เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > คุยเฟื่องเรื่องดำน้ำ

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-09-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default โรคหอบหืด กับ ความเสี่ยงในการดำน้ำ

โรคหอบหืด กับ ความเสี่ยงในการดำน้ำ

สุขภาพกับการดำน้ำ โดยหมอเอ๋ เมื่อ 6 กันยายน 2011 เวลา 11:27 น.


************************************************************************************************


โรคหอบหืดนั้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการตัดสินใจ ที่จะเริ่มเรียนดำน้ำ


ในกฏเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นนักปฏิบัติการใต้น้ำของทางราชการนั้น หากพบว่า มีประวัติเจ็บป่วยเป็นโรคหอบหืด จะถือว่าขาดคุณสมบัติในทันที


แต่ สำหรับการดำน้ำแบบสันทนาการ หรือ การดำน้ำเพื่อการกีฬาในภาคพลเรือน ก่อนจะกรอกใบสมัครเข้าเรียนดำน้ำ จะมีคำถามที่ให้ผู้เรียนตอบว่า ท่านมีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรค หอบหืดหรือไม่ ซึ่ง ผู้กรอก อาจกรอกตามความเป็นจริงหรือปกปิดข้อมูลการเจ็บป่วยนั้นได้ แต่หากครูผู้สอนมีความสงสัยก็อาจส่งตัวมาให้แพทย์ ทำการตรวจยืนยัน และออกใบรับรองแพทย์ก่อนทำการเรียนได้ครับ


ทีนี้ หอบหืดนั้น ไม่สมควรจะดำน้ำในทุกกรณีจริงหรือไม่ เราจะมาพูดคุยกันในประเด็นนี้นะครับ



พยาธิสถาพของโรคหอบหืด ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการดำน้ำ

มีอยู่สองประเด็นหลักๆดังนี้ครับ


1) เมื่อนักดำน้ำลงไปอยู่ใต้ผิวน้ำ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของการดำน้ำตามปกตินั้น ความจุปอดจะลดลงโดยอิทธิพลของแรงกดบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น และ ความหนาแน่นของอากาศที่ใช้หายใจก็จะสูงขึ้น ตามแรงกดบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในผู้ป่วยหอบหืด หากเกิดอาการในขณะอยู่ใต้น้ำ การตีบของหลอดลมเล็กๆ ในปอดก็จะยิ่งทำให้ปริมาณอากาศที่จะใช้ยิ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และจะรุนแรงมากไปอีกหากร่างกายต้องมีการออกกำลังมากๆใต้น้ำเช่นการออกแรงเตะขาเพื่อสู้กับกระแสน้ำ


2) การตีบและหดตัวของหลอดลมเล็กๆในปอด ประกอบกับการมีเสมหะหรือสารคัดหลั่งในหลอดลมเล็กๆ จะทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ และ ทำให้อากาศถูกขังค้าง อยู่ในถุงลม ... เมื่อมีการเปลี่ยนความลึกไปยังที่ๆ มีความลึกน้อยลง ความกดบรรยากาศที่ลดลงจะทำให้ปริมาตรอากาศที่ถูกขังไว้ขยายตัวขึ้นและไม่มีทางระบายออกไปได้ จะนำไปสู่การฉีกขาดของถุงลม หรือ หากรุนแรงมากก็จะทำให้เยื่อหุ้มปอดฉีกขาด และการเกิดฟองอากาศไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตใด้ ครับ



เมื่อเข้าใจถึงพยาธิสภาพ ของหอบหืด ที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการดำน้ำแล้ว เราก็มาดูกันเลยนะครับว่า ผู้ป่วยหอบหืด กลุ่มใดบ้างที่ " ไม่ควรดำน้ำอย่างเด็ดขาด " และ กลุ่มใด ที่พอจะยอมให้ทำการดำน้ำได้ แบ่งได้เป็นกลุ่ม คร่าวๆ ตามนี้ครับ



กลุ่มที่1

1) อาการหอบหืดที่ยังเป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ

2) อาการหอบหืดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยา

3) อาการหอบหืดที่ จะแสดงอาการเมื่อถูกกระตุ้นโดย การออกกำลัง , การสัมผัสอากาศเย็น , หรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

