#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป พายุฤดูร้อนในประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มลดลง แต่ประชาชนบริเวณดังกล่าวยังคงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในระยะนี้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่และมีลมกระโชกแรง ส่วนอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป จะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 - 27 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนคลายความร้อนลง ส่วนช่วงในวันที่ 28 เม.ย. - 2 พ.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 26 - 28 เม.ย. 63 ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 27 - 28 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักและลมกระโชกแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เริ่มฟื้นตัว พบฝูง "โลมาอิรวดี" นับ 10 โผล่ทะเลใกล้เกาะช้าง จ.ตราด พบฝูง "โลมาอิรวดี" นับ 10 ตัว โผล่แหวกว่ายทะเลรอบเกาะกระบุง ใกล้เกาะช้าง จ.ตราด หลังอุทยานฯ ปิดการท่องเที่ยว ช่วง "โควิด-19" บ่งชี้ธรรมชาติเริ่มฟื้นตัวอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น เมื่อวันที่ 26 เม.ย.63 นายสุวรรณ พิทักษ์สินธร หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด กล่าวว่า ภายหลังจากได้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทางกรมอุทยานแห่งชาติฯได้มีการประกาศปิดการท่องเที่ยว ทั้งทางบกและทางทะเลทั่วประเทศ เมื่อช่วงระหว่างวันที่ 17-24 เม.ย.63 เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด ได้มีการออกสำรวจประเมินสถานภาพพะยูนและสำรวจสัตว์ทะเลหายาก บริเวณในท้องทะเลเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง โดยจะมีการเฝ้าสังเกตทางเรือ และสำรวจจากมุมสูงด้วยการบินโดรน (อากาศยานไร้คนขับ) ซึ่งจากการใช้โดรนบินสำรวจครั้งนี้ได้พบฝูง "โลมา" ชนิด "อิรวดี" จำนวน 10 ตัว แหวกว่ายในทะเลบริเวณโดยรอบเกาะกระบุง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะช้าง ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลได้เป็นอย่างดี โดยในช่วงที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ได้มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องทะเล ให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนสืบไป https://www.thairath.co.th/news/local/east/1831053
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เผยภาพ "ฝูงโลมาอิรวดี 10 ตัว" สัตว์ใกล้สูญพันธุ์โผล่ว่ายน้ำที่เกาะช้างสนุกสนาน เพจอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จังหวัดตราด เผยภาพฝูงโลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตร สัตว์ใกล้สูญพันธุ์โผล่ว่ายน้ำที่เกาะช้างสนุกสนานช่วงปิดการท่องเที่ยวในสถานการณ์โควิด-19 บ่งบอกดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี เมื่อวันที่ 24 เม.ย. เพจ "ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จังหวัดตราด" ได้เปิดเผยหลังพบ ฝูงโลมาอิรวดี (หัวบาตร) สัตว์ใกล้สูญพันธุ์โผล่ว่ายน้ำที่เกาะช้าง สนุกสนาน ช่วงปิดการท่องเที่ยว บ่งชี้ความสมบูรณ์ทะเลมากขึ้น โดยระบุว่า "หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โคโรน่า (COVID-19) อุทยานแห่งชาติ ปิดการท่องเที่ยวทั่วประเทศ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 4 จังหวัดตราด วันที่ 17-24 เมษายน 2663 ได้ออกสำรวจประเมินสถานภาพ พะยูน และสำรวจสัตว์ทะเลหายาก บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง โดยการเฝ้าสังเกตทางเรือ และการบินโดรน (อากาศยานไร้คนขับ) จากการสำรวจครั้งนี้พบ โลมาชนิดอิรวดี จำนวน 10 ตัว บริเวณเกาะกระบุง อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะช้าง ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลได้เป็นอย่างดี ระบุย้ำร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องทะเลไปด้วยกัน" ทั้งนี้ โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตร มีครีบหลัง Irrawaddy Dolphin เป็นสัตว์ที่น่าตาแปลกตา รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่น คือ หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ครีบบนมีขนาดเล็กมาก มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมร ในปี พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครด้วย https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000043628 ********************************************************************************************************************************************************* น่าตกใจ! พฤติกรรมมนุษย์ทำโลมาอิรวดี-พะยูน-เต่าทะเล เริ่มหายจากทะเลเมืองตราด ตราด - น่าตกใจ! ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด ระบุพฤติกรรมมนุษย์ การเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยว และการใช้ทรัพยากรทางทะเลที่มากเกินไป ทำฝูงโลมาอิรวดี พะยูน และเต่าทะเล เริ่มหายจากท้องทะเลตราด จากผลกระทบความเป็นอยู่และการผสมพันธุ์ จากกรณีที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด ได้นำเรือพลังงานแสงอาทิตย์ชื่อ "พิทักษ์สมุทร" ออกสำรวจท้องทะเลบริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ควบคู่กับการใช้โดรนบินสำรวจเพื่อประเมินสถานภาพพะยูน และสัตว์ทะเลหายาก ระหว่างวันที่ 17-24 เม.ย.2563 ปรากฏว่า พบฝูงโลมาอิรวดีเพียง 1 ฝูง ที่จำนวน 6-10 ตัวเท่านั้น วันนี้ (26 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายสุวรรณ พิทักษ์สินธร ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด ว่า สาเหตุที่ทำให้โลมาอิรวดีในท้องทะเลเมืองตราด มีจำนวนลดลงน่าจะมาจากการใช้พื้นที่อ่าวตราดทำการประมงมากจนเกินไป อีกทั้งการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวใน จ.ตราด ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้อาหารของสัตว์ทะเล ทั้งจำนวนปลาทะเล หรือหญ้าทะเลลดน้อยลง ไม่เพียงเท่านั้นพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษยัง กระทบต่อความเป็นอยู่และการผสมพันธุ์ ของสัตว์ทะเล ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด มีภารกิจสำคัญในการสำรวจจำนวนสัตว์ในทะเลและทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่รับผิดชอบ 2 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จ.ตราด และอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า หมู่เกาะเสม็ด จ.ระยอง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่า สัตว์ทะเลมีปัญหาจากการกระทำของมนุษย์และพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และจากการสำรวจท้องทะเลในห้วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า โลมาอิรวดี ในอ่าวตราด ที่น่าจะมีจำนวนมากกว่า 100 ตัว และถือเป็นจำนวนที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ กลับพบเพียง 6-10 ตัว ขณะที่ พะยูน ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากอีกชนิดที่เคยพบเห็นในท้องทะเลตราด จากการสำรวจหลายครั้งกลับไม่พบเห็น ทั้งที่ทะเลตราดมีความอุดมสมบูรณ์ และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ยังถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติมากอีกเเห่งหนึ่งของประเทศไทย เช่นเดียวกับเต่าทะเล ที่แม้จะยังพอพบเห็นได้บ้างแต่ก็ไม่มากนัก https://mgronline.com/local/detail/9630000043548
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|