เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #11  
เก่า 04-08-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

โพสต์ทูเดย์


"แมงกะพรุนพิษ"... ถึงเวลาที่คนไทยต้องตื่นตัว! ............................. โดย วรรณโชค ไชยสะอาด



กระเเสเรื่อง "เเมงกะพรุนพิษ" กำลังสร้างความหวาดวิตกไปทั่ว หลังมีนักท่องเที่ยวรายหนึ่งเสียชีวิตจากพิษของแมงกะพรุนกล่องขณะลงเล่นน้ำที่หาดริ้น เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี

นี่ไม่ใช่เหยื่อรายแรกที่สังเวยชีวิตให้แก่พิษของแมงกะพรุน...

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคระบุว่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวได้รับบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษขณะเล่นน้ำในทะเลไทยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจำนวนกว่า 900 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 12 ราย

คำถามคือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมีการรณรงค์ให้คนไทยได้รู้เท่าทันเจ้าวายร้ายแห่งท้องทะเลตัวนี้


เฝ้าระวัง 67 จุดเสี่ยง!

ความคืบหน้าล่าสุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมจัดระบบเฝ้าระวังแมงกะพรุนพิษในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยแล้ว

นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ประสานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการท่องเที่ยว เพื่อติดตั้งจุดวางน้ำส้มสายชู และกล่องปฐมพยาบาลบริเวณริมหาด สำหรับใช้ยับยั้งพิษของแมงกะพรุน รวมทั้งติดตั้งตาข่ายกันแมงกะพรุนในบางพื้นที่ ประมาณ 67 จุด ใน 9 จังหวัด เช่น ระนอง ตราด ระยอง พังงา ตรัง ภูเก็ต กระบี่ สตูล และจันทบุรี

ขณะที่ วรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ย้ำว่า จากนี้ไปจำเป็นต้องดำเนินการเชิงรุก มากกว่าจะตั้งรับป้องกันเพียงอย่างเดียว

"ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการเชิงรุก ด้วยการทำความเข้าใจกับทางจังหวัดในพื้นที่เฝ้าระวัง โดยเฉพาะชาวบ้านในพื้นที่เเละผู้ประกอบการท่องเที่ยว ทำความเข้าใจเรื่องการติดตั้งป้ายเตือน ติดตั้งจุดบริการน้ำส้มสายชูให้กับนักท่องเที่ยว เพราะชุมชนเเละผู้ประกอบการเขาไม่อยากให้ติดตั้ง เนื่องจากกลัวเสียภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่สวยงามปลอดภัย กลัวคนจะเข้าใจว่าเป็นพื้นที่อันตราย เเต่ต้องมองว่า ภัยนี้เป็นเรื่องที่เราสามารถป้องกันได้ ยกตัวอย่างประเทศที่พบเเมงกะพรุนจำนวนมากอย่างออสเตรเลียถึงขั้นติดตั้งตาข่ายในทะเล เพื่อป้องกันแมงกะพรุนพิษ"




น้ำส้มสายชูแก้พิษได้จริงหรือ?

ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า หากสัมผัสกับแมงกะพรุนพิษ อย่าใช้มือปัดป่ายไปมา เพราะจะยิ่งทำให้มือและแขนโดนหนวดแมงกะพรุนมากขึ้น ควรตั้งสติ เดินขึ้นฝั่งและรีบจัดการกับบริเวณร่างกายที่เกิดปัญหา

"การนำเศษหนวดและเซลล์เข็มพิษออกจากผิวหนังเป็นเรื่องสำคัญสุด เซลล์เข็มพิษพวกนี้อาจติดอยู่ตามเสื้อผ้าชุดว่ายน้ำและยิงพิษไปเรื่อย เพราะฉะนั้น หาทางถอดชุดพวกนั้นออก อย่าทิ้งไว้คาตัวผู้ป่วย หากมีเศษหนวดติดอยู่ ต้องรีบเอาออก แต่อย่าใช้มือสัมผัสโดยเด็ดขาด ใช้น้ำสาดใส่ หรือใช้กิ่งไม้เศษไม้เขี่ยออก หรือ หากมีเครดิตการ์ด จะใช้ขูดออกก็ได้ ต้องทำอย่างระมัดระวัง"

คำถามที่หลายคนสงสัยคือ น้ำส้มสายชูใช้แก้พิษแมงกะพรุนได้จริงหรือ ดร.ธรณ์บอกว่า น้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรด เข็มพิษของเเมงกะพรุนที่ติดอยู่ตามตัวจะหยุดทำงานเมื่อเจอน้ำส้มสายชู ทั้งนี้ห้ามใช้น้ำจืดหรือน้ำยาอะไรก็ตามโดยเด็ดขาด


“ฤทธิ์น้ำส้มสายชูจะไปสกัดไม่ให้เซลล์ยิงเข็มพิษ ที่ผ่านมามีการใช้น้ำส้มสายชูจัดการกับพิษแมงกะพรุนมานานกว่า 30 ปี แต่ปัญหาคือ ล่าสุดเมื่อปีที่แล้วมีงานวิจัยข้างเคียงออกมาระบุว่า แม้น้ำส้มสายชูจะหยุดการทำงานของเข็มพิษที่ยังไม่ยิงออกมา แต่จะทำให้พิษของเข็มที่ยิงออกมาแล้วยิ่งรุนแรงขึ้นไปอีก นี่เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาอยู่ ฉะนั้นหากเอาให้ชัวร์ที่สุดคือ ใช้น้ำทะเลล้าง แม้น้ำทะเลจะไม่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเข็มพิษ แต่ก็สามารถชะล้างเข็มออกจากตัวเราได้”

ดร. ธรณ์ ทิ้งท้ายว่า มาตรการป้องกันที่อยากเห็นคือ การร่วมมือกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงสาธารณะสุข กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และองค์การบริหารท้องถิ่น เข้ามาร่วมกันกำหนดโซนอันตราย เพื่อตั้งจุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งฝึกฝนให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย สามารถปฐมพยาบาลฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และในอนาคตอาจมีความจำเป็นต้องกั้นตาข่ายไม่ให้แมงกะพรุนหลุดเข้าไปในบางพื้นที่ด้วย




รู้จักเเมงกะพรุนพิษ 10 ชนิดในไทย

คู่มือ "เรียนรู้ สู้ภัยแมงกะพรุนพิษ" ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ทั่วโลกมีแมงกะพรุนประมาณ 36 ชนิด แต่ไม่ได้เป็นอันตรายทุกชนิด บางชนิดมีพิษทำให้เกิดอาการเจ็บหรือคัน มีเพียงบางชิดเท่านั้นที่มีพิษรุนแรงทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เช่น คาริบเดีย อะทาลา (Carybdeo atala) หรือ ไคโรเน็กซ์ แฟลคเคอร์ไร (Chironex fleckeri) พบมากในทะเลแถบประเทศออสเตรเลีย แมงกะพรุนชนิดนี้มีขนาดความยาวของหนวด 3-5 เมตร สูง 8-10 เซนติเมตร ถือเป็นเเมงกะพรุนกล่องชนิดที่อันตรายที่สุดชนิดหนึ่งของโลก

ทั้งนี้ จากการสำรวจของสถาบันวิจัยเเละพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลเเละป่าชายเลน พบว่า เเมงกะพรุนมีพิษในประเทศไทยมีทั้งหมด 10 ชนิด แบ่งเป็นเเมงกะพรุนกล่อง 7 ชนิด เเละแมงกะพรุนไฟ 3 ชนิด

1.เเมงกะพรุนกล่อง sp.A สปีชีส์เอ ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Chironex (ไคโรเน็กซ์) พบในบางพื้นที่ของทะเลฝั่งอันดามัน

2.เเมงกะพรุนกล่อง sp.B สปีชีส์บี ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Chironex เช่นเดียวกัน พบในบางพื้นที่ของทะเลฝั่งอ่าวไทย

3. คาริบเดีย ซีวิคคิซี่ (Carybdeo sivickisi) พบในบางพื้นที่ของทะเลฝั่งอ่าวไทย ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "อิรูคันจิ" โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติประมาณ 5-40 นาทีหลังได้รับพิษ ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก ปวดศีรษะ ชีพจรเต้นเร็ว ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว

4.ไตรพีดาเลีย ชีสโตฟอรา (Tripdalia cystophora) พบในบางพื้นที่ของทะเลฝั่งอันดามัน

5.มอร์บาคก้า เฟนเนอร์ไร (Morbakka fenneri) พบในทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

6.ไครอบซอยเดส บูเทนดิจกิ (Chiropsoides buitendijki) พบในทะเลฝั่งอันดามันและบางในบางพื้นที่ของทะเลฝั่งอ่าวไทย

7.ไครอบเซลลา (Chiropsella) พบในทะเลฝั่งอันดามัน ยังไม่สามารถระบุชนิดได้ และยังไม่พบรายงานความเป็นพิษที่รุนแรงในสกุลนี้


"แมงกะพรุนกล่องมีหลายชนิด รูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมใส มีสีน้ำเงินจางๆ หรือไม่มีสี จึงสังเกตได้ยากเมื่ออยู่น้ำทะเล มีขนาดแตกต่างกัน อาจกว้างได้ถึง 20 เซนติเมตร แต่ละมุมจะมีคล้ายขายื่นออกมาแล้วแยกออกเป็นสายหนวด โดยแต่ละขาอาจมีหนวดยาวตั้งแต่ 1-15 เส้น แต่ละเส้นยาวได้ถึง 3 เมตร โดยจะมีเข็มพิษอยู่ในถุงพิษที่กระจายอยู่ทุกส่วนของแมงกะพรุนกล่อง โดยเฉพาะที่หนวด ผู้ที่ถูกแมงกะพรุนชนิดนี้ จะเจ็บปวดบริเวณที่ถูกสัมผัสอย่างรุนแรงทันทีทันใด เกิดรอยไหม้ที่ผิวหนัง หากได้รับพิษจำนวนมาก จะมีอาการสับสน หมดความรู้สึก โคม่า และเสียชีวิตซึ่งมักเกิดภายใน 10 นาที เนื่องจากพิษมีผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 นาที มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต และหยุดหายใจ และมีพิษต่อผิวหนัง” นพ.โสภณ กล่าว

ขณะที่ วรรณเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บอกว่าสามารถพบเห็นแมงกะพรุนพิษได้ในชายฝั่งทะเลแทบทุกแห่ง ตั้งเเต่บริเวณน้ำตื้นจนถึงทะเลลึก โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเเนวปะทะของลมมรสุม ซึ่งพัดพาเหล่าเเมงกะพรุนเข้าหาฝั่ง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ลอยตามกระเเสน้ำ บางชนิดสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง ส่วนเหตุผลที่พบการเเพร่กระจายบ่อยในช่วงฤดูฝนนั้นเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ น้ำฝนจะชะล้างอาหารธาตุต่างๆ เเละเหล่าสัตว์ขนาดเล็กลงมาสู่ทะเล จนเกิดกระบวนการสร้างอาหารที่เหมาะสมสำหรับการมีชีวิตอยู่ของเเมงกะพรุนนั่นเอง

การเสียชีวิตของนักท่องเที่ยวจากแมงกะพรุนพิษครั้งนี้ ตอกย้ำให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องดำเนินการเชิงรุกมากกว่าตั้งรับแค่อย่างเดียวดังเช่นที่ผ่านมา

ประชาชนที่สนใจทำความรู้จักกับแมงกะพรุนพิษชนิดต่างๆ และวิธีรักษาอาการบาดเจ็บเบื้องต้นจากพิษของแมงกะพรุน สามารถดาวโหลดคู่มือ"เรียนรู้ สู้ภัยแมงกะพรุนพิษ" ได้ฟรีที่นี่ http://dmcr2014.dmcr.go.th/detailLib...y4Ljo7o3Qo7o3Q




.......... จาก โพสต์ทูเดย์ วันที่ 4 สิงหาคม 2558 http://www.posttoday.com/analysis/report/379991
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #12  
เก่า 04-08-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ประชาชาติธุรกิจ


เผยแมงกะพรุนกล่องทำตายปีละ 12 ราย ชี้ชายฝั่งไทยพบน้อย ต้องจัดระบบเฝ้าระวัง



เมื่อวันที่ 3 ส.ค. นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา พบนักท่องเที่ยวได้รับบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษขณะเล่นน้ำทะเล เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจำนวนกว่า 900 ราย มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในจำนวนนี้เสียชีวิต 12 ราย แม้จำนวนผู้เสียชีวิตจะมีไม่มาก แต่มีความเป็นห่วงประชาชนและนักท่องเที่ยวอาจได้รับบาดเจ็บได้ จึงมอบหมายให้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันรณรงค์ให้ความรู้ในการเฝ้าระวัง การวินิจฉัย และการรักษาผู้บาดเจ็บจากพิษแมงกะพรุน

นพ.โสภณกล่าวต่อว่า ชายทะเลไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน พบทั้งแมงกะพรุนที่ไม่มีพิษหรือมีพิษน้อย เช่น แมงกะพรุนหนัง แมงกะพรุนลอดช่อง และแมงกะพรุนไฟที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่ถูกสัมผัส ส่วนแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงได้แก่ แมงกะพรุนกล่องซึ่งมีหลายชนิด มีรูปร่างคล้ายกล่องสี่เหลี่ยมใส มีสีน้ำเงินจาง ๆ หรือไม่มีสี จึงสังเกตได้ยากเมื่ออยู่น้ำทะเล มีขนาดแตกต่างกัน อาจกว้างได้ถึง 20 เซนติเมตร แต่ละมุมจะมีคล้ายขายื่นออกมาแล้วแยกออกเป็นสายหนวด โดยแต่ละขาอาจมีหนวดยาวตั้งแต่ 1-15 เส้น แต่ละเส้นยาวได้ถึง 3 เมตร โดยจะมีเข็มพิษอยู่ในถุงพิษที่กระจายอยู่ทุกส่วนของแมงกะพรุนกล่อง โดยเฉพาะที่หนวด

"ผู้ที่ถูกแมงกะพรุนชนิดนี้ จะเจ็บปวดบริเวณที่ถูกสัมผัสอย่างรุนแรงทันทีทันใด เกิดรอยไหม้ที่ผิวหนัง หากได้รับพิษจำนวนมาก จะมีอาการสับสน หมดความรู้สึก โคม่า และเสียชีวิตซึ่งมักเกิดภายใน 10 นาที เนื่องจากพิษมีผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้ภายใน 2-3 นาที มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต และหยุดหายใจ และมีพิษต่อผิวหนัง" นพ.โสภณกล่าว

อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ขณะนี้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ร่วมมือในการศึกษาการแพร่กระจาย และเฝ้าระวังการระบาดของแมงกะพรุนพิษ รวมถึงการให้ความรู้เพิ่มเติมกับแพทย์ฉุกเฉินและนักชีววิทยาด้วย และจัดระบบเฝ้าระวังติดตามพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ติดตั้งจุดวางน้ำส้มสายชู และกล่องปฐมพยาบาลบริเวณริมหาด เพื่อใช้ยับยั้งพิษของแมงกะพรุน และติดตั้งตาข่ายกันแมงกะพรุนในบางพื้นที่ขณะนี้ได้จัดตั้งจุดปฐมพยาบาลแมง กะพรุนพิษ ประมาณ 67 จุด ใน 9 จังหวัด เช่น ระนอง ตราด ระยอง พังงา ตรัง ภูเก็ต กระบี่ สตูล และจันทบุรี

"ในการป้องกันแมงกะพรุนพิษ ขอให้ประชาชนสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด เช่น แขนยาว ขายาวแนบตัวขณะลงเล่นน้ำทะเล ไม่ควรเล่นน้ำนอกตาข่ายในทะเล หากสัมผัสแมงกะพรุนพิษ ให้รีบขึ้นจากน้ำ แล้วใช้ส้มสายชู ราดให้ทั่วบริเวณที่สัมผัสเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วินาที ฤทธิ์ของน้ำส้มสายชูจะทำลายพิษจากถุงพิษที่ยังไม่ออกฤทธิ์ หากหาน้ำส้มสายชูไม่ได้ อาจใช้น้ำอัดลมแทนได้ แต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับน้ำส้มสายชู ห้ามขัดถู บริเวณที่ถูกแมงกะพรุนโดยเด็ดขาด และโทรเรียกรถพยาบาล ไม่ควรให้ผู้ป่วยขยับตัว เพื่อป้องกันการกระทบแผล" นพ.โสภณกล่าว


.......... จาก ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2558 http://www.prachachat.net/news_detai...sid=1438595527
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #13  
เก่า 07-08-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ไทยรัฐ


ดร.ธรณ์ โพสต์เฟซฯ ปัญหาแมงกะพรุนกล่อง เกิดจากฝีมือมนุษย์



ดร.ธรณ์ นักวิชาการด้านทะเลชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กอ้าง ปัญหาแมงกะพรุนกล่อง เกิดจากมนุษย์ทำร้ายธรรมชาติ แล้วย้อนมาทำร้ายตัวเอง ชี้ต้องเร่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ...

สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวสาวชาวไทย ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องจนเสียชีวิต ที่หาดริ้น เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ทำให้หลายฝ่ายตื่นตระหนกถึงปัญหาดังกล่าว รวมถึงช่วยกันแชร์ขั้นตอนการปฐมพยาบาลผู้ได้รับพิษ และวิธีจำแนกประเภทแมงกะพรุน



ล่าสุด ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล และสมาชิก สปช. ได้โพสต์เฟซบุ๊กอ้างว่า ปัญหาแมงกะพรุนนั้น มีต้นเหตุมาจากมนุษย์ที่ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล เนื่องจากเต่าทะเลที่กินแมงกะพรุนนั้น เริ่มมีจำนวนน้อยลง บางส่วนตายเพราะกินถุงพลาสติกที่มนุษย์ทิ้งลงทะเล รวมทั้งปัญหาการประมง พื้นที่วางไข่ และปัญหาโลกร้อน เมื่อไม่มีเต่า จึงทำให้แมงกะพรุนมีจำนวนเพิ่มขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งบทเรียนของการทำร้ายธรรมชาติแล้วย้อนมาทำร้ายตัวเอง ส่วนวิธีแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ดร.ธรณ์ ระบุว่าต้องทำให้เต่าทะเลมีมากขึ้น และมุ่งเน้นจัดการปัญหาโลกร้อน ขยะในทะเล รวมถึงปัญหาน้ำเสียอย่างจริงจัง




http://www.thairath.co.th/content/516642
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #14  
เก่า 20-08-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


SuperSci: 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ “แมงกะพรุน”


ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

SuperSci สัปดาห์นี้พาทุกคนดำดิ่งลงไปรู้จักกับสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อย่าง “แมงกะพรุน” กับผู้เชี่ยวชาญด้เนวิทยาศาสตร์ทางทะเลอย่าง นายวุฒิชัย เจนการ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และ ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวของแมงกะพรุนให้ทุกคนได้ทราบกันแบบละเอียดทุกซอกทุกมุม


1.แมงกะพรุนคืออะไร ?

นายวุฒิชัย เจนการ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า แมงกะพรุน (jellyfish) คือสัตว์รูปร่างคล้ายวุ้น มีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีลักษณะเด่นตรงส่วนที่มีลักษณะคล้ายร่มและหนวด โดยหนวดส่วนใหญ่มักมีเข็มพิษ (nematocyst) ที่ถ้าหากไปสัมผัสจะทำให้แสบคันปวดแสบปวดร้อน นักวิทยาศาสตร์ได้แยกแมงกะพรุนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือ ไซโฟซัว (spyphozoa) ที่จะแบ่งออกได้เป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ แมงกะพรุนที่ใช้กิน เช่น แมงกะพรุนหนัง, แมงกะพรุนลอดช่อง ส่วนอีกกลุ่มคือ แมงกะพรุนไฟ ที่มีหนวดยาว มีพิษร้ายแรง

กลุ่มต่อมา คือ ไฮโดรซัว (hydrozoa) ตัวเด่นๆ คือ โปรตุกีสแมนออฟวอร์ (Portuguese man of war: Blue bottle) แมงกะพรุนพิษแรงที่มักลอยตามผิวน้ำ และแว่นพระอินทร์ แมงกะพรุนตัวกลมหลากสีสันสวยงามทั้งม่วงและน้ำเงิน

กลุ่มสุดท้ายคือ คิวโบซัว (Cubozoa) ที่จะแบ่งออกเป็นอีก 2 กลุ่มย่อย คือ คิวโบซัวชนิดมุมตัวด้านหนึ่งมีหนวดหลายเส้น อาทิ แมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish) ที่จะให้พิษเร็ว อาจทำให้เหยื่อตายได้ภายใน 2-10 นาทีเพราะพิษจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว และคิวโบซัวชนิดมุมตัวมีหนวดเส้นเดียว อาทิ แมงกะพรุนอิรุคันจิ (Irukandji) แมงกะพรุนมีพิษร้ายแรงเทียบเท่าแมงกะพรุนกล่อง ต่างที่พิษจะออกฤทธิ์ก็ต่อเมื่อสัมผัสแล้ว 20 นาที


Credit Photo : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


2.แมงกะพรุนยิงพิษเข้าสู่เหยื่อได้อย่างไร ?

รองอธิบดีฯ ระบุว่า แมงกะพรุนแทบทุกตัวมีพิษ และมีพิษทั้งตัว จะมากที่สุดบริเวณหนวด ส่วนที่หัวร่มก็มีแต่น้อย พิษจะแรงหรือไม่แรงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยบางสายพันธุ์ที่มีพิษมากในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของหนวดอาจมีเข็มพิษได้มากกว่า 1 ล้านอันซึ่งมีขนาดเล็กมากจนตาเปล่ามองไม่เห็น โดยมีกลไกการแทงเข็มพิษ ที่เรียกว่า นีมาโทซิส (nematocyst )เหมือนกับ “ไกปืน” ที่เป็นหัวรับสัมผัสยื่นออกมา จากเซลล์ที่เรียกว่า “ไนโดไซต์” (cnidocyte) หากเหยื่อไปสัมผัสหรือสะกิดแมงกระพรุนเพียงเล็กน้อย เข็มก็จะถูกยิงออกมา


3.แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษถึงตายหรือไม่

ดร.ศุภณัฐ ตอบคำถามนี้ทันทีว่า “ไม่จริง” แม้แมงกะพรุนทุกตัวจะมีพิษทำให้ปวดแสบ ปวดร้อนหรือคันแต่ก็ไม่ทำให้ถึงตาย มีแมงกะพรุนเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้นที่พิษรุนแรงทำให้ถึงตายได้ คือ แมงกะพรุนกล่อง และแมงกะพรุนอิรุคันจิ ซึ่งแมงกะพรุนกล่องนี่เองที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในไทยเพราะพบได้ง่ายในแถบอ่าวไทย ในขณะที่อิรุคันจิจะพบได้ยากกว่ามาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่แต่ละบุคคลด้วย หากคนไหนมีอาการแพ้มากก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน แม้จะไม่ใช่พิษจากแมงกะพรุน 2 ชนิดแรก

นายวุฒิชัยได้เผยสถิติผู้เสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลจากจากโรงพยาบาลต่างๆ ในเขตชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบันว่า ขณะนี้มียอดผู้เสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ราย โดยเกาะพะงัน จ.พังงา เป็นพื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่องมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ มากถึง 4 ราย ตามมาด้วยทะเลเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี และทะเล จ.กระบี่ ซึ่งเหตุสลดที่เกิดล้วนเกิดขึ้นในหน้าฝนตั้งแต่เดือน เม.ย.-ต.ค.


Credit Photo : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


4.แมงกะพรุนกินได้ไหม?

“ผมเชื่อว่าคุณเคยกินแมงกะพรุนในเย็นตาโฟ เพราะฉะนั้นแน่นอนว่ามันกินได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะกินแมงกะพรุนได้ทุกชนิด” ดร.ศุภณัฐกล่าว พร้อมอธิบายต่อว่า แมงกะพรุนที่นิยมกินเป็นอาหาร มีชื่อว่า แมงกะพรุนลอดช่อง เป็นแมงกะพรุนขนาดกลางมีพิษอ่อน หาได้ง่ายทั่วไปตามแนวชายฝั่งท้องทะเลปกติ

นายวุฒิชัยเพิ่มเติมว่าในช่วงหน้ามรสุมฝั่งอ่าวไทยบริเวณ จ.สุราษฎร์ธานีจะพบแมงกะพรุนลอดช่องจำนวนมากจนเกิดเป็นการประมงแมงกะพรุนสำหรับการส่งออกไปยังประเทศจีนเพื่อทำอาหาร และส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพื่อใช้ผลิตเป็นอาหารเสริมคอลลาเจนที่หญิงสาวนิยมรับประมานเพื่อความสวยความงาม ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่าไทยเป็นผู้ส่งออกแมงกะพรุนมากเป็นอันดับ 7 ของโลก


5.แมงกะพรุนที่มีข่าวว่าพบเยอะทุกปี คืออะไร

ในแต่ละปีในช่วงปลายฤดูร้อน ต้นฤดูฝนจะเป็นช่วงที่พบแมงกะพรุนมากที่สุด นับหมื่นหรือแสนตัวลอยอยู่ที่ระดับผิวน้ำ เช่นปีนี้ที่เกิดขึ้นใน จ.ตราด นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า แมงกะพรุนบลูม (bloom) ที่แปลว่ามีมาก โดยสกุลที่พบบ่อยที่สุดคือ Catostylus sp. ส่วนสาเหตุการเกิดยังไม่มีคนทราบว่าเกิดเพราะอะไร แต่น่าจะเป็นเพราะช่วงนั้นปริมาณอาหารในท้องทะเลมีมาก แมงกะพรุนจึงเพิ่มขึ้นตามกลไกธรรมชาติ

สำหรับประเทศไทยพบแมงกะพรุนได้ทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยฝั่งอ่าวไทยจะพบแมงกะพรุนมากในช่วงเดือน ก.ค. ถึง ก.ย.และในฝั่งอันดามันจะมาในช่วงรอยต่อฤดูร้อนและฤดูฝนคือในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. หรือบางปีอาจยาวไปจนถึง พ.ย. เลยก็มี


6.แมงกะพรุนที่ตัวใหญ่ที่สุด ในโลกใหญ่ขนาดไหน?

จากการค้นพบที่มีการบันทึกไว้ แมงกะพรุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ แมงกะพรุนไลออนเมน หรือ ไซยาเนีย (Cyanea) ที่มีความยาวส่วนหัวมากถึง 40 เมตร และหนวดยาวได้ถึง 37 เมตร


7.แมงกะพรุนที่ตัวเล็กที่สุด

คือ แมงกะพรุนอิรุคันจิ (irukandji) มีขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตรหรือเล็กเพียงเมล็ดถั่วเท่านั้น ในขณะที่ความเป็นพิษอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกเพราะพิษของมันทำให้ถึงตายได้


Credit Photo : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


8. แมงกะพรุนตัวที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก

แมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก เป็นแมงกะพรุนขนาดกลางขนาดประมาณฝ่ามือ ที่ ดร.ศุภณัฐ เผยว่าเป็นแมงกะพรุนกล่อง สายพันธุ์ไคโรเนกซ์ เฟลกเคอไร (Chironex fleckeri) ซึ่งถูกบันทึกให้เป็นสัตว์ใน 10 อันดับที่มีพิษร้ายที่สุดในโลก เพราะถ้าหากไปสัมผัสจะทำให้เหยื่อตายแน่นอนภายใน 10-15 นาที โดยผู้ที่โดนจะมีอาการจุกเสียด หายใจติดขัด จนเสียชีวิตในที่สุด เพราะน้ำพิษของแมงกะพรุนมีฤทธิ์ทำลายเม็ดเลือดแดงที่มีประสิทธิภาพสูง


9.ถ้าเจอแมงกะพรุนควรทำอย่างไร?

นายวุฒิชัย กล่าวว่า ทางที่ดีที่สุดคือ ตั้งสติแล้วขึ้นจากน้ำให้พ้นบริเวณ เพราะถึงแม้แมงกะพรุนจะตายแล้ว แต่หนวดของแมงกะพรุนยังปล่อยพิษได้อยู่ได้อีกนานประมาณ 6-10 ชั่วโมง และแนะนำให้แต่งกายแบบระมัดระวัง เช่น ชุดดำน้ำแขนยาวขายาวในช่วงแมงกะพรุนบลูม เพราะเข็มพิษของแมงกะพรุนในความจริงมีขนาดเล็กมากระดับมิลลิเมตร แค่เพียงถุงน่องบางๆ ก็ไม่สามารถยิงผ่านได้ และข้อสำคัญคือไม่ควรใช้มือเปล่าสัมผัสแมงกะพรุนเด็ดขาดเพราะแม้แต่ส่วนหัวที่ดูเรียบเกลี้ยงเกลาก็มีเข็มพิษซ่อนอยู่


10.ถ้าโดนแมงกะพรุนจะต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

ดร.ศุภณัฐ เผยว่าวิธีมาตรฐานคือราดบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำส้มสายชู หรือใช้น้ำทะเลราด ห้ามใช้น้ำเปล่าล้างเด็ดขาด เพราะน้ำเปล่า จะกระตุ้นให้เข็มพิษแทงออกมามากขึ้น ซึ่งนายวุฒิชัยอธิบายว่า น้ำส้มสายชูจะเข้าไประงับให้เข็มพิษส่วนที่ยังไม่ทำงานให้ไม่ทำงาน ไม่ได้ทำให้เข็มพิษหลุดหรือสลายไปอย่างที่คนส่วนมากเข้าใจ ดังนั้นเมื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วจึงควรรีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที แต่ทั้งนี้ นายวุฒิชัยยังระบุด้วยว่า การใช้น้ำส้มสายชูจะให้ผลการรักษาดีเฉพาะกับพิษแมงกะพรุนประเภท ไซโฟซัว และ คิวโบซัวเท่านั้น แต่สำหรับแมงกะพรุนกลุ่มไฮโดรซัวโดยเฉพาะโปรตุกีสแมนออฟวอร์ การราดน้ำส้มสายชูจะยิ่งกระตุ้นให้เข็มพิษทำงานได้ดีขึ้น ทางที่ดีจึงควรรู้จักแมงกะพรุนเบื้องต้นและสังเกตป้ายเตือนสถานการณ์แมงกะพรุนบริเวณชายหาดก่อนลงเล่นน้ำ

นอกจากนี้นายวุฒิชัยบอกวิธีสังเกตแมงกะพรุนง่ายๆ ว่าตัวที่มีพิษร้ายมักมีหนวดยาวรุ่มร่าม แต่ก็ไม่เสมอไปทางที่ดีอย่าเล่นน้ำทะเลบริเวณที่เป็นฟองคลื่นเพราะจะมีโอกาสพบกับแมงกะพรุนและงูทะเลได้มากกว่าบริเวณอื่น

ทั้งนี้ นายวุฒิชัย ยังคาดการณ์ด้วยว่าขณะนี้ปริมาณของแมงกะพรุนในทะเลไทยกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแมงกะพรุนกล่องที่ได้รับการแจ้งเตือนว่าพบบ่อยครั้งจนต้องมีหน่วยงานออกจัดเก็บเพื่อระวังความปลอดภัยให้ประชาชน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องของระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารที่เปลี่ยนไปจากเดิม

“เพราะในธรรมชาติแมงกะพรุนเป็นอาหารของเต่าทะเล ซึ่งขณะนี้เหลืออยู่น้อยมาก เพราะหญ้าทะเลซึ่งเป็นทั้งอาหารและที่อยู่ของมันลดลง เมื่อผู้บริโภคมีน้อยปริมาณแมงกะพรุนจึงมีมากเกินปกติ จนท้ายที่สุดมนุษย์เองก็กลายเป็นผู้รับเคราะห์ การรักษาระบบนิเวศ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนทางที่ประชาชนทุกคนควรจะช่วยกัน และขณะนี้ในส่วนของ ทช.เองที่ดูแลเกี่ยวกับองค์ความรู้ทั้งหมดในทะเล ก็ได้ร่วมมือกับสำนักระบาดวิทยาเพื่อศึกษาพิษและข้อมูลทางชีววิทยาของแมงกะพรุนในท้องทะเลไทยให้มากขึ้น รวมไปถึงแนวทางในการนำแมงกะพรุนไปใช้ประโยชน์ในกรณีที่มีการบลูมมากเกินไปด้วย” นายวุฒิชัย กล่าวทิ้งท้าย


...... .......... จาก ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 20 สิงหาคม 2558 http://www.manager.co.th/Science/Vie...=9580000092775
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #15  
เก่า 10-10-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ


แมงกะพรุนกล่องพิษร้ายแรงที่สุด แล่นสู่หัวใจตายใน 2-10 นาที แนะวิธีป้องกัน



นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากเหตุการณ์ ที่นักท่องเที่ยวหญิงชาวเยอรมัน อายุ 20 ปี เสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนกล่อง 1 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย จากการลงเล่นน้ำทะเลช่วงเวลา 20.00 น.วันที่ 6 ตุลาคม ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พบว่าเป็นการลงเล่นน้ำในช่วงกลางคืน เหมือนกับนักท่องเที่ยวสาวชาวไทยที่เพิ่งเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง ที่เกาะพะงัน ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

จากข้อมูลย้อนหลัง ช่วง 16 ปีที่ผ่านมา(พ.ศ.2542-2558) มีรายงานนักท่องเที่ยวเสียชีวิตจากแมงกะพรุนพิษขณะเที่ยวชายทะเลในประเทศไทย จากการวิจัยโดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากแมงกะพรุนพิษมากกว่า 900 คน มีทั้งชาวไทย และต่างชาติ ส่วนที่มีอาการหนักจนถึงหมดสติ 17 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 7 ราย อาการเข้าได้กับแมงกะพรุนพิษชนิดที่เรียกว่าแมงกะพรุนกล่อง เฉพาะในปี 2558 ข้อมูลเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.58-ปัจจุบัน พบผู้เสียชีวิตจากการถูกแมงกะพรุนกล่อง รวมรายล่าสุดเป็น 2 ราย และพบผู้ที่ถูกแมงกะพรุนแล้วอาการรุนแรงจนหมดสติและต้องปั๊มหัวใจ 1 ราย โดยทั้ง 3 ราย อยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า ลักษณะแมงกะพรุนกล่อง มีลักษณะโปร่งใส สีฟ้าอ่อน รูปร่างคล้ายลูกบาศก์ มีหนวดบางๆ 12-15 เส้น ในแต่ละมุม โดยหนวดแมงกะพรุนชนิดนี้อาจยาวได้ถึง 3 เมตร แมงกะพรุนกล่อง มีถุงพิษอยู่ที่สายหนวด แมงกะพรุนกล่อง 1 ตัวอาจมีถุงพิษถึงล้านเซลล์ ทำให้แมงกะพรุนกล่อง เป็นแมงกะพรุนชนิดที่มีพิษร้ายแรงที่สุด ถุงพิษของแมงกะพรุนกล่องมีถึง 3 ชั้นในหนวดแต่ละเส้น ในการสัมผัสสายหนวดครั้งแรกมักมีการยิงพิษเพียงร้อยละ 10-20 ของถุงพิษทั้งหมด แต่หากช่วยเหลือขั้นต้นผิดวิธีจะทำให้ถุงพิษที่เหลืออีกร้อยละ 80-90 เกิดการยิงพิษเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่โดนสายหนวดดังกล่าว

ดังนั้นการช่วยเหลือเบื้องต้นที่ถูกวิธีจึงมีความสำคัญมากในการลดความรุนแรงของการได้รับพิษ สิ่งที่จะกระตุ้นการยิงพิษได้แก่การกระเทือนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเอาทรายไปขัดถูบริเวณที่โดนแมงกะพรุน การพยายามดึงสายหนวดออก หรือการราดด้วยน้ำจืดหรือประคบน้ำแข็ง ส่วนการราดด้วยน้ำส้มสายชูจะระงับการยิงพิษจากถุงพิษที่ยังไม่ได้ยิงในระยะแรก ดังนั้นหากราดด้วยน้ำส้มสายชูเสร็จแล้วก็จะสามารถนำสายหนวดออกจากร่างกายได้โดยปลอดภัย

