#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนาม เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 - 27 พ.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และลาว เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 28 พ.ค. ? 1 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 พ.ค. ? 1 มิ.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
พรุ่งนี้จัดการเด็ดขาดรื้อคอกหอยแครง แม่ทัพน้อย-ผู้ว่าฯ ลุยเอง สุราษฎร์ธานี - แม่ทัพน้อยลงสุราษฎร์ธานีพรุ่งนี้ ติดตามการกวาดล้างคอกหอยเถื่อนในพื้นที่ชุมน้ำทะเลอ่าวบ้านดอน ในขณะที่ผู้ว่าฯ ส่งกำลังกว่า 300 นายลุยรื้อ กป.อพช.ใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 4 ข้อ ให้เร่งดำเนินการ จากปัญหาการบุกรุกอ่าวบ้านดอน มีพื้นที่ที่ครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ตามมติรัฐมนตรี สาธารณะ โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลในเขต ต.คลองฉนาก ต.บางชนะ อ.เมือง และ ต.ลีเล็ด อ.พุนพิน แต่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมีการปล่อยปละละเลยให้มีการบุกรุกจับใช้ไม้ไผ่ปักล้อมคอกกั้นแนวเขตพร้อมปลูกสิ่งก่อสร้างบ้านพักกลางทะเลมานานนับ 10 ปี ต่อมายุค คสช ทหารได้เข้ามาดำเนินการรื้อถอนไม้ไผ่ในเขต 1,000 เมตร ออกและให้เจ้าของรื้อถอนอาคารบ้านพัก แต่ทางกรมเจ้าท่าได้มีการยืดหยุ่นผ่อนปรนให้ทางผู้บุกรุกต่อลมหายใจถึง 2 ครั้งๆ ละ 180 วัน จนกระทั่งในช่วงนี้สภาพอากาศเหมาะสม ความเค็มของน้ำทะเลอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือทางชาวประมงบอกว่าเป็นช่วงน้ำหวาน จึงทำให้ลูกหอยแครงเกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นจำนวนมากมายคิดเป็นมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเล 3,000 เมตร ในเขตอำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ชุมน้ำใต้ทะเลเป็นแอ่งกระทะ มีโคลนและหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์เป็นอาหารของสัตว์น้ำและลูกหอย ประกอบกับในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ และในอำเภอท่าฉางเป็นพื้นที่อนุญาตให้มีการเลี้ยงหอยแครงอย่างถูกต้องเป็นจำนวนกว่า 30,000 ไร่ จึงมีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์อยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน เมื่อหอยแครงเหล่านี้มีการปล่อยน้ำเชื้อออกมาได้ถูกกระแสน้ำพัดพามากองสะสมในพื้นที่ดังกล่าว เมื่อสภาพน้ำเค็มมีความเหมาะสมจึงเกิดลูกหอยขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงเป็นเหตุให้มีกลุ่มผู้ทรงอิทธิพล นายทุน คนมีสี ผู้นำชุมชน ได้เข้าไปบุกรุกครอบครอง และบางพื้นที่ก็ทำเป็นป่าชุมชนบังหน้า กอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรในทะเลทั้งการจับลูกหอยขายและแบ่งพื้นที่ในท้องทะเลขาย จนสร้างความร่ำรวยกันไปตามๆ กัน จนในครั้งนี้เกิดศึกแย่งชิงลูกหอยกันระหว่างกลุ่มผู้มีอิทธิพลจนบุกรุกเข้ามาในเขต 1,000 เมตร จนกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านไม่มีที่ทำกิน เมื่อทางจังหวัดได้ออกมาเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสหาลูกหอยไปขายเพื่อสร้างรายได้ในสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 แต่ทางนายทุน และกลุ่มผู้มีอิทธิพลำไม่พอใจได้ใช้เรือขนาดใหญ่ติดเครื่องมือผิดกฎหมายเข้าทำการลักลอบลากลูกหอยแครงในยามกลางคืน เมื่อชาวประมงพื้นบ้านออกมาใช้มือจับปรากฏว่าใต้ทะเลไม่มีลูกหอยจึงได้ร้องเรียนไปทางจังหวัด และทางกองทัพภาค 4 ประกอบมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย ได้เข้าจับกุมพ่อค้ารับซื้อลูกหอยและมีการเรียกร้องขอเงินจำนวน 5 ล้านบาท แลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกดำเนินคดี จนชาวบ้านไม่พอใจลุกฮือขึ้นปิดล้อมจนเรื่องดังไปทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทาง พล.ท.สิทธิพร มุสิกะสิน แม่ทัพน้อย พร้อมด้วยนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายวิชัย สมรูป ผอ.สนง.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 นายบรรเจิด สาริพัฒน์ นายอำเภอเมืองจะลงพื้นที่เพื่อจัดการปัญหาอย่างเด็ดขาด เพื่อติดตามการรื้อถอนคอกหอยเถื่อนในพื้นที่อำเภอเมือง โดยมีกำลังกว่า 300 นาย ดำเนินการรื้อถอน ในขณะที่คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานี ต้องกล้าตัดสินใจดำเนินการยึดคืนพื้นที่สาธารณะอ่าวบ้านดอนให้ประชาชน โดยระบุว่า สถานการณ์ปัญหาการรุกพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นปัญหาเรื้อรังมาอย่างยาวนาน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ได้จริง ทั้งยังพบว่ามีการใช้อำนาจมืดที่อิงอยู่กับกลุ่มอิทธิพลต่างๆ แสดงท่าทีไม่เกรงกลัวต่ออำนาจบ้านเมืองกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างไม่เกรงกลัว และยังพบว่ามีการเอื้อประโยชน์โดยข้าราชการบางคนบางหน่วยงานให้มีการกระทำผิดดังกล่าวอย่างเปิดเผยและเป็นที่รับรู้ของประชาชนในพื้นที่อย่างกว้างขวาง ดังที่ปรากฏเป็นข่าวมาอย่างต่อเนื่อง อ่าวบ้านดอน มีพื้นที่ที่ครอบคลุมตลอดแนวชายฝั่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ตามมติรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤศจิกายน 2552 แต่กลับถูกปล่อยให้มีการบุกรุกเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และยังมีการปลูกสร้างที่พักส่วนบุคคลอย่างแข็งแรง และยังมีการปักรั้วกั้นแนวเขตพื้นที่อย่างเปิดเผย เสมือนเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล ต่อปัญหาเหล่านี้เครือข่ายประมงชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้พยายามเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้มาตลอดหลายครั้งหลายสมัย ในครั้งนี้มีการเรียกร้องให้หน่วยงานระดับประเทศเข้ามาดูแล แก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แต่กลับไม่สามารถจัดการกับปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่นี้ได้จริง ด้วยปัจจัย เงื่อนไข ว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังที่มีอำนาจคอยให้ท้ายแลหลังให้แก่กลุ่มทุนเหล่านั้นได้อย่างโจ่งแจ้ง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) ขอสนับสนุนเครือข่ายประมงชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้ออกมาเรียกร้องให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้ดำเนินการรื้อถอนหลักไม้ไผ่ที่แสดงการครอบครองพื้นที่สาธารณะเพื่อส่วนบุคคล นอกเขตอนุญาตเพาะเลี้ยงอ่าวบ้านดอนทุกพื้นที่ให้หมดภายในเวลา 3 เดือน 2.ให้ยกเลิกการแบ่งเขตการครอบครองพื้นที่ทางทะเลของเขตอำเภอเมือง เพราะการยอมรับระบบการแบ่งเขตดังกล่าว ถือเป็นกลวิธีอันแยบยลในการรับรองสิทธิให้กลุ่มนายทุนยึดที่สาธารณะโดยพฤตินัย ถือเป็นการทำผิดกฎหมายหลายฉบับ และยังผิดต่อการครอบครองพื้นที่สาธารณะตามอนุสัญญาแรมซา 3. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องจัดตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจ ในลักษณะกองกำลังผสมของหลายฝ่ายเพื่อเข้าคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อคุ้มครองชาวบ้านในการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านในบริเวณอ่าวบ้านดอนให้อยู่ในความปลอดภัย อีกทั้งเพื่อป้องกันการทำประมงที่ผิดกฎหมายอื่นๆ ด้วย 4.จังหวัดสุราษฎร์ธานีต้องมีการตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการบางหน่วยงานที่เอื้อประโยชน์และมีส่วนได้เสียในการครอบครองพื้นที่สาธารณะในอ่าวบ้านดอนทั้งหมดอย่างโปร่งใส และตรงไปตรงมา กป.อพช.ใต้ ยืนยันว่า "อ่าวบ้านดอน" คือทรัพยากรส่วนรวมของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นของประชาชนทั้งประเทศ จึงขอเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแสดงความกล้าหาญดำเนินการตรวจยึดพื้นที่สาธารณะอ่าวบ้านดอนคืนกลับให้ประชาชน ซึ่งเราจะติดตามการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกับเครือข่ายประมงชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างใกล้ชิด และจะร่วมกันเคลื่อนไหวเพื่อให้ข้อเรียกร้องเหล่านี้บรรลุเป้าหมายต่อไปอย่างถึงที่สุด https://mgronline.com/south/detail/9630000054909
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
ประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศห้ามจับปลาน้ำจืดในระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่หรือวางไข่ เริ่ม 1 มิถุนายน ? 31 สิงหาคม 2563 นายนิพนธ์ อุปการัตน์ ประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า กรมประมง โดยสำนักงานประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนและกำหนดเครื่องมือ วิธีการทำประมง และเงื่อนไขในการทำประมง พ.ศ.2563 โดยขอให้งดจับสัตว์น้ำในระยะเวลาฤดูวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อนในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ตามประกาศกรมประมง เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์พันธุ์ปลาน้ำจืด โดยยกเว้นทำการประมงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือรวบรวมลูกสัตว์น้ำหรือสัตว์น้ำวัยอ่อนเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยงซึ่งจะต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงก่อน รวมทั้งยกเว้นเครื่องมือประมงบางประเภท สำหรับเครื่องมือยกเว้นให้ทำการประมงได้ตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่ (1) เบ็ดทุกชนิด เว้นแต่เบ็ดราว (2) ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ และชนาง ซึ่งมีขนาดปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร แต่ห้ามประดาหน้าพร้อมกันสามเครื่องมือ (3) ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โปงและโทง หากฝ่าฝืน บทลงโทษตามมาตรา 138 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 56 หรือมาตรา 70 ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 - 50,000 บาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำ ที่ได้จากการทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า สามารถแจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ กรณีพบผู้กระทำผิดดังกล่าวข้างต้นสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดอุตรดิตถ์หมายเลขโทรศัพท์ 0 -5544 - 4223 หรือที่หน่วยบริหารจัดการประมงน้ำจืดเขื่อนสิริกิติ์จังหวัดอุตรดิตถ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 ? 5540 - 2094 และสำนักงานประมงอำเภอหรือที่ว่าการอำเภอ รวมถึงสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ http://thainews.prd.go.th/th/news/de...00526202954617
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ห่วงคนแห่เที่ยว! "อุทยาน" ยังไม่เคาะคลายล็อกปิด-เปิดท่องเที่ยว กรมอุทยานฯ ยังไม่เคาะว่าจะพิจารณาเปิดหรือปิดอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศในช่วงผ่อนปรนระยะ 3 หลังปิด 2 เดือนช่วง COVID-19 พบสัตว์ป่าหายากออกมาโชว์ตัวจำนวนมาก แต่เตรียมแผนรองรับจำกัดจำนวนคนทุกแห่ง ลดการรบกวนสัตว์ป่า วันนี้ (26 พ.ค.2563) ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า หลังจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ประกาศปิดการท่องเที่ยวในอุทยานทุกแห่งทั่วประเทศในช่วงการระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานว่าหน่วยงานอาจจะมีการคลายล็อกกิจการ กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวในระยะที่ 3 ในช่วงต้นเดือนมิ.ย.นี้ ในส่วนของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเขตอุทยานแห่งชาติ ทั้งทางทะเล และภูเขา ซึ่งพบว่าหลังจากปิดท่องเที่ยว 2 เดือนไม่มีคนเข้าไปท่องเที่ยว ทำให้มีสัตว์ป่าออกมาปรากฎตัวหลากหลายมาก ซึ่งเรื่องนี้ยอมรับว่าการตัดสินใจจะปิดอุทยานฯต่อ หรือจะเปิดในช่วงคลายล็อก ต้องพิจารณาหลายปัจจัย และเรื่องนี้จะต้องเสนอให้ผู้บริหารเป็นคนตัดสินใจ "กังวลว่าถ้าเปิดแหล่งท่องเที่ยว โดยขาดการรองรับ หลายแห่งเช่น ทะเลอันดามัน อาจะมีคนแห่มาเที่ยวมากจนกระทบ เรื่องนี้ต้องมีมาตรการรองรับ เช่น การจำกัดจำนวนคนเข้าอุทยานแต่ละแห่ง จำกัดจำนวนชั่วโมง ในแต่ละกิจกรรม" ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายธัญญา กล่าวว่า เบื้องต้นอุทยานฯ หลายแห่งเริ่มเตรียมรายละเอียดจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้แล้ว รวมทั้งจำกัดการเข้าจุดทำกิจกรรม เช่น ดำน้ำ กำหนด 1-2 ชั่วโมงต่อคนต่อรอบ ทั้งนี้เดิมจะมีการหารือในคณะทำงานด้านทะเล เพื่อเตรียมรองรับความพร้อมก่อนเปิดท่องเที่ยวในช่วงปลายสัปดาห์นี้ แต่ต้องเลื่อนออกไปก่อน "ถ้าเป็นไปได้ก็อยากเสนอให้ปิดต่อ แต่ความคิดของกรมอุทยาน อาจจะไม่ตรงกับผู้ประกอบการ ต้องจูนให้ตรงก้นก่อน" https://news.thaipbs.or.th/content/292933
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|