เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 09-08-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default การเพาะพันธุ์เห็ดทะเลเชิงพาณิชย์




การเพาะพันธุ์เห็ดทะเลเชิงพาณิชย์


เห็ดทะเลเป็นสัตว์ทะเลสวยงามชนิดหนึ่ง ที่ผู้นิยมเลี้ยงปลาทะเลทั้งหลายนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย เห็ดทะเลจึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ของผู้เลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงาม แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว เห็ดทะเลนับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกตาและไม่คุ้นเคย จนบางครั้งหลายคนอาจเกิดความสับสนว่าเห็ดทะเลเป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่ง

นักชีววิทยาทางทะเลได้จัดเห็ดทะเลไว้ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) ซึ่งเป็นพวกเดียวกับ ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล และแมงกะพรุน นอกจากนี้เห็ดทะเลยังเป็นสัตว์ทะเลที่ยังไม่ถูกห้าม เลี้ยงโดยพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 อีกด้วย เป็นเหตุให้ปัจจุบันเห็ดทะเลถูกจับขึ้นมาจากแหล่งธรรมชาติ เพื่อนำมาเลี้ยงในตู้ปลาทะเลเป็นจำนวนมาก จนอาจเสียสมดุลของระบบนิเวศน์ได้

เห็ดทะเลเป็นสัตว์กลุ่มที่มีลักษณะเด่น คือ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยเมื่อถูกตัดส่วนใดส่วนหนึ่งไป เห็ดทะเลสามารถที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวใหม่ได้ซึ่งจากการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ และระบบต้นแบบในการผลิตเห็ดทะเล ก็สามารถผลิตเห็ดทะเลได้ แต่ยังไม่ถึงขั้นให้ได้ปริมาณเหมาะสมกับการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้เพราะการผลิตเห็ดทะเลให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ จำเป็นต้องมีระบบการเลี้ยงที่เหมาะสม

ดังนั้น สำนักพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. จึงสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์เห็ดทะเลสายพันธุ์ของประเทศไทยและสายพันธุ์ต่างประเทศซึ่งเป็นที่นิยมในระดับเชิงพาณิชย์ โดยมุ่งพัฒนาระบบการเลี้ยงและศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของเห็ดทะเล เพื่อผลิตเห็ดทะเลที่ได้จากการขยายพันธุ์ให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อการดำเนินการในเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังเป็นแนวทางในการช่วยอนุรักษ์พันธุ์เห็ดทะเลในธรรมชาติได้อีกด้วย


ถิ่นที่อยู่อาศัยของเห็ดทะเล

เห็ดทะเลดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังทั่วไป มักพบอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้น (Fringing reef) ของเขตร้อนทั่วโลก เห็ดทะเลอาศัยและเจริญเติบโตบนก้อนหินหรือซากปะการังที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรืออาจมีการเคลื่อนที่เล็กน้อยเพื่อความอยู่รอดและการขยายพันธุ์


การกินอาหารของเห็ดทะเล

ในเนื้อเยื่อตามร่างกายของเห็ดทะเลจะมีสาหร่ายเซลล์เดียวที่ชื่อว่า ซูแซนทาลี่ (Zooxanthallae) อาศัยอยู่และเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (Symbiosis) เห็ดทะเลจะได้รับสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงของซูแซนทาลี่เป็นหลัก บางครั้งพบว่าซูแซนทาลี่ที่เจริญ เติบโตมีจำนวนมากเกินไปเห็ดทะเลก็สามารถกรองกินซูแซนทาลี่นั้นได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น นอกจากนี้ เห็ดทะเลบางชนิดยังสามารถจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกินเป็นอาหาร เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา เป็นต้น ซึ่งเป็นการกินอาหารของเห็ดทะเลอีกวิธีหนึ่ง


การสืบพันธุ์ของเห็ดทะเล

เห็ดทะเลมีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ดีมาก ส่วนมากที่พบคือการแตกหน่อ เห็ดทะเลจะใช้ฐานเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากตำแหน่ง เดิมแต่จะทิ้งเนื้อเยื้อส่วนหนึ่งไว้เล็กน้อย เนื้อเยื่อเหล่านี้จะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นเห็ดทะเลตัวใหม่ได้ พบว่าเห็ดทะเลบางชนิดที่มีความสมบูรณ์สามารถแตกหน่อได้ถึง 5-6 หน่อในระยะเวลา 1 ปี อีกวิธีหนึ่งที่พบเห็นทั่วไป คือ เห็ดทะเลจะปล่อยตัวเองออกจากวัสดุยึดเกาะ และล่องลอยไปกับกระแสน้ำเมื่อไปตกในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เห็ดทะเลเหล่านั้นจะสามารถเจริญเติบโตต่อไป


สำหรับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดทะเลที่ สวก. สนับสนุน เป็นการพัฒนาการเลี้ยงเห็ดทะเลที่ได้จากการนำพันธุ์เห็ดทะเลมาผ่าหรือตัดแบ่งชิ้นส่วนของเห็ดทะเลออก แล้วนำมาอนุบาลจนชิ้นส่วนของเห็ดทะเลฟื้นตัว และเริ่มเกาะติดวัสดุอย่าง เช่น เปลือกหอย (ใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วัน) จากนั้นจึงเริ่มนำชิ้นส่วนของเห็ดทะเลที่เกาะติดกับเปลือกหอยมาติดกับก้อนวัสดุหรือหินมีชีวิตอีกครั้ง แล้วนำมาเลี้ยงอนุบาลต่อจนเห็ดทะเลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี โดยเลี้ยงในบ่อเลี้ยงซึ่งใช้ระบบน้ำหมุนเวียน หรือ ระบบปิดที่มีการบำบัดน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงผ่านระบบการบำบัดทางกายภาพ ด้วยการกรองผ่านชั้นกรองต่างๆ เช่น เส้นใยผ้า เปลือกหอย เป็นต้น จากนั้นจึงผ่านไปยังระบบการบำบัดทางชีวภาพ ด้วยการพักในบ่อ ปรับสภาพที่มีสาหร่ายหรือพืชน้ำซึ่งช่วยกำจัดของเสียต่างๆในระบบได้ แล้วหมุนเวียนน้ำที่ผ่านการบำบัดและปรับสภาพแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ในระบบการเลี้ยง


ระบบการเลี้ยงเห็ดทะเลแบบปิด

ประโยชน์ของการพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ดทะเล โดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียน สามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิต และเป็นตัวอย่างในการจัดการระบบการเลี้ยง ทำให้สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งสามารถเพิ่มโอกาสให้ผู้สนใจที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำทะเลสามารถพัฒนาหรือนำแนวทางมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงเห็ดทะเลในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย

โดยกลุ่มเป้าหมายในระยะแรกๆเป็นประชาชนทั่วไปที่สนใจในการเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงาม หรือเลี้ยงประดับตู้ปลาทะเล และเมื่องานวิจัยในการพัฒนาเทคโนโลยีการเลี้ยงเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็สามารถขยายผลไปยังกลุ่มผู้ประกอบการที่สนใจการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้

โดยหลังจากมีการใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว ในปัจจุบันและในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงามจะเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะผู้ที่สนใจสามารถนำไปใช้ส่วนตัวเองหรือพัฒนาต่อไป สู่การดำเนินการในเชิงพาณิชย์ต่อๆไปได้ ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้อีกด้านหนึ่งก็ถือเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากร ที่มีในธรรมชาติให้คงมีอยู่อย่างสมบูรณ์ต่อไปได้




จาก ................. แนวหน้า วันที่ 9 สิงหาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-03-2024 เมื่อ 07:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 09-08-2011
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

เชื่อหรือไม่ว่า เห็ดทะเลเพาะได้ทั่วไป ความรู้กระจายไปอย่างที่แทบไม่มีปิดกั้นกันแล้ว แต่การจับจากธรรมชาตินั้นยังไม่ลดลงเลย

ใช้พื้นที่ตู้ปลาแค่ 2 ตารางฟุตก็เพาะเห็ดทะเลปีๆ ได้มากกว่า 30-40 ก้อนสมบูรณ์ๆ แล้ว (ถ้าตั้งใจเพาะ)

