#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรงดออกจากฝั่ง รวมทั้งหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2563 อนึ่ง พายุระดับ 5 (ไต้ฝุ่น ฮากูปิต) บริเวณทางเหนือของเกาะไต้หวัน คาดว่าจะขึ้นฝั่งบริเวณมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ในวันนี้ (4 ส.ค.63) โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้ในระยะต่อไป กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝน ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 - 5 ส.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุซินลากูบริเวณประเทศเมียนมา พาดเข้าสู่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนในวันที่ 6 - 9 ส.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้ในระยะต่อไป ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 4 - 5 ส.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สาหร่ายทะเล ที่รอดจากปลายยุคน้ำแข็ง สาหร่ายทะเลมีบทบาทสำคัญในมหาสมุทรแอตแลนติก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการทำความเข้าใจว่าอะไรส่งผลกระทบต่อการกระจายและการอยู่รอดของสาหร่ายทะเลรวมถึงความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อเร็วๆนี้ นักนิเวศวิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยแฮเรียตวัตต์, มหาวิทยาลัยอัลการ์ฟ ในโปรตุเกส, ศูนย์วิจัยและการสอนวิชาชีววิทยาทางทะเลและสมุทรศาสตร์รอสกอฟ ในฝรั่งเศส ศึกษาพบว่าสาหร่ายทะเลนั้นปรับตัวให้เข้ากับวิกฤติสภาพภูมิอากาศ หลังจากวิเคราะห์องค์ประกอบทางพันธุกรรมของ oarweed หรือสาหร่ายสีน้ำตาลขนาดใหญ่ที่เห็นอยู่ทั่วไปจาก 14 พื้นที่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก พบว่าประชากรสาหร่ายเหล่านี้รอดชีวิตมาตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 16,000 ปีก่อน เรียกว่ายืนหยัดชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เมื่อแผ่นน้ำแข็งเคลื่อนตัวจากชายฝั่งทางตอนเหนือของยุโรปช่วงสิ้นสุดยุคน้ำแข็งสุดท้าย เกิดการกระจายตัวของ oarweed ตามมาและพวกมันก็ปรับสภาพตามละติจูดที่สูงขึ้นของมหาสมุทรแอตแลนติก ทีมเผยว่ามี 3 กลุ่มพันธุกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งถูกพบตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกของแคนาดาและสหรัฐอเมริกา อีกกลุ่มพบในทางตอนกลางและตอนเหนือของยุโรป ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือรอบๆแคว้นบริตตานีในฝรั่งเศส นอกจากนี้ ยังชี้ว่า oarweed ในสกอตแลนด์และไอร์แลนด์มีความสัมพันธ์กับประชากรสาหร่ายในแถบอาร์กติกสูงกว่ากลุ่มที่อยู่รอบแคว้นบริตตานี. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1902011
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
พายุซินลากูพัดขยะเกลื่อนหาดภูเก็ต ภูเก็ต 3 ส.ค.-อิทธิพลจากพายุโซนร้อนซินลากู ส่งผลให้เกิดคลื่นลมแรงในทะเลฝั่งอันดามัน ได้พัดขยะจำนวนมากถูกมากองเต็มชายหาดต่างๆ ใน จ.ภูเก็ต อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เจ้าหน้าที่ต้องเข้าเก็บกวาดเร่งด่วน หลังพายุโซนร้อน ซินลากุ เคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามและลาว ส่งผลให้ทุกภาคมีฝนตกหนักและเกิดคลื่นลมแรงทางทะเลฝั่งอันดามันโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภูเก็ต คลื่นลมแรงในทะเล ได้พัดพา ซัดขยะ ในทะเลขยะมากองบนชายหาดเป็นจำนวนมาก อย่างที่ชายหาดกมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต มีขยะถูกคลื่นชัดขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งในช่วงมรสุมปกติจะมีขยะ หรือที่เรียกว่าขยะมรสุมมักมีไม่มาก แต่ครั้งนี้มีมากจนผิดปกติ ทำให้ชาวบ้านต่างมาดูและเก็บขยะบางชิ้นที่อยู่ในสภาพดี พอจะนำไปขายได้ เช่น ถังพลาสติก ลังพลาสติก ขวดน้ำ ทุ่นอวน เชือก นอกจากนี้ยังมีขอนไม้ ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก และเศษขยะอื่นๆ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อบต.กมลาเร่งพื้นที่เก็บกวาด เช่นเดียวกันกับ ชายหาดป่าตอง ได้มีเศษขยะถูกคลื่นซัดขึ้นมาเช่นกัน ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ข้อมูลสภาพอากาศ ส่วนที่ชายหาดจอมเทียน เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แห่ไปเก็บเปลือกหอยและหอยหลากชนิดที่ถูกคลื่นซัดมายังฝั่ง อย่าง หอยแมลงภู่ หอยตลับ หอยจอบ หลายคนรู้ข่าวจากโซเซียล ก็รีบมาดู พบมีหอยจำนวนมาก เลยเก็บนำไปปรุงอาหารหลากหลายเมนู ทั้ง ลวกจิ้ม ผัดพริก ผัดกระเพรา หอยทอด หรือ แม้แต่เมนูหอยดอง บางคนมาเก็บตั้งแต่เช้าได้หอยไปเป็นถังขนาดใหญ่ เหลือจากกินก็นำไปขาย ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ช่วงนี้คลื่นลมแรง หอยบางส่วนที่อ่อนแออาจหลุดลอยมารวมกัน หรือ อาจมีเหตุการณ์แพแตกหอยหลุด ฯลฯ และ ปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้ไม่เป็นเรื่องปกติในธรรมชาติ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว พร้อมเตือนด้วยว่าการเก็บหอยมากิน ขึ้นอยู่กับการพิจารณา แต่ระวังหอยตายไม่สด อาจมีเชื้อโรคได้ ด้าน เชียงใหม่ หลังฝนตกหนัก ทำให้น้ำป่าไหลหลากตัดขาดถนนสายเชียงใหม่-เชียงราย บริเวณ กม.33 หมู่บ้านแม่หวาน ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด หลายช่วงมาเป็นวันที่ 2 รถทุกชนิดยังไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ทำให้ผู้คนที่ขับรถอยู่ระหว่างทางกว่า 2 ร้อยคนต้องตกค้างอยู่บนถนน เจ้าหน้าที่ต้องใช้เชือกและสายไฟ โยนข้ามกระแสน้ำป่าที่ไหลเชี่ยวหลากลงลำน้ำแม่กวง แล้วใช้ตะขอเหล็กเกี่ยวข้าวกล่องและน้ำดื่ม ข้ามไปยังอีกฟากของถนน ไปส่งให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว กว่า 60คน ที่ตกค้าง พร้อมจัดให้พักที่อุทยานแม่ตะใคร้และโรงเรียนบ้านปางแฟน เพื่อรอการซ่อมทาง แต่บางส่วนที่ทนรอไม่ไหวจอดรถทิ้งไว้และเดินข้ามดอยมา. https://tna.mcot.net/region-488720
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
"โลกร้อน" มหัตภัยร้ายที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ "ภูฏาน" ทั้งที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ มหัตภัยร้ายที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเงียบในดินแดนอันลึกลับและสวยงามของโลก อย่าง ภูฏาน ประเทศที่นโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ อีกด้านหนึ่งกำลังถูกสภาวะโลกร้อนอันเกิดจากหลายประเทศทั่วโลกคุกคามจนส่งผลต่อธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยที่ซึ่งเป็นเหมือนเทพเจ้าและศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวภูฏาน "เรากำลังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนที่ไม่ยุติธรรมที่สุด" คาร์มา ทูพู ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาของประเทศ (NCHM) ระบุ ทั้งที่ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ โดยสภาพการปล่อยคาร์บอนที่เป็นกลาง (carbon-neutral) ยังติดลบ (carbon-negative) อีกด้วย เนื่องจากมีปริมาณป่าไม้ที่ปล่อยออกซิเจนมากกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาปีละ 1.1 ล้านตัน ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญของประเทศกำหนดให้ทุกคน มีบทบาทในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างจริงจัง นโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ ล้วนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตและส่งออกพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ ภายในปี 2020 ภูฏานจะมีส่วนช่วยโลกลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 17 ล้านตันในแต่ละปี ด้าน นาย โลเท เชอร์ริง นายกรัฐมนตรีภูฏาน ย้ำว่า "อุตสาหกรรมจากภายนอกซึ่งส่งผลรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกำลังเข้ามา โดยไม่นึกถึงประเทศเล็ก ๆที่มีการป้องกันอย่างจริงจัง" "ผลกระทบต่อธารน้ำแข็ง ส่งผลต่อทั้งร่างกายและทางจิตวิญญาณของชาวภูฏาน" ชาวภูฏานยกย่องภูเขา ทะเลสาบ ธารน้ำแข้ง ให้เป็นดั่งเทพเจ้า แต่สิ่งที่กำลังเยื้องกายเข้าไปรบกวนดินแดนแห่งนี้ กลับกลายเป็นผลพวงที่มาจากน้ำมือของมนุษย์ทั่วโลกคือ "สภาวะโลกร้อน" https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/130594
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|