#1
|
||||
|
||||
หอยหลอด
หอยหลอด หอยหลอดเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus Gould 1861 เป็นหอยสองฝาที่มีตัวอาศัยอยู่ในฝาที่ประกบทั้งสองข้าง หรือหอยทะเลกาบคู่ รูปร่างคล้ายหลอดกาแฟ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีขาวขุ่น ส่วนหัวนิ่ม ส่วนปลายเหนียว หอยที่โตเต็มที่จะกลมยาว 7-8 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนปนทรายบริเวณปากแม่น้ำ ช่วงน้ำแห้งจะเป็นโอกาสที่ชาวประมงจับหอยหลอดได้ โดยหอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหาร หรือเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่ การจับหอยหลอดต้องใช้มือกดลงบนพื้นทราย เมื่อปรากฏฟองอากาศและเห็นรู จะใช้ไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไปในรู ทำให้หอยโผล่ขึ้นมาให้จับ แล้วต้องรีบเก็บใส่ภาชนะไว้ มิฉะนั้นหอยจะมุดดินหนีลึกลงไปกว่าเดิม ช่วงที่เหมาะสำหรับการจับมากที่สุด คือเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะตอนกลางวันน้ำจะลดลงมาก ทำให้สันดอนโผล่พ้นน้ำ เนื้อหอยหลอดนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท แต่ที่นิยมคือทอดกรอบ ต้มยำ และผัดฉ่า พบมากในเขตพื้นที่ทะเลโคลนก้นอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่สมุทรปราการไปถึงเพชรบุรี แต่พบมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยเฉพาะที่ดอนหอยหลอด ดอนหอยหลอดเป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง มีบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ในตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดจากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำ เป็นสันดอนยื่นออกไปในทะเลราว 8 กิโลเมตร เวลาน้ำลงจะปรากฏพื้นโคลนเลนกว้างราว 4 กิโลเมตร พื้นเป็นตะกอนนุ่มและอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ หลายปีที่ผ่านมาจำนวนหอยหลอดเริ่มลดน้อยลง สาเหตุมาจากการจับที่ไม่ถูกวิธีของชาวบ้านและน้ำเสียที่เพิ่มขึ้น ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มตื่นตัวมีการจัดเวทีประชาคม เพื่อหาทางแก้ปัญหาและแนวทางการอนุรักษ์หอยหลอด ปี 2541 มีการกำหนดจุดอนุรักษ์พื้นที่ประมาณ 1,250 ไร่ ตั้งแต่ปากคลองตาเถื่อนถึงปากคลองฉู่ฉี่ แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เมษายน พ.ศ.2552 จังหวัดร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่มีมติร่วมกันให้มีการปิดหอยหลอด จำนวน 4 ดอน ครั้งละ 1 ดอนสลับกันไป นอกจากนี้ยังบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยนำพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 19 ที่ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดห้ามเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษลงไปในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆ อันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษ และมาตรา 52 ที่ให้คณะกรรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศห้ามมิให้บุคคลเข้าไปในที่จับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่าเมื่อเทียบกับปี 2547 ปัจจุบันจำนวนหอยหลอดลดลงมากกว่า 90% โดยเมื่อปี 2549 พบปริมาณหอยหลอดเฉลี่ยตารางเมตรละ 4.4 ตัว แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเฉลี่ยตารางเมตรละ 0.4 ตัวเท่านั้น และเมื่อ 10 ปีก่อนชาวประมงสามารถจับหอยหลอดได้มากกว่า 10 กิโลกรัมต่อวัน แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 3 กิโลกรัมต่อวัน เป็นวิกฤตร้ายแรงของพื้นที่ดอนหอยหลอด จาก : ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่13 วันที่ 16 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
วิกฤตทุกหย่อมหญ้าแล้วสิเนี่ย.......ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ไม่ว่าสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ บนบก...ในน้ำเดือดร้อนหมดแล้วววววว |
#3
|
||||
|
||||
เอ ..... แล้วที่ผู้หญิงเค้าด่ากันว่า "ยัยหอยหลอด" มันหมายความว่ายังไงครับ ไม่เห็นมันน่าจะเกี่ยวอะไรกันกับเพศหญิงสักนิดเดียว
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
มันน่าจะหมายถึงยืดๆหดๆ นะครับ
__________________
พึงสังวรใน มรณานุสติ เสมอเพื่อตั้งอยู่บนความไม่ประมาท แล้วชีวิตจะปลอดภัย |
#5
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
เพราะจังเนอะ....ยายหอยหลอด 5555555 แล้วถ้าเป็นผู้...หล่ะค่ะเนี่ย????? หรือว่าจะเกี่ยวกับเพศอื่น?????????? |
|
|