลง เช่น เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.0 ริคเตอร์ ขนาด แผ่นดินไหวตามมาจะเป็นแผ่นดินไหว ขนาดโดยประมาณตั้งแต่ระดับ 6 ริคเตอร์ ลงไป เป็นต้น


ขนาด ริคเตอร์ มีความหมายอย่างไร

ริคเตอร์เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งค้นคิดวิธีคำนวณขนาดแผ่นดินไหว เป็นคนแรก ดังนั้นเพื่อให้เป็นเกียรติจึงเรียกหน่วยของขนาดแผ่นดินไหว ว่า “ ริคเตอร์ ”

ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) เป็นปริมาณที่สัมพันธ์กับพลังงานแผ่นดินไหว คำนวณขนาดได้จากความสูงของคลื่นแผ่นดินไหว ที่ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เพื่อบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหว ณ ตำแหน่งที่เกิดหรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์กลางแผ่นดินไหว” ขนาดแผ่นดินไหวในทางทฤษฏีไม่มีขีดจำกัด แต่ในความเป็นจริงยังไม่มีแผ่นดินไหวใดเกิดขึ้นเกินกว่า 9.0 ริคเตอร์


ความรุนแรงแผ่นดินไหวคืออะไร?

ความรุนแรงแผ่นดินไหว คือ อันดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว วัดโดยใช้ความรู้สึกของการสั่นสะเทือน กับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว เป็นสิ่งกำหนดอันดับความรุนแรง โดยมีตารางบรรยายเปรียบเทียบ เรียงลำดับจากความรู้สึก ความเสียหายจากน้อยไปมาก รวมถึงสภาพทางธรณีวิทยาที่เปลี่ยนแปลง ในกรณีของประเทศไทยใช้มาตราเมอร์แคลลีซึ่งแบ่งออกเป็น 12 อันดับ


เขื่อนที่สร้างในบริเวณแผ่นดินไหว โดยเฉพาะภาคตะวันตกของประเทศจะเป็นอันตรายหรือไม่?

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตให้คำรับรองว่าเขื่อน ที่สร้างขึ้นได้คำนึงถึงเรื่องแผ่นดินไหวในการออกแบบโครงสร้าง แล้วและสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ถึงขนาด 7.0 ริคเตอร์ โดยทั่วไปจากสถิติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ซึ่งสามารถตรวจพบในปัจจุบันมีขนาดไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์


ประชาชนควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว?

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้อยู่อย่างสงบ มีสติ คิดหาหนทางที่ปลอดภัย หมอบอยู่บริเวณที่สามารถป้องกันสิ่งของหล่นใส่ เช่น บริเวณใต้โต๊ะ ใต้เตียง หลีกเลี่ยงให้ห่างจากหน้าต่าง หากอยู่นอกอาคารให้อยู่ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว เป็นต้น


ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตของประเทศไทยเป็นอย่างไร? โดยเฉลี่ยแผ่นดินไหวในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละกี่ครั้ง และทำไมดูเหมือนว่าปัจจุบันมีแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้น?

ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตส่วนใหญ่ บ่งบอกถึงความรุนแรงแผ่นดินไหว ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ปูม พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้โดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีตำแหน่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศ ข้อมูลแผ่นดินไหวต่างๆ สามารถค้นจากการบันทึกเหล่านี้ พบว่าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้น ตั้งแต่ 624 ปี ก่อนคริสตศักราช บางครั้งเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้เมืองล่ม เช่น เหตุการณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 1003 มีการบันทึกว่าเมืองโยนกนครล่ม เนื่องจากการสั่นสะเทือน ส่วนใหญ่เหตุการณ์ได้บันทึกถึงความรู้สึกสั่นไหว ความเสียหาย และความตื่นตระหนก ของผู้คน ปัจจุบันพบว่าแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละ 6-8 ครั้ง โดยเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีตำแหน่งศูนย์กลางทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ

ส่วนสาเหตุที่ดูเหมือนว่า ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นนั้น แท้ที่จริงแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นปกติเช่นนี้ตั้งแต่อดีต แต่เนื่องจากการสื่อสารในอดีตไม่รวดเร็ว จึงทำให้การรับรู้เรื่องความสั่นสะเทือนไม่แพร่หลาย ต่างจากปัจจุบันที่การสื่อสารรวดเร็ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแม้ว่าอยู่ห่างไกลอีกมุมหนึ่งของโลก ก็สามารถทราบข่าวได้ทันที อีกทั้งความเจริญทำให้เกิดชุมชนขยายตัวล้ำเข้าไป อยู่ใกล้บริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ชุมชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในอดีต

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 09-08-2010 เมื่อ 10:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-08-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

กรมอุตุนิยมวิทยา บริการข้อมูลแผ่นดินไหวและด้านวิชาการแผ่นดินไหวประเภทใด ?

กรมอุตุนิยมวิทยาให้บริการข้อมูลด้านการตรวจวัด ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวทั้งในและต่างประเทศ เวลาเกิด ขนาด สถิติแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน ความรู้ วิชาการด้านแผ่นดินไหวและวิศวกรรมแผ่นดินไหวแผ่นดินไหว การดำเนินงานของคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ ความร่วมมือด้านแผ่นดินไหว และวิศวกรรมแผ่นดินไหวระหว่าางประเทศไทยกับ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อาเซียน เป็นต้น


เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหวทำงานอย่างไร รัศมีการตรวจวัดเท่าใด


เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เรียกว่า Seismograph มีหลักทำงานอย่างง่ายๆ คือ เครื่องมือจะประกอบด้วย เครื่องรับความสั่นสะเทือน แปลงสัญญานความสั่นสะเทือนเป็นสัญญานไฟฟ้า จากนั้นถูกขยายด้วยระบบขยายสัญญาน และแปลงกลับมาเป็นการสั่นไหว ของปากกาที่บันทึกบนแผ่นกระดาษ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยมีสัญญานเวลาปรากฏบนกระดาษบันทึกอย่างสม่ำเสมอทุกนาที ทำให้ทราบว่าคลื่นแผ่นดินไหว ที่เดินทางมาถึงสถานีเมื่อไร รัศมีการตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว ของกรมอุตุนิยมวิทยาสามารถ ตรวจคลื่นแผ่นดินไหวได้ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด ขนาดแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยาจะคำนวณเฉพาะคลื่นแผ่นดินไหว ใกล้ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร



เครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยามีกี่แห่งที่ไหนบ้าง

ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจแผ่นดินไหวอยู่ 2 ระบบ ได้แก่

1. ระบบ Analog ได้แก่ ที่ จังหวัด เชียงราย น่าน ตาก นครสวรรค์ เขื่อนเขาแหลม กาญจนบุรี เลย อุบลราชธานี ขอนแก่น ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต สงขลา และจันทบุรี

2. ระบบ Digital ได้แก่ ที่ จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ตาก แม่ฮ่องสอน แพร่ เลย ขอนแก่น นครราชสีมา กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี และสงขลา


ความรุนแรงแผ่นดินไหวเท่าใดที่เริ่มก่อให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้าง?

โดยทั่วไปความรุนแรงแผ่นดินไหว อันดับ VI ตามมาตราเมอแคลลีเสกล เป็นความรุนแรงที่เริ่มต้นก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยกับอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว


ในอดีตนั้นเคยมีแผ่นดินไหวในประเทศไทยซึ่งทำความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างอย่างชัดเจน ที่ไหน เมื่อไร?

แผ่นดินไหวที่เกิด บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ ทำให้ความเสียหายให้กับโรงพยาบาลอำเภอพาน โรงเรียน และวัดต่าง ๆ นับสิบ ๆ แห่ง บริเวณใกล้ศูนย์กลาง บางอาคารถึงกับขั้นใช้การไม่ได้


ทำไมจึงเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ๆ ในต่างประเทศ แต่ไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในประเทศไทย?

แผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดในต่างประเทศ เกิดเนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในแนวของ แผ่นดินไหวโลก ซึ่งเป็นรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ส่วนประเทศไทยนั้นไม่อยู่ย่านดังกล่าว แต่มิใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว นักธรณีวิทยาพบว่า ยังมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้แก่รอยเลื่อนใหญ่ๆ หลายแนวซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทราบถึง ลักษณะที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้หรือไม่ โดยทั่วไป ในปัจจุบันอันตรายที่เกิดขึ้นของภัยแผ่นดินไหว ในประเทศไทยมักเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดกลาง


การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทำได้อย่างไร

การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทั้งในระยะสั้นระยะยาว ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเสี่ยงที่เหมาะสม สร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตามความเสี่ยงของแผ่นดินไหว ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาภัยเมื่อก่อนเกิด ขณะเกิด และภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น


นักวิทยาศาสตร์สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหว ได้หรือไม่?

เรื่องของการพยากรณ์แผ่นดินไหวปัจจุบันยังไม่สามารถกระทำได้ให้ถูกต้องแม่นยำ ทั้งด้านเวลาและสถานที่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ จึงยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกในอนาคต การดำเนินการศึกษา เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหวในปัจจุบันมีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจวัดของค่า พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น วัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก วัดค่า แรงเค้น (Stress) และความเครียด (Strain) ของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดสนามแม่เหล็กโลก วัดค่าความโน้มถ่วงในพื้นที่ต่างๆ วัดคลื่นความถี่วิทยุ รวมถึงการสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น น้ำใต้ดิน พฤติกรรมของสัตว์ และอื่นๆ เป็นต้น


แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่บริเวณใด เกิดเมื่อไร ขนาดเท่าใด?

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 จนถึงปัจจุบันกรมอุตุนิยาวิทยาตรวจพบแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงสุดที่บริเวณอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ มีความสั่นสะเทือนซึ่งประชาชน รู้สึกถึงการสั่นสะเทือนได้เกือบทั้งประเทศ


ขอบคุณข้อมูลจาก....กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=77

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-08-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



แจ้งหรือติดตามเรื่องแผ่นดินไหวทั่วโลกได้ตลอดเวลาที่ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.seismology.tmd.go.th/

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 09-08-2010 เมื่อ 10:50
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 27-03-2017
moon1245
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายน้ำ.
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:02


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger