#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุก กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 ? 17 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวตอนบนลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 22 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลางตลอดช่วง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 ? 17 มิ.ย. 63 ขอให้ประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 22 มิ.ย. 63 ประชาชนบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ยังคงเฝ้าระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมต่อไปอีก
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
15 รังแล้ว! เกาะสมุยฮือฮาไม่เลิก "แม่เต่าทะเล" ยังขึ้นวางไข่บนชายหาด คาดปีนี้มีลูกเต่ากว่า 800 ตัว สุราษฎร์ธานี - ชาวเกาะสมุยยังฮือฮาไม่เลิก พบแม่เต่าทะลยังคงทยอยขึ้นมาวางไข่บนชายหาดอย่างต่อเนื่อง ปีนี้รวมแล้ว 15 รัง คาดจะมีลูกเต่ากลับทะเลไม่น้อยกว่า 800 ตัว บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และธรรมชาติ จึงทำให้แม่เต่าทะเลต่างพาเหรดขึ้นมาวางไข่อย่างต่อเนื่อง วานนี้ (15 มิ.ย.) เมื่อเวลา 22.00 น. น.ส.เทพสุดา ลอยจิ้ว และพนักงานของบริษัท ท้องหนัน โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่ได้ร่วมกันเฝ้าติดตามการขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่ากระ ที่ชายหาดอ่าวท้องหนัน หมู่ที่ 4 ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พบแม่เต่ากระตัวเดิมที่เคยขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดท้องหนัน ได้คลานขึ้นมาวางไข่เป็นรังที่ 5 โดยใช้เวลาในการวางไข่และฝังกลบหลุมไข่ร่วม 3 ชั่วโมง ก่อนที่จะคลานกลับลงสู่ท้องทะเลไปอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จ.ชุมพร พบแม่เต่ากระตัวนี้ขึ้นมาวางไข่บนชายหาดอ่าวท้องหนันครั้งแรก เมื่อปี 2555 โดยเจ้าหน้าที่ได้ติดไมโครชิป และแถบแม่เหล็กที่มีเลขรหัสประจำตัว 3721 ไว้ที่ขาหน้าด้านซ้ายของแม่เต่า เพื่อเฝ้าติดตามพฤติกรรม ตั้งแต่นั้นมาแม่เต่าตัวนี้ก็ได้กลับมาวางไข่ที่ชายหาดแห่งนี้ทุกๆ 2 ปี ต่อเนื่องมาตลอด ในปีนี้มีแม่เต่ามาวางไข่แล้ว 15 รัง ฟักแล้ว 5 รัง มีลูกเต่าที่คลานกลับทะเลแล้ว 269 ตัว เจ้าหน้าที่เชื่อว่า จำนวนไข่เต่าทะเลที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ที่มีไม่น้อยกว่า 1,000 ฟอง จะฟักออกเป็นลูกเต่ากลับคืนสู่ทะเลได้ไม่น้อยกว่า 700-800 ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณประชากรเต่าทะเล และบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และระบบนิเวศใต้ท้องทะเลสมุยเป็นอย่างดี https://mgronline.com/south/detail/9630000062209
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เร่งรื้อคอกหอยรุก "อ่าวบ้านดอน" คืนอิสรภาพทะเล กองทัพเรือ-จับมือหลายหน่วยงาน เข้าสำรวจพิกัดขนำเฝ้าคอกหอยรุกอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี หลังกรมเจ้าท่า สั่งดำเนินคดีแล้วและขีดเส้นให้รื้อถอนออกภายใน 60 วัน ด้านผู้ประกอบการยังยื้อต่อขอให้กำหนดพื้นที่เหมาะสมเพาะเลี้ยงหอย ส่วนชาวบ้านหนุนรื้อคืนพื้นที่สาธารณะ วันนี้ (16 มิ.ย.2563) ไทยพีบีเอส เกาะติดปัญหาคอกหอยในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานีซึ่งล่าสุดแม้จะมีคำสั่งของ จ.สุราษฎร์ธานี ออกมาให้รื้อถอนขนำเฝ้าคอกหอยอ่าวบ้านดอนใน 60 วัน แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังพยายามต่อสู้ บางคนอ้างถึงเอกสารขออนุญาต ที่ยื่นต่อหน่วยงานรัฐ ซึ่งระบุไว้ว่าให้เพาะเลี้ยงต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ประกอบการเลี้ยงหอย อ.พุนพิน แสดงเอกสารใบรับคำขอใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน ที่เคยยื่นไว้กับสำนักงานประมงอ.พุนพิน เมื่อปี 2559 รวมถึงเอกสารการประกาศของกรมประมง ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอีกหลายฉบับมาแสดงกับทีมข่าวไทยพีบีเอส ขอให้โซนนิ่งพื้นที่เลี้ยงที่เหมาะสมถูกกฎหมาย นายประเสริฐ ชัญจุกรณ์ ผู้ประกอบการเลี้ยงหอย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่าที่ผ่านมาพยายามเข้าสู่กระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมประมงไม่เคยชี้แจงให้ชัดเจนว่าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการเลี้ยงหอยแครง ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และพื้นที่อ่าวบ้านดอน มีผู้ประกอบการเลี้ยงหอยยื่นคำขออนุญาตเพาะเลี้ยงหอยแครงกว่า 1,000 คน "พื้นที่ไหนที่เหมาะกับการเลี้ยงหอยก็ควรให้เลี้ยง แต่พื้นที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ต้องประกาศ แต่ควรทำให้ถูกต้อง ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประมงจังหวัด รวมทั้งศึกษาผลกระทบ" หนุนรื้อคอกหอยคืนอิสรภาพทะเล ขณะที่วันนี้ ชาวประมงพื้นบ้าน ยังมางมหอยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอยต่อระหว่าง อ.พุนพิน และอ.เมืองสุราษฎร์ธานี พร้อมแสดงความเห็นด้วยที่ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ธานี มีคำสั่งให้รื้อถอนคอกหอย และขนำเฝ้าคอกหอยภายใน 60 วัน เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการคืนพื้นที่สาธารณะทางทะเลให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ไม่ตกอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุนและผู้มีอิทธิพล "ภายใน 60 วันถ้ารื้อได้หมดชาวบ้านน่าจะดีใจ เพราะทะเลจะเป็นพื้นที่สาธารณะที่ชาวบ้านออกมาทำมาหากินได้ง่ายขึ้น" ล่าสุดเรือตรวจการณ์ของกองทัพเรือ เข้ามาบริเวณชายฝั่งอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อสนับสนุนภารกิจของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน ซึ่งปฎิบัติงานร่วมกันภายใต้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) ซึ่งยังเข้าตรวจวัดขนาด และพิกัดที่ตั้งของขนำเฝ้าคอกหอย ที่ปลูกสร้างรุกล้ำน่านน้ำ โดยผิดกฎหมายกลางทะเลอ่าวบ้านดอน ก่อนแจ้งความดำเนินคดี เบื้องต้นเตรียมดำเนินคดีขนำเฝ้าคอกหอยผิดกฎหมายในพื้นที่อ.พุนพิน และอ.เมืองสุราษฎร์ธานี รวม 160 หลัง กมธ.เกษตรพิจารณาปัญหาคอกหอย มีรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมาธิการ การเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้รับทราบผลหารือของคณะอนุกรรมาธิการเกษตรฯ กับรองอธิบดีกรมประมง และกรมประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่องแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำประโยชน์คอกหอยแครง ที่บริเวณอ่าวบ้านดอน เบื้องต้น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ประธานคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ระบุว่า จะติดตามการแก้ไขปัญหาของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด แต่ยอมรับว่าต้องรอข้อมูล และข้อเท็จจริงที่ชัดเจนกับทางจังหวัดก่อน โดยเฉพาะได้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาไปถึงระดับไหนแล้ว นายวิวรรธน์ นิลวัชรมณี ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องการจัดการคอกหอยแครงที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังไม่ได้นำเข้าในที่ประชุม คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ของสภาผู้แทนราษฎร แต่ในการประชุมครั้งต่อไปจะพยายามผลักดันนำเรื่องนี้เข้าหารืออีกครั้ง ขณะที่น.ส.อมรรัตน์ ศรีนาค ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี กล่าวว่า การแก้ปัญหาในพื้นที่มีความตื่นตัวกันมาก และไม่เห็นด้วยกับการที่มีนายทุนเข้าไปกว้านซื้อพื้นที่ เพื่อทำสิ่งปลูกสร้างในทะเล และกระทบกับการทำประมงชายฝั่ง รวมถึงสมาชิกของกองทุนหมู่บ้าน ในอำเภอไชยาด้วย "ปัญหาคอกหอยมีนายทุนไปซื้อไปทำ และกระทบกับประมงชายฝั่ง ซึ่งสมาชิกได้รับผลกระทบ อยากให้คนที่มีอำนาจเข้ามาจัดการ แต่ต้องรับฟังทั้งสองฝ่าย " น.ส.อมรรัตน์ เชื่อว่า ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะสามารถแก้ได้โดยผู้มีอำนาจในท้องถิ่น แต่ต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน และต้องรับฟังปัญหาจากทุกชายฝั่ง ที่ทำประมง ทั้งนี้ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ อยากให้มีการจัดการปัญหาให้ได้โดยเร็ว โดยอยากเห็นการแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ๆ ไปสู่ทั้งระบบ แม้จะต้องใช้เวลามากก็ตาม https://news.thaipbs.or.th/content/293674
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวอิศรา
เปลี่ยนวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส: พลิกฟื้นทรัพยากร-แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ข้อเสนอเรื่อง เปลี่ยนวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส: พลิกฟื้นทรัพยากร-แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ จัดทำโดย ประมณฑ์ กาญจนพิมลกุล- ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ ทีดีอาร์ไอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "TDRI Policy Series on Fighting Covid-19" โควิด-19 สร้างทั้งวิกฤตและโอกาสต่อสิ่งแวดล้อม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสังคม แต่สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงลบและ เชิงบวก โดยผลกระทบเชิงลบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะหน้ากากอนามัย ขยะติดเชื้อ รวมถึงขยะพลาสติกจากการให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ในขณะที่ผลกระทบเชิงบวกช่วงที่มีการล็อคดาวน์และจำกัดการเดินทางทั้งของประชาชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว ได้แก่ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล ปะการัง ฯลฯ ได้รับการฟื้นฟู บทความนี้จะให้ความสำคัญกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อทรัพยากรธรรมชาติทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลง การลดลงของปริมาณนักท่องเที่ยวและมาตรการปิดพื้นที่อุทยานเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย โดยพบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยระหว่างช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนลดลงจาก 13.99 ล้านคนในปี 2562 เหลือ 6.69 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 หรือลดลงประมาณ 52.17% (กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) โดยการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ มาตรการจำกัดการเดินทาง ทั้งการเดินทางข้ามประเทศและการเดินทางระหว่างจังหวัด มาตรการปิดแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ สำหรับประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศปิดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในสังกัดของกระทรวงฯ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติกว่า 148 แห่งทั่วประเทศ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 36 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอีก 48 แห่ง โดยวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อลดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่คนจะมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอินเดีย พบสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลหายากบ่อยครั้งขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อพื้นที่อุทยาน ป่า ภูเขา ทะเล หรือเกาะปราศจากนักท่องเที่ยว ธรรมชาติมีโอกาสได้รับการฟื้นฟู ตัวอย่างเช่น การปิดอุทยานแห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกาส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ มีการพบเห็นสัตว์ป่า เช่น หมีดำ กวาง แมวบอบแคต และหมาป่าไคโยตี้ บ่อยครั้งขึ้น สำหรับประเทศอินเดีย พบว่ามีเต่าทะเลสายพันธุ์ Olive Ridley ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ตามบัญชีแดงของ IUCN Red List นับแสนตัวขึ้นมาวางไข่บนหาด Gahirmatha และหาด Rushikulya ซึ่งอยู่ในรัฐโอริศา ในช่วงที่ปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมามีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บริเวณดังกล่าวค่อนข้างน้อย เพราะมีเรือประมง เรือนำเที่ยวและนักท่องเที่ยวเข้าออกบริเวณดังกล่าวอย่างหนาแน่น ซึ่งรบกวนเส้นทางหากินของเต่าทะเลชนิดนี้ ในระยะสั้น ทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งทางบกและทางทะเลของประเทศไทยมีโอกาสฟื้นตัว หลังจากที่มีการปิดอุทยานแห่งชาติและไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมพื้นที่ในเขตอุทยานฯ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่าทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศได้รับการฟื้นตัว เช่น ในอุทยาน ภูซาง จังหวัดพะเยา พบว่าพืชพันธุ์ไม้หายากกลับมาเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว สัตว์ป่าต่างๆ เช่น หมูป่า กระรอกบิน ผีเสื้อชนิดต่างๆ นกนานาชนิดที่ไม่ค่อยปรากฏตัวให้เห็น สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง นอกจากนี้ ทรัพยากรทางทะเลในหลายพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยมีโอกาสฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด อย่างน้อยในระยะสั้น โดยเฉพาะปะการังและหญ้าทะเล สาเหตุหนึ่งที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเหล่านี้ฟื้นตัวคือการปล่อยน้ำเสียจากแหล่งชุมชนและโรงแรมที่พักตลอดแนวชายฝั่งลดลงส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลดีขึ้น ทำให้ปะการังและหญ้าทะเลฟื้นตัวและเติบโตดีขึ้น นอกจากนี้ คุณภาพน้ำทะเลที่ดีขึ้นและการลดการรบกวนจากกิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวลดลง อย่างไรก็ดี ปะการังบางชนิดอาจจะใช้ระยะเวลานานในการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่มีการระงับการท่องเที่ยว ปะการังเหล่านี้ก็จะมีการก่อตัวและงอกใหม่ สำหรับสัตว์ทะเล เช่น เต่ามะเฟือง พะยูน ปลาโลมาอิรวดี และปลาฉลามหูดำ มีคนพบเห็นสัตว์ทะเลเหล่านี้บ่อยครั้งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่มีการปิดอุทยานแห่งชาติทางทะเล 23 แห่ง สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์โควิด-19 การเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติหลังจากที่เริ่มมีมาตรการคลายล็อกดาวน์ หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง ในกรณีของประเทศเวียดนาม หลังจากที่รัฐบาลเวียดนามคลายล็อกข้อจำกัดการเดินทางภายในประเทศ มีชาวเวียดนามจำนวนมากแห่ไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยเฉพาะสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่งดงาม เช่น อ่าวฮาลอง เป็นต้น สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากที่อุทยานแห่งชาติบางแห่งเริ่มเปิดทำการเช่น Everglades National Park ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดาและเปิดทำการในวันที่ 4 พฤษภาคม ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความกังวลว่าการเปิดให้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ เสียงจากกลุ่มนักท่องเที่ยวอาจรบกวนสัตว์ป่า นอกจากนี้ สัตว์ป่าที่เคยออกมาหาอาหารกินบริเวณถนนช่วงที่อุทยานฯ ปิด อาจเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์ของนักท่องเที่ยวชนจนได้รับบาดเจ็บอีกด้วย สำหรับผลกระทบระยะยาว ประเด็นสำคัญที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ ประเด็นเรื่องการส่งเสริมและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของแหล่งท่องเที่ยว (Overtourism) ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ (Habitat Destruction) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) ฯลฯ การนำแนวคิด Green Tourism และ Building Back Better มาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลังเหตุการณ์โควิด-19 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สิ่งสำคัญที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการเพื่อวางแผนระยะยาวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี 4 เรื่อง เรื่องที่หนึ่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรเดินหน้าดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนทั้งประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวมีความรู้ ความตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์ทะเล ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ โดยอาจร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการสอดแทรกประเด็นเหล่านี้ไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการให้ข้อมูลและสร้างความตระหนักให้กับนักท่องเที่ยว สำหรับเรื่องที่สอง การดำเนินมาตรการเพื่อแก้ปัญหา Overtourism ในระยะยาวเช่น การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่สามารถเข้าไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในช่วงเวลาต่างๆ โดยในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการนำแอพพลิเคชันมาใช้ในการแจ้งเตือนเมื่อมีนักท่องเที่ยวหนาแน่นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนแผนเพื่อมาเยือนแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเวลาอื่น หรือมาตรการปิดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อให้ธรรมชาติบริเวณแหล่งท่องเที่ยวได้รับการฟื้นฟู ซึ่งแนวทางนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการดำเนินการในบางพื้นที่อยู่แล้ว แต่ควรมีการพิจารณาต่อยอดหรือขยายผลไปยังแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป สำหรับเรื่องที่สาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีขุมทรัพย์ด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก เนื่องจากแต่ละภูมิภาคของประเทศมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งภูเขา ทะเล ฯลฯ ดังนั้น ประเทศไทยควรพลิกวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนและยกเครื่องกลยุทธ์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยปรับเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวแบบที่เน้นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ (Quality Tourism) เช่น การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและเกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงทรัพยาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เรื่องสุดท้าย ควรมีการส่งเสริมการนำแนวคิด ?Building Back Better? ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้ในการจัดการภัยพิบัติมาใช้ โดยหลักการภายใต้แนวคิดดังกล่าวคือการบริหารจัดการเพื่อให้สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติหลังสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลงดีกว่าช่วงที่เกิดโควิด-19 ทั้งนี้ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศมีความยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับ Shock ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต https://www.isranews.org/article/isr...8-news-31.html
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ชัยชนะด้านสิ่งแวดล้อมโลก ศาลตัดสินให้การปกป้องสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ ................ โดย Greenpeace & KASM ข่าวดีสำหรับชนพื้นเมืองในนิวซีแลนด์ "ชาวกีวี" ซึ่งคัดค้านการทำเหมืองใต้ทะเล (KASM) และกรีนพีซ เมื่อศาลอุทธรณ์นิวซีแลนด์ยืนยันคำตัดสินไม่ต่อใบอนุญาตให้บริษัททรานส์-ทัสมัน รีซอร์เซส (TTR) เพื่อทำเหมืองในทางตอนใต้ของอ่าวทารานากิไบรท์ นับเป็นชัยชนะอีกครั้งสำหรับคนรักมหาสมุทร ศาลอุทธรณ์ยืนยันไม่ให้โครงการเหมืองใต้ทะเล ที่ต้องการจะขุดลอกพื้นที่ก้นทะเลเป็นบริเวณกว่า 66 ตารางกิโลเมตรเพื่อนำทรายทีมีแร่ธาตุเหล็กผสมขึ้นมา ซึ่งทรายเหล่านี้จะถูกนำไปสกัดและแปรรูปเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยศาลมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวไม่ผ่านหลักการทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและข้อสนธิสัญญาไวทังกิ* ทำให้บริษัทจะไม่สามารถดำเนินโครงการได้อีกต่อไปได้ ลูกเรือบนเรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซกางแบนเนอร์ปกป้องมหาสมุทรในประเด็นการทำเหมืองใต้ทะเล ? B?rbara S?nchez Palomero / Greenpeace คำตัดสินในครั้งนี้เป็นเหมือนข้อความที่ประกาศว่า นิวซีแลนด์ไม่อนุญาตให้โครงการเหมืองใต้ทะเลเข้ามาปล้นทรัพยากรออกไปได้อีก ซินดี แบกซ์เตอร์ ประธานชุมชนชาวกีวีต่อต้านการทำเหมืองก้นทะเล ตั้งข้อสังเกตว่า ในอนาคตคงไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจมาลงทุนกับอุตสาหกรรมที่เห็นได้ชัดว่าจะต้องขาดทุน การต่อสู่กันมายาวนานตลอด 3 ปีในชั้นศาล ฝ่ายคัดค้านไม่เคยยอมแพ้หรือถอนตัวออกจากกระบวนการทางกฎหมายเพื่อเน้นย้ำว่าการทำเหมืองใต้ทะเลจะต้องไม่เกิดขึ้น และแม้ว่านี่เป็นการอุทธรณ์ครั้งที่ 3 แล้วแต่กลุ่มทุนก็ยังคงแพ้คดีต่อกลุ่มคนท้องถิ่น ชุมชนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เธอกล่าว นอกจากนี้ซินดีบอกอีกว่า ถึงเวลาที่เราต้องยอมรับแล้วว่า หากยังปล่อยให้มีการทำเหมืองใต้ทะเลต่อไปนั้น จะส่งผลกระทบอย่างใหญหลวงต่อทรัพยากรทางทะเล ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศในมหาสมุทรที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะมหาสมุทรนั้นมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากการทำเหมืองใต้ทะเลนั้นจะเป็นไปในทางลบมากกว่าด้านบวก แมงกะพรุน ไฮโดรโซน เป็นสัตว์ชนิดที่พบได้ในทะเลลึก ภาพนี้ถูกถ่ายได้ในบริเวณทะเลอาร์กติก ? Alexander Semenov เจสสิกา เดสมอนด์ นักรณรงค์เพื่อมหาสมุทรของกรีนพีซ นิวซีแลนด์ กล่าวว่าเวลานี้ไม่ใช่เวลาที่ใครจะแสวงหาผลประโยชน์จากมหาสมุทร โครงการเหมืองใต้ทะเลนี้จะทำให้โลมาเฮคเตอร์ วาฬสีน้ำเงินและนกทะเลตกอยู่ในอันตราย รวมทั้งสร้างความเสี่ยงให้กับปะการังซึ่งเปรียบเสมือนบ้านของสัตว์ทะเลอีกหลากชนิด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เราไม่สามารถยอมรับได้ มหาสมุทรมีความสำคัญต่อมนุษยชาติ ตั้งแต่เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงผู้คนไปจนถึงสร้างความก้าวหน้าในวิทยาศาสตร์และวงการการแพทย์ นี่เป็นช่วงเวลาที่เราจะช่วยกันปกป้องมหาสมุทรจากกิจกรรมที่เป็นภัยทั้งหลาย ฝูงโลมาในนิวซีแลนด์ ? Jason Blair / Greenpeace ในช่วงที่ผ่าน กลุ่มอุตสาหกรรมหลายบริษัทแสดงความสนใจในการลงทุนทำเหมืองใต้ทะเล ซึ่งการตัดสินคดีในวันนี้จะเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆทั่วโลกที่กำลังต่อสู้กับโครงการเหมืองใต้ทะเล หรือโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ที่จะสร้างความเสียหายให้กับมหาสมุทรว่า ความหวังในการปกป้องมหาสมุทรและทรัพยากรยังคงมีอยู่เสมอ *ข้อสนธิสัญญาไวทังกิ เป็นเป็นเอกสารทางการที่ก่อตั้งประเทศนิวซีแลนด์ว่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นระหว่างเผ่า Hap?และ M?oriและตัวแทนของเครือจักรภพ สนธิสัญญานี้ได้รับการตั้งชื่อตาม ? Waitangi? สถานที่ที่มีการลงนามครั้งแรกในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840 เนื้อหาหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้คือ ชาวเมารีจะให้สิทธิพิเศษแก่ชาวอังกฤษในการซื้อที่ดินที่พวกเขาต้องการจะขายและในทางกลับกันชาวเมารีจะได้รับสิทธิและกรรมสิทธิ์ในที่ดินการประมงป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดในนิวซีแลนด์ https://www.greenpeace.org/thailand/...ep-sea-mining/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|