#1
|
||||
|
||||
"ความลับ"สุดพิลึกของปลาหมึก
นักวิจัยเผย"ความลับ"สุดพิลึกของปลาหมึก ตัวผู้"ผสมพันธุ์กันเอง"กลางทะเลลึก ภาพ: Monterey Bay Aquarium Research Institute นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันไขปริศนา"ชีวิตรัก"ของปลาหมึกสายพันธุ์น้ำลึก Octopoteuthis deletron หนึ่งในสัตว์น้ำที่ลึกลับมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกได้สำเร็จแล้ว ทั้งนี้ จากการศึกษาภาพฟุตเทจที่ได้จากอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำ ทีมนักวิจัยจากสหรัฐฯพบว่ามันมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดแผกจากสัตว์ทั่วไป นั่นก็คือ มันมักจะมีอะไรๆกับ"เพศเดียวกัน" นักวิจัยเชื่อว่า นี่อาจเป็นเพราะการเสาะหา"เพศตรงข้าม" ในระดับน้ำลึกซึ่งแสงสว่างส่องไปไม่ถึงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งมันไม่มีความสามารถในการแยกว่าตัวใดคือเพศผู้หรือเพศเมีย โดยผลการศึกษาที่เผยแพร่ทางวารสารราชสมาคมชีววิทยาของสหรัฐฯระบุว่า นักวิจัยได้ตรวจสอบภาพจากวิดีโอที่ถ่ายไว้ได้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผ่านอุปกรณ์ควบคุมระยะไกล (Remotely Operated Vehicles) ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากทะเลบริเวณมอนเทอร์เรย์ ซับมารีน แคนยอน นอกชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และโดยเน้นไปที่ปลาหมึกสายพันธุ์ Octopoteuthis deletron ซึ่งมีขนาดความยาวลำตัวราว 12 ซม. ในระดับความลึกระหว่าง 400-800 เมตร กระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีใครสามารถชี้ชัดได้ว่า ระบบการสืบพันธุ์ของมันเป็นเช่นใด มีเพียงข้อมูลที่กล่าวไว้ว่า ปลาหมึกเพศผู้จะใช้อวัยวะส่วนที่ทำหน้าที่แทนอวัยวะเพศ เป็นตัวเก็บตัวอสุจิจำนวนมหาศาลเพื่อแพร่พันธุ์ให้แก่ปลาหมึกเพศเมียผ่านทางเนื้อเยื่อ โดยผู้เขียนบทความ คือนายเฮนดริก โฮวิง จากสถาบันวิจัยมอนเทอเรย์ เบย์ อะควาเรียม อธิบายว่า สถาบันไม่ได้ทำการสังเกตการณ์เหตุการณ์ระหว่างที่ปลาหมึกทั้งสองตัวกำลังผสมพันธุ์กัน แต่พบหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเป็นร่องรอยของการผสมพันธุ์ซึ่งก็คือ "กระเปาะ" ที่บรรจุสเปิร์มของตัวผู้และไข่ของตัวเมีย นายโฮวิงกล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากฟุตเทจดังกล่าวนานหลายชั่วโมง ในปลาหมึกจำนวนกว่า 108 ตัว ซึ่งสามารถระบุเพศได้เพียง 39 ตัว คือเพศเมีย 19 ตัว และเพศผู้ 20 ตัว พบว่า ทั้งปลาหมึกเพศผู้และเพศเมียต่างก็มีกระเปาะดังกล่าว อีกทั้งมีที่ตั้งในจุดเดียวกัน ทีมงานจึงสรุปได้ว่า ปลาหมึกเพศผู้สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งเพศเดียวกัน และเพศเมีย ภาพ: Monterey Bay Aquarium Research Institute นอกจากนั้นทีมวิจัยยังพบว่า จำนวนปลาหมึกเพศผู้และเพศเมียที่มีกระเปาะ มีจำนวนใกล้เคียงกันมาก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การผสมพันธุ์ในเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และไม่แตกต่างจากการผสมพันธุ์ข้ามเพศแต่อย่างใด อีกทั้งจำนวนกระเปาะที่ถูกฝากไว้ ยังแสดงให้เห็นว่า ปลาหมึกสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นสัตว์ที่อาจผสมพันธุ์กันโดยไม่เลือกเพศ นักวิจัยกล่าวว่า พฤติกรรมแปลกประหลาดเช่นนี้ อาจอธิบายได้โดยใช้ข้อเท็จจริงที่ว่า ปลาหมึกพยายามเพิ่มโอกาสในการแพร่พันธุ์เพื่อเอาชนะสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการผสมพันธุ์ตามปกติ อีกทั้งในสภาพน้ำลึก ที่แสงสว่างส่องไปไม่ถึง ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลาหมึกพันธุ์ดังกล่าว โอกาสที่จะได้ผสมพันธุ์กับเพศตรงข้ามเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก นายโฮวิงเสนอว่า พฤติกรรมการผสมพันธุ์ในเพศเดียวกันของปลาหมึก Octopoteuthis deletron เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธิ์ในการสืบแทนพันธุ์ ที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่าวิธีแบบเดิม โดยการ"ล่อลวง"ให้มีการผสมพันธุ์"แบบสุ่ม"กับปลาหมึกตัวใดก็ตามที่มันกำลังเผชิญหน้า จากการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยตั้งความหวังว่า การใช้เทคนิคทางพันธุกรรมเพื่อเป็นตัวกำหนด"ความเป็นพ่อพันธุ์"ของน้ำเชื้อ อีกทั้งการค้นหาว่า มีปลาหมึกเพศผู้มากกว่าหนึ่งตัวหรือไม่ ที่พยายามฝากกระเปาะไว้กับปลาหมึกเพศผู้หรือเพศเมียอีกตัว จะประสบผลสำเร็จ จาก ........................ มติชน วันที่ 21 กันยายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|