#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 24 กรกฏาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และอ่าวไทย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 23 - 24 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 25 - 29 ก.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
พบไมโครพลาสติกจำนวนมากในท้องฉลาม 4 สายพันธุ์นอกชายฝั่งอังกฤษ นักวิจัยพบไมโครพลาสติกและเส้นใยไฟเบอร์จากสิ่งทอจำนวนมาก ปนเปื้อนในกระเพาะและระบบทางเดินอาหารของฉลาม 46 ตัว ที่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ อาศัยอยู่ก้นทะเลนอกชายฝั่งอังกฤษ นักวิจัยมหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ร่วมกับห้องปฏิบัติการวิจัยกรีนพีซ เปิดเผยหลักฐานชิ้นแรกที่ยืนยันได้ว่าไมโครพลาสติกและเส้นใยไฟเบอร์ เข้าไปปนเปื้อนในร่างกายของฉลาม โดยพบไมโครพลาสติกและเส้นใยขนาดจิ๋ว 379 ชิ้นในกระเพาะอาหารและทางเดินอาหารของฉลามร้อยละ 67 จากจำนวน 46 ตัว ที่อาศัยอยู่ก้นทะเลบริเวณนอกชายฝั่งคอร์นิช ในจำนวนนี้แบ่งออกเป็นฉลาม 4 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำลึก พบได้ที่ระดับน้ำเกือบ 900 เมตร หากินอยู่บริเวณก้นทะเล เส้นใยที่พบส่วนใหญ่มีสีดำหรือไม่ก็สีฟ้า โดยร้อยละ 90 เป็นเส้นใยไมโครไฟเบอร์ เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยผ้าผลิตจากโพลิโพรลีน ที่มาจากเสื้อผ้า และหน้ากากอนามัย นอกจากนี้ยังพบไมโครพลาสติกมาจากเส้นใยอวนหาปลา อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดถึงผลกระทบของไมโครพลาสติกที่มีต่อสุขภาพร่างกายฉลาม แต่ในบรรดาฉลามทั้ง 4 สายพันธุ์ที่เป็นปลาน้ำลึกสายพันธุ์ดั้งเดิมของอังกฤษ ประกอบไปด้วย ฉลามแอตแลนติก ฉลามหิน ฉลามกบ และฉลามวัว ซึ่งต่างก็เป็นอาหารของคน หรือไม่ก็ถูกจับมาเป็นเหยื่อตกปลา ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็มีโอกาสที่จะเข้ามาสู่ระบบทางเดินอาหารของคนเรา คริสเตียน พาร์ตัน หัวหน้านักวิจัยเปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้ไมโครพลาสติกจัดได้ว่า พบได้ทั่วไปในระบบนิเวศวิทยาทางทะเล เมื่อลงสู่แหล่งน้ำ ไมโครพลาสติก และไมโครไฟเบอร์ บางส่วนจะลอยอยู่บนผิวน้ำและบางส่วนจะตกลงก้นทะเล และอาจถูกกินไปพร้อมกับอาหารของฉลาม อย่างกุ้ง กั้งและปู และยังติดผ่านเข้าไปในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ทะเลหลายชนิด แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยศึกษาเกี่ยวกับไมโครพลาสติกในฉลามมาก่อน ซึ่งนี่นับเป็นครั้งแรก. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1895708
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ตะลึงวาฬยักษ์ ลำตัวยาว 23 เมตร เกยตื้นตายใกล้ชายหาดอินโดนีเซีย ตะลึงวาฬยักษ์ - วันที่ 23 ก.ค. เอเอฟพี รายงานว่า วาฬยักษ์ ขนาดลำตัว 23 เมตร เกยตื้นใกล้ชายหาดเมืองกูปัง บนเกาะติมอร์ ทางใต้สุดของอินโดนีเซีย ท่ามกลางชาวบ้านที่ต่างมุงดูด้วยความสงสัย หลังมีผู้พบครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 21 ก.ค. อย่างไรก็ตาม ซากวาฬถูกคลื่นซัดกลับทะเลวันพุธที่ 22 ก.ค. ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องออกนำกลับเข้าฝั่งในสภาพขึ้นอืดเพื่อตรวจสอบการตาย ลิเดีย เทซา ซาปูทรา เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ท้องถิ่น ระบุอาจเป็นวาฬสีน้ำเงิน และเหมือนตายมาจากที่อื่นสักพักแล้ว วาฬสีน้ำเงินเป็นวาฬขนาดใหญ่สุดเท่าที่มีด้วยน้ำหนักมากถึง 200 ตัน เฉพาะลิ้นอย่างเดียวมีน้ำหนักพอกับช้าง 1 ตัว และลำตัวยาวถึง 32 เมตร อายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 80-90 ปี ก่อนหน้านี้ ใกล้เมืองกูปัง วาฬนำร่อง 7 ตัว เกยตื้น เมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว ส่วนปี 2561 วาฬสเปิร์มเกยตื้นตายที่อินโดนีเซียพร้อมแก้วและถุงพลาสติกมากกว่าร้อยชิ้นในกระเพาะ เพิ่มความกังวลต่อปัญหาขยะทะเลของอินโดนีเซีย ทั้งนี้ น้ำทวนกระแสนอกชายหาดสร้างอันตราย ทำให้เหล่าวาฬติดค้างระหว่างแนวประการังใกล้ชายหาด https://www.khaosod.co.th/around-the...s/news_4566103
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
ไอ้ต้าวตัวน้อยลืมตาดูโลก! ชาวเกาะสมุยลุ้นกลางดึกเอาใจช่วย 'ลูกเต่าตนุ' ฟักเป็นตัว เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 นายวีรพล วัชรสินธุ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งงาม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าบริเวณหน้าร้านไอ บีช บาร์ ที่ตั้งอยู่ชายหาดแหลมสอ ซึ่งเป็นชายหาดที่แม่เต่าตนุขึ้นมาวางไข่บริเวณดังกล่าวเมื่อสองเดือนที่ผ่านมาได้ฝักออกเป็นตัวจำนวนหนึ่งตัว จากนั้นสัญชาตญาณของเต่าเมื่อขึ้นจากหลุมทรายแล้วได้รีบวิ่งลงสู่ทะเลทันที สร้างความประทับใจให้กับชาวบ้าน และผู้ที่เฝ้าสังเกตบริเวณหลุมที่แม่เต่าได้วางไข่ไว้ สำหรับลูกเต่าที่ฝักเป็นตัวแล้วจำนวนหนึ่งตัวเป็นหนึ่งในจำนวนไข่เต่าทั้งหมดกว่า 60 ฟอง สำหรับ หลุมที่แม่เต่าตนุขึ้นวางไข่หลุมดังกล่าวชาวบ้านได้นำตระแกรงเหล็กมากั้นเพื่อป้องกันสัตว์ประเภทต่างๆ จะมาขุดขุ้ยไข่เต่าทะเลไปกิน โดยในวันนี้เป็นวันที่ครบกำหนด 2 เดือน ที่ไข่เต่าจะต้องฝักเป็นตัว ซึ่งหลุมนี้เป็นหนึ่งในจำนวนสิบแปดหลุมที่แม่เต่าขึ้นวางไข่บนชายหาดเกาะสมุย นายวีรพล วัชรสินธุ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 กล่าวว่า ตนเองรู้สึกดีใจอย่างมากเมื่อมีชาวบ้านแจ้งว่าไข่เต่าบริเวณดังกล่าวได้ฝักเป็นตัวแล้วจำนวนหนึ่งตัว โดยมีผู้ที่ได้ถ่ายคลิปขณะลูกเต่าตนุกำลังขึ้นมาจากทรายจากนั้นได้รีบวิ่งลงทะเลทันที จึงขอฝากให้ชาวเกาะสมุย และนักท่องเที่ยว ช่วยกันดูแลธรรมชาติและสิ่งล้อมเพื่อให้ธรรมชาติยังคงความงามสวยงามแบบนี้ตลอดไป นางสาวเทพสุดา ลอยจิ้ว ผู้จัดการส่วนงานรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม โรงแรมบันยันทรี สมุย กล่าวว่า ตนเองได้ติดตามความคืบหน้าของเต่าทะเลที่ขึ้นมาวางไข่ตั้งแต่บริเวณชายหาดหน้าโรงแรมซึ่งตนเองได้มีความชื่นชอบอย่างมากที่ธรรมชาติของเกาะสมุยกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง หลังจากที่บริเวณชายหาดหน้าโรงแรมบันยันทรี สมุย ได้มีแม่เต่าตนุขึ้นวางไข่และฝักเป็นตัวก่อนที่จะวิ่งลงทะเล ซึ่งเป็นที่ตื่นตาตื่นใจต่อนักท่องเที่ยวที่เข้าพักรวมถึงพนักงาน ที่ได้เห็นลูกเต่าฝักเป็นตัวโผล่ขึ้นมาเหนือชายหา สำหรับ หลุมที่นี้มีไข่เต่าตนุประมาณหกสิบถึงเจ็ดสิบฟอง แต่มีความแปลกตรงที่หลุมไข่เต่าตนุนี้เพื่อมีการฝักเป็นตัวแล้ว ทรายที่อยู่บริเวณปากหลุมจะต้องยุบกลับเป็นเนินสูงขึ้นจะต้องเฝ้าต่อไปว่าไข่เต่าตนุจำนวนกว่าหกสิบฟองจะฝักเป็นตัวเมื่อไหร่ ถึงแม้วันนี้จะครบกำหนดฝักแล้วก็ตาม การเฝ้ารอคอยไข่เต่าที่เหลือให้ฝักนั้นได้มีสองสาวชาวต่างชาติได้นะเต็นท์มากางบริเวณชายหาดเพื่อเฝ้าดูการฝักเป็นตัวของไข่เต่าตนุในครั้งนี้ เต่าตนุเป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สัตว์ป่าสงวน พ.ศ.2535 มีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีปรับสี่หมืนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับหากฝ่าฝืนดังนี้ เช่นการล่า การครอบครอง และเป็นสัตว์ทะเลที่ห้ามซื้อขาย และ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเต่าตนุเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และมีน้ำหนักมากเมื่อโตเต็มที่ โดยมีความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 1 เมตร น้ำหนักราว 130 กิโลกรัม หัวป้อมสั้น ปากสั้น เกล็ดเรียงต่อกันโดยไม่ซ้อนกัน กระดองหลังโค้งนูนเล็กน้อย บริเวณกลางหลังเป็นแนวนูนเกือบเป็นสัน ท้องแบนราบขาทั้งสี่แบนเป็นใบพาย ขาคู่หลังมีขนาดเล็กกว่าขาคู่หน้ามาก ขาคู่หน้ามีเล็บแหลมเพียงข้างละชิ้น สีของกระดองดูเผิน ๆ มีเพียงสีน้ำตาลแดงเท่านั้น https://www.naewna.com/likesara/507123
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
"แมลงสาบทะเล" สัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดยักษ์ ที่เพิ่งถูกค้นพบในทะเลอินโดนีเซีย บาทีโนมัส รักซาซา (Bathynomus raksasa) เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดยักษ์ 8 สายพันธุ์ ที่ถูกค้นพบแล้วในโลก นักวิทยาศาสตร์ในอินโดนีเซีย ประกาศว่า พบสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า แมลงสาบทะเลยักษ์ สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่นี้จัดอยู่ในตระกูลบาทีโนมัส (Bathynomus) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดใหญ่ มีลำตัวแบนและแข็งคล้ายกับแมงคาเรือง (woodlice) อาศัยอยู่ในน้ำลึก บาทีโนมัส รักซาซา (ซึ่งแปลว่า "ยักษ์" ในภาษาอินโดนีเซีย) ถูกพบที่ช่องแคบซุนดาที่อยู่ระหว่างเกาะชวาและเกาะสุมาตรา บริเวณใกล้เคียง คือ มหาสมุทรอินเดีย ที่ระดับน้ำทะเลลึก 957-1,259 เมตร เมื่อโตเต็มวัย มันมีขนาดเฉลี่ย 33 เซนติเมตร และถือว่า มีขนาด "มหึมา" สัตว์จำพวกบาทีโนมัสสายพันธุ์อื่น ๆ อาจมีขนาดตั้งแต่หัวถึงหางยาว 50 เซนติเมตร บาทีโนมัส รักซาซา (Bathynomus raksasa) มีขนาดจากหัวถึงหางยาวเฉลี่ย 33 เซนติเมตร ที่มาของภาพ,LIPI คอนนี มาร์กาเรทา ซิดาบาล็อก นักวิจัยอาวุโส จากสถาบันวิทยาศาสตร์อินโดนีเซีย (Indonesian Institute of Sciences--LIPI) กล่าวว่า "ขนาดของมันใหญ่มากจริงๆ และมันมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในสัตว์จำพวกบาทีโนมัส" ก่อนหน้านี้ มีสัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดมหึมาที่ถูกค้นพบแล้วเพียง 7 สายพันธุ์ในโลก คณะนักวิจัยได้รายงานในวารสาร ซูคีย์ส (ZooKeys) ว่า นี่ถือเป็นครั้งแรกที่พบสัตว์จำพวกบาทีโนมัสในทะเลลึกของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีการศึกษา จาโย ราห์มาดี รักษาการหัวหน้าฝ่ายสัตววิทยาของ LIPI กล่าวว่า การค้นพบนี้เป็นการบ่งชี้ถึง "ความหลากหลายทางชีวภาพของอินโดนีเซียที่ยังรอการค้นพบ" สัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดมหึมา อาจโตได้ถึงขนาด 50 เซนติเมตร ที่มาของภาพ,LIPI จากข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum--NHM) ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ มีหลายทฤษฎีในการอธิบายถึงสาเหตุที่สัตว์น้ำเปลือกแข็งในทะเลลึกมีขนาดใหญ่ ทฤษฎีหนึ่งบอกว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในระดับน้ำลึกขนาดนั้น จำเป็นต้องสะสมออกซิเจนมากกว่า ดังนั้นจึงมีร่างกายที่ใหญ่กว่า มีขาที่ยาวกว่า อีกปัจจัยหนึ่งคือ ไม่มีสัตว์นักล่ามากนักที่ทะเลลึก ดังนั้นพวกมันจึงเติบโตจนมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้โดยไม่เป็นอันตราย นอกจากนี้ สัตว์จำพวกบาทีโนมัส ยังมีเนื้อน้อยกว่าสัตว์น้ำเปลือกแข็งชนิดอื่น อย่างเช่น ปู ทำให้พวกมันไม่เป็นที่ดึงดูดของสัตว์นักล่า บาทีโนมัส ยังมีหนวดที่ยาวและตาที่ใหญ่ ลักษณะทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้มันเดินทางในความมืดบริเวณถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันได้ดี แม้จะมีรูปร่างแปลกประหลาดแต่พวกมันไม่ได้มีพิษมีภัย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เร่ร่อนอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร หาเศษซากสัตว์กินเป็นอาหาร จากข้อมูลของ NHM การเผาผลาญของพวกมันต่ำอย่างเหลือเชื่อ สัตว์น้ำเปลือกแข็งขนาดยักษ์ตัวหนึ่งที่ถูกเลี้ยงไว้ในญี่ปุ่น มีรายงานว่า มีชีวิตอยู่รอดได้นาน 5 ปี โดยไม่ได้กินอาหารเลย บาทีโนมัส เป็นสัตว์กินซากสัตว์ โดยมันจะหาซากสัตว์ที่จมลงมาใต้ทะเลกินเป็นอาหาร ที่มาของภาพ,LIPI การวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง LIPI, มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หลี่ กง เจียน (Lee Kong Chian Natural History Museum) ของสิงคโปร์ ในช่วงการสำรวจเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ในปี 2018 คณะนักวิจัยได้ค้นพบและเก็บสิ่งมีชีวิตหลายพันชนิดมาจากจุดต่าง ๆ 63 แห่ง และได้พบสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า 10 สายพันธุ์ คณะทำงานบอกว่า ตัวอย่างของบาทีโนมัส ตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัว มีขนาดวัดได้ 36.3 เซนติเมตร และ 29.8 เซนติเมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเก็บตัวอย่างบาทีโนมัสที่ยังไม่โตเต็มวัย 4 ตัวอย่าง มาจากบริเวณช่องแคบซุนและทางใต้ของเกาะชวาด้วย แต่ ซิดาบาล็อก บอกว่า ไม่สามารถระบุสายพันธุ์พวกมันได้ เพราะลักษณะบางอย่างยังไม่พัฒนา https://www.bbc.com/thai/international-53496868
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|