#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 15 - 17 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ตลอดช่วง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 12 - 14 เม. ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 14 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 12 เมษายน 2563 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบก่อน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกที่อาจเกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 12 เมษายน 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี และสระบุรี ในช่วงวันที่ 13-14 เมษายน 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน น่าน พะเยา แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
อินโดฯระทึก ภูเขาไฟตำนานสุดสะพรึง 'กรากะตัว' ปะทุครั้งใหม่ ภูเขาไฟกรากะตัว ในอินโดนีเซียปะทุครั้งใหม่ พ่นเถ้าถ่าน-ลาวาแดงฉาน คาดจะเป็นการปะทุครั้งรุนแรงสุดในรอบปีกว่าที่ผ่านมา หลังจากตำนานสุดสะพรึงของภูเขาไฟชื่อดังลูกนี้ยังถูกกล่าวขานมาจนถึงวันนี้ เมื่อ 11 เมษายน 63 สำนักข่าวต่างประเทศและเว็บไซต์เดลี่เมล รายงานและเผยแพร่คลิปนาทีสุดระทึก ภูเขาไฟกรากะตัวบนเกาะกรากะตัว ในช่องแคบซุนดรา ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวโลก ได้เกิดการปะทุครั้งใหม่ พ่นเถ้าถ่านขึ้นสู่ท้องฟ้า สูงนับ 15 กิโลเมตร และลาวา หินหนืดแดงฉานออกมาจากปากปล่องภูเขาตั้งแต่เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่เสียงจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว ยังดังคำรามกึกก้องไปถึงกรุงจาการ์ตา ที่อยู่ห่างไกลกันนับ 150 กิโลเมตร ศูนย์บรรเทาภัยพิบัติภูเขาไฟและทางภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียรายงานว่า ภูเขาไฟกรากะตัวได้เกิดการปะทุสองครั้ง เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 10 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น โดยครั้งแรกปะทุตอนเวลา 21.58 น.และ 10.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น อีกทั้งยังได้เกิดการปะทุต่อเนื่อง จนถึงเช้าวันเสาร์ที่ 11 เมษายน ภูเขาไฟกรากะตัว ในอินโดนีเซีย ปะทุครั้งใหม่เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน 63 เดลี่เมลยังเผยว่าภาพจากดาวเทียม ได้แสดงให้เห็นเหตุการณ์ภูเขาไฟกรากะตัวปะทุรุนแรง พ่นเถ้าถ่านและควันสู่ท้องฟ้า โดยเชื่อว่าจะเป็นการปะทุครั้งรุนแรงที่สุดของภูเขาไฟชื่อดังลูกนี้นับตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2561 ทั้งนี้ ภูเขาไฟกรากะตัว นับเป็นหนึ่งในภูเขาไฟในโลกที่เคยสร้างความน่าสะพรึงกลัวและความสูญเสียมากที่สุดลูกหนึ่ง โดยได้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อ 27 ส.ค.2426 และแรงระเบิดได้คร่าทุกชีวิตบนเกาะ ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ และทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 36,417 ศพ https://www.thairath.co.th/news/foreign/1818274
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ดร.ธรณ์ เผยภาพหายาก ลูกเต่ามะเฟืองกินแมงกะพรุน ชี้ ไทยกำลังก้าวเป็นผู้นำอนุรักษ์เต่าใหญ่-หายากที่สุดของโลก ดร.ธรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเลและรองคณบดีคณะประมง เผย คลิปลูกเต่ามะเฟืองกินแมงกะพรุน ระบุเป็นภาพหาดูยาก ชี้ ที่แมงกะพรุนเพิ่มส่วนหนึ่งเพราะขยะทะเลมหาศาลทำร้ายเต่า ภูมิใจไทยกำลังก้าวไปเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ดูแลเต่าใหญ่ที่สุดและหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก วันนี้ (11 เม.ย.) เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์คลิปหายาก โดยระบุว่าเป็นคลิิปวิดีโอจากรองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล เป็นภาพลูกเต่ามะเฟืองกินแมงกะพรุน โดยระบุเนื้อหาโพสต์ว่า ยังไม่ลืมพวกหนูใช่ไหม ? คลิปพิเศษสุดยอดนี้ส่งตรงมาจากกรมทะเล เพื่อเพื่อนธรณ์ได้ชมพฤติกรรมหาดูได้ยากมากๆ ลูกเต่ามะเฟืองกิแมงกะพรุน จากปรากฏการณ์สนั่นทะเลไทย แม่เต่ามะเฟืองวางไข่ 11 รัง มีลูกเต่าฟักออกมาถึงตอนนี้เกือบ 400 ตัว มีลูกเต่าบางตัวที่ไม่แข็งแรง ไม่พร้อมลงทะเล กรมทะเลจึงนำมาอนุบาลไว้ โดยใช้บ่อขนาดใหญ่บ่อเดียวกับที่มาเรียมเคยอยู่ เน้นย้ำว่า โดยปรกติเราไม่เลี้ยงลูกเต่ามะเฟืองนะครับ แต่ครั้งนี้เป็นกรณีพิเศษ อีกทั้งเรายังมีบ่อใหญ่มาก มีเจ้าหน้าที่และบุคลากรเพียงพอ จึงสามารถดูแลได้หากลูกเต่ามีจำนวนไม่มากเกินไป หนนี้เราจึงมีโอกาสเห็นพฤติกรรมหายากมาก ว่าง่ายๆ คือผมไม่เคยเห็นมาก่อน เรารู้ว่าลูกเต่ามะเฟืองเกิดมาจะเร่งรีบว่ายไปกลางทะเล ไปให้ไกลฝั่งสุดเท่าที่ทำได้ แต่ที่น่าสงสัยพวกเธอกินอะไรนะ เราพอรู้ว่าเต่ามะเฟืองกินแมงกะพรุนเป็นอาหารหลัก ถือเป็นสัตว์ช่วยควบคุมแมงกะพรุนตามธรรมชาติไม่ให้มีมากเกินไป เจ้าหน้าที่กรมทะเลจึงนำแมงกะพรุนมาให้ลูกเต่าลองกิน คลิปนี้แสดงชัดเจนว่าน้องเต่ามะเฟืองชอบกินแมงกะพรุนจริงจัง เริ่มจากการดูท่าว่าย จะเห็นว่าน้องเต่าใช้ครีบคู่หน้าที่ใหญ่และยาวมาก เพื่อพาตัวเองไปข้างหน้า ครีบคู่หลังมีไว้เพื่อช่วยกำหนดทิศทางเล็กๆ น้อยๆ เต่ามะเฟืองอาศัยกลางมหาสมุทร ต้องว่ายน้ำเก่ง แข็งแรง ลูกเต่าจึงมีครีบหน้าที่เจ๋งมาก เป็นวิวัฒนาการของธรรมชาติ จากนั้นลองสังเกตว่า เต่ามะเฟืองมีหัวขนาดใหญ่ ปากใหญ่และกว้าง สามารถอ้ำแมงกะพรุนเข้าไปได้ทั้งตัว เป็นลักษณะพิเศษของเต่าชนิดนี้ เต่าชนิดอื่นก็กินแมงกะพรุน แต่ไม่ใช่อาหารหลัก และส่วนใหญ่จะกัดแทะ ไม่อ้ำไปทั้งตัวเหมืองน้องมะเฟือง แนะนำให้เพื่อนธรณ์ดูแล้วดูอีก มีลูกมีหลานสมควรชวนดู เพราะผมคิดว่าเป็นครั้งแรกๆ ในโลกที่เรามีโอกาสเห็นพฤติกรรมแบบนี้ แม้จะเป็นในที่เลี้ยงก็ตาม คราวนี้ลองคิดว่า ถ้าเป็นเศษถุงพลาสติกหรือขยะทะเลลอยในน้ำ ลูกเต่าเข้าใจผิดกินเข้าไป เธอย่อมป่วยหรืออาจตายได้ นั่นคือเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราต้องช่วยกันลดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ไม่เช่นนั้นเต่าตายหมด แล้วใครจะมาคอยช่วยควบคุมปริมาณแมงกะพรุน ช่วงนี้มีข่าวแมงกะพรุนเพิ่มที่นั่นที่นี่ สาเหตุหนึ่งเพราะขยะทะเลมหาศาล ขยะพวกนี้ทำร้ายเต่าและย้อนกลับมาทำร้ายเรา ของมันเห็นๆ กันอยู่ ยิ่งช่วงนี้ ขยะใช้แล้วทิ้งเยอะมาก พวกเราคงต้องช่วยกันทำทุกทางเท่าที่ทำได้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลไทยได้เรียนรู้เรื่องเต่ามะเฟืองเพิ่มขึ้นมากมาย ตั้งแต่พฤติกรรมวางไข่ การดูแลของพวกเรา การช่วยไข่ที่ยังไม่ฟัก ไปจนถึงการเลี้ยงลูกเต่ามะเฟืองในระยะแรกเราจะเลี้ยงลูกเต่ามะเฟืองพวกนี้ไปสักระยะ เพื่อให้เรียนรู้พฤติกรรม ฯลฯ ที่จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการอนุบาลช่วยชีวิตลูกเต่ามะเฟืองในวันหน้า และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเต่ามะเฟืองทั้งโลก เพราะไทยกำลังก้าวไปเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ดูแลเต่าใหญ่ที่สุดและหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ทั้งหมดนี้ เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของทุกคน ทั้งพี่ๆ เจ้าหน้าที่กรมทะเล/กรมอุทยาน/ข้าราชการในพื้นที่ พี่น้องพังงาและภูเก็ต ตลอดจนคนรักทะเลทั่วไทยที่ติดตามให้กำลังใจกันตลอด จากใกล้หมดหวังเมื่อ 5 ปีก่อน กลายเป็นเริ่มมีหวังเมื่อ 2 ปีก่อน กลายเป็นก้าวไปข้างหน้าในวันนี้ ในทะเลสีคราม ตราบใดที่ยังไม่ยอมแพ้ ปาฏิหาริย์เกิดได้เสมอ มอบคลิปหายากสุดๆ ให้เพื่อนธรณ์ยิ้มรักเมืองไทยมากมายครับ มาเรียมอยู่บนฟ้า ช่วยคุ้มครองน้องเต่าด้วยนะจ๊ะ น้องมาอาศัยบ่ออยู่ต่อจ้ะ หมายเหตุซ้ำ - ตัวแรกชื่อเจน อีกสองตัวชื่อนุ่น กับโบว์ เจนกินก่อน นุ่นโบว์เห็นเข้าว่ายมาจอยฮะ" https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000037665
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
กรีนพีชเผย มลพิษทางอากาศร้ายไม่แพ้โควิด ทำเศรษฐกิจไทยเสียหายหลักแสนล้าน รายงานกรีนพีชตอกย้ำชัดว่ารัฐบาลต้องไม่ละเลยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ เผย ในปี พ.ศ.2562 มลพิษทางอากาศใน 6 หัวเมืองใหญ่สร้างความสูญเสียทางสุขภาพและเศรษฐกิจให้่กับประเทศไทยกว่า 200,000 ล้านบาท แถมเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อและป่วยหนักจากไวรัส COVID-19 มากขึ้น เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2563 กรีนพีซ ประเทศไทย เปิดเผยผลการวิจัยร่วมกับแอพพลิเคชั่นตรวจวัดคุณภาพอากาศ AirVisual พบว่า ในปี พ.