แต่เราก็ยังคงเห็นจับมาจากทะเลจนหน่าย
ความคิดส่วนตัวครับ คือ ยังไม่มีการสนับสนุนการเลี้ยงหรือการส่งต่อความรู้ปลาทะเลอย่างถูกต้องนัก ทำให้มือใหม่พากันไปตายหมด ส่วนมือเก่านั้นไม่ค่อยให้ความร่วมมือใดๆกับภาครัฐเพราะกลัวหางเลข และที่สำคัญที่สุด มีคนซื้อมันเลยมีคนไปหามาขาย

เฉพาะเห็ดทะเลนะครับ ในธรรมชาติ ถึงโดนประมงซี๊ซั้วไปบ้าง ไม่นานก็ยังพอจะฟื้นได้ครับ แต่การจับออกมาเลยคือการลดจำนวนแบบไม่ต้องรอฟื้นกันเลย
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 09-08-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



ปัญหาโลกแตกจริงๆเลยนะคะน้องหอยกะทิ...


คนเพาะพันธุ์ก็เพาะไป มีคนใจดีช่วยนำไปปล่อยในทะเลบ้าง แล้วก็มีพวกมักง่ายเห็นแก่เงิน พากันดำน้ำลงไปเก็บมาขายแบบสบายๆ


น่าเบื่อหน่ายจริงๆค่ะ...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 10-08-2011
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

พี่น้อยครับ จริงๆ เรื่องเพาะไปปล่อยคืนผมก็เคยคิดนะครับว่า จะแฟลกให้ได้หลายๆก้อน แล้วเอาไปร่วมปล่อยด้วย

แต่ห่วงเรื่องปล่อยนี่แหละครับ ไม่รู้ว่าจะรอดไหม เพราะสภาพแวดล้อมต่างกันค่อนข้างมากในตู้เลี้ยงกับ ทะเลจริง ขอไปหาข้อมูลก่อน ถ้ามีความเป็นไปได้ ผมจะเริ่มทำพร้อมกับการปลูกหญ้าทะเล อีกครั้งด้วยเลยครับ


ปล.ตอนนี้ในบ้านมีแต่ตู้ อะกึ๋ย ??? 555 เรื่องคนปล่อย แล้วมีคนดำเก็บมาขาย กับหอยมือเสือ เจอตลอดครับ ในร้านขายปลาดูออกชัดๆเลยว่าหอยปล่อยหรือหอยเกิดเอง เปลือกคนละเบอร์เลยครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 10-08-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



น้องเอกขา...ขอบคุณค่ะที่จะให้ไปปล่อยเห็ดทะเล...


พี่ได้ยินมาว่า ทางหน่วยงานหนึ่งเพาะพันธุ์เห็ดทะเลแล้วให้เอกชนไปดำน้ำปล่อยแถวๆชุมพรและเกาะเต่า พี่ได้ไปเห็นที่เขานำไปปล่อยใหม่ๆ ก็ดูท่าว่าเห็ดทะเลน่าจะอยู่รอด และเมื่อได้กลับไปดูอีกครั้งก็เห็นว่าเขาอยู่รอดจริงๆ และแพร่ลูกแพร่หลานขยายอณาจักรออกไปจนจะคลุมหินหมด





แต่เห็ดทะเลที่ขึ้นอยู่มากมายหนาแน่นนั้น แทนที่จะดูสวยงาม กลับดูน่ากลัวและไม่สวยเลย และดูท่ามันจะรุกรานสัตว์ทะเลอื่นๆด้วย ทั้งปะการัง กัลปังหา ดูซบเซาไป ตัวอ่อนก็คงจะหาที่ลงไม่ได้ หรือแม้แต่หอยมือเสือที่เรานำไปปล่อย มันก็ขึ้นอยู่เต็มตัว จนไม่เห็นเปลือกหอยเลย



พี่ไม่ทราบว่ามันจะดีหรือไม่ดีที่มีเห็ดทะเลเยอะๆ...แต่ใจนั้น ไม่ค่อยชอบใจเลยค่ะ...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 24-08-2011
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

อืม.... คงต้องมีการศึกษามากกว่านี้แล้วครับ ในการนำกลับไปปล่อย เพราะมันมีผู้ล่าไม่กี่ชนิด ล้วนแล้วก็ถูกจับไปขายทั้งนั้น และลำพังตัวมันเองก็ขยายได้เร็วพอสมควร

ถ้าแนวปะการังคือป่า

สุดท้ายแล้วกระดุม หรือพวกเห็ด จะกลายเป็น เถาวัลย์หรือไม่หนอ ?
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:47


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger