#1
|
||||
|
||||
หน้าที่ของทะเล
หน้าที่ของทะเล จาก ...................... ไทยรัฐ คอลัมน์ ชักธงรบ วันที่ 13 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
เป็นบทความที่ดีมาก คำพูดง่ายๆแบบชาวบ้านๆ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนเกี่ยวกับ น้ำขึ้น-น้ำลง ที่เด็ดสุด เห็นจะเป็นบทสรุป ที่ตรงกับใจของสายชลมานาน... น้ำทะเลเขาทำหน้าที่ "ขึ้นและลง" เราพยายามจะไล่น้ำออกทะเล เพื่อไม่ให้ท่วมเมืองกรุง แต่ถ้าน้ำทะเลเขาทำหน้าที่ขึ้นสูงมากๆ อย่างที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายอาทิตย์นี้ มนุษย์อย่างเรากับเครื่องมือที่มีอยู่อย่างที่เห็น จะไปต้านทานแรงน้ำทะเลที่ขึ้นสูงและแรงได้อย่างไร คิดกันไหมคะ....จะมีอะไร ที่จะมากั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลมาผสมกับน้ำจืดจากแผ่นดิน ท่วมเมืองกรุงได้....
__________________
Saaychol |
#3
|
||||
|
||||
น้ำเบียด-น้ำกัน
จาก ...................... ไทยรัฐ คอลัมน์ ชักธงรบ วันที่ 14 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
เดือนขึ้นน้ำลง จาก ...................... ไทยรัฐ คอลัมน์ ชักธงรบ วันที่ 27 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ระดับน้ำทะเลปานกลาง จากอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในไทยครั้งนี้ นอกจากเหตุปริมาณน้ำฝนมากเกินเกณฑ์ปกติที่ไหลบ่ามาจากภาคเหนือแล้ว ปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้พิบัติภัยครั้งนี้กินระยะเวลานานกว่าจะทุเลาก็เป็นได้ ก่อนจะไปทำความรู้จักเรื่องของภาวะน้ำขึ้น-น้ำลงในมหาสมุทรนั้น ควรทำความเข้าใจเรื่อง "ระดับน้ำทะเลปานกลาง" เสียก่อน สำหรับ ระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide : HT) และ ลงต่ำสุด (Low Tide : LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็น ระดับน้ำทะเลปานกลาง สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ต.เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลางให้มีค่า 0.000 เมตร ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจ งานก่อสร้างและงานทั่วไป ตลอดจนใช้ตรวจสอบสภาวะน้ำท่วมในเขตตัวเมือง เป็นต้น ทีนี้ ก็มาถึงคำว่า "น้ำทะเลหนุนสูง" โดยทั่วไป พื้นที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเลไม่ไกลนัก ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณนั้นมักจะอยู่ในอิทธิพลน้ำขึ้น-น้ำลงอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำคราวใดมีปริมาณมากและตรงกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยแก่พื้นที่ทำการเกษตร และในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงเสมอมา ส่วนปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงนั้นเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ซึ่งดวงจันทร์นั้นอยู่ใกล้โลกมากกว่า จึงมีอิทธิพลต่อโลกมากกว่าด้วย น้ำซึ่งเป็นของเหลวเมื่อถูกแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านบริเวณนั้น น้ำก็จะสูงขึ้น ไปในทิศทางเดียวกับที่ดวงจันทร์ปรากฏ บนผิวโลกในด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ น้ำจะสูงขึ้นด้วย เพราะอำนาจดึงดูดของดวงจันทร์ กับของโลกไปรวมกันในทิศทางนั้น ในตำแหน่งที่คนเห็นดวงจันทร์ อยู่สุดลับขอบฟ้า ตรงนั้นน้ำจะลดลงมากที่สุด จึงเท่ากับว่ามีน้ำขึ้น-น้ำลงนั่นเอง สองแห่งบนโลกในเวลาเดียวกันน้ำจะขึ้นสูงเต็มที่ทุกๆ 12 ชั่วโมงโดยประมาณ และหลังจากน้ำขึ้นเต็มที่แล้วระดับน้ำจะเริ่มลดลง ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่น้ำขึ้นมากขึ้นน้อย ลงมาก ลงน้อย เกี่ยวกับขนาดรูปร่างและความลึกของท้องมหาสมุทรด้วย นอกจากปัจจัยในเรื่องของปริมาณน้ำฝน กับน้ำทะเลหนุนแล้ว ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่ส่งผลให้น้ำท่วมครั้งนี้รุนแรงกว่าทุกครั้ง และไม่เอ่ยถึงไม่ได้เลยก็คือ - การขยายตัวของเขตชุมชนและการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นพื้นที่การเกษตรนั้น จะประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มมีแอ่งน้ำ ลำคลองธรรมชาติ เพื่อรับน้ำเข้า และระบายน้ำออกจากพื้นที่ ครั้นเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นชุมชนแหล่งอุตสาหกรรมจึงมีการถมดินปรับพื้นที่ เป็นเหตุให้แอ่งน้ำ ลำคลองทั้งหลายถูกทำลายหมดไป - แผ่นดินทรุด พื้นที่ในเขตเมืองหรือชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นนั้น มักจะมีการสูบน้ำจากแหล่งน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้ชั้นดินยุบตัวลงทีละน้อยจนเกิดแผ่นดินทรุด ทำให้ผิวดินมีระดับต่ำกว่าปกติในบริเวณกว้าง เช่น พื้นที่หลายแห่งในเขตกรุงเทพมหานครนั่นเอง ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทย! จาก ................... ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 31 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
อ่านแล้ว...มวลของสมองเพิ่มขึ้นอีกหน่อย...เห็นภาพธรรมชาติของทะเลในอีกมุมหนึ่งได้แจ่มชัดขึ้น...
__________________
Saaychol |
|
|