ศ.2562 ปัญหามลพิษทางอากาศสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 200,000 ล้านบาท มลพิษทางอากาศมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ รายงานฉบับนี้ยังเปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายทางสุขภาพและเศรษฐกิจจากมลพิษทางอากาศมากที่สุดในประเทศไทย โดยคิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 5,965 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 194,932 ล้านบาท ในขระที่เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น สมุทรสาครและระยอง เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศรุนแรงรองลงมา กรีนพีช ระบุว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างมาก จนนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจหลากหลายรูปแบบเช่น การเจ็บป่วยที่เกิดจากมทลพิษทางอากาศ ทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดเรียน หยุดงาน เพิ่มรายจ่ายด้านสุขภาพ และทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอย จากการคำนวณและคาดการณ์ต้นทุนผลกระทบของมลพิษทางอากาศทั้งจากฝุ่น PM2.5 และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) แบบเรียลไทม์ โดยใช้ฐานข้อมูลคุณภาพอากาศระดับพื้นดินแบบรายชั่วโมง มาคำนวณด้วยอัลกอริทึ่มชุดเดียวกัน กรีนพีซยังเผยต่อว่า สถุานการณ์ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากมลพิษทางอากาศยังคงมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่องในปีนี้ โดยจากการคำนวณพบว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานครได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจจากพิษฝุ่นควันแล้วกว่า 1,954 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 63,000 ล้านบาท ซ้ำยังทำให้คนกรุงกว่า 5,000 คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในขณะที่เชียงใหม่มีมูลค่าความเสียหายที่ 413,268,885 เหรียญสหรัฐ และมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 1,070 คนโดยประมาณ มลพิษทางอากาศความเสียหายจาก PM2.5 ในแง่เศรษฐกิจและอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คำนวณโดยกรีนพีซ ประเทศไทย / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช ผลการศึกษาของกรีนพีช สอดคล้องกับผลการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจจากฝุ่น PM2.5 ระหว่างช่วงวันที่ 5 มกราคม- 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งเปิดเผยว่า มลพิษฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ ก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยว และค่าเสียโอกาสของภาคธุรกิจอื่นที่อาจได้รับผลกระทบจากการที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมราว 3,200?6,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับรายงานเมื่อปีพ.ศ. 2562 โดย รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งยืนยันว่าต้นทุนความเสียหายทางเศรษฐศาสตร์จากฝุ่น PM10 ของกรุงเทพฯ จะมีมูลค่าสูงถึง 446,023 ล้านบาทในปี พ.ศ.2560 โดยคำนวณจากมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเพื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศดี จึงอาจประเมินได้ว่าฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กกว่าและสามารถนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้มากจะมีต้นทุนความเสียหายสูงกว่า PM10 ผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่าฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ขณะเดียวกันงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่ามลพิษทางอากาศนั้นมีผลต่อสุขภาพปอด เป็นผลให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณมีมลพิษอากาศมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น เช่น ไวรัสโควิด-19 ซึ่งกำลังระบาดอยู่ ณ ปัจจุบัน "ในช่วงวิกฤต Covid-19 รัฐบาลต้องไม่ละเลยในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ (Public Policy) ที่มีความสำคัญ นั่นคือ การยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศและการป้องกันมลพิษทางอากาศที่แหล่งกำเนิดที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับคนในสังคม อากาศดีคือ รากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" วริษา สี่หิรัญวงศ์ หัวหน้าโครงการขออากาศดีคืนมา กรีนพีซ ประเทศไทย แสดงความเห็น https://greennews.agency/?p=20872
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|