พิษของแมงกะพรุนกล่องมีฤทธิ์ใน 3 ด้าน คือ พิษต่อผิวหนังทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสตาย พิษต่อหัวใจโดยที่พิษเข้าสู่กระแสเลือดจะแล่นเข้าสู่หัวใจและทำให้หัวใจหยุดเต้นและระบบหายใจล้มเหลว จะเห็นได้จากการที่ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัวและหยุดหายใจ ไม่มีชีพจร และพิษต่อระบบประสาท จะทำให้มีอาการปวดรุนแรง คนที่เสียชีวิตจากแมงกะพรุนจะเกิดจากภาวะหัวใจวายจากพิษแล่นเข้าสู่หัวใจทำให้หัวใจหยุดเต้น ส่งผลให้เสียชีวิตได้ภายใน 2-10 นาที
พื้นที่ที่มักพบการบาดเจ็บรุนแรงจากแมงกะพรุนกล่อง คือ บริเวณน้ำตื้นใกล้ชายหาด โดยเฉพาะในบริเวณอ่าวโค้งเว้า ในช่วงที่คลื่นลมสงบ เนื่องจากแมงกะพรุนกล่องมักจะว่ายเข้ามาหาเหยื่อพวกลูกกุ้ง ลูกปลาในพื้นที่ลักษณะนี้

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตหรืออาการรุนแรงหลายรายเกิดเหตุการณ์ขณะที่เล่นน้ำหลังฝนหยุดตกใหม่ๆหรือเล่นน้ำตอนกลางคืนในประเทศไทยพบแมงกะพรุนกล่องได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มักพบในฤดูฝนหรือช่วงปลายปี ซึ่งฤดูกาลที่พบแตกต่างกันในแต่ละฝั่งทะเล


http://www.prachachat.net/news_detai...sid=1444309480
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #16  
เก่า 10-10-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


แพทย์แนะ อย่าใช้ผักบุ้งทะเล-หญ้าทะเล แก้พิษแมงกะพรุน เสี่ยงหนักกว่าเดิม


(ที่มาภาพ: pharmacy.mahidol.ac.th)

(9 ต.ค.58) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวถึงกรณีนักท่องเที่ยวชาวเยอรมันลงเล่นน้ำและโดนแมงกะพรุนกล่อง ที่เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมักพบปัญหาลักษณะนี้ทุกปี โดยล่าสุด รศ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดการอย่างถูกวิธี รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ว่า รายงานนักท่องเที่ยวเสียชีวิจจากแมงกะพรุนพิษขณะเที่ยวชายทะเลในประเทศไทยนั้น พบไม่มากไม่น้อย อย่างแมงกะพรุนกล่องในแต่ละปีจะพบเสียชีวิตประมาณ 2-3 ราย

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมฯ ได้มีมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) และท้องถิ่น อย่างองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ในการติดป้ายคำเตือนจุดเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจุดเสี่ยงพบแมงกะพรุน ทางทช.จะมีข้อมูลอยู่ โดยกรมฯจะมีข้อความคำเตือน และท้องถิ่นจะนำไปดำเนินการติดตั้ง

“ในส่วนของการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ตามโรงพยาบาลในพื้นที่นั้นเรามีการอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาตลอด ซึ่งในสมุยก็จะเป็นโรงพยาบาลในเกาะสมุย รวมไปถึงจุดเสี่ยงต่างๆ ซึ่งทราบว่าเป็นบริเวณรอบชายหาดอ่าวไทยและอันดามัน แต่มีพื้นที่ไหนบ้าง คงต้องขอทาง ทช. อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ต้องช่วยกันหมด ซึ่งก็เห็นด้วย ในทางกลับกันนักท่องเที่ยวต้องสังเกตป้ายคำเตือนด้วย ที่สำคัญเมื่อถูกแมงกะพรุนกล่องพิษ ไม่ควรขยี้ หรือไปเอาหญ้าทะเล ผักบุ้งทะเล แต่ควรนำน้ำส้มสายชู ซึ่งในจุดเสี่ยงจะมีแขวนไว้ให้ แต่หากไม่มีจริงๆ ให้รีบหาน้ำส้มสายชูที่ประกอบอาหารทั่วไป ใช้ได้หมด เทล้าง แต่ไม่ต้องถู พิษจะเบาบาง หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าผักบุ้งทะเลใช้ได้ แต่จริงๆสำหรับพิษแมงกะพรุนไฟ ซึ่งส่วนใหญ่แยกไม่ถูก ดังนั้น หากเป็นไปได้ใช้น้ำส้มสายชูก็ได้ เพราะแมงกะพรุนไฟไม่มีพิษร้ายถึงชีวิต” นพ.โอภาส กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีจะพบแมงกะพรุนกล่องได้เฉพาะชายฝั่งช่วงกลางคืนหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ไม่เฉพาะกลางคืน เพียงแต่แมงกะพรุนกล่องจะเคลื่อนตัวหาแสงสว่าง และกินพวกลูกกุ้ง ลูกปลา แต่ไม่ยืนยันว่าเจอมากตอนกลางคืนหรือกลางวัน คงต้องถามผู้เชี่ยวชาญ ในส่วนของ สธ.จะเน้นเรื่องการรักษาพยาบาลเป็นหลัก

นอกจากนี้ นพ.โอภาส กล่าวว่า ลักษณะแมงกะพรุนกล่อง มีลักษณะโปร่งใส สีฟ้าอ่อน รูปร่างคล้ายลูกบาศก์ มีหนวดบางๆ 12-15 เส้น ในแต่ละมุม โดยหนวดแมงกะพรุนชนิดนี้อาจยาวได้ถึง 3เมตร แมงกะพรุนกล่อง มีถุงพิษอยู่ที่สายหนวด ส่วนแมงกะพรุนไฟ มีลักษณะทั่วไปคล้ายร่ม แต่มีสีลำตัวและหนวดเป็นสีแดงสดหรือสีส้ม ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป อย่างไรก็ตาม สำหรับแมงกะพรุนกล่องจะมีพิษมากถึงล้านเซลล์ โดยที่ในการสัมผัสสายหนวดครั้งแรกมักมีการยิงพิษเพียงร้อยละ 10-20 ของถุงพิษทั้งหมด แต่หากช่วยเหลือขั้นต้นผิดวิธีจะทำให้ถุงพิษที่เหลืออีกร้อยละ 80-90 เกิดการยิงพิษเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่โดนสายหนวดดังกล่าว ดังนั้นการช่วยเหลือเบื้องต้นที่ถูกวิธีจึงมีความสำคัญมากในการลดความรุนแรงของการได้รับพิษ โดยห้ามถูหรือขยี้บริเวณถูกพิษเด็ดขาด


http://www.matichon.co.th/news_detai...sid=1444387169
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #17  
เก่า 15-10-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


เตือนประชาชนระวังพิษจากแมงกะพรุน ........................... ดูแลสุขภาพ โดย รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย



นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังฯ ขอฝากเตือนให้ระวังแมงกะพรุน ไม่ว่าจะเป็นแมงกะพรุนไฟและแมงกะพรุนกล่อง ซึ่งการเล่นน้ำทะเลไม่ควรลงเล่นน้ำหลังฝนตกและในช่วงเวลากลางคืน ถ้าหากรู้สึกว่าโดนแมงกะพรุน ให้รีบล้างด้วยน้ำทะเลและใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณถูกพิษและไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วน



แมงกะพรุนกล่อง เป็นสัตว์น้ำที่อยู่อาศัยในแถบทะเลเแถวอินโดจีนและทะเลแปซิฟิก มีหลายสายพันธุ์ ชนิดที่รุนแรงมากที่สุด ได้แก่ Chironexfleckeri ซึ่งพบมากที่สุดด้านเหนือของทวีปออสเตรเลีย แถบน่านน้ำของมาเลเซียพบ Chiropsalmusquadrigatus ส่วนในประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์มักพบเป็นชนิด Chironexyamaguchi สำหรับในประเทศไทยสามารถพบแมงกะพรุนกล่องได้ตั้งแต่บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ฤดูที่แมงกะพรุนกล่องจะเข้าใกล้ชายฝั่ง จะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ในออสเตรเลียความเสี่ยงจะสูงสุดช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม แมงกะพรุนชนิดนี้โปร่งแสง ทำให้มองเห็นในน้ำได้ยาก ลำตัวของ Chironexfleckeri(bell) เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกล่อง ขนาดโตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16-24 ซม. มีหนวด (tentacles) ที่มุมทั้งสี่จำนวน 15 หนวดต่อมุม ขณะว่ายน้ำหนวดจะหดตัวทำให้มีความยาวเพียง 15 ซม. แต่ขณะออกล่าเหยื่อหนวดจะยืดยาวได้ถึง 3 เมตร แมงกะพรุนกล่องสามารถว่ายน้ำล่าเหยื่อได้ด้วยความเร็วสูง ต่างจากแมงกะพรุนแท้ (scyphozoan) ที่จะลอยไปมารอให้เหยื่อมาสัมผัสเอง แมงกะพรุนกล่องจะล่าปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร



อันตรายจากแมงกะพรุนกล่อง เมื่อหนวดของแมงกะพรุนสัมผัสได้ถึงตัวกระตุ้นที่เป็นแรงกดร่วมกับสารเคมีที่อยู่บนผิวของเหยื่อ จะมีการฉีดสารพิษเข้าสู่ผิวของเหยื่อ เมื่อโดนพิษของแมงกะพรุนกล่องจะมีอาการปวดแสบอย่างรุนแรงทันทีในบริเวณที่โดน ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนแมงกะพรุนกล่องจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พิษจากแมงกะพรุนชนิดนี้มีความรุนแรงมาก หากบริเวณสัมผัสเกินร้อยละ 10 ของผิวหนังทั่วตัวอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 5 นาที หรืออาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 20 นาทีหลังจากการสัมผัสแมงกะพรุนกล่อง แต่หากเกิน 20 นาทีไปแล้วยังมีชีวิตอยู่แสดงว่าอาการไม่รุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้สารพิษจากแมงกะพรุนกล่องสามารถออกฤทธิ์ได้หลายรูปแบบ เช่น ทำให้ระบบหมุนเวียนของโลหิตและปอดล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผิวหนังแพ้หรือผิวหนังตายได้ จากสถิติในประเทศออสเตรเลียพบผู้เสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนดังกล่าวอย่างน้อย 63 รายในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1884-1996 และเด็กจะมีโอกาสเสี่ยงเลียชีวิตมากที่สุด



วิธีการรักษาโดยส่วนใหญ่ผู้ที่โดนแมงกะพรุนกล่องที่ผิวหนัง จะมีอาการเพียงเล็กน้อย (ขึ้นกับความกว้างของบริเวณที่โดนพิษ) แต่บางคนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ในเบื้องต้นหากโดนหนวดของแมงกะพรุ่นกล่อง อย่าแกะหรือขยี้เนื่องจากหนวดยังสามารถปล่อยพิษต่อได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้ใช้น้ำส้มสายชู (ความเข้มข้นของกรดอะซิติคอยู่ระหว่างร้อยละ 3-10) ชะล้างบริเวณที่หนวดเกาะอยู่และบริเวณรอบๆ เป็นเวลา 30 วินาที ค่อยแกะเอาหนวดออกโดยใช้ผ้าปัดออก หากโดนในตา ให้ล้างด้วยน้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์หรือน้ำเปล่า แล้วรีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจดูแผลและสังเกตอาการ หากมีอาการระบบหัวใจและปอดล้มเหลวจะต้องปฏิบัติการกู้ชีพโดยด่วน การรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการในประเทศออสเตรเลียได้มีการผลิตซีรั่มต้านพิษแมงกะพรุนกล่อง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำเข้าซีรั่มดังกล่าว เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนกล่องยังมีไม่มากนัก ตลอดจนการใช้ซีรั่มจะต้องใช้โดยด่วนที่สุดโดยตั้งแต่เริ่มโดนพิษใหม่ๆ จึงจะได้ผลดีเป็นประโยชน์ และการใช้ซีรั่มสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการภาวะล้มเหลวของระบบหลอดเลือดและปอดยังไม่เป็นที่แน่ชัด นอกจากนี้การใช้ซีรั่มอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเนื่องจากผลิตจากซีรั่มของวัว

แมงกะพรุนกล่องเป็นสัตว์อันตรายที่แทบมองไม่เห็นในน้ำ แต่การเตรียมตัวป้องกันอย่างดีก่อนลงเล่นน้ำตามชายทะเล จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากการได้รับพิษจากแมงกะพรุนกล่องได้ หากโดนพิษแมงกะพรุนกล่องให้รีบใช้น้ำส้มสายชูล้างบริเวณที่โดนหนวดแมงกะพรุนแล้วรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน


http://www.komchadluek.net/detail/20151015/215147.html
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #18  
เก่า 22-10-2015
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ระวังพิษจากแมงกระพรุน



สมาคมแพทย์ผิวหนังฯเตือนประชาชนให้ระวังแมงกะพรุนจากการเล่นน้ำทะเล แนะไม่ควรลงเล่นน้ำหลังฝนตกและเวลากลางคืน

รศ.นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงปิดเทอม ที่ผู้ปกครองมักพาไปเที่ยวทะเล จึงขอฝากเตือนให้ระวังแมงกะพรุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นแมงกะพรุนไฟและ แมงกะพรุนกล่อง ซึ่งการเล่นน้ำทะเลนั้นไม่ควรลงเล่นน้ำหลังฝนตกและในช่วงเวลากลางคืน ถ้ารู้สึกว่าโดนแมงกะพรุน ให้รีบล้างด้วยน้ำทะเลและใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณถูกพิษ ถ้าบริเวณนั้นมีผักบุ้งทะเลให้นำใบผักบุ้งมาบดทาบริเวณที่โดนจะสามารถลดความเจ็บปวดได้ อย่าแกะหรือทุบเด็ดขาดเพราะจะยิ่งปล่อยพิษ แต่หากเป็นแมงกะพรุนพิษหรือแบบกล่องต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดนด่วน

รศ.นพ.นภดล กล่าวว่า แมงกะพรุนกล่อง เป็นสัตว์น้ำที่อยู่อาศัยในแถบทะเลเแถวอินโดจีน และทะเลแปซิฟิก มีหลายสายพันธุ์ ชนิดที่รุนแรงมากที่สุด ได้แก่ Chironex fleckeri ซึ่งพบมากที่สุดด้านเหนือของทวีปออสเตรเลีย แถบน่านน้ำของมาเลเซียพบ Chiropsalmus quadrigatus ส่วนในประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์มักพบเป็นชนิด Chironex yamaguchi สำหรับในประเทศไทยสามารถพบแมงกะพรุนกล่องได้ตั้งแต่บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ฤดูที่แมงกะพรุนกล่องจะเข้าใกล้ชายฝั่ง จะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ในออสเตรเลียความเสี่ยงจะสูงสุดช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม แมงกะพรุนชนิดนี้โปร่งแสง ทำให้มองเห็นในน้ำได้ยาก ลำตัวของ Chironex fleckeri (bell) เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกล่อง ขนาดโตเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16-24 ซม มีหนวด (tentacles) ที่มุมทั้งสี่จำนวน 15 หนวดต่อมุม ขณะว่ายน้ำหนวดจะหดตัวทำให้มีความยาวเพียง 15 เซ็นติเมตร แต่ขณะออกล่าเหยื่อหนวดจะยืดยาวได้ถึง 3 เมตร แมงกะพรุนกล่องสามารถว่ายน้ำล่าเหยื่อได้ด้วยความเร็วสูง ต่างจากแมงกะพรุนแท้ (scyphozoan) ที่จะลอยไปมารอให้เหยื่อมาสัมผัสเอง แมงกะพรุนกล่องจะล่าปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร

อันตรายจากแมงกะพรุนกล่อง เมื่อหนวดของแมงกะพรุนสัมผัสได้ถึงตัวกระตุ้นที่เป็นแรงกดร่วมกับสารเคมีที่อยู่บนผิวของเหยื่อ จะมีการฉีดสารพิษเข้าสู่ผิวของเหยื่อ เมื่อโดนพิษของแมงกะพรุนกล่องจะมีอาการปวดแสบอย่างรุนแรงทันทีในบริเวณที่โดน ส่วนใหญ่ผู้ที่โดนแมงกะพรุนกล่องจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางคนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พิษจากแมงกะพรุนชนิดนี้มีความรุนแรงมาก หากบริเวณสัมผัสเกินร้อยละ 10 ของผิวหนังทั่วตัวอาจทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 5 นาที หรืออาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 20 นาทีหลังจากการสัมผัสแมงกะพรุนกล่อง แต่หากเกิน 20 นาทีไปแล้วยังมีชีวิตอยู่แสดงว่าอาการไม่รุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิต ทั้งนี้สารพิษจากแมงกะพรุนกล่องสามารถออกฤทธิ์ได้หลายรูปแบบ เช่น ทำให้ระบบหมุนเวียนของโลหิตและปอดล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผิวหนังแพ้หรือผิวหนังตายได้ จากสถิติในประเทศออสเตรเลียพบผู้เสียชีวิตจากพิษแมงกะพรุนดังกล่าวอย่างน้อย 63 ราย ในระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1884-1996 และเด็กจะมีโอกาสเสี่ยงเลียชีวิตมากที่สุด

สำหรับการป้องกันอันตรายจากแมงกะพรุนกล่องทำได้หลายวิธี เช่น ไม่ลงเล่นน้ำขณะที่มีแมงกะพรุน หรือเจ้าหน้าที่ชายหาด อาจจะติดตั้งตาข่ายสีแดงโอบล้อมทะเลและชายหาดเพื่อลดจำนวนแมงกะพรุน เนื่องจากแมงกะพรุนกล่องไม่ชอบสีแดง หากแมงกะพรุนไม่ได้สัมผัสกับผิวหนังของคนเรา ก็จะไม่มีการปล่อยสารพิษออกมา หรือหากเจอะเจอแมงกะพรุนกล่อง ลอยขึ้นมาติดบนชายหาด ก็ห้ามใช้มือหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไปสัมผัสแมงกะพรุนกล่องเล่น เพราะอาจจะไปสัมผัสโดนหนวดแมงกะพรุนและได้รับสารพิษจนเกิดอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โดยวิธีการเล่นน้ำทะเลที่ดีควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เช่น ชุดดำน้ำ หรือเอาถุงน่องบางๆ ที่สุภาพสตรีใส่มาใส่ปิดบริเวณแขนขาจะสามารถป้องกันการปล่อยพิษจากแมงกะพรุนกล่องได้ ในประเทศออสเตรเลียเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณชายหาด จะใส่ถุงน่องเพื่อป้องกันตัวเองจากแมงกะพรุนกล่อง นอกจากนี้เมื่อไปเล่นน้ำทะเลควรจะมีน้ำส้มสายชูติดตัวไปที่ชายหาดด้วยเผื่อกรณีฉุกเฉินด้วย

วิธีการรักษาโดยส่วนใหญ่ผู้ที่โดนแมงกะพรุนกล่องที่ผิวหนัง จะมีอาการเพียงเล็กน้อย (ขึ้นกับความกว้างของบริเวณที่โดนพิษ) แต่บางคนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ในเบื้องต้นหากโดนหนวดของแมงกะพรุ่นกล่อง อย่าแกะหรือขยี้เนื่องจากหนวดยังสามารถปล่อยพิษต่อได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้ใช้น้ำส้มสายชู (ความเข้มข้นของกรดอะซิติคอยู่ระหว่างร้อยละ 3-10) ชะล้างบริเวณที่หนวดเกาะอยู่และบริเวณรอบ ๆ เป็นเวลา 30 วินาที ค่อยแกะเอาหนวดออกโดยใช้ผ้าปัดออก หากโดนในตา ให้ล้างด้วยน้ำเกลือ 0.9 เปอร์เซ็นต์หรือน้ำเปล่า แล้วรีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจดูแผลและสังเกตอาการ

หากมีอาการระบบหัวใจและปอดล้มเหลว จะต้องปฏิบัติการกู้ชีพโดยด่วน การรักษาโดยทั่วไปจะเป็นการรักษาตามอาการ ในประเทศออสเตรเลียได้มีการผลิตซีรั่มต้านพิษแมงกะพรุนกล่อง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการนำเข้าซีรั่มดังกล่าว เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่โดนพิษแมงกะพรุนกล่องยังมีไม่มากนัก ตลอดจนการใช้ซีรั่มจะต้องใช้โดยด่วนที่สุดโดยตั้งแต่เริ่มโดนพิษใหม่ ๆ จึงจะได้ผลดีเป็น ประโยชน์ และการใช้ซีรั่มสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการภาวะล้มเหลวของระบบหลอดเลือดและปอดยังไม่เป็นที่แน่ชัด

นอกจากนี้การใช้ซีรั่มอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเนื่องจากผลิตจากซีรั่มของวัวแมงกะพรุนกล่องเป็นสัตว์อันตรายที่แทบมองไม่เห็นในน้ำ แต่การเตรียมตัวป้องกันอย่างดีก่อนลงเล่นน้ำตามชายทะเล จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากการได้รับพิษจากแมงกะพรุนกล่องได้ หากโดนพิษแมงกะพรุนกล่องให้รีบใช้น้ำส้มสายชูล้างบริเวณที่โดนหนวดแมงกะพรุน แล้วรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.dst.or.th


http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/670406
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:20


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger