เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > เรื่องเล่าชาวทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 13-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default หน้าที่ของทะเล


หน้าที่ของทะเล


จาก ...................... ไทยรัฐ คอลัมน์ ชักธงรบ วันที่ 13 ตุลาคม 2554
รูป
  
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 13-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



เป็นบทความที่ดีมาก คำพูดง่ายๆแบบชาวบ้านๆ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนเกี่ยวกับ น้ำขึ้น-น้ำลง


ที่เด็ดสุด เห็นจะเป็นบทสรุป ที่ตรงกับใจของสายชลมานาน...


น้ำทะเลเขาทำหน้าที่ "ขึ้นและลง" เราพยายามจะไล่น้ำออกทะเล เพื่อไม่ให้ท่วมเมืองกรุง แต่ถ้าน้ำทะเลเขาทำหน้าที่ขึ้นสูงมากๆ อย่างที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายอาทิตย์นี้ มนุษย์อย่างเรากับเครื่องมือที่มีอยู่อย่างที่เห็น จะไปต้านทานแรงน้ำทะเลที่ขึ้นสูงและแรงได้อย่างไร


คิดกันไหมคะ....จะมีอะไร ที่จะมากั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลมาผสมกับน้ำจืดจากแผ่นดิน ท่วมเมืองกรุงได้....

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

น้ำเบียด-น้ำกัน


จาก ...................... ไทยรัฐ คอลัมน์ ชักธงรบ วันที่ 14 ตุลาคม 2554
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	111014_Thairath_หน้าที่ของทะเล02.jpg
Views:	0
Size:	213.6 KB
ID:	12404  
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 27-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เดือนขึ้นน้ำลง


จาก ...................... ไทยรัฐ คอลัมน์ ชักธงรบ วันที่ 27 ตุลาคม 2554
รูป
  
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 31-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ระดับน้ำทะเลปานกลาง


จากอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในไทยครั้งนี้ นอกจากเหตุปริมาณน้ำฝนมากเกินเกณฑ์ปกติที่ไหลบ่ามาจากภาคเหนือแล้ว

ปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ ที่อาจทำให้พิบัติภัยครั้งนี้กินระยะเวลานานกว่าจะทุเลาก็เป็นได้

ก่อนจะไปทำความรู้จักเรื่องของภาวะน้ำขึ้น-น้ำลงในมหาสมุทรนั้น ควรทำความเข้าใจเรื่อง "ระดับน้ำทะเลปานกลาง" เสียก่อน

สำหรับ ระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean Sea Level) หรือ ร.ท.ก. เป็นค่าการวัด ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด (High Tide : HT) และ ลงต่ำสุด (Low Tide : LT) ของแต่ละวันในช่วงระยะเวลาที่กำหนด แล้วนำค่ามาเฉลี่ยเป็น ระดับน้ำทะเลปานกลาง

สำหรับระยะเวลาที่ทำการรังวัดโดยทั่วไปจะต้องวัดเป็นเวลา 18.6 ปี ตามวัฏจักรของน้ำ ระดับน้ำทะเลปานกลางของแต่ละบริเวณทั่วโลกอาจจะมีความสูงไม่เท่ากัน

ในประเทศไทยใช้เวลาในการวัด 5 ปี โดยเลือกที่ ต.เกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่วัด แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่าระดับน้ำทะเลปานกลางให้มีค่า 0.000 เมตร

ประโยชน์ของการวัดระดับน้ำทะเลปานกลาง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบระดับความสูงต่ำของดิน หรือสิ่งก่อสร้างในงานสำรวจ งานก่อสร้างและงานทั่วไป ตลอดจนใช้ตรวจสอบสภาวะน้ำท่วมในเขตตัวเมือง เป็นต้น

ทีนี้ ก็มาถึงคำว่า "น้ำทะเลหนุนสูง" โดยทั่วไป พื้นที่ราบลุ่มตามบริเวณสองฝั่งแม่น้ำที่อยู่ห่างจากปากอ่าวหรือทะเลไม่ไกลนัก ระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณนั้นมักจะอยู่ในอิทธิพลน้ำขึ้น-น้ำลงอันเนื่องมาจากระดับน้ำทะเลหนุนตลอดเวลา

เมื่อน้ำที่ไหลหลากลงมาตามแม่น้ำคราวใดมีปริมาณมากและตรงกับฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลหนุนสูงเกินกว่าปกติ ก็จะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัยแก่พื้นที่ทำการเกษตร และในเขตที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงเสมอมา

ส่วนปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงนั้นเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ซึ่งดวงจันทร์นั้นอยู่ใกล้โลกมากกว่า จึงมีอิทธิพลต่อโลกมากกว่าด้วย

น้ำซึ่งเป็นของเหลวเมื่อถูกแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านบริเวณนั้น น้ำก็จะสูงขึ้น ไปในทิศทางเดียวกับที่ดวงจันทร์ปรากฏ

บนผิวโลกในด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ น้ำจะสูงขึ้นด้วย เพราะอำนาจดึงดูดของดวงจันทร์ กับของโลกไปรวมกันในทิศทางนั้น

ในตำแหน่งที่คนเห็นดวงจันทร์ อยู่สุดลับขอบฟ้า ตรงนั้นน้ำจะลดลงมากที่สุด จึงเท่ากับว่ามีน้ำขึ้น-น้ำลงนั่นเอง

สองแห่งบนโลกในเวลาเดียวกันน้ำจะขึ้นสูงเต็มที่ทุกๆ 12 ชั่วโมงโดยประมาณ และหลังจากน้ำขึ้นเต็มที่แล้วระดับน้ำจะเริ่มลดลง ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง

ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่น้ำขึ้นมากขึ้นน้อย ลงมาก ลงน้อย เกี่ยวกับขนาดรูปร่างและความลึกของท้องมหาสมุทรด้วย

นอกจากปัจจัยในเรื่องของปริมาณน้ำฝน กับน้ำทะเลหนุนแล้ว ยังมีปัจจัยเสริมบางประการที่ส่งผลให้น้ำท่วมครั้งนี้รุนแรงกว่าทุกครั้ง และไม่เอ่ยถึงไม่ได้เลยก็คือ

- การขยายตัวของเขตชุมชนและการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ก่อนเคยเป็นพื้นที่การเกษตรนั้น จะประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มมีแอ่งน้ำ ลำคลองธรรมชาติ เพื่อรับน้ำเข้า และระบายน้ำออกจากพื้นที่ ครั้นเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นชุมชนแหล่งอุตสาหกรรมจึงมีการถมดินปรับพื้นที่ เป็นเหตุให้แอ่งน้ำ ลำคลองทั้งหลายถูกทำลายหมดไป

- แผ่นดินทรุด พื้นที่ในเขตเมืองหรือชุมชนที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นนั้น มักจะมีการสูบน้ำจากแหล่งน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้ชั้นดินยุบตัวลงทีละน้อยจนเกิดแผ่นดินทรุด ทำให้ผิวดินมีระดับต่ำกว่าปกติในบริเวณกว้าง เช่น พื้นที่หลายแห่งในเขตกรุงเทพมหานครนั่นเอง

ทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในไทย!





จาก ................... ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 31 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 31-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



อ่านแล้ว...มวลของสมองเพิ่มขึ้นอีกหน่อย...เห็นภาพธรรมชาติของทะเลในอีกมุมหนึ่งได้แจ่มชัดขึ้น...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:10


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger