#51
|
||||
|
||||
ต่อยอดผลสำเร็จ ปะการังเทียม ทรัพยากรชายฝั่งทะเลในพื้นที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศทางทะเล ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเดือดร้อนที่ได้รับเป็นปัญหาใหญ่และสะสมมายาวนาน กระทั่ง เมื่อปี 2544 ชาวประมงบ้านละเวง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงพิจารณาช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบถึงเรื่องนี้ จึงได้พระราชทานคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและทรงมีพระราชวินิจฉัยให้จัดตั้งโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาสขึ้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ราษฎร ส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ ได้สนองพระราชดำริ หาหนทางแก้ไขปัญหาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร กิจกรรมหลักในโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลฯ คือ การจัดสร้างปะการังเทียม โดยกรมประมงได้ทำการจัดวางแท่งคอนกรีตเพื่อทำเป็นปะการังเทียมทุกปี และได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานให้การสนับสนุนวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว จากการรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง กรุงเทพมหานคร และกองทัพบก และได้รับความร่วมมือจากกองทัพเรือ กรมเจ้าท่า ในการพิจารณาพื้นที่จัดวางที่มีความเหมาะสม ส่วนการสนับสนุนงบประมาณได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อร่วมฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำให้อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งทำการประมงสำหรับชาวประมงขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ทรัพยากรสัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ชาวประมง มีรายได้ดีจากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ และบางรายมีรายได้จากการท่องเที่ยวตกปลาหรือดำน้ำ จนเป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่ชาวประมง ประชาชน และนักวิชาการอย่างแพร่หลาย ว่ากิจกรรมนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มพูนทรัพยากรประมง และสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของชาวประมงในพื้นที่ให้ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ทางกรมประมง ยังได้ส่งเสริมให้สตรีและแม่บ้านชาวประมง รวมกลุ่มกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงโดยนำสัตว์น้ำที่จับได้มาแปรรูป เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ผลผลิตและใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาของชุมชนประมงท้องถิ่นทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ข้าวเกรียบปลาสมุนไพร ข้าวเกรียบปลาเสริมวิตามิน ปลาหวานสมุนไพร ปลากะตักอบสมุนไพรรสต้มยำ น้ำบูดู น้ำพริกปลา ฯลฯ โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปสอนและสาธิตให้เห็นจริง ควบคู่กับการเชิญวิทยากรจากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมาให้ความรู้ในด้านการทำบัญชี การตลาด รวมทั้งจัดทัศนศึกษา เพื่อให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่างๆ กลุ่มของตนเองต่อไป และผลผลิตจากกลุ่มประมงพื้นที่เหล่านี้ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในหัวเมืองใหญ่และในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพมหานครด้วย นับเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรได้มีโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับตนเองอย่างมั่นคงทีเดียว. จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 30 กันยายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#52
|
||||
|
||||
มารู้จัก “ประภาคารปลา” สถาปัตยกรรมแบบใหม่ใต้ทะเล “สถาปัตยกรรมใต้น้ำจากปะการังเทียม” สร้างสมดุลธรรมชาติท้องสมุทร ป้องกันชายฝั่ง ฟื้นระบบนิเวศ ขยายพันธุ์ปลา และสัตว์น้ำต่างๆสู่แหล่งดำน้ำใหม่ในอนาคต ณ “ทะเลแหลมฉบัง” “ประภาคาร” ที่เรารู้จักกันนั้น คือ หอคอย หรือ สิ่งก่อสร้างที่สูงเด่น มองเห็นได้ไกล มีไฟสัญญาณส่องสว่างตั้งอยู่บนยอด โดยใช้แสงไฟแสดงที่หมายในการนำเรือเข้าร่องน้ำ อ่าว เขตท่าเรือ หรือ เตือนตำบลที่ ป้องกันเรือวิ่งเข้าหากองหิน ที่ตื้น และสิ่งกีดขวางที่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ด้วยลักษณะดังกล่าว การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จึงปิ๊งไอเดีย “สร้างบ้านให้ปลา” ในรูปแบบ “ประภาคาร” หวังเป็น “สถาปัตยกรรมใต้น้ำจากปะการังเทียม” ที่ไม่เพียงอนุรักษ์ชีวิตสัตว์ทะเล แต่ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลได้ เนื่องจาก “กิจการท่าเรือ” เป็นธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัย ขยายพันธุ์ของปลา และสัตว์น้ำภายในอาณาบริเวณท่าเรือ เพื่อเป็นการชดเชยผลกระทบดังกล่าว กทท.จึงจัดทำโครงการปะการังเทียม “ประภาคารปลาการท่าเรือฯ เฉลิมพระเกียรติ” โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมของรัฐบาล ให้เข้าร่วมเป็นโครงการ/กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เผยว่า ยังเป็นประโยชน์เชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล สร้างแหล่งหลบภัย อยู่อาศัย ขยายพันธุ์ของปลา และสัตว์น้ำ เพิ่มพื้นที่ในการลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง เป็นแนวกีดขวางการทำประมงอวนลาก อวนรุน ที่ทำลายพืช และสัตว์น้ำหน้าดิน ซึ่งเป็นระบบนิเวศสำคัญ และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ลดความแรงของคลื่น และกระแสน้ำ ทั้งยังหวังจะช่วยเพิ่มแหล่งทำประมงพื้นบ้าน รวมถึงชุมชนใกล้เคียงพื้นที่โครงการมีโอกาสพบปะปรึกษาการบริหารจัดการ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน สร้างความร่วมมือ และสภาพสังคมที่ดี ขณะเดียวกัน ยังเป็นประโยชน์เชิงส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ สร้างเสริมรายได้ให้ชุมชนใกล้เคียงพื้นที่โครงการ จึงได้สร้างปะการังเทียมให้มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ทั้งการประกอบตัวปะการัง และการจัดวาง สู่ที่มาของ “ประภาคารปลา” ปะการังเทียมจะทำหน้าที่คล้ายแนวหิน หรือ แนวปะการังที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆอย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลง ปรับปรุง เสริมแต่งสภาพพื้นที่ท้องทะเลให้เหมาะสมกับลักษณะที่สัตว์น้ำชอบอาศัย โดยเลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออับปาง มักใช้วัสดุแข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก ต้านทานกระแสน้ำ ไม่ถูกกัดเซาะจากน้ำเค็ม มีช่องเงาให้สัตว์น้ำใช้กำบัง หรือ ซ่อนตัว ถือเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน รวมถึงพื้นที่ลงเกาะของตัวอ่อนปะการัง หอย ฟองน้ำ เพื่อแพร่ขยายพันธุ์ อีกทั้ง สิ่งมีชีวิตพวกสาหร่าย สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์หน้าดิน มักมาจับจองเป็นที่อยู่ กลายเป็นแหล่งอาหารสมบูรณ์สำหรับปลาอีกต่อหนึ่ง ด้าน เรือเอก อิทธิชัย สุพรรณกูล นักบริหาร 16 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานโครงการปะการังเทียม “ประภาคารปลาการท่าเรือฯ เฉลิมพระเกียรติ” กล่าวถึง ขั้นตอนการดำเนินโครงการว่า เริ่มจากคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย สำรวจ กำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ และรูปแบบการวางปะการังเทียมร่วมกับชุมชนใกล้เคียงพื้นที่เป้าหมาย จัดทำแบบแปลนจัดสร้าง และจัดวาง ขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จากนั้น จัดสร้างปะการังเทียม และจัดวางตามรูปแบบ-ตำบลที่กำหนด ตรวจสอบความถูกต้องของตำบล-ความลึกน้ำ ทำเครื่องหมายแสดง-ประกาศพิกัดพื้นที่จัดสร้างปะการังเทียม และรายงานผลดำเนินโครงการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ โดยพื้นที่โครงการอยู่ฝั่งตะวันตกของชายเขาแหลมฉบังด้านทิศใต้ พิกัดละติจูด 13 04' 36" N ลองจิจูด 100 52' 10" E ซึ่งเป็นพื้นที่ภายในอาณาบริเวณทางน้ำของ กทท. ณ ท่าเรือแหลมฉบัง อยู่นอกทุ่นกำกับร่องน้ำทางเดินเรือของเรือสินค้า ระยะห่างจากฝั่ง 1,000 เมตร และมีความลึก 11-12 เมตร “ปะการังเทียมดังกล่าว กทท.จัดสร้างขึ้นเป็นโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงลูกบาศก์โปร่ง ขนาด 1.5 เมตร น้ำหนัก 1,060 กิโลกรัม น้ำหนักเมื่ออยู่ในน้ำ 600 กิโลกรัม จำนวน 150 แท่ง ออกแบบผังการจัดวาง และประกอบเป็น 6 ชุด ชุดละ 17-29 แท่ง จัดวางขนานชายฝั่งทะเลแหลมฉบังขึ้นไปทางทิศเหนือเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 2 ชุด เป็นแนวปะการังกว้าง 9 เมตร ยาว 53.50 เมตร โดยจินตนาการให้เหมาะกับการอยู่อาศัยของปลา และสะดวกปลอดภัยในการดำชมพื้นที่โครงการ โดยมีตำแหน่งอยู่นอกเส้นทางการเดินเรือ และมีลักษณะเป็นพื้นราบต่อเนื่องจากพื้นที่ลาดชัน พื้นทะเลไม่เป็นโคลนเหลว เหมาะสำหรับวางปะการังเทียม สะดวกในการใช้ประโยชน์ และสามารถขยายโครงการระยะต่อๆไป ซึ่งหลังจากเปิดโครงการวันที่ 23 ธ.ค.54 และดำเนินการจัดวางปะการังเทียมตามจุดพิกัดพื้นที่เป้าหมายแล้วเสร็จ เมื่อครบ 1 ปี กทท.จะประเมินผลโครงการด้านทรัพยากรสัตว์น้ำ เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาขยายโครงการต่อเนื่องจากพื้นที่เดิม” เรือเอกอิทธิชัยกล่าว การจัดสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล หรือ ปะการังเทียม ถือเป็นหนึ่งหนทางช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ช่วยเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ รวมไปถึงพัฒนาเป็นแหล่งประมง ขณะเดียวกัน การดูแลสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้มีความอุดมสมบูรณ์ร่วมด้วย ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลได้เช่นกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใดนั้น คือ จุดเริ่มต้นที่ดีในการรักษาสมดุลของธรรมชาติให้อยู่คู่ท้องทะเลไทยต่อไป. จาก ........................ เดลินิวส์ วันที่ 10 มกราคม 2555
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#53
|
||||
|
||||
ประมาณเดือนมิถุนายน จะมีการวางตู้คอนเทนเนอร์บริเวณอ่าวโรงไฟฟ้าขนอมเพื่อเป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลครับ ปีนี้เป็นโครงการปีสุดท้ายแล้วครับ
|
#54
|
||||
|
||||
ชาวประมงพื้นบ้านคงชอบใจ ที่ได้ปะการังเทียมเพิ่มขึ้นนะคะ แต่ทำไมจะทำเป็นปีสุดท้ายแล้วเล่าคะ...น่าเสียดาย..
__________________
Saaychol |
#55
|
||||
|
||||
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2555 วางตู้คอนเทนเนอร์ทำบ้านให้ปลา บริเวณอ่าวโรงไฟฟ้าขนอมครับผม
|
#56
|
||||
|
||||
ขอบคุณที่แจ้งมาค่ะ..ขอให้มีปลามาอยู่แถวปะการังเทียมเยอะๆนะคะ...
__________________
Saaychol |
#57
|
||||
|
||||
ศูนย์อนุรักษ์ทางทะเลฯ ดึงมวลชน เติมความรู้สร้างปะการังเทียมเพิ่มสัตว์น้ำใต้ทะเล ปะการังเทียม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆอย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพของพื้นที่ท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ให้เหมือนสมัยก่อน โดยปะการังตามธรรมชาติมีการถูกทำลายและเหลือจำนวนน้อยลง โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่ายๆ ว่า “บ้านปลา” เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออับปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ ราคาไม่แพง มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์น้ำกำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม ซึ่งทางศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 จึงได้มีแนวแผนจัดทำปะการังเทียมระดับจังหวัดและให้ความรู้เกี่ยวกับปะการังเทียมแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด โดยมีนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 1 เป็นหัวเรือใหญ่ในการประชุมเชิงปฏิบัติการภารกิจโครงการจัดทำแผนปะการังเทียม ซึ่งยังมี นายมนตรี หามมนตรี หัวหน้าฝ่ายป้องกันปราบปรามอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 และนายจักรพล นรินทรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ประสานงานให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชาวบ้าน นายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ได้กล่าวว่า ด้านนายนพพล ศรีสุข อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีแนวความคิดให้ประชาชนนั้นรับรู้ข้อมูลข่าวสารถึงการสร้างปะการังเทียมไว้ใต้ท้องทะเล จึงได้มีการจัดทำปะการังเทียมระดับจังหวัดและให้ความรู้เกี่ยวกับปะการังเทียมแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นทางศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ได้รับมอบนโยบายจากอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงรีบเร่งดำเนินงานอย่างเร่งด่วน นายภุชงค์ กล่าวต่ออีกว่า สถานการณ์และสถานภาพปะการังจากแหล่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง จากอดีตถึงปัจจุบันได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เช่น กรณีเหตุภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิถล่มแหล่งปะการัง และปรากฏการณ์ฟอกขาวครั้งรุนแรง เมื่อปี 2553 เกิดความเสื่อมโทรมเสียหายเป็นอันมาก อีกทั้งขาดจิตสำนึกที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ของผู้ประกอบการท่องเที่ยว การประมง และชุมชนชายฝั่ง รวมถึงขาดการบูรณาการอย่างเป็นเอกภาพและไม่ประสบความสำเร็จที่ชัดเจนจากหน่วยงานของภาครัฐ ในการดำเนินมาตรการ และการบังคับใช้กฎหมาย อย่างเข้มงวดและสอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อความสมบูรณ์และยั่งยืน การจัดวางปะการังเทียมโดยมีการร่วมมือในกลุ่มจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ซึ่งประกอบทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชนชายฝั่ง ร่วมมือให้การสนับสนุนจัดทำแผนปะการังเทียม คัดเลือกพื้นที่ กำหนดรูปแบบตามความเหมาะสม และสภาพพื้นที่ และตรงตามวัตถุประสงค์ของพื้นที่ที่ชุมชนชายฝั่งต้องการ คาดว่าสามารถสร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และส่งผลดีต่อชุมชนชายฝั่งและกลุ่มที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานที่บริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่งทั้งมวล เพื่อจัดให้มีเวทีประชุมเปิดโอกาสให้องค์กรภาคประชาชน ชุมชน หน่วยงานเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องพื้นที่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ร่วมกันประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็น เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแต่ละพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งร่วมกัน อย่างไรก็ตามการที่นำปะการังเทียมมาไว้ใต้ท้องทะเลนั้นได้เพิ่มสัตว์น้ำทะเลน้อยใหญ่มากขึ้น และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ชอบดำน้ำเพื่อชมธรรมชาติเหมือนความงามเพชรใต้ท้องทะเลไทย!!. ******************************************************************************************** "ตรัง" ทิ้งปะการังเทียมเป็นของขวัญชาวเล หลายหน่วยงานในจังหวัดตรัง ร่วมกันวางปะการังเทียม ( แหล่งอาศัยสัตว์น้ำ) บริเวณพื้นที่เกาะลิบง เพื่อสร้างแหล่งอาศัยให้สัตว์น้ำทะเลตรัง มอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ชาวเลตรัง เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ ( 6 ม.ค.) ที่บริเวณบ้านเกาะมุก หมู่ 2 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง นายไชยยศ ธงไชย รองผวจ.ตรัง พร้อมนางอารีย์ อินทรสมบัติ ประมงจังหวัดตรัง ร่วมกับศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลฝั่งอันดามัน และเครือข่ายประมงพื้นบ้าน นำปะการังเทียม ซึ่งป็นแท่งคอนกรีต 520 แท่ง และทุ่นลอย 8 แท่ง งบประมาณ 3 ล้านบาท มีการผูกโบว์สีแดงทำเป็นกล่องของขวัญปีใหม่ มอบให้แด่ชาวเลตรัง ออกไปวางในทะเลตรังที่ความลึกลงไปถึง 17 เมตร ตามโครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดเล็ก (ปะการังเทียม) บริเวณพื้นที่หมู่ 2 และหมู่ 5 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง จำนวนทั้งหมด 33,387 แท่ง เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 90 ล้านบาท ซึ่งสำนักงานประมงจังหวัดตรัง ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา จนสามารถสร้างปะการังเทียมได้กระจาย 39 แหล่ง ในชายฝั่งทะเล ครอบคลุมพื้นที่ 77.5 ตารางกิโลเมตร ( คิดเป็น 50.70 % ของพื้นที่ปะการังของจังหวัดตรัง ) ของชายฝั่งอำเภอสิเกา อำเภอกันตัง อำเภอปะเหลียน และอำเภอหาดสำราญ โดยผลจากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าปะการังเทียมก่อให้เกิดประโยชน์ทางทะเลในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น นอกจากเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของชาวประมง เป็นแหล่งประมงหน้าบ้านของชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้านแล้ว ปะการังเทียมยังช่วยป้องกันการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 55 ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ยังได้งบประมาณจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอีกจำนวน 7 ล้านบาท เพื่อจัดสร้างปะการังเทียมจำนวน 1,188 แท่ง สำหรับจัดวางในทะเลตรังในช่วงเดือนมีนาคม 56 นี้. จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 7 มกราคม 2556
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|