เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > เรื่องเล่าชาวทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default ฟอสซิล 'ฝูงวาฬปริศนา' โผล่กลางทะเลทราย


ฟอสซิล “ฝูงวาฬปริศนา” โผล่กลางทะเลทราย


แคธาลีนา แพรอท (Catalina Parot) รัฐมนตรีสมบัติชาติชิลี (ผู้หญิงใช้ไม้เท้า) ชมตัวอย่างฟอสซิลวาฬที่ขุดพบ (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอพี)

กว่า 2 ล้านปีก่อน ฝูงวาฬจำนวนมากได้มาออกันที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางอเมริกาใต้ และพบจุดจบปริศนาที่นั่น พวกมันอาจหลงทางและเกยตื้น หรือพวกมันอาจติดอยู่ในทะเลสาบเนื่องจากดินถล่มหรือพายุ หรือพวกมันอาจตายที่นั่นมานกว่า 2-3 พันปี หรือบางทีพวกมันอาจตายลงในที่ไม่ห่างจากตัวอื่นในฝูงเพียงไม่กี่เมตร แต่สุสานตรงพื้นทะเลถูกแรงยกทางธรณีวิทยาดันขึ้นมาแล้วแปรสภาพเป็นสถานที่อันแห้งแล้งที่สุดบนโลก

มาถึงวันนี้ซากวาฬเหล่านั้นได้โผล่ออกมาให้เห็นอีกครั้งบนยอดเนินของทะเลทรายอะทาคามา (Atacama Desert) ซึ่งเอพีระบุว่า นักวิจัยทั้งหลายได้เริ่มต้นขุดฟอสซิลของวาฬก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งถูกเก็บในสุสานเก็บรักษาซากได้อย่างดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยนักวิทยาศาสตร์ของชิลีได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันสมิทโซเนียน (Smithsonian Institution) สหรัฐฯ เพื่อศึกษาว่า วาฬเหล่านี้มาอยู่ในมุมของทะเลทรายดังกล่าวได้อย่างไร

“นั่นเป็นคำถามสำคัญ” มาริโอ ซอเรซ (Mario Suarez) ผู้อำนวยการจากพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยา (Paleontological Museum) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงของชิลีประมาณ 700 กิโลเมตรกล่าว


นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาชิลีที่ไซต์งานขุดฟอสซิล

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า วาฬก่อนประวัติศาสตร์อื่นๆ ถูกพบอยู่รวมกันในเปรูและอียิปต์ แต่ฟอสซิลของวาฬโบราณในชิลีกลับโผล่ออกมาพร้อมกับจำนวนอันน่าฉงนและกระดูกที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ถึงตอนนี้มีวาฬมากกว่า 75 ตัวแล้วที่ถูกขุดพบ ในจำนวนนั้นเป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์มากกว่า 20 โครงกระดูก ซึ่งโครงกระดูกเหล่านี้ได้ฉายให้เห็นภาพชีวิตแห่งท้องทะเลในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอาจจะรวมถึงกลุ่มครอบครัวที่มีลูกวาฬอยู่ระหว่างวาฬเต็มวัย 2 ตัว

“ผมคิดว่ามันน่าจะตายพร้อมกันในจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่านี้” นิโคลัส เพียนสัน (Nicholas Pyenson) ภัณฑารักษ์ด้านฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนมทางทะเลจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิทโซเนียน (Smithsonian's National Museum of Natural History) ซึ่งร่วมกับซอเรซทำการวิจัยครั้งนี้กล่าว แต่เหตุใดจึงมีวาฬมาตายในที่เดียวกันมากขนาดนี้เพียนสันให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้หลายอย่าง ซึ่งเขาและทีมพยายามตรวจสอบในข้อสันนิษฐาน

ฟอสซิลเหล่านี้โผล่ขึ้นมาเมื่อเดือน มิ.ย.53 ระหว่างโครงการขยายทางหลวง ซึ่งโครงการนี้ยังดำเนินต่อไปอยู่ ส่วนบริเวณที่พบฟอสซิลข้างทางหลวงตอนนี้มีพื้นที่เทียบเท่าสนามฟุตบอล 2 สนาม หรือประมาณความยาว 240 เมตร กว้าง 20 เมตร


ริมทางหลวงกลายเป็นจุดที่พบสุสานวาฬดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่

เพียนสันกล่าวว่า ครั้งหนึ่งนั้นจุดดังกล่าวมี “สภาพแวดล้อมคล้ายทะเลสาบ” และวาฬเหล่านั้นอาจจะตายในช่วงเวลาระหว่าง 2-7 ล้านปีก่อน โดยฟอสซิลส่วนใหญ่เป็นของ “วาฬกรองกิน” (baleen whale) ซึ่งมีความยาวประมาณ 8 เมตร และทีมวิจัยยังพบโครงกระดูกของวาฬหัวทุย (sperm whale) และซากของโลมาที่ตอนนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยโลมาดังกล่าวมีงา 2 ข้างคล้ายสิงโตทะเล และก่อนหน้านี้เคยพบโลมาดังกล่าวในเปรูเท่านั้น

“เราตื่นเต้นมากกับเรื่องนี้ มันเป็นสัตว์ที่แปลกประหลาดมาก” เพียนสันกล่าว และยังมีสัตว์แปลกๆ พบในทะเลทรายอะทาคามานี้อีก ซึ่งรวมถึงหมีสลอธน้ำ (aquatic sloth) ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และนกทะเลที่มีปีกกว้าง 5 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าแร้งขนาดใหญ่

ทางด้าน เอริช ฟิตซ์เจรัลด์ (Erich Fitzgerald) นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังจากพิพิธภัณฑ์วิคตอเรีย (Museum Victoria) ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ให้ความเห็นแก่เอพีว่า การค้นพบล่าสุดนี้สำคัญอย่างยิ่ง ฟอสซิลเหล่านั้นถูกเก็บรักษาไว้อย่างยอดเยี่ยมและค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันที่หาได้ยากในบรรพชีวินวิทยา และเป็นสิ่งที่จะเผยให้เห็นหลายมุมมองของนิเวศวิทยาและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และบอกด้วยว่าเป็นไปได้ที่ฟอสซิลซึ่งหลงเหลืออยู่นี้อาจจะสะสมในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันมานาน

ส่วน ฮันส์ เธวิสสัน (Hans Thewissen) ศาสตราจารย์ด้านกายวิภาคและผู้เชี่ยวชาญด้านวาฬยุคดึกดำบรรพ์ จากมหาวิทยาลัยการแพทย์นอร์ธอีสต์โอไฮโอ (Northeast Ohio Medical University) เห็นด้วยกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลีย แต่เขากล่าวถึงอีกแนวทางที่เป็นไปได้นั่นคือวาฬอาจมารวมกันในทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วเกิดแผ่นดินไหวหรือพายุที่ปิดสามารถอุดทางออกของมหาสมุทรทั้งหมดได้ จากนั้นทะเลสาบก็เริ่มแห้งและวาฬก็ตาย เขายังพูดอีกว่าการสะสมของกระดูกที่สมบูรณ์จำนวนมากนี้เป็นสิ่งที่ไม่พบได้บ่อยนัก

“หากเหตุการณ์นี้เป็นผลจากทะเลสาบแห้งเหือดแล้ว คุณจะต้องเห็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าน้ำในมหาสมุทรระเหยไป อย่างเช่นการตกผลึกของเกลือหรือยิปซัมในหิน หรืออีกแง่หนึ่งหากคลื่นยักษ์หรือพายุที่ซัดวาฬไปติดชายหาด ขณะเดียวกันก็ดันพื้นทะเลที่อยู่รอบๆ และคุณจะต้องเห็นรอบขุดบนหิน” เธวิสสันซึ่งไม่มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้กล่าว



ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการระบุอายุฟอสซิลนั้นเป็นเรื่องซับซ้อน และเป็นเรื่องยากในการแยกเวลาที่แน่ชัดพอที่จะประเมินวาฬทั้งหมดนั้นตายในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ทั้งนี้ ฟอสซิลส่วนมากได้ถูกขนส่งไปยังพิพิธภัณฑ์ที่ซอเรซทำงาน ซึ่งเขาบอกด้วยว่าทีมวิจัยของเขาทำงานอย่างเร่งรีบอยู่ในกระโจมเพื่อเก็บข้อมูลโครงกระดูกที่สมบูรณ์ และด้วยทุนวิจัยจากสมาคมเนชันนัลจีโอกราฟิก (National Geographic Society) ทางทีมวิจัยสมิทโซเนียนได้ใช้เทคนิคการถ่ายภาพที่ซับซ้อนและเครื่องสแกนเลเซอร์เพื่อจับภาพ 3 มิติของวาฬ ซึ่งสามารถนำไปสร้างแบบจำลองขนาดของวาฬขณะที่มีชีวิต

ซอเรซนั้นทราบเรื่องเกี่ยวกับกระดูกวาฬโบราณทางตอนเหนือเมืองคัลเดอราของชิลีมากนาน โดยฟอสซิลเหล่านั้นเห็นได้จากที่โผล่ออกจากสันเขาหินทรายขนาบเส้นทางหลวงตรงจุดที่เรียกว่า “เซอร์โรบัลเลนา” (Cerro Ballena) หรือ เนินเขาวาฬ (Whale Hill) และเมื่อโครงการขยายถนนเริ่มต้นเมื่อปีที่ผ่านมา ทางบริษัทรับเหมาก็ขอให้เขาไปตรวจดูการทำงานเพื่อช่วยป้องกันการทำลายฟอสซิล

“ในสัปดาห์แรกนั้นวาฬ 6-7 โครงการก็ปรากฏขึ้น เราจึงตระหนักว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่พิเศษจริงๆ” ซอเรซกล่าว

ทางด้านรัฐบาลชิลีเองได้ประกาศให้พื้นที่ขุดฟอสซิลดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ต้องได้รับการปกป้อง ซึ่งเพียนสันนักวิจัยชิลีหวังว่าจะมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงโครงกระดูกที่ไม่เสีย ณ ตำแหน่งที่ฟอสซิลนั้นอยู่ ในรูปแบบเดียวกับการจัดแสดงฟอสซิลที่อนุสาวรีย์ไดโนเสาร์สหรัฐฯ (Dinosaur National Monument) ในยูทาห์และโคโลราโด สหรัฐฯ

ซอเรซเชื่อว่าอาจยังมีฟอสซิลของวาฬอีกหลายร้อยที่รอการขุดพบ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอให้เขาทำงานที่จุดเดียวนี้ไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ และพวกด้วยว่า พวกเขาได้รับโอกาสพิเศษในการพัฒนาโครงการทางวิทยาศาสตร์อันยิ่งใหญ่และสร้างผลงานที่สำคัญยิ่งให้แก่วงการวิทยาศาสตร์




จาก ........................ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-11-2011 เมื่อ 13:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-11-2011
lazyoctopussy lazyoctopussy is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 249
Talking

Wow!!! ไปแวะชิลีกันไหมคะ...แหะๆ^^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-11-2011
Birdie Birdie is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: ณ ที่แห่งหนึ่ง กับพ่อและแม่
ข้อความ: 496
Default

อยากเห็นโลมามีงาจังเลย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 22-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


แปลกดีค่ะ อยากเห็นภาพตอนเป็นๆอยู่..

ภูเขาไฟกำลังระเบิดที่ชิลี อย่าเพิ่งไปเลยค่ะน้องอ้อย เอาแค่เปรูก่อนแล้วกันนะคะ

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 23-11-2011
ตุ๊กแกผา's Avatar
ตุ๊กแกผา ตุ๊กแกผา is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 1,452
Default

อ้างอิง:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ lazyoctopussy อ่านข้อความ
Wow!!! ไปแวะชิลีกันไหมคะ...แหะๆ^^
งานนี้มีซองขาวแหง๋......ไปทีเป็นเดือนนนนน หือออออ(ห้าๆๆๆๆ+ฮือๆๆๆๆๆ)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 28-11-2011
หอยกะทิ's Avatar
หอยกะทิ หอยกะทิ is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
ข้อความ: 80
Default

ทำไมไม่ระบุชนิดโลมาด้วยเนี่ย ปล่อยให้เราลุ้นอยู่ว่า โลมาอะไร คำว่า งา นั่นแค่หมายถึง ฟันบางซี่ที่ใหญ่กว่าปกติรึปล่าว
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:15


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger