|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#1
|
||||
|
||||
มาทำความรู้จักกับ งูทะเล ... ถ้าเจอกันตอนดำน้ำ ใครควรจะกลัวใคร ?
มาทำความรู้จักกับ งูทะเล ... ถ้าเจอกันตอนดำน้ำ ใครควรจะกลัวใคร ?
by facebook สุขภาพกับการดำน้ำ โดยหมอเอ๋ on Wednesday, September 28, 2011 at 2:12am ขึ้นชื่อว่างู หลายคนคง แหยงๆ กับสัตว์ชนิดนี้ใช่มั้ยครับ ยิ่งเป็นงูทะเลแล้ว ข้อมูลที่ทราบกันทั่วไปคือ พิษงูทะเลนั้น ร้ายแรงกว่างูเห่า 2 - 10 เท่า อีกต่างหาก มันช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร ความจริงแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับงูทะเล ที่ไม่ได้พูดถึงกัน ว่าจริงๆแล้ว มันร้ายกาจแบบนั้นจริงหรือไม่ งูทะเลนั้น มีมากมายครับ ผมคงนั้งไล่ทีละชนิดไม่ไหว และกลัวเดี๋ยวจะกลายเป็นบทความทางสัตววิทยาไปซะ อาจจะขอความช่วยเหลือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ เรื่องงู มาตอบโดยเฉพาะในภายหลังอีกที แต่ผมจะขอกล่าวโดยรวมๆ ในแง่ของทางการแพทย์ ในแง่การระวังป้องกันและการรักษา ตามที่ผมถนัดดีกว่านะครับ งูทะเล นั้น เกือบทุกชนิดเป็นงู ที่มีพิษครับ ... งูทะเลมีทั้งพวกที่ ใช้ชีวิตหากินและขยายพันธุ์ในน้ำตลอด และ อาจจะเป็นงูบกที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนบก ผสมพันธุ์และวางไข่บนบก แต่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้ ก็มี ส่วนในเรื่องพิษของงูทะเล พิษของงูตัวเดียวกันชนิดเดียวกันนั้น มีคุณสมบัติการออกฤทธิ์ ได้ 2แบบครับ คือ ออกฤทธิ์กับระบบประสาท ( neurotoxin ) และ ออกฤทธิ์ทำลายกล้ามเนื้อ ( myotoxin ) ส่วนการออกฤทธิ์ต่อระบบไหนจะเด่นกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของงูครับ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอันตรายจากงูทะเล 1 พิษของงูทะเล มีความร้ายแรงมากกว่างูเห่า 2 - 10 เท่าครับ แต่ ด้วยลักษณะของปาก ของงูทะเลที่มีขนาดเล็ก และ ต่างจากงูพิษบนบกที่ ปากของงูทะเล ไม่สามารถอ้าปากได้กว้าง เหมือนงูบก ( อาหารของงูทะเลมักเป็นพวกปลาที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ) นอกจากนี้ การพัฒนาระบบการส่งต่อพิษจากต่อมพิษไปยังเขี้ยว นั้นมีการพัฒนาและมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่างูพิษบนบก ทำให้ในการกัดของงูทะเลในแต่ละครั้ง จะมีการปล่อยพิษออกมาในจำนวนที่น้อยมาก น้อยจนอาจจะไม่สามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิตกับมนุษย์ได้ เพราะจากสถิตินั้นพบว่า 80% ของคนที่ถูกงูทะเลกัดนั้น ไม่มีอาการที่เกิดจากพิษงูให้เห็น แต่ หากเป็นเด็ก อาจจะมีอันตรายจนถึงชีวิตใด้ เนื่องจากสัดส่วนของขนาดร่างกายต่อพิษงูที่ได้รับนั้น แตกต่างจากผู้ใหญ่ ความรุนแรงจึงชัดเจนและมากกว่า 2 จากการศึกษาเรื่องงูทะเล ของ REID และ LIM ในช่วงปี 1950s กับ 1960s ในกลุ่มหมู่บ้านชาวประมง มาเลเซีย ( เป็นการศึกษาที่มีจำนวน Case มากที่สุด ) พบว่าสาเหตุ การถูกงูทะเลกัดนั้น ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับการใช้อวนในการทำประมง ( การที่มีงูทะเลติดอวนมาและจะถูกงูกัดในขณะจะเอาปลาออกจากอวน การเก็บอวน หรือการเอางูออกจากอวน ) อัตราการเสียชีวิตจากการถูกกัดพบว่า อยู่ที่ประมาณ 3% ของจำนวนผู้ป่วยที่โดนกัด 3 งูทะเล ไม่มีนิสัยกร้าวร้าว แต่ มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น งูอาจว่ายเข้ามาสังเกตุดูนักดำน้ำใกล้ๆ แต่ จะไมาทำอันตรายนักดำน้ำ การถูกกัดอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ เราไปรบกวนงูขณะที่กำลังจับคู่ผสมพันธุ์ , การไปรบกวนงูขณะที่งูกำลังว่ายขึ้นผิวน้ำเพื่อมาหายใจ , การจับหรือสัมผัสโดนตัวงูอย่างรุนแรง เป็นต้น 4 เนื่องจากปากของงู ที่เล็ก อ้าได้น้อยและการปล่อยพิษไม่มีปะสิทธิภาพเท่างูบก การใส่ WET SUIT จึงเป็นการป้องกันที่ดี ( wet suit ที่หนา 2.5-3 mm ขึ้นไป ) เพราะปากงูทะเล ไม่สามารถอ้าได้กว้างและมีแรงกัดที่มากพอจะทะลุความหนาของ WET SUIT ได้ และถึงการกัดนั้น เขี้ยวงูอาจจะทะลุ WET SUIT ลงไปจนถึงผิวหนัง จากสถิติก็พบว่ามักจะเป็นการกัด ที่ไม่มีการปล่อยพิษเข้าสู่ร่างกาย และหากมีการปล่อยพิษ ก็จะมีปริมาณที่น้อยมากจนไม่มีอาการใดๆแสดงให้เห็น อาการแสดงของผู้ป่วยที่ได้รับพิษงู ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ถูกกัดนั้น จะไม่มีอาการเจ็บปวดที่บาดแผล หรือมีน้อยมาก ดังนั้นผู้ที่ถูกกัด อาจไม่ทราบว่าตัวเองโดนกัด ในระยะแรกของการรับพิษนั้น จะไม่แสดงอาการใดๆจนกว่าเวลาจะผ่านไป 1-2 ชั่วโมง ดังนั้นอย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า การกัดนั้นจะไม่มีอาการผิดปกติของพพิษงู จนกว่าจะสังเกตุอาการไปเรื่อยๆ ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังถูกกัด อาการแสดงทางระบบประสาท อาจจะมีดังนี้คือ สับสบ หงุดหงิด หรืออาจซึมลง อาจมีการอ่อนแรงของแขน ขา และกล้ามเนื้อในบริเวณต่างๆอาจ มีอาการหนังตาตก พูดไม่ชัด กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก หรืออาจหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นได้ การปฐมพยาบาลในกรณีที่ถูกงูทะเลกัด วิธีการปฐมพยาบาลที่แนะนำให้ใช้เป็นมาตรฐาน เมื่อถูกงูทะเลกัดคือ Compression / Immobilization bandaging technique ( การกดปิดบาดแผลที่อาศัยแรงกดร่วมกับการพันผ้าเพื่อจำกัดความเคลื่อนไหวของส่วนที่โดนกัด ) หากไม่สามารถหาวัสดุปิดแผลได้ การใช้มือกดลงไปตรงๆ เหนือบาดแผล ก็สามารถใช้วิธีนี้แทนได้ และเมื่อมีการปิดบาดแผลด้วยวิธีข้างต้นแล้ว จะไม่มีการแกะหรือเปิดแผลอีกจนกว่าผู้ป่วยจะถึงมือแพทย์ครับ เนื้อหาอาจจะดูไม่เยอะ แต่ผม คัดเอาแต่ประเด็นที่สำคัญและชัดเจนมาให้อ่านกันครับ ราละเอียดว่าพิษงูออกฤทธิ์แบบไหนยังไง การรักษาให้ยาต้านพิษแบบไหน ขอยังไม่กล่าวถึงนะครับ จะเห็นได้ว่า จริงๆแล้ว โอกาสที่นักดำน้ำ จะถูกงูทะเลกัดนั้น " น้อยมาก " และ ถึงจะถูกกัด โอกาสที่เขี้ยวของงูจะทะลุ WET SUIT ลงไปจะถึงผิวหนังและปลดปล่อยพิษนั้น ก็ " น้อยมาก " เช่นกัน ดังนั้น หากดำน้ำไปเจองูทะเล สิ่งที่ควรทำคือ " Leave Them Alone " อย่าไปยุ่งกับเค้า ต่างคนต่างมองกัน แล้วก็ทางใครทางมันครับ ดีที่สุด จริงๆแล้วถ้าถามว่า ใครกลัวใครมากกว่ากัน ผมว่า งู เค้าอาจจะเห็นว่า เราตัวใหญ่กว่าและเค้าอาจจะกลัวเรา มากว่าที่เรากลัวเค้าก็ได้นะครับ เมื่อเรารู้ข้อมูล เกี่ยวกับงูทะเลแล้ว รู้ข้อมูลในการระวังป้องกันแล้ว ผมว่า งูทะเล อาจจะไม่ได้น่ากลัว อย่างที่เราเข้าใจกันก่อนหน้านี้ นะครับ .............................................................................. ต้องขอบคุณคุณหมอเอ๋อีกครั้งสำหรับบทความดีๆครับ น่าสนใจมากๆเลย ผมก็รู้ข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับงูทะเลก็จากบทความนี้นี่เอง เห็นคุณหมอลงเลยช่วยพี่สองสายโพสเป็นความรู้ให้สมาชิกเหมือนเดิมครับ ถึงแม้ว่างูทะเลอาจจะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ถ้าเจอกันใต้น้ำล่ะก็ .. ต่างคนต่างอยู่ อย่าไปรบกวนเค้านั่นล่ะดีที่สุดครับผม
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#2
|
||||
|
||||
__________________
Saaychol |
|
|