#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยบริเวณภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและ ลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส ยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีฝนน้อย สำหรับอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 5 ม.ค. 63 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ม.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 ม.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนอุณภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียสกับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ม.ค. 63 ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 ม.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
เตือนอ่าวไทย-อันดามันระวัง 'หมึกสายวงน้ำเงิน' มีพิษถึงตาย กรมประมงเตือนประชาชนระวังหมึกสายวงน้ำเงินหมึกทะเลมีพิษร้ายแรงถึงตาย เผยขณะนี้มีรายงานพบหมึกชนิดนี้ปะปนกับหมึกสายโดยทั่วไป ย้ำสังเกตให้ดีก่อนตัดสินใจนำไปจำหน่ายหรือรับประทาน เมื่อวันที่ 3 ม.ค.นายวิชาญ อิงศรีสว่าง รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า หมึกสายวงน้ำเงิน หรือหมึกสายบลูริง (Blue-ringed octopus:?Hapalochlaena?spp.) มีรายงานพบในประเทศไทยทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่พบในปริมาณที่ไม่มากนักจากการประมงอวนลากและลอบหมึกสาย เป็นหมึกสายที่มีขนาดเล็กโดยลักษณะลำตัวจะคล้ายถุงลมท้ายแหลมมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร หมึกสายวงน้ำเงินจะมีลายวงแหวนชนิดเรืองแสงสีฟ้าจางๆ ขนาดเล็กกระจายอยู่บนลำตัวและส่วนหนวด ความยาวของหนวดจะมากกว่าความยาวลำตัว 1.5 ? 2.5 เท่า อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นทราย ในระดับความลึกประมาณ 20-40 เมตร ชอบซ่อนพรางตัวเพื่อหลบเลี่ยงผู้ล่าและซุ่มรอเหยื่อ เวลาเคลื่อนที่จะใช้หนวดเดินโดยไม่มีการพ่นน้ำเพื่อพุ่งในการเคลื่อนที่ หมึกสายวงน้ำเงิน ไม่ใช่สัตว์น้ำที่ดุร้าย เมื่อโดนกระทบกระทั่งหมึกชนิดนี้ก็มักจะพรางตัวโดยการทำตัวให้แบน และเปลี่ยนสีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่หากรู้สึกว่าถูกคุกคามจนรู้สึกไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะพรางตัวอย่างไรแล้วก็จะเปลี่ยนจากการตั้งรับเป็นการจู่โจมกัดพร้อมกับปล่อยพิษได้เสมอ หมึกชนิดนี้มีการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวตลอดวงจรชีวิต โดยเพศเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ ไข่จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกหมึกจะดำรงชีวิตตามหน้าดิน นายมนตรี สุมณฑา นักวิชาการประมงชำนาญการ สถานีประมงทะเลจังหวัดระนอง กล่าวเพิ่มเติมว่า ?หมึกสายวงน้ำเงินเป็นสัตว์ที่มีพิษแรงมาก พิษของหมึกวงน้ำเงินเป็นพิษชนิดที่มีความรุนแรงมาก โดยพิษของมันจะถูกสร้างโดยแบคทีเรียกลุ่ม Bacillus และ Pseudomonas ที่อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลาย (Salivary gland)ปากหนวด ลำไส้ รวมทั้งต่อมหมึก ประกอบด้วยสารพิษ 2 ชนิด คือ Maculotoxin (มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้า มีพิษต่อระบบประสาท) และ Hepalotoxin เป็นสารพิษชนิดร้ายแรงไม่มียาแก้พิษ ต้องบรรเทาอาการจากพิษเช่นเดียวกับการเอาพิษออกจากปลาปักเป้า นั่นคือใช้เครื่องช่วยหายใจและรักษาตามอาการ?หากพ้น 24 ชม. ?ได้อาการจะดีขึ้นตามลำดับ พิษของหมึกชนิดนี้ เกิดจากผลผลิตของแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของมัน ?ซึ่งสามารถส่งต่อผ่านจากแม่ไปยังลูกๆ ของมันได้อีกด้วย พิษชนิดนี้ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาท เมื่อถูกปลาหมึกสายวงน้ำเงินกัด ขั้นแรก จะมีอาการคลื่นไส้ ตาพร่าเลือน ขั้นต่อมาจะทำให้มองไม่เห็นและประสาทสัมผัสก็จะไม่ทำงาน ไม่สามารถจะพูดหรือกลืนน้ำลายได้ และขั้นสุดท้ายประมาณ?10?นาทีต่อมา ก็จะเป็นอัมพาตและหยุดหายใจได้เนื่องจากสมองขาดออกซิเจนหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ดังนั้นต้องรีบนำผู้ป่วยส่งถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจในระหว่างที่ระบบประสาทยังสามารถทำงานได้ปกติ ? ดร.วิชาญ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับโอกาสที่คนทั่วไปจะโดนหมึกชนิดนี้กัดนั้นน้อยมาก เนื่องจากหมึกชนิดนี้พบในแนวเขตน้ำลึกยังไม่มีการพบว่าเข้ามาแถบหาดทรายชายฝั่งน้ำตื้น อีกทั้งยังไม่มีนิสัยดุร้าย และที่สำคัญทางกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าหมึกสายชนิดนี้ตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2547 โดยมีประกาศครอบคลุมถึงหอยงวงช้างและปลาหมึกทุกชนิดใน Class Cephalophoda ดังนั้นโอกาสได้ไปสัมผัสกับเจ้าหมึกชนิดนี้มีไม่มากนัก โดยปกติหมึกสายวงน้ำเงินหรือหมึกสายอื่นๆ จะไม่สามารถจับได้โดยการตกเหมือนหมึกกล้วย แต่อาจจะจับได้โดยการใช้เครื่องมืออวนลาก หรือลอบหมึกสาย ซึ่งชาวประมงที่จับหมึกด้วยวิธีดังกล่าวมีความระมัดระวังหมึกชนิดดังกล่าวเป็นพิเศษอยู่แล้ว สำหรับในประเทศไทยนั้นยังไม่มีข้อมูลผู้ถูกหมึกสายชนิดนี้กัดและถึงแก่ชีวิตแต่อย่างใด สุดท้ายนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภครวมถึงพ่อค้า แม่ค้า ?จึงขอเตือนให้ทุกท่านเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อหมึกที่มีลักษณะเหมือนหมึกสายมารับประทาน โดยให้สังเกตลักษณะภายนอกของหมึกก่อนที่จะเลือกซื้ออย่างละเอียด หากพบหมึกมีลายวงกลมในเนื้อหมึกไม่ว่าจะสีอะไรก็ตามทั้งสดและตากแห้งขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสและห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งรีบแจ้งสำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านเพื่อให้เข้าไปตรวจสอบโดยเร็ว หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมประมง โทร. 02 562 0600. https://www.dailynews.co.th/politics/750055
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
บลูริง หมึกเพชรฆาต หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม แต่หมึกบลูริงนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่มีความร้ายแรงมาก ซึ่งร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ซึ่งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว https://mgronline.com/infographic/detail/9630000000468 ********************************************************************************************************************************************************* ดร.ธรณ์ เตือนระวัง "หมึกสายวงฟ้า" พิษร้ายแรงถึงตาย ห้ามจับ-นำมาทำอาหาร ดร.ธรณ์ เตือนภัยหลังพบหมึกสายวงฟ้ามีพิษร้ายแรงบนแผงขายอาหาร ระบุพิษร้ายถึงตาย ไม่สามารถทำลายด้วยความร้อน ต้องระมัดระวังอย่าจับและนำมาทำอาหาร วันนี้ (3 ม.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Tramrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์เตือนภัยถึงหมึกสายวงฟ้าโดยระบุว่าพบในแผงอาหาร โดยเผย หมึกชนิดนี้นั้นมีพิษร้ายแรงทำเสียชีวิตได้ และโดนความร้อนไม่สลาย แต่ไม่ต้องตกใจพบได้น้อยในไทย โดยมีเนื้อหาโพสต์ว่า "มีผู้พบหมึกสายวงฟ้าในแผงขายอาหาร หมึกชนิดนี้มีพิษร้ายแรง โดนความร้อนไม่สลาย จึงอยากเตือนเพื่อนธรณ์ไว้สักนิด ก่อนซื้อสังเกตก่อนนะครับ หนนี้ไม่ใช่หนแรก 2-3 ปีก่อน ก็มีผู้พบในแผงขายอาหาร อย่างไรก็ตาม ถือว่าไม่บ่อยนัก ไม่ต้องตกใจเกินไปเหตุผลที่ไม่บ่อย เพราะหมึกชนิดนี้มีอยู่ไม่มากในไทย อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล ส่วนใหญ่เป็นเขตนอกชายฝั่ง หมึกมีวงสีฟ้าชัดเจน ยิ่งตอนจับได้ยิ่งชัด หากชาวประมงจับได้ให้ปล่อยไป เขาไม่ใช่หมึก from hell ที่จะพุ่งมาทำร้ายเรา จะโดนกัดต้องไปจับหรือทำร้ายเขาเท่านั้น เมื่อหมึกตาย ยังคงมีวงฟ้าเหลืออยู่ แยกออกจากหมึกอื่นได้ง่าย แต่นานๆ ทีจะหลุดมา เพราะเขามีไม่มาก อีกทั้งส่วนใหญ่โดนคัดออกตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ ในเมืองไทยยังไม่เคยมีรายงานว่ามีผู้โดนหมึกชนิดนี้กัด หรือมีผู้กินเข้าไปแล้วโดนพิษรุนแรง แต่ระวังไว้นิดย่อมดีกว่าครับ อย่างไรก็ตาม หมึกสายวงฟ้า (Blue-Ringed Octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena ในอันดับหมึกยักษ์ เป็นหมึกพันธุ์เล็ก มีลักษณะเด่นคือ วงแหวนตามลำตัวสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ซึ่งเมื่อตัดพื้นลำตัวสีขาวหรือเขียวจะดูสวยงามมาก แต่ภายใต้ความสวยงามนั้น ได้แฝงพิษที่ร้ายแรงได้ โดยในน้ำลายของเจ้าบลูริงนั้นมีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ทำให้เหยื่อที่ถูกพิษนี้ตายได้ภายใน 2-3 นาที พิษของเจ้าบลูริง 1 ตัวสามารถปลิดชีวิตคนได้ 26 คนในครั้งเดียว จึงถือเป็นหนึ่งในสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดของโลก https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000000595 ********************************************************************************************************************************************************* สลด! คลิปฉลามวาฬลอยตายกลางทะเลอันดามัน ล่าสุดเจ้าหน้าที่ยังหาไม่พบ ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สลด! คลิปฉลามวาฬลอยตายกลางทะเลอันดามัน ระหว่างเกาะเฮ-ราชา จ.ภูเก็ต ผอ.สทช.6 ได้สั่งการตรวจสอบแล้วแต่ยังไม่พบซากฉลามวาฬในคลิปแต่อย่างใด เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (3 ม.ค.) เพจ "เหยี่ยวข่าวภูเก็ต Newshawk Phuket" ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอคลิป ความยาวประมาณ 46 วินาที พร้อมข้อความระบุว่า "เมื่อเวลา 14.08 น.รับแจ้งพบซากฉลามวาฬ ระหว่างเกาะราชา-เกาะเฮ เบื้องต้นหางขาด" อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (พังงา) หรือ สทช.6 ทราบว่า เจ้าหน้าที่ได้รับรายงานแล้ว และอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่ง นายประถม รัสมี ผอ.สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 (พังงา) หรือ สทช.6 ได้สั่งการให้ นายประจวบ โมฆรัตน์ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล นำเรือพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ออกค้นหาบริเวณดังกล่าวแล้ว ซึ่งล่าสุดยังไม่พบซากฉลามวาฬตัวดังกล่าวแต่อย่างใด https://mgronline.com/south/detail/9630000000739
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
จีนลงดาบเฉียบขาด...ห้ามจับปลาในแยงซีเกียง 10 ปี ฟื้นฟูแม่น้ำที่เสื่อมโทรมถึงขั้น "ไม่มีปลา" เหลืออยู่ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงได้เตือนว่าสภาพแวดล้อมแยงซีเกียงกำลงเสื่อมโทรม ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพตกต่ำอย่างที่สุดแล้ว จนอาจกล่าวได้ว่า "ไม่มีปลา? เหลืออยู่แล้ว" (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส) จีนใช้กฎเหล็กห้ามการประมงเชิงพาณิชย์ในแยงซีเกียง เป็นเวลานาน 10 ปี เพื่อฟื้นชีพสายพันธุ์ปลาในลำน้ำสายยาวที่สุดในเอเชีย และเป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากรายงานข่าวของเซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ (3 ธ.ค.) แยงซีเกียง หรือที่จีนเรียก "ฉังเจียง" กำลังเผชิญวิกฤตสิ่งแวดล้อมอย่างเลวร้าย ทั้งจำนวนปลาร่อยหรอ และความหลากหลายชีวภาพที่เคยอุดมสมบูรณ์นับวันยิ่งเสื่อมโทรม สีจิ้นผิงชี้วิกฤตเลวร้ายอย่างแทบจะพูดได้ว่า "ไม่มีปลา" เหลืออยู่ในแยงซีเกียงซึ่งเป็นแม่น้ำสายยาวถึง 6,300 กิโลเมตร จากการแถลงของคณะมุขมนตรีจีนระบุว่าการห้ามการประมงเฉพาะฤดูกาลนั้นไม่เพียงพอที่จะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมลุ่มน้ำแยงซีเกียง จึงได้ออกกฎห้ามการประมงเชิงพาณิชย์เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันพุธที่ 1 ม.ค.2020 โดยการบังคับใช้ในขั้นแรกจะครอบคลุมเขตอนุรักษ์ตามลุ่มน้ำ 332 เขต จากนั้นจะขยายการการบังคับใช้ฯนี้ไปยังลำน้ำสายหลักและแม่น้ำสาขาในเดือนม.ค.ปีหน้า "แยงซีเกียงเป็นแม่น้ำสายสำคัญของโลกในแง่ของความหลากหลายชีวภาพ อีกทั้งมีความสำคัญในการปกป้องระบบนิเวศวิทยาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในอาณาบริเวณ" สำนักข่าวซินหวารายงานโดยอ้างอิงคำกล่าวของอี๋ว์ เจิ้นคัง รองรัฐมนตรีกิจการเขตชนบทและเกษตรกรรม "การห้ามประมงนี้เป็นมาตรการสำคัญที่จะหยุดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศแม่น้ำและช่วยปกป้องความหลากหลายชีวภาพ ไม่ให้ลดลงไปกว่านี้" อี๋ว กล่าว ในเดือนเม.ย.2018 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงได้เตือนว่าสภาพแวดล้อมแยงซีเกียงกำลงเสื่อมโทรม ดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพตกต่ำอย่างที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่า "ไม่มีปลา เหลืออยู่แล้ว" เฉา เหวินเซวียน ผู้เชี่ยวชาญชีวภาพทางแม่น้ำ-ทะเลประจำสถาบันชลวิทยาสังกัดบัณฑิตยสภาแห่งจีน ได้รณรงค์ผลักดันกฎห้ามการประมง 10 ปี ในแม่น้ำมาตั้งแต่ต้นๆปี 2000 โดยชี้ว่าการออกกฎห้ามฯนี้เป็นเรื่องที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนและเป็นความหวังที่จะกอบกู้ฝูงปลาและสัตว์น้ำกลับมา "เมื่อเราบอกว่าแยงซีเกียงเสื่อมโทรมถึงขั้น "ไม่มีปลา" แล้ว ไม่ได้หมายความว่าไม่มีปลาอาศัยอยู่แม้ตัวเดียว หากหมายถึงว่าสต็อกปลาเหลืออยู่หร็อมแหร็ม และปลาที่จับได้ในตอนนี้ตัวเล็กกว่าเมื่อก่อนมาก" สำนักข่าวซินหัวเผยว่า ปัญหาระบบนิเวศของแม่น้ำในจีนได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงของประเทศ ในปี 1954 สัตว์น้ำที่จับได้ในแยงซีเกียงแต่ละปีมากถึงราว 427,000 ตัน แต่ไม่กี่ปีมานี้ลดลง ไม่ถึง 100,000 ตัน ที่น่าตกใจมากคือ นาย หยวน เหวินปิงวัย 49 ปี ผู้อาศัยในอำเภออี๋ว์กัน มณฑลเจียงซี ให้สัมภาษณ์กับสื่อจีน กวงหมิง เดลี่ ว่าในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เขาจับปลาตัวโตน้ำหนัก 35 กิโลกรัม ตอนนี้เขาไม่เคยจับได้ปลาที่น้ำหนักมากว่า 5 กิโลกรัม "สมัยก่อนผมจับปลาปักเป้าได้มากกว่า 20 ตัวในแต่ละวัน แต่ผมไม่เห็นพวกปลาปักเป้ามา 10 ปีได้แล้ว" โลมาแม่น้ำแยงซีเกียงที่คนไทยเรียกโลมาหัวบาตรหลังราบ และชาวจีนขนานนามว่าเป็น "เทพธิดาแห่งแยงซีเกียง" ถูกขึ้นทำเนียบสัตว์สูญพันธุ์โดยปริยาย (Functionally Extinct) (ไชน่า นิวส์ เซอร์วิส) หยวนเล่าว่าฝูงปลาในแยงซีเกียงลดลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้เพราะชาวประมงใช้อวนแหที่ตาเล็กถี่มาก และใช้วิธีการจับปลาที่ผิดกฎหมาย อย่างเช่น อุปกรณ์ระเบิด หรือใช้ไฟฟ้าช็อต การจับปลามากเกินไปทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมและสร้างวงจรอุบาท หน่วยรัฐประเมินว่า ชาวประมงประมาณ 280,000 รายใน 10 มณฑลที่ตั้งอยู่ชายฝั่งแยงซีเกียงจะได้รับผลกระทบจากกฎห้ามฯนี้ เรือประมงที่ขึ้นทะเบียนของพวกเขา รวม 113,000 ลำ จะต้องจอดนิ่งหรือไม่ก็ทำลายทิ้ง รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณสำหรับความช่วยเหลือหางานทดแทน จัดสวัสดิการ และฝึกทักษะอื่นๆ เจ้าหน้าที่คาดว่ากฎห้ามฯจะไม่กระทบต่อผู้บริโภค เนื่องจากสัตว์น้ำที่จับได้จากแยงซีเกียงในแต่ละปี มีสัดส่วนเพียง 0.32 เปอร์เซ็นต์ ของซัปพลายอาหารทะเลของประเทศ นายเฉา กล่าวว่าเป้าหมายของกฎห้ามการประมงนี้เพื่อฟื้นชีพสายพันธุ์ปลาในธรรมชาติ และใน 10 ปีข้างหน้าปลาบางสายพันธุ์จะสามารถสร้างชั่วรุ่นใหม่ 2-3 รุ่น ทั้งนี้ในปี 2003 เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและสายพันธุ์ปลาในแยงซีเกียงโดยออกมาตรการห้ามจับปลาประจำฤดูกาลซึ่งกินเวลา 3-4 เดือนในฤดูใบไม้ผลิ แต่มันสั้นเกินไปและไม่เพียงพอที่จะฟื้นชีพเหล่าสัตว์น้ำขึ้นมาได้ "เมื่อสิ้นสุดฤดูห้ามจับปลาในแต่ละปี กองทัพชาวประมงก็กลับมา แต่พวกเขาจับได้เพียงปลาตัวเล็ก บางฝูงมีลำตัวยาวแค่ 10 เซนติเมตรเท่านั้น...และหลายคนก็เอามันไปทอดทำเป็นอาหารสัตว์ มันเป็นความสูญเสียที่ร้ายแรง เป็นหายนะ" https://mgronline.com/china/detail/9630000000727
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เตือน "IOD" รุกคืบทะเลสิมิลันน้ำเย็นเฉียบ 23 องศาฯ อุทยานหมู่เกาะสิมิลัน โพสต์ข้อมูลระบุน้ำทะเลอันดามันเย็นเฉียบต่ำสุด 23 องศาฯ เกิดจากปรากฎการณ์ IOD น้ำทะเลทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียที่มีความเย็นเฉียบเคลื่อนเข้าใกล้เกาะสิมิลัน ที่อยู่ขอบไหล่ทวีป ชี้ส่งผลสัตว์ทะเลหายากโผล่ แต่ห่วงปะการังอ่อนตาย วันนี้ (3 ธ.ค.2563)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กอุทยานแห่งชาติหมธู่เกาะสิมิลัน โพสต์ข้อมูลว่า รู้สึกเหมือนกันไหม?ดำน้ำสิมิลันช่วงนี้น้ำเย็นแปลกๆ แล้วทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่าปรากฏการณ์ IOD (Indian Ocean Dipole) คือปรากฏการณ์ที่ทำให้น้ำทะเลทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย (อันดามันประเทศไทย) เกิดชั้น thermocline ซึ่งหมายถึงการที่น้ำทะเลแยกชั้น เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำมีความแตกต่างกัน "ปกติชั้นเทอร์โมไคลน์จะอยู่ลึก แต่เมื่อเกิด positive IOD ชั้นเทอร์โมไคลน์จะเขยิบขึ้นมาใกล้ผิวน้ำมากขึ้น หากชั้นอุณหภูมิเข้าใกล้ 50 เมตร อาจมีน้ำเย็นเฉียบจากใต้มหาสมุทร พัดเข้ามาในเขตเกาะในอันดามัน โดยเฉพาะสิมิลัน ที่อยู่ขอบทวีป ใกล้ที่ลึกเป็นพิเศษ" ทั้งนี้บริเวณชั้นน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ถือเป็นเขตที่สมบูรณ์ที่อุดมด้วยธาตุอาหารต่างๆ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมสัตว์ใหญ่ๆ ที่เราไม่ค่อยเจอในภาวะปรกติ เช่น กระเบนหลังดำ ฉลามเสือ โรนัน ฯลฯ พากันเข้ามาเยี่ยมเยือนอันดามันในปีนี้ ซึ่งหมายรวมไปถึงวาฬชนิดต่างๆที่พากันเข้ามาสิมิลันแบบต่อเนื่อง จนกลายเป็นที่ฮือฮาช่วงสิ้นปี ภาพวาฬสีน้ำเงิน : กตัญญู วุฒิชัยธนากร Wildencounterthailand แต่เมื่อมีดีก็ต้องมีแย่ เพราะถึงแม้น้ำเย็นจะทำให้สัตว์ต่างๆ เข้ามาในอันดามันอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน นั่นคือการที่อุณหภูมิน้ำที่ต่ำเกินไป จะทำให้ปะการังอ่อน กัลปังหาเหี่ยวเฉาและหากเกิดรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ปะการังอ่อนอาจตายได้ โดยเฉพาะพวกปะการังอ่อนสีสวยน้ำลึก จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่สิมิลันช่วงนี้ต่ำสุดอยู่ที่ 23 องศาเซลเซียส นักดำน้ำอย่าลืมสวม Wetsuits เพื่อเพิ่มความอบอุ่น คาด IOD กระทบภาพรวมฝนลดลง จากการตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา เคยเผยแพร่ข้อมูลเรื่องการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศ โดย 4 ปรากฎการณ์ใหญ่ที่ต้องจับตา คือปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) หรือมีดัชนีวัดค่าความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล อันเนื่องมาจากการเย็นตัวอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลทางตอนใต้ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์สูตร (EAST) และการอุ่นขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร(WEST) เรียกว่าปรากฏการณ์ Positive Indian OceanDipole ภาพ:กรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนพ.ค.2562 IOD index เริ่มมีสถานะเป็นบวก จากแบบจำลองการพยากรณ์ IOD index การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของสถานการณ์ IOD พบว่าปรากฏการณ์ IOD จะยังคงมีสถานะเป็นบวก ไปจนถึงช่วงเดือนธ.ค.2562 และมีโอกาสกลับมามีสถานะเป็นกลางในช่วงต้นปี 2563 โดยทั่วไปจะส่งผลกระทบ ทำให้ปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยมีปริมาณลดลง https://news.thaipbs.or.th/content/287576
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|