เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 06-11-2014
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default สุขสันต์วันลอยกระทง 2557 ปีนี้ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2557



ประวัติวันลอยกระทง 2557 ปีนี้ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2557



วันลอยกระทง 2557 ประวัติวันวันลอยกระทง (loy krathong day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลปีอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง และในปี พ.ศ. 2557 นี้ วันลอยกระทง 15 ค่ำเดือน 12 ซึ่งตรงกับวันพฤกัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2557


เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย

การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า 'แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน'

ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

'ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง'

ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย

ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว


เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง


สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่

1.เพื่อ แสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด

2.เพื่อ เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท

3.เพื่อ เป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

4.เพื่อ เป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่า ว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

5.เพื่อ รักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน

7.เพื่อ ส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย


ประเพณีลอยกระทงในแต่ละภาค


ลักษณะการจัดงานลอยกระทงของแต่ละจังหวัด และแต่ละภาคจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันคือ


ภาคเหนือ (ตอนบน) จะเรียกประเพณีลอยกระทงว่า 'ยี่เป็ง' อันหมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนยี่ถ้านับตามล้านนาจะตรงกับเดือนสิบสองในแบบไทย) โดยชาวเหนือจะนิยมประดิษฐ์โคมลอย หรือที่เรียกว่า 'ว่าวฮม' หรือ 'ว่าวควัน' โดยการใช้ผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ ให้โคมลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า


จังหวัดตาก จะประดิษฐ์กระทงขนาดเล็ก แล้วปล่อยลอยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เรียงรายเป็นสาย เรียกว่า 'กระทงสาย'


จังหวัดสุโขทัย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องประเพณีลอยกระทง ด้วยความเป็นจังหวัดต้นกำเนิดของประเพณีนี้ โดยการจัดงาน ลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ที่ จังหวัดสุโขทัยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2520 ซึ่งจำลองบรรยากาศงานมาจากงานลอยกระทงสมัยกรุงสุโขทัย และหลังจากนั้นก็มีการจัดงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย ทุก ๆ ปี มีทั้งการจัดขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล และไฟพะเนียง


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานลอยกระทงจะเรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ โดยจัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ทุกปีในจังหวัดนครพนม มีการนำหยวกกล้วย หรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเรือ และประดับไฟอย่างสวยงาม และตอนกลางคืนจะมีการจุดไฟปล่อยกระทงให้ไหลไปตามลำน้ำโขง


กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานลอยกระทงหลายแห่ง แต่ที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่ 'งานภูเขาทอง' ที่จะเนรมิตงานวัดเพื่อเฉลิมฉลองประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่จัดอยู่ราว 7-10 วัน ตั้งแต่ก่อนวันลอยกระทง จนถึงหลังวันลอยกระทง


ภาคใต้ มีการจัดงานลอยกระทงในหลาย ๆ จังหวัด เช่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีงานยิ่งใหญ่ทุกปี



กิจกรรมในวันลอยกระทง


ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การ ประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา


นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย



เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง



เมื่อเราได้ยินเพลง 'รำวงลอยกระทง' ที่ขึ้นต้นว่า 'วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง...' นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย

เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง 'รำวงลอยกระทง' ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า

วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง


ทายนิสัยจากกระทงที่เลือก

เริ่มจาก กระทงใบตอง บ่งบอกถึงรสนิยมที่ชอบความพิถีพิถัน เป็นคนหนักแน่น ชอบทำมากกว่าพูด ชอบช่วยเหลือผู้อื่น สามารถอยู่ในกฎ ระเบียบได้ดี มีเอกลักษ์เฉพาะตัว มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นคนพูดน้อยต่อยหนัก มีความอดทนต่อภาวะกดดันได้สูง คิดถึงคนรอบข้างอยู่เสมอ มีภาวะความเป็นผู้นำ ระเอียดรอบคอบ แต่ติดจะมีความคิดเป็นของตัวเองมากอยู่สักหน่อย

สำหรับคนที่เลือก กระทงกลีบบัว จะ เป็นคนขี้สงสาร ชอบความสงบ พูดจาพาทีนุ่มนวล มีจินตนการสูง อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ชอบการตัดสินปัญหาด้วยความรุนแรง ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย คนประเภทนี้มักเป็นที่รักของผู้พบเห็น

คนที่เลือก กระทงขนมปัง เป็นคนมีจินตนาการสูง เปิดเผยจริงใจ ชอบสนุกสนานเฮฮา กล้าแสดงออก ไม่ยึดติด ไม่ชอบอยู่กับที่นานๆ เป็นนักเดินทาง ชอบการติดต่อสื่อสาร ขี้เหงา เอาแต่ใจบ้างเป็นบางครั้ง มองโลกในแง่ดี เป็นคนที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ หากมุ่งมั่นเมื่อไหร่ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ๆ

ปิดท้ายด้วย ยี่เป็ง ท่านที่เลือกกระทงประเภทนี้ เป็นคนรักอิสระ ชอบการเดินทาง สนใจใฝ่รู้กับสิ่งรอบตัวอยู่เสมอ ชอบการเรียนรู้ เป็นนักผจญภัยของแท้ ชอบความท้าทายตื่นเต้น แต่ภายในใจ เป็นคนใจดีมีเมตตา มองโลกในแง่ดี โกรธง่ายหายเร็ว แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้่าได้อย่างดีเยี่ยม มีความคิดเป็นของตัวเอง มองโลกในมุมบวก ชอบสร้างความสุขให้กับคนรอบข้าง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
http://www.loikrathong.net/index.html
รูป
 

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย แมลงปอ : 06-11-2014 เมื่อ 13:18
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 06-11-2014
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default

วันลอยกระทง 2557

ลอยกระทง เป็นพิธีอย่างหนึ่งที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน ในปีนี้ วันลอยกระทง ตรงกับ วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2557

ประเพณีลอยกระทง (Loy Krathong Festival) มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศจีน อินเดีย เขมร ลาว และพม่า ก็มีการลอยกระทงคล้ายๆ กับบ้านเรา จะต่างกันบ้าง ก็คงเป็นเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น แม้แต่ในบ้านเราเอง การลอยกระทง ก็มาจากความเชื่อที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ได้รวบรวมมาบอกเล่าให้ทราบกันดังต่อไปนี้

ทำไมถึงลอยกระทง

การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า ปฏิบัติกันมาแต่เมื่อไร เพียงแต่ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ก็จะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการลอยกระทงแตกต่างกันไป เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์, เป็นบูชารอยพระพุทธบาท ณ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำเนรพุททาในอินเดีย หรือต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดา

วัตถุประสงค์ของวันลอยกระทง (Loy Krathong Festival)

นอกจากนี้ ลอยกระทง ก็ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อบูชาพระอุปคุตเถระที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล บางแห่งก็ลอยกระทง เพื่อบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของตน บางแห่งก็เพื่อแสดงความขอบคุณพระแม่คงคา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงไป ส่วนบางท้องที่ ก็จะทำเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หรือเพื่อสะเดาะเคราะห์ ลอยทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ และส่วนใหญ่ก็จะอธิษฐานขอสิ่งที่ตนปรารถนาไปด้วย



พระยาอนุมานราชธน ได้สันนิษฐานว่า ต้นเหตุแห่งการลอยกระทง อาจมีมูลฐานเป็นไปได้ว่า การลอยกระทงเป็นคติของชนชาติที่ประกอบกสิกรรม ซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นสำคัญ เมื่อพืชพันธุ์ธัญชาติงอกงามดี และเป็นเวลาที่น้ำเจิ่งนองพอดี ก็ทำกระทงลอยไปตามกระแสน้ำไหล เพื่อขอบคุณแม่คงคา หรือเทพเจ้าที่ประทานน้ำมาให้ความอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ จึงได้ลอยกระทงในฤดูกาลน้ำมาก และเมื่อเสร็จแล้ว จึงเล่นรื่นเริงด้วยความยินดี เท่ากับเป็นการสมโภชการงานที่ได้กระทำว่า ได้ลุล่วงและรอดมาจนเห็นผลแล้ว ท่านว่าการที่ชาวบ้านบอกว่า การลอยกระทงเป็นการขอขมาลาโทษ และขอบคุณต่อแม่คงคา ก็คงมีเค้าในทำนองเดียวกับการที่ชาติต่างๆ แต่ดึกดำบรรพ์ได้แสดงความยินดี ที่พืชผลเก็บเกี่ยวได้ จึงได้นำผลผลิตแรกที่ได้ ไปบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือ เพื่อขอบคุณที่บันดาลให้การเพาะปลูกของตนได้ผลดี รวมทั้งเลี้ยงดูผีที่อดอยาก และการเซ่นสรวงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ เสร็จแล้วก็มีการสมโภชเลี้ยงดูกันเอง

ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญแล้ว การวิตกทุกข์ร้อน เรื่องเพาะปลูกว่าจะไม่ได้ผลก็น้อยลงไป แต่ก็ยังทำการบวงสรวง ตามที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี เพียงแต่ต่างก็แก้ให้เข้ากับคติลัทธิทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น มีการทำบุญสุนทานเพิ่มขึ้นในทางพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ที่สุด ก็คงเหลือแต่การเล่นสนุกสนานรื่นเริงกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น การลอยกระทงจึงมีอยู่ในชาติต่างๆทั่วไป และการที่ไปลอยน้ำ ก็คงเป็นความรู้สึกทางจิตวิทยา ที่มนุษย์โดยธรรมดา มักจะเอาอะไรทิ้งไปในน้ำให้มันลอยไป

ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอก ของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่า เป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลาย ตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียน นำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้น ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศพระสนมเอก ก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษ ที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็น ก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน





ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 06-11-2014
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default



ตำนานและความเชื่อวันลอยกระทง (Loy Krathong Festival)


จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า การลอยกระทง ในแต่ละท้องที่ก็มาจากความเชื่อ ความศรัทธาที่แตกต่างกัน บางแห่งก็มีตำนานเล่าขานกันต่อๆมา ซึ่งจะยกตัวอย่างบางเรื่องมาให้ทราบ ดังนี้

เรื่องแรก ว่ากันว่าการลอยกระทง มีต้นกำเนิดมาจากศาสนาพุทธนั่นเอง

กล่าวคือก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา กาลวันหนึ่ง นางสุชาดาอุบาสิกาได้ให้สาวใช้นำข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนหุงด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำอ้อย) ใส่ถาดทองไปถวาย เมื่อพระองค์เสวยหมดแล้ว ก็ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า ถ้าหากวันใดจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ก็ขอให้ถาดลอยทวนน้ำ ด้วยแรงสัตยาธิษฐาน และบุญญาภินิหาร ถาดก็ลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล แล้วก็จมไปถูกขนดหางพระยานาคผู้รักษาบาดาล

พระยานาคตื่นขึ้น พอเห็นว่าเป็นอะไร ก็ประกาศก้องว่า บัดนี้ได้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลกอีกองค์แล้ว ครั้นแล้วเทพยดาทั้งหลายและพระยานาค ก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระยานาคก็ได้ขอให้พระพุทธองค์ ประทับรอยพระบาทไว้บนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อพวกเขาจะได้ขึ้นมาถวายสักการะได้ พระองค์ก็ทรงทำตาม ส่วนสาวใช้ก็นำความไปบอกนางสุชาดา ครั้นถึงวันนั้นของทุกปี นางสุชาดาก็จะนำเครื่องหอม และดอกไม้ใส่ถาดไปลอยน้ำ เพื่อไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำเสมอมา และต่อๆ มาก็ได้กลายเป็นประเพณีลอยกระทง ตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ในเรื่องการประทับรอยพระบาทนี้ บางแห่งก็ว่า พญานาคได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ไปแสดงธรรมเทศนาในนาคพิภพ เมื่อจะเสด็จกลับ พญานาคได้ทูลขออนุสาวรีย์จากพระองค์ไว้บูชา พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐาน ประทับรอยพระบาทไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทา และพวกนาคทั้งหลาย จึงพากันบูชารอยพระพุทธบาทแทนพระองค์ ต่อมาชาวพุทธได้ทราบเรื่องนี้ จึงได้ทำการบูชารอยพระบาทสืบต่อกันมา โดยนำเอาเครื่องสักการะใส่กระทงลอยน้ำไป ส่วนที่ว่าลอยกระทงในวันเพ็ญ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ หลังการจำพรรษา 3 เดือน ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดานั้น ก็ด้วยวันดังกล่าว เหล่าทวยเทพและพุทธบริษัท พากันมารับเสด็จนับไม่ถ้วน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา และเป็นวันที่พระพุทธองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้เห็นสวรรค์ และนรกด้วยฤทธิ์ของพระองค์ คนจึงพากันลอยกระทง เพื่อเฉลิมฉลองรับเสด็จพระพุทธเจ้า

สำหรับคติที่ว่า การลอยกระทงตามประทีป เพื่อไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็ว่าเป็นเพราะตรงกับวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จออกบรรพชาที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงใช้พระขรรค์ตัดพระเกศโมลีขาด ลอยไปในอากาศตามที่ทรงอธิษฐาน พระอินทร์จึงนำผอบแก้วมาบรรจุ แล้วนำไปประดิษฐานไว้ในจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตามประทีป คือ การจุดประทีป หรือจุดไฟในตะเกียง /โคม หรือผาง-ถ้วยดินเผาเล็กๆ) ซึ่งทางเหนือของเรา มักจะมีการปล่อยโคมลอย หรือโคมไฟที่เรียกว่า ว่าวไฟ ขึ้นไปในอากาศเพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีด้วย

เรื่องที่สอง ตามตำราพรหมณ์คณาจารย์กล่าวว่า

พิธีลอยประทีปหรือตามประทีปนี้ แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ทำขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าทั้งสามคือ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม เป็นประเภทคู่กับลอยกระทง ก่อนจะลอยก็ต้องมีการตามประทีปก่อน ซึ่งตามคัมภีร์โบราณอินเดียเรียกว่า “ทีปาวลี” โดยกำหนดทางโหราศาสตร์ว่า เมื่อพระอาทิตย์ถึงราศีพิจิก พระจันทร์อยู่ราศีพฤกษ์เมื่อใด เมื่อนั้นเป็นเวลาตามประทีป และเมื่อบูชาไว้ครบกำหนดวันแล้ว ก็เอาโคมไฟนั้นไปลอยน้ำเสีย ต่อมาชาวพุทธเห็นเป็นเรื่องดี จึงแปลงเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท และการรับเสด็จพระพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมักถือเอาเดือน 12 หรือเดือนยี่เป็งเป็นเกณฑ์ (ยี่เป็งคือเดือนสอง ตามการนับทางล้านนา ที่นับเดือนทางจันทรคติ เร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน)




เรื่องที่สาม เป็นเรื่องของพม่า

เล่าว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระประสงค์จะสร้างเจดีย์ให้ครบ 84,000 องค์ แต่ถูกพระยามารคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงไปขอให้พระอรหันต์องค์หนึ่ง คือ พระอุปคุตช่วยเหลือ พระอุปคุตจึงไปขอร้องพระยานาคเมืองบาดาลให้ช่วย พระยานาครับปาก และปราบพระยามารจนสำเร็จ พระเจ้าอโศกมหาราช จึงสร้างเจดีย์ได้สำเร็จสมพระประสงค์ ตั้งแต่นั้นมา เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 คนทั้งหลายก็จะทำพิธีลอยกระทง เพื่อบูชาคุณพระยานาค เรื่องนี้ บางแห่งก็ว่า พระยานาค ก็คือพระอุปคุตที่อยู่ที่สะดือทะเล และมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงปราบมารได้ และพระอุปคุตนี้ เป็นที่นับถือของชาวพม่า และชาวพายัพของไทยมาก

เรื่องที่สี่ เกิดจากความเชื่อแต่ครั้งโบราณในล้านนาว่า

เกิดอหิวาต์ระบาด ที่อาณาจักรหริภุญชัย ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่ไม่ตายจึงอพยพไปอยู่เมืองสะเทิม และหงสาวดีเป็นเวลา 6 ปี บางคนก็มีครอบครัวอยู่ที่นั่น ครั้นเมื่ออหิวาต์ได้สงบลงแล้ว บางส่วนจึงอพยพกลับ และเมื่อถึงวันครบรอบที่ได้อพยพไป ก็ได้จัดธูปเทียนสักการะ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคดังกล่าวใส่ สะเพา ( อ่านว่า “ สะ - เปา หมายถึง สำเภาหรือกระทง ) ล่องตามลำน้ำ เพื่อระลึกถึงญาติที่มีอยู่ในเมืองหงสาวดี ซึ่งการลอยกระทงดังกล่าว จะทำในวันยี่เพง คือ เพ็ญเดือนสิบสอง เรียกกันว่า การลอยโขมด แต่มิได้ทำทั่วไปในล้านนา ส่วนใหญ่เทศกาลยี่เพงนี้ ชาวล้านนาจะมีพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือการเทศน์คัมภีร์ขนาดยาวอย่างเทศน์มหาชาติ และมีการจุดประทีปโคมไฟอย่างกว้างขวางมากกว่า (การลอยกระทง ที่ทางโบราณล้านนาเรียกว่า ลอยโขมดนี้ คำว่า “ โขมด อ่านว่า ขะ-โหมด เป็นชื่อผีป่า ชอบออกหากินกลางคืน และมีไฟพะเหนียงเห็นเป็นระยะๆ คล้ายผีกระสือ ดังนั้น จึงเรียกเอาตามลักษณะกระทง ที่จุดเทียนลอยในน้ำ เห็นเงาสะท้อนวับๆ แวมๆ คล้ายผีโขมดว่า ลอยโขมด ดังกล่าว)

เรื่องที่ห้า กล่าวกันว่าในประเทศจีนสมัยก่อน

ทางตอนเหนือ เมื่อถึงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมเสมอ บางปีน้ำท่วมจนชาวบ้านตายนับเป็นแสนๆ และหาศพไม่ได้ก็มี ราษฎรจึงจัดกระทงใส่อาหารลอยน้ำไป เพื่อเซ่นไหว้ผีเหล่านั้นเป็นงานประจำปี ส่วนที่ลอยในตอนกลางคืน ท่านสันนิษฐานว่า อาจจะต้องการความขรึม และขมุกขมัวให้เห็นขลัง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีๆสางๆ และผีก็ไม่ชอบปรากฏตัวในตอนกลางวัน การจุดเทียนก็เพราะหนทางไปเมืองผีมันมืด จึงต้องจุดให้แสงสว่าง เพื่อให้ผีกลับไปสะดวก ในภาษาจีนเรียกการลอยกระทงว่า ปล่อยโคมน้ำ (ปั่งจุ๊ยเต็ง) ซึ่งตรงกับของไทยว่า ลอยโคม จากเรื่องข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า การลอยกระทง ส่วนใหญ่จะเป็นการแสดงความกตัญญู ระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อมนุษย์ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า พระแม่คงคา และบรรพชน เป็นต้น และแสดงความกตเวที (ตอบแทนคุณ) ด้วยการเคารพบูชาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ โดยเฉพาะการบูชาพระพุทธเจ้า หรือรอยพระพุทธบาท ถือได้ว่าเป็นคติธรรมอย่างหนึ่ง ที่บอกเป็นนัยให้พุทธศาสนิกชน ได้เจริญรอยตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามทั้งปวงนั่นเอง

ประเพณีลอยกระทง นอกจากจะเป็นประเพณีที่มีคุณค่า ในเรื่องการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที ต่อผู้มีพระคุณดังที่กล่าวมาแล้ว ประเพณีนี้ยังมีคุณค่าต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสานาด้วย เช่น ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทำให้ชุมชนได้ร่วมมือร่วมใจกันจัดงาน หรือในบางท้องที่ที่มีการทำบุญ ก็ถือว่ามีส่วนช่วยสืบทอดพระศาสนา และในหลายๆ แห่งก็ถือเป็นโอกาสดีในการรณรงค์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแม่น้ำลำคลองไปด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 06-11-2014
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default

ประเพณีลอยกระทงสาย




จังหวัดตากนอกจากประเพณีลอยกระทงเช่นเดียวกับจังหวดอื่นทั่วไปแลว ยังมีการลอยกระทงสายที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เริ่มแรกของประเพณีเกิดขึ้นที่อําเภอบานตากและเปนรูปแบบในการจัดประเพณีลอยกระทงสายในอําเภอใกล้เคียง ปจจุบันประเพณีลอยกระทงสาย ไดรับการสนับสนุนและเผยแพร่จัดงานในระดับจังหวัด และถือได้วาเป็นประเพณีที่เปนเอกลกษณ์ ของจังหวัดตาก และเปนที่ยินดีกับชาวจังหวัดตากอย่างยิ่งที่การต้อนรับผู้นํา เอเปค 21ประเทศในการลอยกระทงสายของจังหวัดตากและการลอยโคมของจังหวัดเชียงใหม่ได้รวมแสดงในราชพิธีพยหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ทําใหประเพณีลอยกระทงสายของจังหวัดตากเปนที่รูจักกันทั่วประเทศและขยายไประดับโลก
การลอยกระทงสายนี้มีการพัฒนาการคัดมาจากประเพณีการลอยกระทงเปนสิ่งที่เกิดจากภูมิปญญาท้องถิ่น ที่มีความพรอมด้วยปัจจัยวัสดุธรรมชาติ คือกะลามะพร้าว ซึ่งมะพร้าวมีมากในภูมิภาคนี้ซึ่งเห็นได้ จากอาหารพื้นเมืองของชาวจังหวดตากที่มีสวนประกอบของมะพร้าวเปนสําคัญ อาหารที่เป็นที่รูจักกันดีได้แก่ ไส้เมี่ยง เมี่ยงคำ เปนตน จากวัสดุธรรมชาติที่ใชปจจัยเอื้อก่อให้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผนวกกับการมีนิสัยที่รักสนุกสนานรื่นเริง จึงเกิดประเพณีลอยกระทงสายขึ้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปญญาท้องถิ่น
การจัดประเพณีลอยกระทงสายแตเดิมเริ่มที่อําเภอบ้านตากนั้น จะตรงกับชวงวันเพ็ญ 15ค่ำของทุกปี หลังจากที่จัดงานลอยกระทงเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการจัดลอยกระทงสายจึงจัดกันในแรม 11 ค่ำ มีกิจกรรมที่สําคัญคือ ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้าจะทำบุญตักบาตร ฟงเทศน์ ตอนบ่ายจะมีการแข่งเรือของแต่ล่ะหมู่บาน สวนในช่วงตอนเย็นจะมีการจุดประทีปที่บานและลอยกระทงของแต่ละคน สวนในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ตอนพลบค่ำ พระสงฆ์และชาวบานมาสวดมนตและปลอยโคมลอย เมื่อเสร็จพิธีจึงมีการปล่อยกระทงสาย
การลอยกระทงสายนั้นประกอบด้วย 3 ประเภทด้วยกัน คือ กระทงนํา กระทงตาม และกระทงปิดท้าย กระทงนํา จะประดิษฐ์ประดอยอย่างสวยงามบนแพหยวกกลวย ตัวกระทงจะทำด้วยใบตองหรือจากวัสดุธรรมชาติและจะลอยเปนอันดับแรก กระทงตาม จะมีสวนประกอบด้วยตัวกระทงและไส้กระทง ตัวกระทงจะทําด้วยกะลามะพราวแห้งที่ ไมมีรู สวนไส้กระทงมีหลากหลายชนิด เชน ขี้ไต้ แกนข้าวโพดหรือซางขาวโพด กาบ(เปลือก)มะพร้าว ตีนกา ผาชุบน้ำมัน เปนตน กระทงปิดท้าย จะมีลักษณะคล้ายกระทงนํา แต่เล็กกว่าและลอยหลังจากที่ลอยกระทงตาม(กะลามะพราว)เรียบร้อยแล้ว จากลักษณะภูมิประเทศของอำเภอบ้านตาก และจังหวัดที่ใกล้ชิดกับแม่น้ำมีการพัฒนาบานเมืองมานานแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และการตั้งแหล่งถิ่นฐานของชุมชนของคนในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแหลงน้ำ จากสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่เปนปจจัยเอื้อผนวกกับความสามารถในภูมิปญญาทองถิ่นจึงเกิดเป็นประเพณีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันสะท้อนให้ เห็นถึงความรักใคร่สามัคคีกันในหมู่คณะที่มีมาแตโบราณจวบจนปจจุบัน

ที่มา : [url]http://cdas.ru.ac.th/filepdf/loy_kratong.pdf[/url
]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 06-11-2014
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default

12 พื้นที่ลอยกระทงชาวกรุง เลือกไปตามใจคุณ ....ข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์



ภาพจาก manager.co.th


ไม่ว่าจะกี่ยุคสมัย ‘ประเพณีลอยกระทง’ ยังคงครองใจคนไทยในทุกช่วงวัย อาจเพราะเป็นกิจกรรมสนุกสนานตามแบบฉบับนิสัยร่าเริงของคนไทย ยิ่งเด็กๆ ด้วยแล้วความอลังการสดใสของการเผาเทียนเล่นไฟ จุดพลุหลากสีสันสะกดใจให้ตราตรึง น่าเสียดายช่วงหลังทางราชการออกกฎหมายควบคุมการจำหน่าย และเล่นดอกไม้ไฟ ทำให้บรรยากาศอาจเงียบเหงาไปบ้าง

สิ่งที่นึกถึงเมื่อกล่าวถึงวันลอยกระทง คือแผนการท่องเที่ยวในยามค่ำคืน หลายท่านอยากใช้เวลาให้คุ้มที่สุดด้วยการ พาคนรัก พาครอบครัวไปทำบุญ ลอยกระทง รับประทานอาหาร ฟังเพลงดื่มด่ำบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำหรือคลอง ซึ่งนิตยสาร mars ได้รวบรวม 12 แหล่งท่องเที่ยวน่าสนในวันลอยกระทงมาแนะนำ เผื่อใครสนใจอยากไปแห่งไหนจะได้วางแผนใช้เวลาให้คุ้มค่า และสุขที่สุด

1. สะพานพระราม 8 กับสถานที่สุดสวยแห่งหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา กิจกรรมจัดบริเวณฝั่งธนบุรี มีการส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทงแบบดั้งเดิม จุดเด่นของบริเวณนี้คือพื้นที่โล่งกว้าง มีตลิ่งยาวทำให้ไม่รู้สึกแออัด อีกทั้งมีร้านอาหารสุดชิลหลายแห่งไว้บริการ (ช่วงลอยกระทงอาจเต็มเนื่องจากมีการจองล่วงหน้า)

2. สวนสันติชัยปราการ เขตพระนคร สถานที่หลักใช้จัดงานประเพณีลอยกระทงของกรุงเทพฯ เป็นสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งของกรุงเทพฯ ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำ ท่ามกลางบรรยากาศดีๆ มีป้อมพระสุเมรุเป็นฉากหลังเอาไว้บันทึกภาพดูงดงามไปอีกแบบ รวมถึงลักษณะของโค้งน้ำเจ้าพระยา ทำให้เห็นกระทงลอยเป็นสายตระการตาไปอีกแบบ

3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานที่ในความทรงจำของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะหนุ่มสาวหลายคู่ตั้งตาคอยขอเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้แสงจันทร์ และปีนี้ จุฬาฯ ชวนคุณลอยกระทงภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘คืนวันเพ็ญ เล่นรำวง ลอยกระทง ลอยกับใคร?’ ดูแล้วคงพอเดากันได้ว่าธีมกิจกรรมจะเป็นอย่างไร ลองคัดสรรเสื้อผ้าแต่งหน้าทำผมสไตล์ไทยๆ ไปเดินในงานคงฟินน่าดู

4. ท่าน้ำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ที่นี่ได้รับความนิยมอย่างสูง ติดตรงข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก แนะนำว่าควรเผื่อเวลาเดินทางไปในช่วงเย็น หรือหัวค่ำจะสะดวกกว่า แต่ก็มีการอำนวยความสะดวกด้วยการจัดเรือนำนักท่องเที่ยวออกไปลอยกระทงกลางแม่น้ำ

5. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บริเวณรอบสระน้ำหน้าหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ประตูพหลโยธิน) ที่มี ‘เสียงลือเสียงเล่าอ้าง’ ว่าหนุ่มสาวหน้าตาดีจะไปรวมกัน ณ ที่แห่งนี้ ส่วนจะจริงเท็จเพียงใดคงต้องลองพิสูจน์ด้วยตาคุณเอง แต่หากไม่เป็นดั่งหวัง เขายังมีกิจกรรมประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การแสดงต่าง และร้านค้ามากมายที่ทำให้คุณชม ชิม ช้อป กันเพลินจนลืมเวลา

6. เขาดินวนา กับความทรงจำจากรุ่นสู่รุ่น สถานที่ได้รับความนิยมมานาน เนื่องจากมีพื้นกว้างขวางรายล้อมบึงน้ำขนาดใหญ่ เรียกว่าเป็นมุมของครอบครัวโดยแท้ เนื่องจากพ่อแม่สามารถพาลูกๆ ไปชมสัตว์ได้ตั้งแต่ช่วงกลางวัน และพอพลบค่ำก็ลอยกระทงต่อ

7. วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือ ‘วัดแจ้ง’ ที่ชาวบ้านรู้จัก ส่วนเรื่องบรรยากาศนั้นอบอวลด้วยความเป็นไทย ท่ามกลางมนต์ขลังของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีการจัดแสงสีสวยงาม นับเป็นแลนด์มาร์คหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในระดับสากล

8. อุทยานเบญจสิริ ใกล้ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม ถนนสุขุมวิท มีการจัดงานลอยกระทงเพื่อสืบสานประเพณีไทย เอกลักษณ์ของที่นี่คือมีประติมากรรมในสวนให้คุณเลือกถ่ายภาพหลากสไตล์ รวมไปถึงกิจกรรมอย่างดนตรีในสวน

9. สวนเบญจกิติ ตั้งอยู่ข้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่โดยรอบกว้างขวาง ทำให้ได้รับความนิยมไม่แพ้จุดอื่นๆ เนื่องจากไม่แออัด วิวทิวทัศน์โล่ง สวยงาม รวมไปถึงการเดินทางค่อนข้างง่ายเนื่องจากใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT

10. สวนลุมพินี เขตปทุมวัน ความร่มรื่นของแมกไม้นานาพันธุ์ สร้างเสน่ห์ดึงดูดให้คนเมืองแห่แหนกันไปลอยกระทง ประกอบกับพื้นที่กว้างขวางไม่แพ้สวนสาธารณะแห่งอื่น

11. เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (Asiatique The Riverfront) กับแหล่งท่องเที่ยวอลังการงานสร้าง ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างชาติ นอกจากกิจกรรมลอยกระทงที่จัดไว้ ยังมีร้านรวงมากมายให้คุณนั่งดื่มสบายๆ หรือซื้อสินค้าหลากหลายแบรนด์

12. ภูเขาทอง หรือ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นชื่อที่เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เสน่ห์อยู่ตรงบรรยากาศงานวัดประเภท สาวน้อยตกน้ำ ยิงปืนลม ปาลูกโป่ง ชิงช้าสวรรค์ และเดินขึ้นวัดสระเกศ เพื่อสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ ชมพระบรมบรรพตที่ชั้นบนสุด เพื่อความเป็นสิริมงคล
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 02:05


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger