#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนเดินเรือด้วยความระมัดระวังในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 23 - 28 พ.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ยังคงทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
"วราวุธ" รับล้มเหลวแก้ไฟป่า 9 จ.ภาคเหนือ เสียหาย 16.3ล.ไร่ ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ระหว่างเผชิญช่วงวิกฤตโรคโควิด-19 แพร่ระบาด เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันก็คือสถานการณ์ไฟป่า 9 จังหวัดภาคเหนือ ที่ปีนี้ไฟป่าไหม้อย่างรุนแรง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกมายอมรับว่า ปีนี้ล้มเหลวในการแก้ปัญหาไฟป่า ทำให้ป่าเสียหายกว่า 16.3 ล้านไร่ มากสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุมาจากการลักลอบเผามากที่สุด เพราะความขัดแย้งกับชาวบ้าน ในนโยบายทวงคืนผืนป่า หลังสถานการณ์ไฟป่าคลี่คลายลงไปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา วันนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการป้องกันและแก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือปี 2563 ขึ้น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านในพื้นที่เข้ารวม ผลจากการประชุม นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยอมรับว่า ปีนี้ล้มเหลวในการแก้ปัญหาไฟป่า ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ในช่วงระยะเพียง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ไฟไหม้ป่าในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ เสียหาย 16.3 ล้านไร่ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ที่ 366 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นานเกิน112วัน ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่มาเป็นประธานปลูกป่าฟื้นฟูจากไฟป่า ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาทำความเข้าใจกับชาวบ้านโดยเร็ว เพื่อลดความขัดแย้ง และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำแผนแก้ไขปัญหาไฟป่าในปีหน้าเสนอเข้าการประชุมคณะรัฐมนตรี ปัจจุบันสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือสงบลงแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงทำโครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสียหายไปจากไฟป่าโดยตั้งเป้าปลูกป่าในพื้นที่ภาคเหนือ 33,500 ไร่ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/125904 ********************************************************************************************************************************************************* ภาวะโลกร้อนทำหิมะในทวีป "แอนตาร์กติกา" กลายเป็นสีเขียว อุณหภูมิที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้เกิดปรากฏการณ์ "หิมะสีเขียว" ในทวีปแอนตาร์กติกา หลายจุดสามารถมองเห็นได้แม้แต่จากอวกาศ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกาแห่งสหราชอาณาจักร จัดทำแผนที่การแพร่พันธุ์ของสาหร่ายบนชายฝั่งคาบสมุทรแอนตาร์กติกเป็นครั้งแรก โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมเป็นเวลา 2 ปี จากดาวเทียมเซนติเนล ทู ขององค์การอวกาศยุโรป และเผยแพร่เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (20 พ.ค.) มอสและไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงได้ที่พบได้ทั่วไปในทวีปแอนตาร์กติกา แต่การสำรวจทำแผนที่ใหม่นี้พบกลุ่มสาหร่าย 1,679 กลุ่ม ซึ่งทำให้หลายพื้นที่ของทวีปที่เคยขาวโพลนด้วยหิมะและน้ำแข็ง เป็นสีเขียวมากขึ้น ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อการแพร่พันธุ์ของสาหร่ายบนหิมะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พวกมันถูกตามหมู่เกาะนอกชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอนตาร์กติกาที่อุณหภูมิเพิ่มสูงกว่าบริเวณอื่นๆ แมตต์ เดวีย์ จากสาขาวิชาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ บอกว่า สาหร่ายที่เกิดขึ้นนี้เติบโตบนหิมะที่กำลังละลาย พวกมันต้องการน้ำที่อยู่ในสภาพของเหลวเพื่อสืบพันธุ์และแบ่งตัว แต่ถ้าสภาพอากาศอุ่นขึ้นจนทำให้หิมะละลายเร็วเกินไป พวกมันก็ไม่สามารถอยู่ได้เช่นกัน เดวีย์บอกอีกว่า สาหร่ายเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศของทวีปแอนตาร์กติกา โดยกลุ่มสาหร่ายที่พบในปัจจุบัน สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เทียบเท่ากับ การเดินทางด้วยรถยนต์ 875,000 เที่ยว ซึ่งแม้ว่าจะดูเหมือนเยอะ แต่หากเทียบกับการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกแล้ว ยังถือว่าน้อยมากๆ ทั้งนี้ ทวีปแอนตาร์กติกาทำสถิติอุณหภูมิสูงสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยวัดอุณหภูมิสูงสุดได้ 18.3 องศาเซลเซียส ในแถบชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรแอนตาร์กติก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/125880
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|