#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 15 มกราคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ ในตอนกลางวันมีแสงแดดจัด บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนภาคใต้มีฝนน้อย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 15 - 16 ม.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 ม.ค. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ในตอนกลางวันมีแสงแดดจัด สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มมากขึ้น ข้อควรระวัง ในวันที่ 15 - 16 ม.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เผยโฉม "ผู้ร้ายตัวจริง" ที่ซุกซ่อนใน PM 2.5 หลบในบ้านก็หนีไม่พ้น ................ สกู๊ปไทยรัฐ PM 2.5 แค่ได้ยินชื่อก็หวาดผวา หมายหัวเป็น 'ผู้ร้าย' หลงติดกับดักค่าความเข้มข้นสูง โดยไม่รู้ตัวว่า 'ผู้ร้ายตัวจริง' แท้จริงแล้วคือใคร? กรุงเทพมหานคร ณ เวลา 14.00 น. ของวันที่ 14 มกราคม 2563 ค่าความเข้มข้น PM2.5 แตะ 44.3 ?g/m? โดยหากนำมาเทียบกับค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงขององค์การอนามัยโลก (WHO) ก็สูงเกินกว่า 2 เท่า แต่หากเทียบกับมาตรฐานไทยที่กำหนด 50 ?g/m? ก็จะไม่เกิน ซึ่งต้องมาลุ้นกันว่า หลังครบ 24 ชั่วโมง ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยจะเกินค่ามาตรฐานไทยหรือไม่ แล้วหากสงสัยว่า ทำไมเมืองไทยถึงไม่กำหนดค่ามาตรฐานให้เทียบเท่ากับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก? กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ได้ให้คำตอบสั้นๆ ไว้ว่า "WHO ไม่มีหลักฐานชี้ชัดระดับฝุ่นที่ปลอดภัย" หากมาย้อนดูสถิติค่าความเข้มข้น PM 2.5 ปี 2562 แล้วว่ากันตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก เห็นได้ว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินมาตรฐานถึง 96 วัน ขณะเดียวกันถ้าว่ากันตามมาตรฐานแบบไทยๆ ก็เกินค่ามาตรฐานเพียงแค่ 54 วัน ซึ่งวันที่ค่า PM 2.5 แย่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือ วันที่ 30 กันยายน 2562 "คนไทยติดกับดัก PM 2.5 สูงหรือต่ำไม่ใช่ประเด็น" เมื่อความเข้มข้นสูงเป็นเพียงกับดัก แล้ว 'ผู้ร้ายตัวจริง' คือใคร? บอกใบ้นิดว่า 'ผู้ร้ายตัวจริง' นั้นซุกซ่อนอยู่ภายใน PM 2.5 ? เผยโฉม 'ผู้ร้ายตัวจริง' ที่ซุกซ่อนใน PM 2.5 ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสได้สนทนากับ ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ (ศ.11) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ถึงที่มาที่ไปและแหล่งกำเนิด PM 2.5 ฝุ่นพิษที่กำลังอาละวาดจนกลายเป็นวิกฤติอยู่ในขณะนี้ ซึ่งก็ได้เน้นย้ำอยู่ตลอดการสนทนาว่า "อย่าติดกับดัก PM 2.5" เรื่องหนึ่งที่คนไทยอาจไม่เคยรู้เลย คือ สภาวะปกติ ?ป่า? ก็ปล่อย PM 2.5 ป่าปล่อย PM 2.5 อย่างไร? ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.ศิวัช อธิบายว่า ต้นไม้จะมีการปล่อยสารเคมี เรียกว่า BVOC (Biogenic Volatile Organic Compounds) ซึ่งไม่ได้มีแค่สารเคมีเพียงตัวเดียว แต่มีกลุ่มใหญ่มาก เรียกว่า กลุ่ม Terpene ที่มี Monoterpene เป็นต้น พวกนี้เป็นสารเคมีตั้งต้นที่ไปทำปฏิกิริยาต่อ แล้วพัฒนาเป็น PM 2.5 ถ้าไปวัดช่วงที่ป่าขึ้นสูง PM 2.5 ก็จะสูงขึ้น จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่ PM 2.5 สูงหรือต่ำ แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่า "อะไรต่างหากที่อยู่ใน PM 2.5" ซึ่งนั่นคือ 'ผู้ร้ายตัวจริง' ที่ทีมข่าวเฉพาะกิจฯ เกริ่นมาในตอนต้นนั่นเอง 'ผู้ร้ายตัวจริง' ที่ซุกซ่อนอยู่ใน PM 2.5 เป็นอย่างไร? "ป่าไม่ปล่อยโลหะหนัก" "PM 2.5 เสมือนยานพาหนะ สารพิษทั่วไปถ้าไม่มียานพาหนะ ก็อยู่ไม่ได้ ต้องมีที่เกาะ สิ่งที่มีอนุภาคเล็กเท่าไร พื้นที่ผิวสัมผัสยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อพื้นที่ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้น ก็จะปล่อยโอกาสให้พวกสารพิษ (มี 2 ประเภท คือ อินทรีย์และอนินทรีย์) มาเกาะ" ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.ศิวัช ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น โดยเปรียบร่างกายเป็นดั่งธนาคารสุขภาพ และมี PM 2.5 เป็นรถยนต์ "เวลาที่ 'ธนาคารสุขภาพ' ถูกปล้น สิ่งที่ควรถาม คือ โจรมากี่คน? มีใครบ้าง? ไม่ใช่รถยนต์มากี่คัน บางทีรถยนต์อาจจะน้อย แต่โจรมีเป็นร้อยๆ คนในรถยนต์คันเดียวกันก็ได้ หรือบางทีอาจมีรถยนต์เป็นร้อยๆ คัน แต่ไม่มีโจรเลยก็ได้ สมมติสถานที่แห่งหนึ่ง มีค่า PM 2.5 ต่ำกว่า 50 ?g/m? แต่สารพิษอาจมากกว่าสถานที่ที่มี PM 2.5 สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานก็เป็นได้" ภาพฉายชัดแล้วว่า 'ผู้ร้ายตัวจริง' ที่ซุกซ่อนอยู่ใน PM 2.5 นั้นคือ "สารพิษ" และสารพิษที่เป็น 'ผู้ร้ายตัวจริง' นั้นคือ 'โลหะหนัก' ทีมข่าวเฉพาะกิจฯ ขอยกตัวอย่าง 4 สารพิษ หรือ 'ผู้ร้ายตัวจริง' ที่ซุกซ่อนใน PM 2.5 ให้ได้รับรู้ความอันตรายคร่าวๆ และเตรียมอุปกรณ์ป้องกันให้แน่นหนา ปรอท (Hg) หากได้รับและสะสมเป็นเวลานานจะทำให้มีอาการบวมและเจ็บ บางส่วนอาจเป็นอัมพาตได้ ที่สำคัญยังเป็นสาเหตุของการเกิด 'โรคมินามาตะ' แคดเมียม (Cd) หากมีการดูดซึมเข้ากระเพาะอาหารและกระจายไปยังตับ ม้าม และลำไส้ อาจทำให้เกิดมะเร็ง ไตผิดปกติ และโรคความดันโลหิตสูง ที่สำคัญยังเป็นสาเหตุของการเกิด 'โรคอิไต-อิไต' ตะกั่ว (Pb) ความอันตราย คือ สามารถเข้าได้ถึง 3 ทาง ได้แก่ อาหาร การหายใจ และผิวหนัง ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจับกับเม็ดเลือดแดงจะมีผลต่อตับ หัวใจ และเส้นเลือด รวมถึงภาวะเจริญพันธุ์ โครโมโซม ส่วนอีกหนึ่งสารพิษ PAHs มีโอกาสได้รับสารทั้งทางปากและผิวหนัง เป็นสารก่อมะเร็งและสารก่อการกลายพันธุ์ แล้วรู้ไหมว่า สารพิษร้ายใน PM 2.5 ทำร้ายตัวเราได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ เพราะเพียงแค่แม่ได้รับฝุ่น PM 2.5 ก็มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด และอาจทำให้ทารกเสี่ยงน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์ด้วย อีกหนึ่งสิ่งที่คนมักคิดกันว่า การหลบอยู่ภายในบ้านก็ช่วยให้รอดพ้น PM 2.5 ได้ จริงๆ แล้ว แม้แต่ภายในบ้านก็มีมลพิษทางอากาศเช่นกัน และส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากกิจกรรมของเราเอง จากตัวเลขขององค์การอนามัยโลก พบว่า มีประชากรโลกเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศภายในอาคารมากถึง 3.8 ล้านคนต่อปี ตัวต้นเหตุก็มาจาก "การทำอาหารภายในบ้าน" (ส่วนมากมาจากน้ำมันก๊าดและเชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่าน) ซึ่งผู้หญิงและเด็กมีความเสี่ยงมากที่สุด โรคที่พบ คือ หัวใจขาดเลือดและปอดบวม คิดเป็นสัดส่วนเท่ากัน 27%, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 20%, เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน 18% และมะเร็งปอด 8% เห็นได้ว่า PM 2.5 ในแต่ละพื้นที่ที่เราสูดเข้าไปในร่างกาย มีความอันตรายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าในพื้นที่นั้นมีสารพิษใดเจือปน หรือแม้แต่ภายในบ้านเองที่ก็มีมลพิษทางอากาศเช่นกัน และในการเพิ่มขึ้นของ PM 2.5 ทุกๆ 10 ?g/m? ก็จะทำให้เพิ่มอัตราการเป็นมะเร็งปอด 36% และอาจทำให้อายุสั้นลง 0.98 ปี. https://www.thairath.co.th/scoop/174...Pos=0#cxrecs_s
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เตรียมเฮ! ดร.ธรณ์ เผยอีก 1-3 วัน ลูกเต่ามะเฟืองพร้อมฟักออกจากไข่ ลืมตาดูโลกเป็นรังแรกของปี ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ โพสต์ข้อความเตรียมเฮ เผย อีกประมาณ 1-3 วันนี้ ลูกเต่ามะเฟืองรังแรกจะฟักออกจากไข่ลืมตาดูโลกเป็นรังแรกของปี มั่นใจอุณหภูมิในหลุมดี ไข่ร้อนกว่าทราย แสดงว่าไข่ฟัก มีลูกเต่าแน่นอน เมื่อวันที่ 13 ม.ค. มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความเผยว่าอีกประมาณ 1-3 วันนี้ ลูกเต่ามะเฟืองรังแรกจะฟักออกจากไข่ซึ่งมีไข่ดีกว่า 85 ฟอง โดยก่อนหน้านี้แม่เต่ามะเฟืองได้มาวางไข่เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ข้อมูลล่าสุดจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทราบว่าอุณหภูมิในหลุมดี ไข่ร้อนกว่าทราย แสดงว่าไข่ฟัก มีลูกเต่าแน่นอน ผู้โพสต์ระบุข้อความว่า "คนรักเต่าเตรียมเฮครับ อีก 1-3 วันนี้ ลูกเต่ามะเฟืองรังแรกน่าจะออกมาชมโลกแล้ว เตรียมดูกล้องกันให้ชัดๆ ได้เลย ข้อมูลล่าสุดจากกรมทะเล อุณหภูมิในหลุมดี ไข่ร้อนกว่าทราย แสดงว่าไข่ฟัก มีลูกเต่าแน่นอน จากภาพถ่ายวัดอุณหภูมิก็บอกว่า ไข่ฟักนะ เห็นจุดสีแดงชัดเจน (เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีเยอะครับ) หากกราฟอุณหภูมิหลุมลดต่ำกว่าทราย แปลว่าลูกเต่าเริ่มออก น้ำจากไข่ทำให้อุณหภูมิต่ำลง นอกจากนี้ หลุมจะยุบลง เพราะลูกเต่าออกจากไข่ กำลังจะขึ้นมา แม่เต่าวางไข่หลุมแรก 17 พ.ย. ย้ายมาที่ท้ายเหมือง ถึงตอนนี้ 58 วัน ปรกติไม่น่าเกิน 60 วัน ไข่ดี 85 ฟอง มาลุ้นกันว่าลูกเต่าตัวน้อยจะออกมากี่ตัว ได้สัก 50 ก็โอเค เกินกว่านั้นร้องเย้ๆ ได้เลย ผมใส่ลิงก์ไว้แล้ว ดูแบบ live cam ได้เลย เลือกกล้อง 4 จะเห็นชัดสุด เหมือนในภาพนี่แหละครับบอกล่วงหน้าไว้ จะได้ลุ้นกันครับ" https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000004097
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
นักดำน้ำพบฉลามวาฬยาว 5 เมตร ชี้ ทะเลสมบูรณ์ขึ้น นักดำน้ำพบฉลามวาฬยาว 5 เมตร ว่ายอวดโฉมหมู่เกาะพีพี ขณะที่ แม่เต่ามะเฟืองวางไข่รังที่ 4 บนชายหาดบ้านบ่อดาน จังหวัดพังงา พบไข่ดี 22 ฟอง ไข่ลม 40 ฟอง นายวรพจน์ ล้อมลิ้ม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวด้านการดำน้ำ และได้รับคลิปวิดีโอที่นักดำน้ำบันทึกภาพฉลามวาฬมาได้ บริเวณเกาะบิดานอก ซึ่งอยู่ติดกับอ่าวมาหยา หมู่เกาะพีพี เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราและหมู่เกาะพีพี ซึ่งฉลามวาฬตัวนี้มีความยาวประมาณ 5 เมตร น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม กำลังแหวกว่ายเล่นน้ำ โดยไม่เกรงกลัวผู้คนที่ดำน้ำชมปะการังน้ำลึกแต่อย่างใด ทั้งสามารถเข้าใกล้ได้อีกด้วย ซึ่งนักดำน้ำที่พบฉลามวาฬจะบันทึกภาพห่างจากตัวฉลามวาฬในระยะเพียง 5 เมตรเท่านั้น สำหรับฉลามวาฬ ที่เข้ามาหากินบริเวณเกาะบิดานอกซึ่งอยู่ติดกับอ่าวมาหยา เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งในท้องทะเลกระบี่ หมู่เกาะพีพีในรอบปีนี้ เป็นผลมาจากมาตรการปิดอ่าวมาหยา ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2561 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมใต้ทะเลและบนบก ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อย่างเห็นได้ชัด จนทำให้สัตว์น้ำหายากและใกล้จะสูญพันธุ์หวนกลับคืนสู่ถิ่นเดิม สร้างความตื่นเต้นให้แก่เจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยวที่ได้พบเห็นในแต่ละครั้ง ขณะที่ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ร่วมกับฐานทัพเรือพังงา เดินตรวจตราเฝ้าระวังฯ พบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่ของเต่ามะเฟือง บริเวณชายหาดบ่อดาน ห่างจากศูนย์เฝ้าระวังฯ หาดบ่อดาน ไปทางทิศเหนือ 300 เมตร เมื่อวัดขนาดรอยของแม่เต่า มีขนาดความกว้างประมาณ 180เซนติเมตร ขนาดความกว้างช่วงอกประมาณ 80 เซนติเมตร หลังจากขุดหาไข่เต่ากว่า 2 ชั่วโมง พบไข่เต่ามะเฟืองนับเป็นรังที่ 5 ในรอบปีนี้ และเป็นรังที่ 4 ของ จังหวัดพังงาที่แม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ เบื้องต้นตรวจสอบพบไข่ดี 22 ฟอง และไข่ลม 40 ฟอง และพิจารณาสถานที่ตั้งของหลุมแล้ว เพื่อการจัดการที่ดี รวมถึงการดูแลรักษา จึงย้ายไข่มาไว้บริเวณศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟืองหาดบ่อดาน ใกล้กับรังที่ 2 https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/117668
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
ไฟป่าออสเตรเลียจะเป็น "ภาวะปกติ" ของโลกอนาคตที่อุณหภูมิสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียส ................... โดย แมตต์ แม็กกราธ ผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อม Image copyrightGETTY IMAGES นักวิทยาศาสตร์ในสหราชอาณาจักรชี้วิกฤตไฟป่าออสเตรเลียคือ "ภาวะปกติ" ที่ทั้งโลกต้องเผชิญเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ศ.ริชาร์ด เบ็ตต์ส จากศูนย์อุตุนิยมวิทยาแฮดลีย์ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือสัญญาณบ่งชี้ถึงสิ่งที่จะกลายเป็น "ภาวะปกติ" ในอนาคต เมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียส แม้ว่ารูปแบบสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติจะเป็นแรงขับให้เกิดวิกฤตไฟป่าในครั้งนี้ แต่นักวิจัยบอกว่า หากใช้เพียง "สามัญสำนึก" ก็จะเข้าใจว่าความร้อนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง สภาพอากาศในออสเตรเลียเมื่อปีที่แล้วร้อนและแห้งแล้งที่สุดเป็นประวัติการณ์ นักวิจัยในสหราชอาณาจักรวิเคราะห์ความเสี่ยงการเกิดไฟป่าทั่วโลกซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยศึกษาจากงานวิจัย 57 ฉบับ ที่เผยแพร่หลังจากมีรายงานเรื่องการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่ในปี 2013 งานวิจัยทุกชิ้นชี้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับความถี่และความรุนแรงที่จะเกิดสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการเกิดไฟป่า ซึ่งหมายถึงช่วงที่มีอุณหภูมิสูง มีความชื้นต่ำ ฝนตกน้อย และมีลมแรง Image copyrightGETTY IMAGES ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มีสัญญาณที่บ่งบอกชัดเจนมากขึ้นว่าภาวะโลกร้อนเป็นผลมาจากการดำเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วชี้ว่า หากไม่นับความผันแปรโดยธรรมชาติในพื้นที่ 22% ที่พร้อมจะเกิดไฟป่าแล้ว จะพบว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเกิดขึ้น นอกขอบข่ายนี้ด้วย แมทธิว โจนส์ จากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลียซึ่งเป็นผู้นำในการวิจัยครั้งนี้บอกว่า โดยรวมแล้ว งานวิจัย 57 ชิ้นนี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความร้อนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ได้ส่งผลต่อความถี่และความรุนแรงที่จะเกิดสภาพอากาศที่เหมาะต่อการเกิดไฟป่าทั่วโลก ยกตัวอย่างในฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ, แคนาดา, ตอนใต้ของยุโรป, สแกนดิเนเวีย และป่าแอมะซอน "ความร้อนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้เพิ่มความเสี่ยงไฟป่าในภูมิภาคอื่นอีกด้วย รวมถึงไซบีเรียและออสเตรเลีย" อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ระบุว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวิเคราะห์ว่าวิกฤตไฟป่ารุนแรงที่ออสเตรเลีย มีสาเหตุมาจากอะไร รูปแบบสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดสภาพเหมาะสม สำหรับการเกิดไฟป่า และสภาวะที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ก็ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศร้อนจัดและความแห้งแล้งทั่วออสเตรเลีย ทว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนด้วย ศ.เบ็ตต์ส บอกว่า ถึงอย่างไรไฟป่าในออสเตรเลียจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติอยู่ดี แต่มนุษย์ทำให้ความร้อนรุนแรงขึ้น ภัยแล้งและอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในออสเตรเลียล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่ารุนแรงในออสเตรเลีย Image copyrightGETTY IMAGES เขาบอกด้วยว่า ตอนนี้ออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยโลกช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมอยู่ราว 1.4 องศาเซลเซียส โดยสภาพอากาศร้อนจัดเมื่อเดือน ธ.ค. ถือว่ารุนแรงมากสำหรับปัจจุบัน แต่จะเป็นภาวะปกติเมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียส "ดังนั้นเรากำลังเห็นสัญญาณของภาวะปกติของโลกในอนาคตที่อุณหภูมิสูงขึ้น 3 องศาเซลเซียส" อุณหภูมิโลกสูงขึ้นราว 1 องศาเซลเซียสนับตั้งแต่ช่วงปี 1850-1859 แม้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ จะมีแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่โลกก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นราว 3 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้บอกว่า เรากำลังเห็นสัญญาณของโลกร้อนด้วย "ตาของเราเอง" เมื่อดูวิกฤตไฟป่าและคลื่นความร้อนที่กำลังเกิดขึ้น ศ.คอร์รีน เลอเคเร จากมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ในเมืองนอริช บอกว่า นี่คือผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสเท่านั้น หากเราไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ให้เหลือศูนย์ เราจะต้องพบกับผลกระทบที่ร้ายแรงกว่าที่เกิดขึ้นในออสเตรเลีย https://www.bbc.com/thai/international-51105216
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|