เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > คุยเฟื่องเรื่องดำน้ำ

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 08-05-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default โรคที่เกิดจากการดำน้ำ

โรคที่เกิดจากการดำน้ำ

มนุษย์เป็นสัตว์บกที่อยู่ บนบกมานานแสนนาน ร่างกายจึงวิวัฒนาการจนเหมาะที่จะอยู่บนบกมากกว่าในน้ำ แต่บางครั้งที่เกิดความรู้สึกอยากเปลี่ยนไปดูโลกใต้น้ำ ชมปะการัง ดูหอยดูปลา แต่ครั้นจะกระโดดพรวดลงน้ำไปดื้อๆ ก็คงอยู่ในน้ำได้ไม่นาน ก็ต้องรีบโผล่หน้าขึ้นมาหายใจ เพราะคนเราไม่สามารถกลั้นหายใจได้นานๆ และเราก็ไม่สามารถหายใจในน้ำได้อย่างปลาด้วย


แต่ความที่อยากอยู่ในน้ำให้ได้นานๆ นี่เอง ทำให้มนุษย์ พยายามค้นคิดอุปกรณ์ขึ้นมา เพื่อให้สามารถหายใจได้ ขณะที่อยู่ในน้ำ ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ที่ว่านี้เขาเรียกว่าเครื่องดำน้ำ (SCUBA...Self-Contained Underwater Breathing Apparatus)


แม้จะมีอุปกรณ์ช่วย หายใจที่ทำให้คนเราแหวกว่าย อยู่ในน้ำได้นานแล้วก็ตาม แต่มนุษย์ก็ไม่ใช่กุ้ง หอย ปู ปลา ดังนั้นปัญหาทางด้านสุขภาพจึงเกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องมาจากการปรับตัวไม่ทัน จากการ ดำน้ำที่ลึกไปกว่า ๖๐ ฟุต หรือแม้แต่การดำน้ำตื้นๆ ก็ประมาทไม่ได้

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนไปดำน้ำ

ที่ ระดับน้ำทะเลแรงกดของอากาศต่อตัวเรามีประมาณ ๑๔.๗ ปอนด์ต่อ ๑ตารางนิ้ว (PSI..Pound/Square Inch) ซึ่งแรงกด ขนาดนี้ถูกกำหนดไว้ว่าเป็นแรงกด ๑ บรรยากาศ เมื่อเราขึ้นไปอยู่ในที่สูง แรงกดจะค่อยๆ ลดลงตรงกันข้าม ถ้าเราลงไปในน้ำ แรงกดจากน้ำจะเติม เข้ามาด้วย เพราะน้ำมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศมากมาย ฉะนั้น เพียงดำน้ำลงไปแค่ ๓๓ ฟุตในน้ำทะเล หรือ ๓๔ ฟุต ในน้ำจืด แรงกดจะกลายเป็น ๒ เท่า ซึ่งจะเป็นสูตรตายตัวเลยว่า ทุกๆ ๓๓ ฟุตที่เราดำน้ำลึกลงไปแรงกดจะเพิ่มขึ้น ๑ บรรยากาศ


อาจจะเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่อยากจะเป็นนัก ดำน้ำ ตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจดจำ


อันตรายที่อาจเกิดจากการดำน้ำ

๑. โรคแรงกดดันลด (Decompression Sickness) ยิ่งอยู่ในน้ำนาน หรือยิ่งดำน้ำลงลึกเท่าไหร่ ก๊าซไนโตรเจน ในอากาศที่เราหายใจก็จะละลายอยู่ในเลือด และเนื้อของเรามากขึ้นเท่านั้น พอขึ้นสู่ ผิวน้ำ แรงกดดันก็จะลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นก๊าซไนโตรเจนก็จะละลายได้น้อยลง ส่วนที่ ละลายไปแล้ว มันก็จะแยกตัวกลับสภาพ มาเป็นก๊าซดังเดิม

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือตอนเปิด ขวดโซดาหรือน้ำอัดลมนั่นแหละพอเราเปิดฝาขวดปุ๊บแรงกดดันจากในขวดก็จะลดลง ฮวบฮาบทันที แล้วก๊าซที่ละลายอยู่ภายใต้แรงอัดก็กลายสภาพมาเป็นก๊าซดังเดิม ซึ่งก็คือฟองอากาศที่เกิดขึ้นเต็มไปทั้งขวดนั่นเอง

แต่ร่างกายคนไม่ใช่ ขวดน้ำอัดลม ถ้าหากเกิดฟองแบบนั้นขึ้นในร่างกายเราคงแย่ เพราะฟองไนโตรเจนอาจไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด หรือไปกดเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น

อาการของโรคแรงกดดันลดแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น

อาการปวดเฉยๆ ซึ่งพบได้บ่อยมากโดยนักดำน้ำจะปวดบริเวณแขน ขา หัวไหล่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อศอก

อาการทางผิวหนัง เช่น คัน ออกผื่น หรือผิวลาย โดยเริ่มแรกมักจะ คันอย่างรุนแรง หรือรู้สึกร้อนผิวหนังบริเวณลำตัวและหัวไหล่ จากนั้นผิวหนังก็จะเปลี่ยนเป็นเขียวคล้ำและเป็นลาย

อาการทางปอด ผู้ป่วยอาจเจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก ซึ่งอาการ เจ็บหน้าอกและไอจะกำเริบมากขึ้นหากสูบบุหรี่ หรือหายใจเข้าลึกๆ อาการดังกล่าวที่ว่านี้หากทิ้งไว้ไม่รักษา ผู้ป่วยอาจช็อกหรือเสียชีวิตได้

อาการทางระบบประสาท (สมอง) และไขสันหลัง อาจ ทำให้เกิดอัมพาตได้ ซึ่งจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ออก กลั้นอุจจาระไม่ได้ และขาอ่อนแอ ส่วนอาการทางสมองที่พบได้บ่อยคืออาการปวดหัว บางรายอาจมีอาการตามัว อัมพาตครึ่งซีก


๒. อาการบาดเจ็บจากปอดขยายตัว (Lung Barotrauma )

โดยที่ ก๊าซในปอดจะขยายตัวเมื่อแรงกดดันลดลง ขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ จากความลึก ๓๓ ฟุต ซึ่งมีผลให้ ก๊าซในปอดเพิ่มปริมาณขึ้นถึงเท่าตัว ด้วยเหตุนี้เองนักดำน้ำจึงได้รับการ อบรมไม่ให้กลั้นหายใจขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่ให้หายใจตามปกติเพื่อเป็น การระบายอากาศที่เพิ่มขึ้นออกไปจากปอด

อาการที่น่าสังเกตว่ามีการบาดเจ็บที่ปอดเกิดขึ้นแล้ว คือ

มีลมแทรกอยู่ในทรวงอก (Mediastinal Emphysema) หรือ ใต้ผิวหนังบริเวณรอบๆ คอ (Subcutaneous Emphysema) ซึ่ง หากคลำผิวหนังบริเวณนั้นจะรู้สึกเหมือนมีลมอยู่ข้างใน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึก อึดอัดบริเวณคอ กลืนลำบาก คอบวม และเสียงเปลี่ยนไป หรือลมที่รั่วมาจากถุงลมปอดแตก อาจไปกดหัวใจ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจ ลำบากหรือเป็นลมได้


ปอดแฟบ ซึ่งเกิดจากลมรั่วออกมาอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) แล้วไปกด ปอดจนแฟบ ทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว และตื้น ผิวหนังเขียวคล้ำ และเล็บเขียว


ฟองอากาศไปขวางการไหลเวียนของเลือดในสมอง (Air Embolism) ทำให้เกิดอาการแบบอัมพาต หัวใจเต้นผิดจังหวะ หยุดเต้น หรืออาจหยุดหายใจ และ อาจมีฟองเลือดออกทางปากและจมูก


๓. อาการบาดเจ็บที่หูส่วนกลาง (Ear Barotrauma) ในขณะที่ดำน้ำลึกลงไปเรื่อยๆแรงกดในรูหูจะเพิ่มขึ้นจนไปดันที่แก้วหู ถ้าร่างกายปรับตัวเองไม่ทัน แก้วหูก็จะถูกดันจนแตกได้ หรืออาจมีเลือดออกในหูส่วนกลางด้วย สังเกตได้จากอาการปวดหู หูอื้อ คลื่นไส้ และรู้สึกวิงเวียน

อย่างน้อยการได้รับรู้ในเรื่องอันตรายที่อาจ เกิดขึ้นจากการดำน้ำ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฝึกต้องระมัดระวัง และเตรียมพร้อมเสมอในการทำกิจกรรมที่ต้องเสี่ยงมากกว่าภาวะปกติ



อ้างอิง:
ขอขอบคุณข้อมูลจาก...http://www.doctor.or.th/node/1931

File Name :278-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม :278
เดือน-ปี :06/2545
คอลัมน์ :เรื่องน่ารู้
นักเขียนรับเชิญ :นพ.อมรชัย หาญผดุงธรรมะ
หมายเหตุ: สายชลได้ใส่ศัพท์ภาษาอังกฤษให้ เพื่อจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน จะได้ทราบศัพท์สากลไว้เป็นความรู้เพิ่มเติม
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-02-2024 เมื่อ 17:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 08-05-2011
koy's Avatar
koy koy is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jun 2009
ข้อความ: 652
Default

ขอบคุณครับ เข้ามาบ้าน sos ทีไร ได้ความรู้ติดตัวกลับไปทุกที
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 08-05-2011
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

ขอบพระคุณค่ะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 26-07-2012
GAF GAF is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2012
ข้อความ: 102
Default

ขอทราบวิธีลดอาการเจ็บหูสำหรับสน๊อกเกิร์ลที่ฟรีไดฟ์ลงไปที่ 6-10 เมตรครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 26-07-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default




อาการปวดหูจากการดำน้ำ










การที่เราปวดหู ระหว่างที่ลงดำน้ำนั้น...เป็นเพราะ เราได้รับอันตรายจากความกด ( Pressure ) ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงความกด(ของอากาศเหนือผิวน้ำบวกกับความกดของน้ำ) รอบตัวนักดำน้ำ นั่นคือทุกๆ ความลึก 33 ฟุตน้ำทะเล (10 เมตร) หรือ 34 ฟุตน้ำจืด (10.1 เมตร) ความกดจะเพิ่มขึ้น 1 บรรยากาศ หรือ14.7 psi



ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น การดำน้ำแบบตัวเปล่า (Snorkel,Skin Dive, Free Dive) หรือ ดำน้ำด้วยอุปกรณ์ดำน้ำ (SCUBA) ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะของร่างกายที่เป็นโพรงอากาศ อันได้แก่ ช่องหูชั้นกลาง โพรงอากาศรอบๆ จมูก ( Sinus ) โพรงอากาศในร่างกายอื่นๆ เช่น ทางเดินหายใจ ฟันที่มีโพรง กระพาะหรือลำไส้ที่มีก๊าซ ปอด รวมทั้งอุปกรณ์ที่เราใช้ที่มีโพรงอากาศอยู่ข้างใน คือ หน้ากาก (Mask) และชุดกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย ที่เรียกว่า Dry Suit







ในกรณีของ ช่องหูชั้นกลาง ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีโพรงอากาศ อย่างหนึ่ง ความดันของอากาศในช่องหูชั้นกลางจะมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยอากาศผ่านเข้าออกทาง Eustachian Tube (ท่อกลวงที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดลมที่คอ กับ ช่องหูชั้นกลาง) เมื่อนักดำดำลงไปความกดภายนอกร่างกาย จะดันให้เยื่อแก้วหูโป่งเข้าด้านใน ทำให้เกิดอาการตึงและปวดหู ถ้าฝืนดำต่อไปอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้




ดังนั้นนักดำจะต้องแก้ไขโดยการเพิ่มความกดดันในช่องหูชั้นกลางให้เท่ากับความกดของน้ำรอบ ๆ ตัวให้ได้ (หรือที่เราเรียกว่า Pressure Equalization หรือเรียกง่ายๆว่า "การเคลียร์หู" ) โดยการทำให้ท่อ Eustachian เปิด ด้วยวิธีการปิดปาก ปิดจมูก แล้วหายใจออกเบาๆ หรือทำเสียง "ฮึ" ( วิธีการนี้เรียกว่า Valsalva Maneuver ) หรือการส่ายศรีษะ การหาว การเคี้ยวฟัน หรือการกลืนน้ำลาย อากาศจะเข้าไปในช่องหูชั้นกลาง (จะได้ยินเสียง "ฟี้" เบาๆ) ทำให้ไม่เกิดอาการปวดหู







การดำน้ำแบบ Snorkel...Skin Diving...หรือ Free Diving จะดำลงไป ก็ควรจะเคลียร์หูให้ได้ก่อน โดยอาจจะใช้วิธี Valsava น่าจะได้ผลที่สุด หากไม่ได้ผลก็อาจจะใช้วิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้สองวิธีผสมกันก็ได้



ถ้าเป็นการดำน้ำลึกแบบ (SCUBA)..จะต้องดำน้ำลงไปใตน้ำช้าๆ (1 ฟุต/วินาที) โดยใช้เท้าลงก่อน (อย่าทิ่มหัวลงไป) แล้วทำ Valsava หรือใช้วิธีอื่นๆ วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือผสมกัน ถ้ารู้สึกว่าหูเริ่มมีอาการอื้อๆหรือเริ่มจะเจ็บ ให้ลอยตัวสูงขึ้นสัก 2-3 ฟุต (1 เมตร) แล้วทำใหม่ จนกว่าจะเคลียร์หูได้แล้ว จึงค่อยๆดำลงไปใหม่



ส่วนเวลาขาขึ้น...เมื่อโพรงอากาศในช่องหูปรับความกดให้เท่ากับจุดที่เราอยู่ใต้น้ำได้แล้ว เมื่อจะลอยตัวขึ้น ความกดที่อยู่รอบๆจะลดลง ถ้าปรับความกดในช่องหูให้ลดลงไม่ได้ ก็จะทำให้เยื่อแก้วหูทะลุออกไปด้านนอกได้ จึงจะต้องพยายามให้อากาศออกมาจากช๋องหูชั้นกลางให้ได้ โดยวิธีขึ้นให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ (1 ฟุต/วินาที) กลืนน้ำลาย หรือเคี้ยวฟัน ไปด้วย หากรู้สึกอื้อๆหรือเริ่มจะเจ็บ ให้ดำลึกลงไปสัก 2-3 ฟุต (1 เมตร) จนกว่าจะเคลียร์หูได้แล้ว จึงค่อยๆดำขึ้นไปใหม่




วิธีป้องกันอันตราย ที่จะเกิดในช่องหูจากการดำน้ำที่ดีที่สุด คือ ก่อนการดำน้ำควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่ควรดำน้ำในขณะที่ไม่สบาย หรือเป็นหวัด หากมีอากาศหวัด มีน้ำมูกและเสมหะะมาก ควรหยุดดำน้ำ


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-01-2013 เมื่อ 23:29
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 27-07-2012
GAF GAF is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2012
ข้อความ: 102
Default

เป็นข้อมูลที่ดีมากครับพี่สายชล ขอบคุณมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 29-07-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



ด้วยความยินดีค่ะ น้อง gaf...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:22


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger