#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 31 มีนาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1-4 เมษายน 2563 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 30 - 31 มี.ค. 63 บริเวณประเทศจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 5 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 30 - 31 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัดอย่างต่อเนื่องไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 1 - 5 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 1 - 4 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ ในช่วงวันที่ 1-2 เมษายน 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดอุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ในช่วงวันที่ 3-4 เมษายน 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดพะเยา น่าน แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี และพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
1 เม.ย.-30 มิ.ย. ปิดฝั่งทะเลอันดามัน ?ภูเก็ต-พังงา-กระบี่-ตรัง? ให้ปลาวางไข่ นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย. นี้ กรมประมงจะดำเนินมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำในฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ฝั่งทะเลอันดามัน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืนที่กรมประมงได้มีการประกาศใช้มาอย่างยาวนานกว่า 35 ปี เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2528 โดยได้มีการปรับปรุงมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะของทรัพยากรสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม และสังคม ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นความผิดตามตามมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000-30 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า และต้องได้รับโทษทางปกครองอีกด้วย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากสถิติการเก็บข้อมูลทางวิชาการ จำนวน และความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสัตว์น้ำพบว่ามีจำนวนลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งมาจากด้วยเหตุปัจจัยหลายด้าน ทั้งความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำ สภาพแวดล้อม ความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้ง อาจจะมีเรือประมงที่ใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงเข้ามาทำการประมงในพื้นที่ด้วย ประกอบกับจากการติดตามสภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในแต่ละปีหลังจากมาตรการปิดอ่าวพบว่าลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่เกิดขึ้นในช่วงมาตรการ ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุของปริมาณสัตว์น้ำที่ลดจำนวนลงทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2561 กรมประมง จึงได้มีการออกประกาศ ลงวันที่ 22 มี.ค. 2561 เพื่อกำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในมาตรการปิดฝั่งทะเลอันดามันให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยพื้นที่การประกาศใช้มาตรการฯ ครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่บางส่วนของ จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ตั้งแต่ปลายแหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ถึงปลายแหลมหยงสตาร์ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ระยะเวลา 90 วัน ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. - 30 มิ.ย. ของทุกปี และได้กำหนดชนิดของเครื่องมือประมงซึ่งไม่กระทบกับพันธุ์สัตว์น้ำในช่วงประกาศใช้มาตรการฯ ให้สามารถใช้ทำการประมงได้ ดังนี้ 1. เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 14 เมตร และทำการประมงในเวลากลางคืนนอกเขตทะเลชายฝั่ง 2. เครื่องมืออวนล้อมจับปลากะตัก ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางวันและทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 3. เครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีขนาดช่องตาอวน ตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนไม่เกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และเครื่องมืออวนติดตาปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่ 4.7 เซนติเมตรขึ้นไป มีความยาวอวนเกิน 2,500 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 4. เครื่องมืออวนปู อวนลอยกุ้ง อวนหมึก 5. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 6.ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง 1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง และลอบปูที่มีขนาดช่องตาเฉพาะท้องลอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง 7. ลอบหมึกทุกชนิด 8. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบทำการประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง 9. คราดหอยที่ใช้ประกอบเรือกลที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 18 เมตร มีความกว้างของปากคราดไม่เกิน 3.5 เมตร ช่องซี่งคราดไม่น้อยกว่า 1.2 เซนติเมตร และจำนวนของเครื่องมือคราดหอยต้องไม่เกิน 3 อัน ต่อเรือกล 1 ลำ ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเครื่องมือทำการประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือคราดหอยที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2560 10. อวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เป็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก แผงยกปูจักจั่น 12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง 13. การใช้เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าไม่ถึง 280 แรงม้า ประกอบเครื่องมือทำการประมงที่มิใช่เครื่องมือทำการประมงตามประเภทที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดให้การใช้เรือประมงทุกขนาดประกอบเครื่องมือทำการประมงบางประเภทเป็นประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2560 https://www.khaosod.co.th/economics/news_3854558
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
Red Tide เมื่อการเติบโตของสาหร่าย คร่าชีวิตสัตว์ทะเลนับไม่ถ้วน ....................... โดย กรวิชญ์ มัจฉาธิคุณ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้โลกของเรากำลังแปรปรวนอย่างหนัก เป็นต้นเหตุของภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายรูปแบบ เช่น ภัยแล้งที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของไฟป่า การละลายของธารน้ำแข็งในขั้วโลกและกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก นอกจากภัยทางธรรมชาติที่สร้างผลกระทบในวงกว้างหลายประเทศแล้ว ปรากฎการณ์เล็กๆบางอย่างที่เกิดขึ้นก็เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นกัน เนื้อหาโดยสรุป - น้ำทะเลเปลี่ยนสี(Red Tide) หรือ ขี้ปลาวาฬ มีอันตรายที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในปี พ.ศ. 2561 มีนักชีววิทยาเชื่อว่าศพวาฬวัยรุ่นที่เกยตื้นตายบนชายหาด รวมทั้งศพโลมา 9 ตัวนั้นตายเพราะพิษจากการเกิดภาวะน้ำทะเลเปลี่ยนสี - นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริด้า และมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ระบุในแถลงการณ์ในนาม journal Environmenteal Science & Technology ว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย ซึ่งเราจะควบคุมการเกิดปรากฎการณ์นี้ได้ยากขึ้นหรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย" - ปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจาก สาหร่ายหรือแพลงก์ตอนพืชที่ตายแล้วจะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำทำให้พืชและปะการังไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงส่งผลให้พืชและสัตว์น้ำในบริเวณนั้นตายลงในที่สุด - เราเหลือเวลาอีกไม่กี่ปีเท่านั้นที่จะหยุดหายนะเหล่านี้ได้ ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดและหยุดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม ภาคคมนาคม ลดการบริโภคเนื้อสัตว์จากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี(Red Tide) หรือ ขี้ปลาวาฬ ที่คนไทยรู้จักเป็นปรากฎการณ์ที่น้ำทะเลเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีต่างๆตามสีของสาหร่ายในบริเวณนั้นบางคนอาจจะรู้สึกแปลกตาและเห็นว่าสวยงาม แต่ปรากฎการณ์นี้มีอันตรายที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต โดยคร่าชีวิตสัตว์ทะเลไปมากมาย ในปี พ.ศ. 2561 มีนักชีววิทยาเชื่อว่าศพวาฬวัยรุ่นที่เกยตื้นตายบนชายหาด รวมทั้งศพโลมา 9 ตัวนั้นตายเพราะพิษจากการเกิดภาวะน้ำทะเลเปลี่ยนสีนี้เอง ภาพปลาตายถูกน้ำพัดขึ้นมาบนชายฝั่งเนื่องจากปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในฟลอริด้า เมื่อปี 2561 ? Steve Nesius / Greenpeace สาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์นี้มีอยุ่ด้วยกันสองสาเหตุ คือ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและเกิดจากฝีมือของมนุษย์ ซึ่งมีที่มาจากการทำเกษตร เนื่องจากปุ๋ยที่ใช้ทำการเกษตรนั้นมีฟอสฟอรัสที่เป็นแหล่งอาหารของสาหร่ายอยู่จำนวนมากเมื่อถูกกระแสน้ำพัดพาไปลงสู่ทะเลจึงทำให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสาหร่าย และอีกปัจจัยหนึ่งที่มาจากการกระทำของมนุษย์คือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ เร่งให้โลกเกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ปรากฎการณ์นี้ไม่เพียงแค่เกิดขึ้นในต่างประเทศเท่านั้น แต่ในประะเทศไทยก็เกิดปรากกฎการณ์แบบนี้ขึ้นเช่นเดียวกัน ที่ จ.ชลบุรี ตั้งแต่บางแสน อ่าวอุดม อ่างศิลา ถึงศรีราชา โดยมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของแพลงก์ตอนพืช หรือ ไดโนแฟลกเจลเลต จำพวก Noctiluca มนุษย์เป็น "ตัวเร่ง" ให้เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีบ่อยมากขึ้น นักวิจัยของสถาบัน the Environmental Protection Agency ระบุเอาไว้ว่า แน่นอนว่าจากอุณหภูมิโลกและอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมแปรปรวนเป็นตัวเร่งให้เกิดการเติบโตของสาหร่ายมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น มนุษย์เองเป็นก็ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเนื่องจากการปลดปล่อยจากก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากกิจกรรมต่างๆที่เราทำ โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริด้า และมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ระบุในแถลงการณ์ในนาม journal Environmenteal Science & Technology ว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย ซึ่งเราจะควบคุมการเกิดปรากฎการณ์นี้ได้ยากขึ้นหรือไม่สามารถแก้ปัญหาได้เลย" Red Tide มีส่วนทำให้ระบบนิเวศทางทะเลเสียหาย สัตว์ทะเลหลายชนิดเช่น เต่าทะเล นกทะเล แมงกะพรุน หรือแม้กระทั่งฉลามก็ได้รับผลกระทบจาก ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ที่เกิดขึ้นในฟลอริด้าเมื่อปี 2661 ? Steve Nesius / Greenpeace ปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเล เนื่องจาก สาหร่ายหรือแพลงก์ตอนพืชที่ตายแล้วจะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำทำให้พืชและปะการังไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงส่งผลให้พืชและสัตว์น้ำในบริเวณนั้นตายลงในที่สุด เมื่อพืชและสัตว์น้ำตายแล้วซากของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะถูกคลื่นพัดขึ้นมาบนพื้นดินทับถมกันจนเกิดการเน่าเหม็นทำให้เกิดมลพิษทางกลิ่นในปี พ.ศ.2517 เกิดเหตุการณ์น้ำทะเลนอกชายฝั่งฟลอริดาเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอำพันทำให้ปลาทะเลจำนวนมากเสียชีวิต และในปี 2511 เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันขึ้นที่แนวชายฝั่งนอร์ทธัมเบอร์แลนด์ในประเทศอังกฤษเป็นสาเหตุการตายของนกทะเลจำนวนมาก และไม่นานมานี้ปรากฎการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ อ่าวเตยงาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยเป็นสาหร่ายกลุ่มสีเขียวแกมน้ำเงิน(blue green algae) ชนิด Lyngbya sp. และถ้าหากเกิดมากกว่านี้ อาจทำให้ปริมาณของออกซิเจนลดลงและทำให้สัตว์น้ำตายลงในที่สุด โดยจะพบเหตุการณ์นี้ทุกปี ปีละ2-3ครั้ง เราจำเป็นต้องชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศ หยุดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ปัจจุบัน คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ชี้แจงไว้ว่าเราควรตั้งเป้าหมายคงอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส การที่มนุษย์ยังเพิกเฉยและปล่อยให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศคือการสร้างหายนะให้กับมนุษย์และระบบนิเวศทั่วโลก เราเหลือเวลาอีกไม่กี่ปีเท่านั้นที่จะหยุดหายนะเหล่านี้ได้ ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดและหยุดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรม ภาคคมนาคม ลดการบริโภคเนื้อสัตว์จากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานด้วยการพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น หรือร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องมหาสมุทรของเรา ผ่านการผลักดันสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ที่กรีนพีซ ร่วมกับนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมกันขับเคลื่อน เพื่อเสนอให้องค์การสหประชาชาติประกาศรับรองการกำหนดเขตปกป้องมหาสมุทรให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 30 จากพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด โดยตั้งเป้าหมายทำให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 เพื่อหยุดยั้งและปกป้องระบบนิเวศใต้ท้องทะเล https://www.greenpeace.org/thailand/...d-tide-impact/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|