เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย

ในวันที่ 28 ? 29 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 4 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. - 4 ก.ค. 63 ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


รอเธอกลับมา! เจ้าหน้าที่-ชาวบ้านขุดหาไข่เต่าหลังพบรอยขึ้นวางไข่แต่ไร้วี่แววคาด 2-3 วันกลับมาใหม่

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รอเธอกลับมา! เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ และชาวบ้านช่วยกันขุดหาไข่เต่าทะเล หลังร่องรอยแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ที่หาดไม้ขาว สุดท้ายไม่เจอ คาด 2-3 วัน กลับขึ้นมาวางไข่แน่นอน



วันนี้ (28 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่า พบรอยเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ บริเณชายหาดไม้ขาว ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เดินทางไปตรวจสอบบริเวณชายหาด พบมีรอยเต่าทะเลขนาดใหญ่ขึ้นมาบนฝั่งเพื่อวางไข่ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้กั้นบริเวณโดยรอบจุดที่พบรอยเต่าและช่วยกันขุดค้นหากว่าชั่วโมงแต่ไม่พบแต่อย่างใด

นายวินัย จันทอง อายุ54 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 4 ตำบลไม้ขาว ที่มีความชำนาญในเรื่องของการดูรังเต่า กล่าวว่า หลังจากมีชาวบ้านที่มาตกปลาในบริเวณดังกล่าวพบร่องรอยเต่าทะเล จึงได้แจ้งเจ้าหน้าที่อุทยาน ทาง อบต.ไม้ขาว และผู้นำท้องถิ่นให้มาตรวจดู และร่วมกันขุดหาไข่เต่าบริเวณที่พบรอยเต่าขึ้นมาบนหาด ซึ่งตนเชื่อว่าเต่าไม่น่าจะไข่ตรงนั้นเนื่องจากเมื่อแม่เต่าขุดดินบริเวณนั้นแล้วดินได้พังลงมาทำให้แม่เต่าคลานลงกลับทะเลลงไป แต่อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าภายใน 2-3 วันนี้แม่เต่าคงกลับขึ้นมาวางไข่อย่างแน่นอนในบริเวณหาดไม้ขาว

ด้าน นายวรวิทย์ สีสาคูคาม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลไม้ขาว กล่าวว่า ในอดีตหาดไม้ขาวมีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวนหลายรังในแต่ละปี แต่ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก การที่พบว่ามีเต่าขึ้นมาบนหาดไม้ขาวเพื่อวางไข่ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่จะได้ช่วยกันดูแลอนุรักษ์ให้สภาพของชายหาดมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดเพื่อให้เต่าได้ขึ้นมาวางไข่เหมือนอดีตที่ผ่านมา และคาดว่าภายในวัน 2 วันนี้ เต่าตัวดังกล่าวต้องขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดไม้ขาวแน่นอน


https://mgronline.com/south/detail/9630000066388

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


ต้องช่วยเหลือตัวเอง แมงกะพรุนพิษเกลื่อนหาดสมิหลา ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแล

แมงกะพรุนพิษในทะเลกลับมาอาละวาดอีก ชายหาดสมิหลา ชาวบ้านโดนพิษหลายราย ไม่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล



เมื่อเวลา 15:30 น.วันนี้ ที่ 28 มิถุนายน 2563 ที่บริเวณชายหาดสมิหลา สงขลา ใกล้กับนางเงือกทอง เนื่องจากวันนี้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว และลงเล่นน้ำบริเวณชายหาดสมิหลา เป็นจำนวนมาก อีกทั้งนักท่องเที่ยวไม่ทราบว่า บริเวณชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ มีแมงกะพรุนพิษ กลับมาอาละวาดอีกครั้ง เนื่องจากไม่มีป้ายบอกแจ้งเตือน

และในขณะที่ เด็กหญิงศุภรัตน์ เจริญสุข หรือน้องอาย หนูน้อยวัย 7 ขวบ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวพร้อมกับญาติบริเวณชายหาดสมิหลา ลงไปเล่นน้ำบริเวณชายหาดใกล้นางเงือกทอง และในขณะที่ลงว่ายน้ำเล่น บริเวณชายหาด แขนได้ไปก็ถูกแมงกะพรุนพิษ ทำให้ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน วิ่งร้องจ้าขึ้นมาบอกคุณแม่ ว่าไม่รู้โดนอะไร มีอาการเจ็บปวดที่แขนที่ข้อมือเป็นอย่างมาก คุณแม่ก็ทำไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าลูกเป็นอะไร จึงวิ่งพาลูก มาขอความช่วยเหลือจากแม่ค้ารถเข็นที่ขายของอยู่บริเวณริมชายหาด เพื่อขอความช่วยเหลือคุณแม่จูงลูกวิ่งมาขอความช่วยเหลือจากแม่ค้าไม่รู้ว่าลูกโดนอะไรปวดแสบปวดร้อนที่แขนตรงข้อมือ หลายคนช่วยกันเพราะรู้ว่าโดนแมงกะพรุนพิษ

แม่ค้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียง มีความสงสารหนูน้อยวัย 7 ขวบเป็นอย่างมาก ที่ส่งเสียงร้องจ้าอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเจ็บปวดและปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณแขน จึงได้ให้คนไปหาผักบุ้งทะเล บริเวณริมชายหาด และให้คุณแม่ ไปซื้อน้ำส้มสายชูที่ร้านเซเว่นใกล้เคียง เพื่อนำมาราดบริเวณที่โดนแมงกะพรุนพิษ รวมทั้งแม่ค้าก็ขยี้ใบผักบุ้งทะเล แล้วนำมาแปะบริเวณที่หนูน้อยปวดแสบปวดร้อน เพื่อช่วยเหลือบรรเทาอาการปวดของหนูน้อย ที่ยังคงร้องจ้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทุกคนเห็นแล้วต่างพากันสงสารหนูน้อย หลังจากปฐมพยาบาลอยู่ประมาณ 15 นาที ทำให้อาการทุเลาลง หยุดร้องไห้ คุณแม่ยกมือไหว้ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือ เนื่องจากคุณแม่และหนูน้อยเดินทางมาจากกรุงเทพฯไม่รู้จะไปพึ่งใครเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นมา

ในขณะเดียวกัน ที่บริเวณชายหาดสมิหลาสงขลาไม่มีป้ายแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวในเรื่องแมงกะพรุนที่บริเวณชายหาด อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ทราบว่า ขณะนี้มีแมงกะพรุนพิษบริเวณชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ไม่มีเจ้าหน้าที่มาเฝ้าระวังและเตรียมน้ำส้มสายชูไว้คอยดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวเลยแม้แต่หน่วยเดียว เมื่อเกิดเหตุขึ้นมา นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวชายหาดสมิหลาสงขลาไม่รู้จะหันหน้าไปขอความช่วยเหลือจากใครหรือหน่วยงานใด

เตือนประชาชนและนักท่องเที่ยวเลี่ยงลงเล่นน้ำทะเลชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ในระยะนี้เพื่อความปลอดภัยหรือหากถูกพิษให้ใช้น้ำส้มสายชูราดอย่าใช้น้ำจืดราดเพราะยิ่งกระตุ้นพิษ

สำหรับชนิดของแมงกะพรุนพิษดังกล่าว มีลักษณะคล้ายกับแมงกะพรุนหัวขวด ( Blue Bottle Jellyfish ) ส่วนวิธีช่วยเหลือผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ทั่วอย่างน้อย 30 วินาที ห้ามใช้น้ำจืดล้างโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะกระตุ้นกระเปาะพิษให้เพิ่มมากขึ้นและห้ามถู หรือ ขยี้ เพราะจะยิ่งทำให้พิษกระจายเลี่ยงการใช้เทคนิคพันรัดแน่นด้วยผ้ายืดหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที


https://www.komchadluek.net/news/loc...B8%B5%E0%B9%89


*********************************************************************************************************************************************************


แยกกันชัดๆ แมงดาถ้วยกับแมงดาจาน ถ้าเลือกผิดอันตรายถึงชีวิต

ทางเพจ Drama-addict ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ แมงดาถ้วย-แมงดาจาน เลืกผิดชีวิตเปลี่ยน



ทางเพจ Drama-addict ได้ระบุข้อความไว้ว่า เนื่องจากช่วงนี้ คนไทยนิยมซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น รวมถึงซีฟู๊ดด้วย ดังนั้นต้องเตือนประเด็นนี้อีกรอบ เพราะเริ่มมีอีกแล้ว ถ้าดูตามเพจขายอาหารซีฟู๊ดบางที่จะเห็นว่า มีคนเอาแมงดาถ้วยมาขายถูกๆ ตัวละ 35-40 บาท บอกให้เอาไปทำยำไข่แมงดากินกันราคาถูกๆเลยจ้า คนก็สนใจเข้าไปซื้อเอาไปกินกัน

ก็เตือนว่าถ้าหลงเชื่ออีคนขายก็เตรียมตัวเข้า รพ. กันด้วยนะครับ เข้า รพ. เพราะเรื่องนี้กันมาเยอะแล้ว ถึงตายก็มี คือแมงดาถ้วยมันเป็นแมงดาที่มีพิษตลอดทุกฤดูกาล ปกติไม่กินกัน ไอ้ที่กินได้ปลอดภัย อันนั้นแมงดาจาน ส่วนแมงดาถ้วยมันจะมีพิษ tetrodotoxin ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท คนที่กินเข้าไปมักมีอาการจากพิษนี้ภายใน 10-45 นาที (บางเคสอาจนานถึง 3 ชม กว่าจะออกอาการ) เวลาเริ่มมีอาการก็จะชาตามปากตามปลายมือปลายเท้า มึนงง กล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียน ในรายที่หนักๆก็จะถึงขั้นหายใจเองไม่ได้แล้วก็เสียชีวิต ทีนี้มันจะมีคนเถียงว่า เฮ้ย เคยกินแมงดาถ้วยมาแล้วไม่เห็นโดนพิษอะไรเลย มั่วป่าววะ อันนั้นเป็นเพราะว่า แมงดาถ้วยมันไม่ได้มีพิษทุกตัว แต่มันมีพิษประมาณ 30% ถ้าใครกินแมงดาถ้วยมาตลอดแล้วยังไม่โดนพิษ แปลว่าโชคดีแค่นั้นครับ ส่วนไอ้การเอาเส้นเมาออกแล้วเชื่อว่าจะไม่โดนพิษ อันนั้นไม่ช่วยนะ เพราะพิษของแมงดาถ้วยมันอยู่ในไข่มันตั้งแต่แรกละ เอาเส้นเมาออกก็ไม่ช่วยอะไรหรอก เอาเป็นว่าใครอยากลุ้นก็เรื่องของคุณ แต่นี่จะเลือกไม่กินดีกว่า ไปกินไข่แมงดาจาน แพงกว่าหน่อยนึง แต่ปลอดภัยกว่าเยอะ ส่วนใครจะซื้อไข่แมงดามา แบบไม่เห็นตัวแมงดาว่าเป็นแมงดาชนิดไหน เห็นแต่ไข่ คุณก็ระวังๆกันด้วยละกัน




https://www.komchadluek.net/news/reg...B8%B5%E0%B9%89

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


ไม่มีป้ายเตือน! หนูน้อยวัย7ขวบ ลงเล่นน้ำทะเลร้องลั่นแขนไปโดนแมงกะพรุน



เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2563 ที่บริเวณชายหาดสมิหลา สงขลา ใกล้กับนางเงือกทอง เนื่องจากวันนี้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยว และลงเล่นน้ำบริเวณชายหาดสมิหลา เป็นจำนวนมาก อีกทั้งนักท่องเที่ยวไม่ทราบว่า บริเวณชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ มีแมงกะพรุนพิษ กลับมาอาละวาดอีกครั้ง เนื่องจากไม่มีป้ายบอกแจ้งเตือน

และในขณะที่น้องอาย หนูน้อยวัย 7 ขวบ ซึ่งเป็นบุตรสาวของนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวพร้อมกับญาติบริเวณชายหาดสมิหลา ลงไปเล่นน้ำบริเวณชายหาดใกล้นางเงือกทอง และในขณะที่ลงว่ายน้ำเล่น บริเวณชายหาด แขนได้ไปก็ถูกแมงกะพรุนพิษ ทำให้ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อน วิ่งร้องจ้าขึ้นมาบอกคุณแม่ ว่าไม่รู้โดนอะไร มีอาการเจ็บปวดที่แขนที่ข้อมือเป็นอย่างมาก คุณแม่ก็ทำไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าลูกเป็นอะไร จึงวิ่งพาลูก มาขอความช่วยเหลือจากแม่ค้ารถเข็นที่ขายของอยู่บริเวณริมชายหาด เพื่อขอความช่วยเหลือคุณแม่จูงลูกวิ่งมาขอความช่วยเหลือจากแม่ค้าไม่รู้ว่าลูกโดนอะไรปวดแสบปวดร้อนที่แขนตรงข้อมือ หลายคนช่วยกันเพราะรู้ว่าโดนแมงกะพรุนพิษ

แม่ค้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียง มีความสงสารหนูน้อยวัย 7 ขวบเป็นอย่างมาก ที่ส่งเสียงร้องจ้าอยู่ตลอดเวลา ด้วยความเจ็บปวดและปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณแขน จึงได้ให้คนไปหาผักบุ้งทะเล บริเวณริมชายหาด และให้คุณแม่ ไปซื้อน้ำส้มสายชูที่ร้านเซเว่นใกล้เคียง เพื่อนำมาราดบริเวณที่โดนแมงกะพรุนพิษ รวมทั้งแม่ค้าก็ขยี้ใบผักบุ้งทะเล แล้วนำมาแปะบริเวณที่หนูน้อยปวดแสบปวดร้อน เพื่อช่วยเหลือบรรเทาอาการปวดของหนูน้อย ที่ยังคงร้องจ้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทุกคนเห็นแล้วต่างพากันสงสารหนูน้อย หลังจากปฐมพยาบาลอยู่ประมาณ 15 นาที ทำให้อาการทุเลาลง หยุดร้องไห้ คุณแม่ยกมือไหว้ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือ เนื่องจากคุณแม่และหนูน้อยเดินทางมาจากกรุงเทพฯไม่รู้จะไปพึ่งใครเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นมา

ในขณะเดียวกัน ที่บริเวณชายหาดสมิหลาสงขลาไม่มีป้ายแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวในเรื่องแมงกะพรุนที่บริเวณชายหาด อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ทราบว่า ขณะนี้มีแมงกะพรุนพิษบริเวณชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ไม่มีเจ้าหน้าที่มาเฝ้าระวังและเตรียมน้ำส้มสายชูไว้คอยดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวเลยแม้แต่หน่วยเดียว เมื่อเกิดเหตุขึ้นมา นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวชายหาดสมิหลาสงขลาไม่รู้จะหันหน้าไปขอความช่วยเหลือจากใครหรือหน่วยงานใด

เตือนประชาชนและนักท่องเที่ยวเลี่ยงลงเล่นน้ำทะเลชายหาดสมิหลาและชายหาดชลาทัศน์ในระยะนี้เพื่อความปลอดภัยหรือหากถูกพิษให้ใช้น้ำส้มสายชูราดอย่าใช้น้ำจืดราดเพราะยิ่งกระตุ้นพิษ สำหรับชนิดของแมงกะพรุนพิษดังกล่าว มีลักษณะคล้ายกับแมงกะพรุนหัวขวด ( Blue Bottle Jellyfish ) ส่วนวิธีช่วยเหลือผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ทั่วอย่างน้อย 30 วินาที ห้ามใช้น้ำจืดล้างโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะกระตุ้นกระเปาะพิษให้เพิ่มมากขึ้นและห้ามถู หรือ ขยี้ เพราะจะยิ่งทำให้พิษกระจายเลี่ยงการใช้เทคนิคพันรัดแน่นด้วยผ้ายืดหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที


https://www.naewna.com/likesara/502035

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'อ่าวบ้านดอน' ปัญหาการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง .................. โดย รศ.ดร.กรกฎ ทองขะโชค



"อ่าวบ้านดอน" ศูนย์รวมความสมบูรณ์และแหล่งรวมความหลากหลายในระบบนิเวศท้องทะเล แต่ปัจจุบันได้กลายสภาพจากพื้นที่สาธารณะเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล เข้าทำประโยชน์ด้านการประมงมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม

จากที่ผู้ประกอบการหรือผู้ที่อ้างสิทธิในการครอบครองพื้นที่สาธารณะโดยมิชอบด้วยกฎหมายบริเวณอ่าวบ้านดอน มีการปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำกับผู้ที่ครอบครองพื้นที่สาธารณะโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นคอกหอย ขนำ บริเวณอ่าวบ้านดอนมีพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่แหลมซุย อ.ไชยา ถึงแหลมกุกา อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีลักษณะเป็นเวิ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ มีพื้นที่รอบอ่าวรวมประมาณ 477 ตารางกิโลเมตร ลักษณะแนวชายฝั่งมีความยาวประมาณ 120 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอ จ.สุราษฎร์ธานี ได้แก่ อ.เมือง ท่าฉาง พุนพิน อ.ไชยา กาญจนดิษฐ์ และดอนสัก

?อ่าวบ้านดอน? มีลักษณะเป็นท้องกระทะรับน้ำจากคลองน้อยใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์จากตะกอนปากแม่น้ำต่างๆ ที่ไหลลงสู่อ่าวบ้านดอน โดยเฉพาะแม่น้ำตาปี จึงเป็นศูนย์รวมของความสมบูรณ์และแหล่งรวมความหลากหลายในระบบนิเวศท้องทะเล อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำและเป็นที่อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนนานาชนิด ทำให้พื้นที่อ่าวบ้านดอนมีการใช้ประโยชน์หลายประเภท ไม่ว่าการประมง การเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทางตรงและทางอ้อม ลักษณะชายฝั่งทะเลตลอดทั้งอ่าวเป็นบริเวณน้ำตื้น

พื้นที่แห่งนี้ถูกใช้เป็นแปลงเลี้ยงหอยนางรม หอยแครง และหอยแมลงภู่ พื้นที่สาธารณะที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์อาจจะด้วยการจับสัตว์น้ำหรือทำประมงพื้นที่บ้านเพื่อเลี้ยงชีพ

สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรทะเลสาธารณะได้แปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล ที่ให้บุคคลสามารถถือกรรมสิทธิ์พื้นที่สาธารณะได้ ในช่วงต้นมีการจัดสรรพื้นที่ในทะเลให้บางส่วน และจากนโยบายของรัฐบาลดังกล่าวทำให้มีกลุ่มนายทุนกว้านซื้อ หรือซื้อทะเลจากชาวบ้านเพื่อนำมาทำเป็นคอกหอยแครงเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดใหญ่

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยภาครัฐก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้แก่ ปัญหาการบุกรุกเพื่อทำคอกหอยแครงของนายทุน การรุกล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ทะเลสาธารณะส่งผลให้พื้นที่หากินของชาวประมงพื้นที่บ้านมีจำกัด หากินได้เพียงพื้นที่รองเดินเรือ และไม่สามารถรุกล้ำเข้าเขตคอกหอยนายทุนได้ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมโดยการถูกทำลาย

การตักตวงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมากเกินไปจนทรัพยากรลดลงอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู่ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร การบุกรุกผู้มีอิทธิพลเข้ามายึดครอง พื้นที่โดยไม่ได้อนุญาต รวมถึงขัดขวางการรื้อถอนของเจ้าหน้าที่ และเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้มีผลประโยชน์ในพื้นที่อ่าวบ้านดอน

ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมาก อีกทั้งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ในด้านต่างๆ กล่าวคือสามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร หากขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ก็จะก่อให้เกิดปัญหากับมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่าขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่ดีย่อยแสดงให้เห็นถึงความลำบากยากไร้ของประชาชนในท้องถิ่น เนื่องจากประชาชนได้อาศัยทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อประกอบอาชีพ

ทรัพยากรชายฝั่งที่มีอยู่ในชุมชนมีความสำคัญมาก สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในหลายด้าน การจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติที่ดีต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน โดยการมีส่วนรวมในการตัดสินใจ (Decision Making) การดำเนินงาน (Implementation) การรักษาผลประโยชน์ (Benefit) และการประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการที่คนในชุมชนจะเข้ามาร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทรัพยากรที่มีอยู่ท้องถิ่นเกิดความยั่งยืนและสืบทอดให้ลูกหลานต่อไป

อย่างไรก็ดี ภาครัฐในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 กฎหมายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมถึงกิจกรรมทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลชายฝั่ง โดยให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า ?ศรชล.? ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะ มีหน้าที่และอำนาจและรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล นอกจากหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็นกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง แต่ก็ไม่สามารถจัดการความขัดแย้งในบริเวณอ่าวบ้านดอนได้

การบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งทางทะเลในปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่ยังดำเนินการโดยภาครัฐ และยังมีส่วนร่วมน้อยจากภาคส่วนอื่นในสังคม ประกอบกับเครื่องมือและกลไกเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งยังไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง จึงเป็นผลให้ไม่สามารถสนับสนุนให้ภาคส่วนอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสังคมให้มีวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อทรัพยากรร่วม (Common Pool resources) ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์จากทรัพยากรมาเป็นของตนเองและพวกพ้อง

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรบนฐานอย่างยั่งยืน เป็นมิติสำคัญอย่างหนึ่งที่วางรูปแบบและมีการดำเนินงานที่ทำให้สมาชิกในชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญกับมิติการทำงานที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมในการทำงานได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน การรับรู้ ได้นำไปสู่การยกระดับของกิจกรรมที่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู การแก้ไขปัญหา กติกา ข้อกำหนด สู่การเอื้อประโยชน์

การจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งที่เชื่อมโยงเข้ากับความมั่งคงด้านอาหารและความมั่งคงด้านอาชีพของชุมชนชายฝั่ง รวมทั้งสร้างความตระหนัก การป้องกัน และการตั้งรับปรับตัวจากภัยธรรมชาติ การปรับเปลี่ยนกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งที่สะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตยในลักษณะที่เป็นข้อตกลงร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะเฉพาะไปตามทรัพยากรแต่ละประเภท

สิทธิชุมชนยังก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน การตรวจสอบถ่วงดุล การเปลี่ยนแปลงและการเจรจาต่อรองอย่างต่อเนื่องระหว่างสมาชิกชุมชน และระหว่างชุมชนกับอำนาจภายนอก


https://www.bangkokbiznews.com/news/...ernal_referral

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร: งบกำแพงกันคลื่นส่อพิรุธ เมื่อคอรัปชั่นกัดเซาะหาดทราย ............. บทความโดย ณัฐฐา อายุวัฒนชัย, ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

สส.พรรคก้าวไกล ชี้ ผลประโยชน์งบประมาณโครงการกำแพงกันคลื่นกว่า 4,000 ล้านบาท กำลังทำลายชายหาดทั่วประเทศ ย้ำทุกฝ่ายควรร่วมมือกันตรวจสอบ ? คัดค้าน การใช้งบประมาณอย่างไม่โปร่งใส เพื่อสร้างโครงการกำแพงกันคลื่นที่กลับส่งผลกระทบทำลายชายฝั่ง

จากกระแสการคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่ หาดม่วงงาม จ.สงขลา ตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมา จนโครงการต้องชะงักไปชั่วคราว ทำให้ประเด็นโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง กลับมาอยู่ในความสนใจของสังคมอีกครั้ง


พื้นที่ก่อสร้างโครงการกำแพงกันคลื่นบริเวณชายหาดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

หนึ่งในแกนนำคนสำคัญ ในการปกป้องชายหาดจากการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร สส.พรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าวสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ในรายการ กรีนนิวส์ Live สด: ?ตำน้ำพริก ละลายชายฝั่ง: เมื่อกำแพงกันคลื่นระบาด? เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ต่อข้อพิรุธการอนุมัติงบประมาณ และนโยบายก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ของรัฐบาล

เพราะแม้ว่าจะมีข้อถกเถียงถึงผลกระทบร้ายแรงต่อนิเวศชายฝั่ง และความไร้ประสิทธิภาพในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของโครงการราคาแพงเหล่านี้ จากแวดวงวิชาการและนักสิ่งแวดล้อม แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องยังคงทุ่มงบประมาณมหาศาลกว่า 4,000 ล้านบาท เดินหน้าก่อสร้างโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง


ใครเป็น 'ผู้ดำเนินการโครงการ' กำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดม่วงงาม

เจ้าของโครงการหลักๆ คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง สังกัดกระทรวงมหาดไทย และ กรมเจ้าท่า สังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งสองกรมอาจทำโครงการด้วยตนเอง หรือรับคำร้องขอจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เช่น เทศบาล หรือ อบต. ในพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ให้รีบไปสร้างกำแพงเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนประชาชน

แต่จริงๆ แล้วหน่วยงานที่รับภารกิจและเป็นเจ้าภาพหลักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน้าที่ของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งตั้งขึ้นภายใต้ พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558

แต่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไม่เคยตั้งงบประมาณเพื่อทำกำแพงการกัดเซาะชายฝั่งเลย เพราะกรมมีองค์ความรู้ เงื่อนไข และแผนงานระดับชาติรองรับ (ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง) อยู่


สถานการณ์การจัดสรรงบประมาณโครงการกำแพงกันคลื่นขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ที่ผ่านมามีการจัดสรรงบประมาณสร้างโครงการกำแพงกันคลื่นโดย กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2563 แม้ว่ามีงานวิจัยที่ชัดเจนว่ายิ่งสร้างก็ยิ่งพัง ต้องหยุดไว้ก่อนเพื่อจะมาหาข้อสรุป ระดมความคิดเห็น เพราะว่าแต่ละที่แต่ละชายฝั่งมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน อย่างจำนวนน้ำขึ้นต่อวันของชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันก็ไม่เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี ภายหลังมีการยกเว้นระเบียบของ สผ. (สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ว่า โครงการกำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA (รายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ก่อนเริ่มโครงการ ในปี พ.ศ.2556 พบว่า มีโครงการกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นจำนวนมาก มีการจัดสรรงบมาเทใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 งบประมาณสูญสิ้นไปกว่า 4,000 กว่าล้านบาท

สำหรับปีนี้ยังมีการตั้งงบประมาณสร้างโครงการกำแพงกันคลื่น ลักษณะแบบผูกผัน คือทยอยทำ ส่วนงบประมาณที่ตั้งในปีพ.ศ. 2564 ก็เหยียบ 1,000 ล้าน เฉพาะของกรมโยธาฯ โดยที่น่าสังเกตคือมีการตั้งงบประมาณจ้างที่ปรึกษากว่า 142 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทีมงานพรรคก้าวไกลยังตั้งพบว่า งบประมาณเฉลี่ยของโครงการกำแพงกันคลื่น โครงการใหม่ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากเดิมก่อนหน้านี้ มีงบประมาณการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น 1 กิโลเมตรจะมีราคาเฉลี่ยไม่เกิน 100 ล้านบาท แต่ปัจจุบันกิโลเมตรละกว่า 100 ล้านบาท


ทำไมหน่วยงานรัฐยังคงเลือกใช้การสร้างกำแพงกันคลื่นในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

สาเหตุหลักของปัญหาการก่อสร้างโครงการกำแพงกันคลื่น ก็ไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่เห็นได้ชัดก็คืองบประมาณจ้างที่ปรึกษาโครงการอย่างยิบย่อย ยกตัวอย่างที่หาดม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ก็มีการจ้างทำประชาพิจารณ์โครงการ ซึ่งประชาชนจับพิรุธติดว่า มีการจ้างพวกเดียวกันเอง มุมมิบกันทำ เอาคนที่ไม่ใช่นักวิชาการมาลงความเห็น ซึ่งไม่ทางราชการไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะงบประมาณการก่อสร้างโครงการเหล่านี้ เป็นงบประมาณก้อนโต

นอกจากนี้โครงการของหน่วยงานราชการส่วนกลางเหล่านี้ยังไม่มีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไปตรวจสอบโครงการ ทำให้โครงการเหล่านี้สุ่มเสี่ยงต่อการคอรัปชั่นได้ง่าย นี่ถือเป็นการเอางบประมาณละลายลงทะเล เพราะเมื่อสร้างกำแพงกันคลื่นแล้ว จะทำให้พื้นที่ข้างเคียงมีปัญหาการกัดเซาะรุนแรงขึ้น จึงต้องสร้างกำแพงกันคลื่นขยายต่อไปเรื่อยๆ

ถ้าเอางบประมาณก้อนนี้ไปแก้ไขเรื่องถนนพัง ชุมชนบ้านริมชายฝั่งพัง โดยการเวรคืนที่ดิน สร้างบ้านใหม่ สร้างแนวถนนใหม่ให้ออกจากแนวพื้นที่ชายฝั่ง จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและยั่งยืนกว่านี้


กำแพงกันคลื่นคนงานกำลังดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นลงบนพื้นที่ชายหาดชะอำ / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ปรัชญ์ รุจิวนารมย์


โครงสร้างกำแพงฯ ทั้งเสียงบประมาณและทำลายสิ่งแวดล้อม เราในฐานะประชาชนจะสามารถติดตามตรวจสอบและคัดค้านได้อย่างไรบ้าง

เราสามารถแสดงออกด้วยพลังประชาชน ชุมชนท้องถิ่นสามารถแสดงพลังให้เห็นว่าชายหาดเป็นสิ่งสำคัญ ตัวแทนท้องถิ่นต้องมีความรู้ครบถ้วนเพียงพอ สามารถใช้ช่องทางสภาผู้แทนราษฎร เพราะบางทีช่องทางนักวิชาการและประชาชนอาจไม่มีน้ำหนักไร้เสียงสะท้อน ผมเองที่มีโอกาส สามารถเอาไปสะท้อนและอภิปรายในสภาฯ ได้

ถ้าเรามีองค์ความรู้จริง ๆ การแก้ไขปัญหาการกัดเสาะชายฝั่งจะไม่ยากและไม่เปลืองงบประมาณ ต้องอาศัยหลายองค์ความรู้ ทั้งจากต่างประเทศที่เขาไม่เน้นโครงสร้างแข็งแบบเรา และจากนักวิชาการหลายแขนง และจากความรู้ประสบการณ์ชาวบ้าน

ถ้าวันนี้เราใช้งบประมาณลักษณะนี้มันไม่คุ้มค่ามันยิ่งพัง เราคิดเรื่องการย้ายถนน การเวียนคืนที่ดิน และคิดเรื่องการอนุรักษ์ชายทะเล คิดองค์ประกอบ EIA จะต้องกลับมาแทนจะดีกว่าไหม ไม่ใช่ใช้เพียงความมักง่าย เพราะตลอดระยะเวลาการบริหารงานของคุณประยุทธ์ยังไม่เห็นว่าชายหาดไหนที่ทำโครงสร้างแข็งอันไหนจะยังไม่พัง


https://greennews.agency/?p=21303
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


งานวิจัยเผย แม่น้ำโขงเปื้อนไมโครพลาสติกตลอดสาย แทรกซึมห่วงโซ่อาหารถึงมนุษย์ ............. โดย ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เผยผลงานวิจัย พบแม่น้ำโขงเกลื่อนไปด้วยไมโครพลาสติก ปนเปื้อนกว่า 90% ของพื้นที่สำรวจทั้งหมด สอดคล้องกับผลการศึกษาของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตรวจพบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในปลา เสี่ยงเป็นพิษกับระบบนิเวศและสุขภาพชาวลุ่มน้ำโขง ตอกย้ำให้เห็นอีกหนึ่งภัยคุกคามสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำโขง

Kakuko Nagatani-Yoshida ผู้ประสานงานระดับภูมิภาค UNEP ด้านสารเคมี ขยะและคุณภาพอากาศ ศูนย์เอเชีย-แปซิฟิก เผยผลการศึกษาของโครงการ CounterMEASURE ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์สำรวจต้นกำเนิดขยะพลาสติกในแม่น้ำโขง โดยพบว่า จากการเก็บตัวอย่างในพื้นที่สำรวจ 33 จุด ตลอดลำน้ำโขง กว่า 30 จุดสำรวจ ตรวจพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติก


ระบบนิเวศและสายพันธุ์ปลาที่หลากหลายในลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชากรกว่า 60 ล้านคน ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง //ขอบคุณภาพจาก: Pai Deetes

จากผลการศึกษา ทีมนักวิจัยโครงการ CounterMEASURE พบว่า พื้นที่ท้ายน้ำมีปริมาณค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกสูงกว่าจุดอื่นของลุ่มน้ำอย่างเห็นได้ชัด เช่นที่ บริเวณกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกสูงถึง 2.13 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ที่พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนสูงสุดอยู่ที่เมืองเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

สำหรับแม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยก็ตรวจพบการปนเปื้อนไมโครพลาสติกเช่นกัน โดยพบว่า แม่น้ำโขงบริเวณ จ.อุบลราชธานี มีปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อนราว 0.38 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร และที่ จ.เชียงราย 0.23 ชิ้น/ลูกบาศก์เมตร โดยไมโครพลาสติกที่พบนั้นเป็นพลาสติกประเภท PP (Polypropylene) มากที่สุด ซึ่งเป็นพลาสติกประเภทที่ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร แตกต่างกับการสำรวจไมโครพลาสติกในแม่น้ำประเทศญี่ปุ่นซึ่งพบเป็นพลาสติกประเภท PE (Polyethylene) ซึ่งใช้ผลิตขวดน้ำ

อย่างไรก็ดี Kakuko กล่าวว่า เนื่องจากไมโครพลาสติกเป็นมลพิษใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบไม่นาน การศึกษาวิจัยจึงยังจำกัด ทำให้ปัจจุบันยังไม่มีค่ามาตรฐานปัจจุบันว่าค่ามาตรฐานที่เหมาะสมในสภาพแวดล้อมควรมีค่าเท่าใด

"สาเหตุที่ขยะพลาสติกปนเปื้อนลงแหล่งน้ำเป็นเพราะมาตรการจัดการขยะที่ขาดประสิทธิภาพและไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดการทิ้งขยะในที่โล่ง ซึ่งเมื่อมีฝนหรือน้ำท่วม จะเสี่ยงรั่วไหลลงแม่น้ำมูล นอกจากนี้ยังพบแหล่งทิ้งขยะผิดกฎหมายหลายจุด เพราะส่วนปกครองท้องถิ่นจัดหาระบบทิ้งขยะให้ไม่ทั่วถึง เช่น อุบลราชธานีมี 238 ส่วนปกครอง มีเพียง 95 แห่งที่เท่านั้น" เธอกล่าว

"ผลสำรวจพิสูจน์ให้เห็นว่าปัญหาขยะพลาสติกเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจงแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหามาตรการรับมือต่างกัน เราแนะนำให้ใช้มาตรการแบนการใช้พลาสติกที่ครอบคลุมทั้งประเทศ และส่งเสริมวิธีแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดเสี่ยงขยะรั่วไหลลงแหล่งน้ำ"

รายงานการศึกษาโดยทีมนักวิจัยจาก Helmholtz Center for Environmental Research ประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ.2561 เผยว่า แม่น้ำโขงเป็น 1 ในแม่น้ำ 10 สายที่ปล่อยขยะพลาสติก และไมโครพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก โดยประมาณการณ์ว่าในแต่ละปีจะมีขยะพลาสติกที่ไม่ได้ถูกจัดการอย่างเหมาะสมไหลลงแม่น้ำโขงสู่ทะเลกว่า 33,431 ตัน

ในขณะที่ รายงานการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปลาน้ำจืดในแม่น้ำชี โดย ภัททิรา เกษมศิริ และ วิภาวี ไทเมืองพล ซึ่งเพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of GEOMATE เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เผยว่า มลพิษไมโครพลาสติกในลุ่มแม่น้ำโขงได้แทรกซึมปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหาร เรียบร้อยแล้ว

ผศ.ดร.ภัททิรา เกษมศิริ นักวิจัยจาก คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในนักวิจัยเจ้าของงานศึกษาดังกล่าว กล่าวว่า จากการเก็บตัวอย่างปลาน้ำจืดที่จับจากแม่น้ำชี ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง และถูกนำมาขายในตลาดท้องถิ่น 6 แห่งใน จ.มหาสารคาม จำนวนทั้งหมด 107 ตัวอย่าง พบว่า มีปลาทั้งหมด 78 ตัวอย่าง หรือ 72.9% ของตัวอย่างทั้งหมดที่สุ่มตรวจ มีเศษไมโครพลาสติกในกะเพาะอาหารราว 1 ? 2 ชิ้น / ตัว

จากการตรวจสอบเศษไมโครพลาสติกที่พบในปลา ผศ.ดร.ภัททิรา เผยว่า กว่า 87% ของชิ้นส่วนไมโครพลาสติกเหล่านี้ เป็นพลาสติกจำพวกเยื่อไฟเบอร์ และ 57% มีลักษณะเป็นสีฟ้า ซึ่งชี้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้มาจากเศษซากอวนแห เครื่องมือประมงสมัยใหม่ที่ทำมาจากพลาสติกไฟเบอร์สีฟ้า จากการประมงและเพาะเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ

ในขณะที่การวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างปลาที่ตรวจพบไมโครพลาสติก ไม่พบแนวโน้มในระหว่างสายพันธุ์ว่าจะมีการที่สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งบริโภคพลาสติกมากกว่าสายพันธุ์อื่น ซึ่งตีความได้ว่าปลาในแม่น้ำโขงอาจล้วนเสี่ยงต่อการคุกคามจากพลาสติก และเป็นที่ชัดเจนว่าสุดท้ายไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะถ่ายทอดตามห่วงโซ๋อาหารมาถึงมนุษย์ในที่สุด


ระบบนิเวศและสายพันธุ์ปลาที่หลากหลายในลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชากรกว่า 60 ล้านคน ใน 4 ประเทศลุ่มน้ำโขง //ขอบคุณภาพจาก: International Rivers

"อ่าวไทย และอ่างเก็บน้ำในประเทศจีน ปริมาณการปนเปื้อนไมโครพลาสติกที่พบในปลาจากแม่น้ำชีถือได้ว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อยกว่า อีกทั้งขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารต่อมนุษย์อย่างชัดเจน แต่การค้นพบครั้งนี้ก็ชี้ชัดว่าระบบนิเวศแม่น้ำชีมีการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระดับปานกลาง" เธอกล่าว

"ยิ่งไปกว่านั้น เศษไมโครพลาสติกเหล่านี้ประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลายชนิดเช่น สไตรีน, สารโลหะหนัก, Polychlorinated Biphenyls (PCBs), รวมไปถึง polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อปลาและระบบนิเวศแม่น้ำได้"

ผศ.ดร.ภัททิรา กล่าวสรุปว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้ย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกๆ ภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ โดยการลดใช้พลาสติก หันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการขยะ เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกปล่อยทิ้งลงสู่แม่น้ำโขง


https://greennews.agency/?p=21308

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 29-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


นักวิทยาศาสตร์พบไมโครพลาสติกสะสมอยู่ในผักและผลไม้


Image copyright GETTY IMAGES

กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน หลังจากผลการศึกษาจากอิตาลีพบว่ามีพลาสติกขนาดจิ๋วที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก สะสมอยู่ในผักและผลไม้ที่เรานิยมบริโภคกัน

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาตาเนีย ในแคว้นซิซิลี ตีพิมพ์ผลการศึกษาชิ้นนี้ในวารสาร Environmental Research โดยระบุว่า พบไมโครพลาสติกอยู่ในผักผลไม้ต่าง ๆ เช่น ผักรับประทานใบ ประเภทผักกาดหอม รวมทั้ง บรอกโคลี มันฝรั่ง และลูกแพร์

แต่พืชที่พบอนุภาคพลาสติกสะสมอยู่ในระดับสูงที่สุดได้แก่ แอปเปิล และแครอท

ทีมนักวิจัยเชื่อว่านี่เกิดจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "หยาดน้ำฟ้า" (precipitation) ซึ่งหมายถึงหยดน้ำ และน้ำแข็ง ที่เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกกลับมาสู่พื้นโลกในรูปของ น้ำฝน ลูกเห็บ และหิมะ เป็นต้น

พวกเขาชี้ว่า ไมโครพลาสติกที่อยู่ในมหาสมุทรได้เกิดกระบวนการดังกล่าว แล้วไปจับตัวอยู่ในเมฆ จากนั้นได้ตกกลับสู่พื้นโลกโดยปนเปื้อนอยู่ในน้ำฝน แล้วพืชได้ดูดซับเอาไมโครพลาสติกเข้าไปทางราก

ทีมนักวิจัยพบว่า ผลไม้มีระดับไมโครพลาสติกสะสมอยู่มากกว่าผัก เนื่องจากเป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีรากใหญ่ที่หยั่งลงไปในดินได้ลึกกว่าผัก


ไมโครพลาสติกที่พบอยู่ในมหาสมุทร Image copyright GETTY IMAGES

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นของทีมนักวิทยาศาสตร์ในจีนและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability โดยพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า รากของผักกาดและข้าวสาลีสามารถดูดซับไมโครพลาสติกได้ แล้วส่งอนุภาคพลาสติกไปยังส่วนที่กินได้ซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยระบุว่า ระดับของไมโครพลาสติกที่พบสะสมอยู่ในผักและผลไม้นั้น ยังมีปริมาณน้อยกว่าไมโครพลาสติกที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกเสียอีก



ไมโครพลาสติกคืออะไร

ไมโครพลาสติก เป็นอนุภาคขนาดจิ๋วของพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 5 มิลลิเมตร

ไมโครพลาสติก เกิดจากพลาสติกชิ้นใหญ่กว่าที่สลายตัวออกจากกัน เช่น ขวดพลาสติก ถุงและภาชนะพลาสติกที่สลายตัวในดินหรือทะเล แล้วก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

มาเรีย เวสเตอร์บอส ผู้ก่อตั้งกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ชื่อ Plastic Soup Foundation กล่าวว่า "เราทราบกันมาหลายปีแล้วเรื่องการพบพลาสติกในสัตว์น้ำเปลือกแข็งและปลา แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ได้ทราบว่าพลาสติกเข้าไปสะสมอยู่ในผัก"

"ถ้ามันเข้าไปสะสมอยู่ในพืชผักต่าง ๆ ได้ ก็เท่ากับว่ามันจะเข้าสู่สิ่งมีชีวิตทุกอย่างที่กินพืช ซึ่งหมายถึงเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ"

"สิ่งที่เราต้องค้นหาคือมันจะส่งผลต่อพวกเราอย่างไร" เวสเตอร์บอส กล่าว

ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การบริโภคไมโครพลาสติกเข้าไปจะส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพของคนเรา แต่หลายฝ่ายชี้ว่าข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นเรื่องที่ "น่ากังวล"


https://www.bbc.com/thai/features-53203856


*********************************************************************************************************************************************************


ประชากรกว่าครึ่งของโลกอยู่ในพื้นที่มีมลพิษทางอากาศรุนแรงขึ้นทุกขณะ



ผลการศึกษาล่าสุดซึ่งจัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) และสถาบันวิจัยบางแห่งของสหราชอาณาจักร เผยว่าปัจจุบันประชากรกว่าครึ่งของโลกอาศัยอยู่ในบริเวณที่มลพิษทางอากาศทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้คนในเมืองใหญ่หรือในชนบทก็ตาม

รายงานวิจัยดังกล่าวซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศทั่วโลกระหว่างปี 2010-2016 ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Climate and Atmospheric Science โดยระบุว่าประชากรโลกอย่างน้อย 1 คนในทุก 2 คน กำลังอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งคุณภาพอากาศย่ำแย่ลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปริมาณของฝุ่นอนุภาคละเอียดอย่างเช่น PM2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสามารถหยุดยั้งได้

ศาสตราจารย์เกวิน แชดดิก จากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ของสหราชอาณาจักร ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า "ผู้คนในยุโรปและอเมริกาเหนือเผชิญกับมลพิษทางอากาศน้อยที่สุด เนื่องจากนโยบายสิ่งแวดล้อมในระยะยาวของรัฐกำลังให้ผลดี แต่ผู้คนในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศระดับสูงสุดของโลกในขณะนี้ โดยบางประเทศมีปริมาณฝุ่นพิษหนาแน่นกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 5 เท่า"


Image copyrightAFP/GETTY IMAGES

ศ. แชดดิกยังย้ำว่า ปัญหามลพิษทางอากาศทวีความรุนแรงขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยไม่เลือกว่าจะเป็นพื้นที่ในเมืองใหญ่หรือในชนบท เช่นในพื้นที่ห่างไกลความเจริญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความหนาแน่นของฝุ่นอนุภาคละเอียดเพิ่มขึ้นถึง 11% ตลอดช่วง 7 ปีที่ได้ทำการศึกษา

"มลพิษทางอากาศสามารถกระจายตัวไปได้ไกลกว่าที่เคยคาดกันไว้ ทั้งก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสุขภาพได้แม้ในพื้นที่ชนบท ดังนั้นความพยายามแก้ไขปัญหานี้จะต้องครอบคลุมทุกพื้นที่ในภาพรวม โดยไม่มุ่งเน้นไปแต่ที่เมืองใหญ่เท่านั้น" ศ. แชดดิกกล่าว

นอกจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์แล้ว ทีมผู้วิจัยยังพบว่าการกระจายของฝุ่นละอองเนื่องจากพายุทรายก็ทวีความรุนแรงขึ้นด้วย ดังเช่นที่พบในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ทำให้คุณภาพอากาศในหลายพื้นที่ของโลกย่ำแย่ลงอย่างมาก โดยปรากฏการณ์นี้เป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก


https://www.bbc.com/thai/features-53205941

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:32


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger