#1
|
||||
|
||||
ญี่ปุ่นประกาศเดินหน้าล่าวาฬ
ญี่ปุ่นประกาศเดินหน้าล่าวาฬ การเผชิญหน้ายากจะหลีกเลี่ยง รัฐบาลญี่ปุ่นชะลอการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตแผนล่าวาฬในแอนตาร์กติกอยู่นาน ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า ปัญหางบประมาณขัดสน ภายหลังภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อ 11 มีนาคม กฎหมายใหม่ทางทะเลที่เริ่มบังคับใช้ กับการรณรงค์อย่างเข้มข้นของนักเคลื่อนไหว จะทำให้ญี่ปุ่นเริ่มวางมือล่าวาฬในฤดูกาลล่าปีนี้ แต่ มิชิฮิโกะ คาโนะ รัฐมนตรีเกษตร ประมงและป่าไม้ญี่ปุ่น ได้ประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การล่าวาฬเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีอยู่ต่อไป ตราบใดที่ญี่ปุ่นยังมีเป้าหมายกลับมาล่าเพื่อการพาณิชย์ในอนาคต กลุ่มเรือประมงญี่ปุ่นจะออกสู่ เซาเทิร์น โอเชียน อีกครั้ง เพื่อเดินหน้าล่าวาฬในเดือนหน้า พร้อมกับมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการขัดขวางของกลุ่มต้านล่าวาฬจอมบู๊ "ซี เชฟเฟิร์ด" ที่ตามก่อกวนรังควานกองเรือล่าวาฬมาตั้งแต่ปี 2548 และเป็นเหตุให้การล่าวาฬในฤดูที่แล้ว ต้องยุติลงก่อนกำหนดหนึ่งเดือน เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มาตรการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการมีหน่วยยามฝั่งพร้อมอาวุธประจำเรือ และเรือคุ้มกันจากสำนักงานประมง แต่อุบเป็นความลับว่าจะใช้เรือกี่ลำ เจ้าหน้าที่เท่าไหร่ ตามปกติ กลุ่มเรือประมงล่าวาฬจะออกจากท่า ช่วงครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน ใช้เวลาราว 3-4 สัปดาห์จึงถึงแหล่งล่า ก่อนกลับเข้าฝั่งในเดือนเมษายนในปีถัดไป อย่างไรก็ดี การออกเดินทางที่ล่าช้าเป็นต้นเดือนธันวาคม ทำให้มีกระแสคาดการณ์ว่า การล่าวาฬอาจสั้นจะกว่าปกติ กระนั้น สถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมญี่ปุ่น (ไอซีอาร์) ซึ่งรับผิดชอบโครงการวิจัยวาฬ ภายใต้การอุปถัมภ์ของกระทรวงประมง ประกาศว่า มีแผนจับวาฬมิงค์ถึง 850 ตัว และวาฬฟิน 50 ตัว ซึ่งตัวเลขนี้มาจากการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำสุดสำหรับการวิจัยให้ได้เกิดผลในทางสถิติ สิ้นเสียงประกาศจากกรุงโตเกียว ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ออกมาประณามญี่ปุ่นทันทีว่า เป็นการตัดสินใจที่ไม่เคารพกระแสประชาคมโลกแม้แต่น้อย ออสเตรเลีย ประกาศยังมีแผนนำเรื่องการล่าวาฬเพื่อการวิจัยของญี่ปุ่น ให้ศาลโลกตัดสินว่าขัดกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ขณะที่สมาคมอนุรักษ์ ซี เชฟเฟิร์ด มีสำนักงานในสหรัฐ ประกาศว่า จะส่งเรือออกไปขัดขวางการล่าวาฬของญี่ปุ่นอย่างกร้าวแข็งกว่าเดิม ทั้งยังตั้งชื่อเรือหลักที่จะทำหน้าที่สกัดกองเรือล่าวาฬญี่ปุ่นว่า "โกจิรา" หรือกอตซิลลา สัตว์ประหลาดในหนังญี่ปุ่นที่โด่งดังไปทั่วโลก ผู้ต่อสู้กับศัตรูมากมายนับไม่ถ้วน แต่ดูเหมือนผู้สร้างกอตซิลลาขึ้นมาอาละวาดในโลกภาพยนตร์ ยังไม่เคยสั่งให้มันเป็นอริกับเรือล่าวาฬเลย แถลงการณ์จากซี เชฟเฟิร์ด ยังบอกว่า เราจะเสี่ยงทุกอย่างแม้ชีวิตของเรา เพื่อหยุดการล่าวาฬของชาวประมงญี่ปุ่น ทั้งกล่าวหาถึงขั้นว่า ญี่ปุ่นกำลังนำเงินที่ต่างประเทศส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวและสึนามิ มาอุดหนุนการสังหารหมู่วาฬที่ไร้ทางสู้และอย่างผิดกฎหมาย ในเขตรักษาพันธุ์วาฬมหาสมุทรใต้ (Southern Ocean Whale Sanctuary) แผนล่าวาฬทำลายภาพลักษณ์ญี่ปุ่นในสายตาชาวโลก ไม่มีนโยบายไหนของญี่ปุ่น ที่เรียกเสียงประณามจากประชาคมโลกได้เท่ากับนโยบายล่าวาฬ อีกทั้งการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายหนุนล่ากับต่อต้าน ยังส่อเค้าจะว่ารุนแรงกว่าเดิมทั้งในท้องทะเลและการทูตมากขึ้นทุกที จนเป็นคำถามอีกครั้งทำไมญี่ปุ่นจึงเดินหน้าล่าวาฬต่อไป ทั้งนี้ นับจากไอดับเบิลยูซี ออกประกาศพักล่าวาฬเพื่อการค้า เมื่อปี 2529 ญี่ปุ่นอาศัยช่องโหว่เดินหน้าล่าวาฬไปแล้ว 12,000 ตัว เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ดี อุตสาหกรมล่าวาฬ ที่เคยมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านดอลลาร์ต่อปี ลดลงไม่ถึง 50 ล้านดอลลาร์ในช่วงสองสามปีมานี้ และต้องอาศัยเงินอุดหุนุน 12 ล้านดอลลาร์ต่อปีเมื่อปี 2551/2552 เพื่อไม่ให้ขาดทุน นอกจากนี้ การออกล่าวาฬในฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง จะต้องจ่ายแพงกว่าเดิม ภายใต้กฎใหม่ขององค์การการเดินเรือมหาสมุทรสากล(เอ็มไอบี) ที่ห้ามเรือเข้าไปในน่านน้ำแอนตาร์กติก ใช้น้ำมันเตา ซึ่งเรือนิชชิน มารุ ซึ่งเป็นเรือโรงงานในกลุ่มเรือล่าวาฬเคยใช้อยู่ ญี่ปุ่นยืนยันว่าจะปฏิบัติตามกฎใหม่ เท่ากับว่าเรือนิชชิน มารุ จะต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งแพงกว่าเดิมมาก ยิ่งเพิ่มต้นทุนมากเข้าไปอีก ฝ่ายที่ยังสนับสนุนการล่าวาฬ มองอุตสาหกรรมที่กำลังตกต่ำว่า เป็นอัตลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง และมององค์กรตะวันตกที่ต่อต้านอย่าง ซี เชฟเฟิร์ด และกลุ่มกรีนพีซ ว่า มีทัศนคติเหยียดเชื้อชาติ ผู้สื่อข่าวตะวันตกคนหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า กระแสหนุนล่าวาฬภายในญี่ปุ่น กลับได้รับแรงกระตุ้นจากกิจกรรมบู๊ล้างผลาญซ้ำแล้วซ้ำเล่าของกลุ่มซี เชฟเฟิร์ด โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ เรืออาดี้ กิล ของกลุ่มซีเชฟเฟิร์ด กับเรือ "โชนัน มารุ หมายเลข 2" ชนกันเมื่อปี 2553 ตามด้วยการจับกุมนายปีเตอร์ เบทูน กัปตันเรืออาดี้ กิลนั้น กระพือความรู้สึกชาตินิยมต่อต้านนักเคลื่อนไหวต่างชาติที่เรียกว่า อีโค-เทเรอร์ลิสต์ อย่างมาก สังเกตได้ว่าสื่อญี่ปุ่นรายงานไปในทางเดียวกับสำนักงานประมง คือมุ่งไปยังกัปตันเบทูน ทำร้ายลูกเรือคนหนึ่งบนเรือญี่ปุ่นที่นายเบทูนบุกขึ้นไป โดยแทบไม่มีความสงสารเห็นใจนักเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อม ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการล่าวาฬก็จริง แต่พวกเขาก็ต่อต้านพวกที่ต่อต้านการล่าวาฬ มุมมองโดยทั่วไปของญี่ปุ่นในเรื่องนี้คือ ญี่ปุ่นมีสิทธิชอบธรรมที่จะล่า ดังนั้น การกระทำใดๆที่ผิดกฎหมาย เป็นการกระทำที่มาจากอีกฝ่าย อันที่จริง ตัวแทนจากประเทศที่ต่อต้านการล่าวาฬ ที่พยายามเจรจาหาทางประนีประนอมกับญี่ปุ่นมานาน มีความเชื่อว่า ญี่ปุ่นทั้งในระดับรัฐบาลและข้าราชการ มีความจริงใจและกำลังมองหายุทธศาสตร์ที่จะยุติการล่าวาฬ แต่กระบวนการเจรจาในเรื่องนี้สะดุดลง เมื่อการประชุมไอดับเบิลยูซี ที่ประเทศโมร็อกโก เมื่อปีที่แล้ว มีเสียงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยุติการล่าวาฬประจำปีในมหาสมุทรใต้ หรือ เซาเทิร์น โอเชียน อย่างสิ้นเชิงและทันที แทนข้อเสนอประนีประนอมให้ญี่ปุ่นให้คำมั่นว่าจะค่อยๆลดการล่าวาฬลงเรื่อยๆ จนยุติลงภายในสิบปี แน่นอนว่าญี่ปุ่นไม่สามารถทำได้ จากโอกาสที่จะทำให้การล่าวาฬยุติลงได้ กลายเป็นการเดิมพันว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะตัดสินใจอนาคตโครงการล่าวาฬอย่างไรภายใต้แรงกดดันจากสาธารณะ ปัญหาเรื่องงบประมาณ และตลาดเนื้อวาฬที่หดตัวลง กระทรวงประมงญี่ปุ่น ได้ตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการมานั่งถกกันว่า การล่าวาฬในแอนตาร์กติก ยังเป็นผลประโยชน์ของชาติอยู่หรือไม่ และทำรายงานเสนอแนะ ปรากฏว่า คณะกรรมการเสียงแตก ส่วนใหญ่เห็นควรให้ล่าต่อไป แต่เสียงส่วนน้อยเชื่อว่าการล่าวาฬในแอนตาร์กติกไม่คุ้มค่า ควรปิดฉากลงเสียที เมื่อเสียงออกมาเป็นสองทางเช่นนี้ จึงนำมาสู่การไตร่ตรองและตัดสินใจทางการเมือง การล่าวาฬ ยังมีความสำคัญในเขตเลือกตั้งไม่กี่แห่งเท่านั้น แต่ก็มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์การเมืองและมุ้งภายในพรรค รวมถึงอิทธิพลของระบบราชการ ในแง่ชื่อเสียงประเทศ ไม่ว่าจะเลือกทางไหน รัฐบาลล้วนตกที่นั่งลำบาก หากถอนตัวทันที อาจถูกมองว่า เป็นการยอมจำนนต่อ ซี เชฟเฟิร์ด หากล่าต่อไป ก็จะบั่นทอนการสนับสนุนของตะวันตกและความเห็นอกเห็นใจที่มอบให้แก่ญี่ปุ่น หลังแผ่นดินไหวและสึนามิ การมองหาทางสายกลางอย่าง กองเรือเล็กลง ลดโควตาการล่าลง ก็ทำไม่ได้เช่นกัน เพราะ ซี เชฟเฟิร์ด ได้ประกาศชัดเจนว่าจะกลับมาแน่แบบแรงกว่าเดิม และอาจประกาศชัยชนะได้โดยง่าย ทางเลือกที่เหลือ จึงมีเพียงเดินหน้าหรือหยุดเท่านั้น และที่สุด ญี่ปุ่นได้เลือกเดินหน้า จาก ........................ คม ชัด ลึก คอลัมน์เปิดโลกวันอาทิตย์ วันที่ 9 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
อ้างงานวิจัยบังหน้าเพื่อล่าวาฬเหมือนเคย...เวรกรรมของวาฬ...
__________________
Saaychol |
#3
|
||||
|
||||
อืมมมมมม....กรรมเป็นของสัตว์โลก(ที่ชื่อวาฬ) อีกแล้วสิเนี่ย
.....เมื่อไหร่จะเลิกหนอ หรือจะรอให้มีสึนามิมาอีกรอบ ญี่ปุ่นจะได้รู้ว่าธรรมชาติเอาจริง????? |
#4
|
|||
|
|||
เปงเรื่องที่น่าเศร้าที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง...
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข |
#5
|
||||
|
||||
เบื่อยุ่นชอบอ้างเรื่อย หลายปีแล้ว เมื่อไหร่จะจบ แต่ไม่ได้หมายความว่า ซี เชฟเฟิร์ด หรือประเทศทั้งหลายที่ออกมประณามจะดีหมดนะครับ เหมือนๆกัน แค่คนละเรื่องกันเท่านั้น
สงสารวาฬ นึกถึงชีวิตที่กำลังจะโดนล่าตามที่ เป้า (ตุงๆ) ของพวกยุ่นว่าไว้ในประกาศ แทบสลบ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
|
|