4) อาการหอบหืดที่ ไม่เกิดอาการสม่ำเสมอ แต่เมื่อมีอาการแล้วมีอาการรุนแรง ต้องอาศัยยาพ่นหรือยาฉีดในการควบคุมอาการ

หากมีข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น " ไม่ควรดำน้ำอย่างเด็ดขาด " ครับเพราะอาจเกิดอันตรายแก่ชีวิต ของท่านเอง และบัดดี้ของท่านได้



กลุ่มที่2

2.1)ในผู้ป่วยบางกลุ่ม อาการหอบหืด มักไม่ได้เป็นตลอดเวลา อาจจะเป็นๆหายๆ เช่น บางคนจะเกิดอาการเฉพาะที่มีการเป็นหวัด หรือติดเชื้อทางเดินหายใจที่ เป็นมาซักระยะนึงแล้วอาการติดเชื้อยังไม่ดีขึ้นเช่น สองสามสัปดาห์ จากนั้นจึงมีอาการหอบหืดเกิดขึ้นให้เห็น หรือ อาการหอบหืดที่เกิด เฉพาะบางช่วงของปีหรือฤดูการ ( อาจสัมพันธ์กับละอองเกสรของพืชบางชนิดที่มีมากในอากาศในบางฤดูการ ) ในกรณีนี้นั้น .... หากผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะทำการดำน้ำ จะต้องได้รับการรักษา ให้หายสนิทปราศจากอาการหอบหืด ก่อนการลงดำน้ำทุกครั้งและมีแพทย์เป็นผู้ประเมินแและให้การรับรองก่อนการลงดำน้ำทุกครั้งเช่นกัน



2.2) สำหรับคนที่เป็นหอบหืด ที่ไม่แสดงอาการบ่อย ,ไม่มีอาการรุนแรง สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการรับประทานยา ไม่ต้องใช้ยาพ่นหรือยาฉีดเพื่อควบคุมอาการ และ ผลตรวจคัดกรองความจุปอด ก่อนทำการดำน้ำ เป็นปกติ และ เมื่อทดสอบให้ออกกำลังกาย แล้วไม่พบอาการหอบหืด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจได้รับการพิจรณาให้ทำการดำน้ำได้



อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่ เป็นหอบหืดแต่ได้รับการพิจรณาว่า สามารถดำน้ำได้ก็ควรจะต้องระลึกไว้เสมอว่า การดำน้ำโดยที่มีโรคประจำตัวหรือมีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรค หอบหืดนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคจากการดำน้ำเช่น Pulmonary baro-trauma ( การบาดเจ็บจากแรงดันที่ทำให้ถุงลมในปอดฉีกขาด หรืออาจรุนแรงจนเยื่อหุ้มปอดฉีกขาด ) , Cerebral arterial gas embolism ( การที่มีฟองอากาศเข้าไปอุดตันในหลอดเลือดแดงของสมอง ) โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทั้งสอง สูงกว่าคนปกติทั่วไปถึง 4 เท่า และ ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการดำน้ำก็สูงกว่า นักดำน้ำปกติทั่วไปเช่นกัน



ดังนั้นก่อนจะทำการเรียนดำน้ำ หรือ จะไปดำน้ำในกรณีที่ท่านเป็นนักดำน้ำที่ผ่านการอบรมแล้ว การให้ข้อมูลที่แท้จริงต่อโรงเรียนดำน้ำ , ผู้ควบคุมการดำน้ำ , บัดดดี้ของท่าน จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง และผู้ที่ดำน้ำร่วมกับท่าน และหาก ท่านที่ไม่แน่ใจเรื่อง สภาพความเจ็บป่วยของท่านที่เป็นหอบหืดอยู่ ว่าสามารถจะทำการดำน้ำได้หรือไม่ ก็ควรจะ รีบไปขอคำปรึกษากับแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำโดยตรง เพื่อจะได้รับการประเมิน และได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมต่อไปครับ


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 03-08-2024 เมื่อ 03:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-09-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่หมอเอ๋ได้ให้แก่พวกเราค่ะ....
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 15:02


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger