#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังอ่อนพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนเพิ่มขึ้น สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนน้อยในระยะนี้ อนึ่ง พายุระดับ 1 (ดีเปรสชัน)บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปทางคาบสมุทรเกาหลีและทะเลญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. ? 2 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 1 (ดีเปรสชัน) คาดว่าจะเคลื่อนตัวไปทางคาบสมุทรเกาหลีและทะเลญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 ส.ค. ? 2 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ในระยะนี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สลด พบซากโลมากว่า 10 ตัว เกยตื้นตายที่เกาะมอริเชียส โลมาเกยตื้นตาย น่าสลด บนเกาะมอริเชียส หลังเรือบรรทุกน้ำมันอับปาง กระทบต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นในทะเลด้วย วันนี้ (27 สิงหาคม 2563) สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า กลุ่มกรีนพีซ เปิดเผยว่า มีโลมาอย่างน้อย 17 ตัว ตายเกยตื้นบริเวณชายฝั่งของเกาะมอริเชียส ในมหาสมุทรอินเดีย โดยแต่ละตัวตายด้วยอาการป่วยหนักจากการโดนคราบน้ำมัน หลังจากที่เรือบรรทุกน้ำมัน "เอ็มวี วาคาชิโอะ" สัญชาติญี่ปุ่น อับปางในบริเวณนี้ ทำคราบน้ำมันกว่า 1,000 ตันรั่วไหลลงทะเลบริเวณมาเฮบวร์ก ลากูน ซึ่งเป็นน่านน้ำเขตสงวน ตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านี้ คราบน้ำมันที่ยังหลงเหลืออยู่ในทะเล ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล แนวปะการัง นกทะเล และป่าโกงกางบริเวณชายฝั่งใกล้เคียง ขณะที่เมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม 2563 นี้ กัปตันเรือและกัปตันผู้ช่วยได้ถูกจับกุมตัวในข้อหากระทำการเป็นอันตรายต่อการเดินเรืออย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดด้านกลุ่มกรีนพีซไม่ได้นิ่งเฉยต่อเหตุสุดสลดที่เกิดขึ้น ทั้งออกมาเรียกร้องให้ทางการประเทศมอริเชียส สอบสวนกรณีดังกล่าวเพิ่มเติมโดยเร็วที่สุด. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1918996
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
พบขบวนการลักลอบจับปลาสวยงามเขตอุทยานหมู่เกาะลันตาส่งขายกรุงเทพฯ กระบี่ - พบขบวนการล่าสัตว์ทะเล แอบวางลอบดักจับปลาสวยงามใต้ทะเล เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ คาดนำไปขายตลาดปลาสวยงามในเขตกรุงเทพฯ วันนี้ (27 ส.ค.) นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่สำรวจการลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย บริเวณเกาะห้า ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำลึกยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ เมื่อวานนี้ (26 ส.ค.) ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ถึงกับตกใจ เมื่อพบลอบหรือไซดักปลาขนาดใหญ่ วางดักจับปลาสวยงามอยู่ใต้ทะเล โดยมีเชือกยาวผูกมัดไว้ ซึ่งภายในมีปลาสวยงามเข้าไปติดกับดักกว่า 100 ตัว มีทั้งปลาโนรี ปลานกแก้ว และปลาสินสมุทร ขณะที่ใกล้กัน พบอวนตาข่ายจับปลาขนาดใหญ่วางอยู่บนแนวปะการัง โดยเจ้าหน้าที่ได้ตัดทำลาย และปล่อยปลาสวยงามที่ติดอยู่ด้านในออกทั้งหมด พร้อมทำพิกัดเครื่องหมายไว้อย่างชัดเจน เพื่อทำการเก็บกู้ขึ้นมาต่อไป เนื่องจากลอบดักจับปลามีขนาดใหญ่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ในทันที นายวีระศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ลอบดักจับปลาสวยงามที่พบคาดว่าเป็นของขบวนการล่าสัตว์น้ำสวยงามนำมาวางไว้ เมื่อปลาเข้าจำนวนมากแล้วจึงมากู้จับไปส่งขายในตลาดปลาสวยงามและมีราคาแพง ถือเป็นการทำกระทำที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 19 มีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากสามารถตรวจยึดเรือได้ ไม่ว่าจะมีการเช่าว่าจ้างมาหรือไม่ก็ตาม จะถูกยึดเรือและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดทั้งหมด แหล่งข่าวรายงานว่า สำหรับปลาสวยงามที่มีการลักลอบจับในพื้นที่ จ.กระบี่ จะมีนายทุนมารับต่อส่งไปขายตลาดปลาสวยงามในพื้นที่ กทม. https://mgronline.com/south/detail/9630000087892 ********************************************************************************************************************************************************* ทช.คุมเข้มกู้เรือราชา 4 ถ้ากระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมดำเนินการตามกฎหมาย ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ทช.คุมเข้มกู้เรือราชา 4 ถ้าพบทำกระทบต่อระบบนิเวศ สร้างความเสียหายต่อปะการัง สัตว์ทะเล หญ้าทะเล มีโทษตามผิดตามกฎหมาย ผู้เกี่ยวข้องต้องรับผิดชอบ เมื่อเวลา 13.00 น. วันนี้ (26 ส.ค.) ที่ห้องประชุมของบริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) ฝั่งดอนสัก ผู้บริหารบริษัทและตัวแทนบริษัทผู้รับเหมากู้เรือราชา 4 ที่จมเมื่อคืนวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิต 5 ศพ และมีขยะอัดก้อน จำนวน 90 ตัน ที่อยู่ในรถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 3 คัน โดยขณะนี้ทางบริษัท ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ จำกัด (มหาชน) ได้ว่าจ้างบริษัท เอ็ม.เอส.เซอร์วิส จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญในการกู้เรือ มาเสนอแผนการกู้เรือราชา 4 ให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาก่อนที่จะทางคณะกรรมการจะนำแผนเสนอต่อนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายวิชัย สมรูป ผู้อำนวยการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นตัวแทนกรมทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ได้รับนโยบายจาก รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ และอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่เฝ้าติดตามการกู้เรือเฟอร์รี่ราชา 4 และการเก็บกู้ขยะ จำนวน 90 ตัน อย่างใกล้ชิด ได้กำหนดแผนเป็นขั้นเป็นตอนที่ประกอบด้วย ประสานกับทางบริษัทราชาเฟอร์รี่และบริษัทผู้รับเหมาขนขยะที่เป็นคู่สัญญากับทางเทศบาลนครเกาะสมุย โดยกำหนดให้มีการเก็บกู้ขยะ เก็บกู้รถ กู้เรือโดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดปัญหาขยะที่อยู่ในถุงบิ๊กแบ็กติดที่อยู่ในรถบรรทุกและติดอยู่ภายในท้องเรือหลุดไปตามกระแสน้ำ จนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในท้องทะเลและชายฝั่ง ส่วนการดำเนินการกู้เรือนั้นจะต้องมีความระมัดระวังไม่ให้ขยะหลุดลอยออกมาจนกระทบต่อระบบนิเวศ จากการประเมินเบื้องต้นในจุดที่เรือล่มนั้นพื้นที่เป็นโคลนปนทรายไม่มีปะการังหรือหญ้าทะเลแต่อย่างใด ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเฝ้าระวังป้องกันที่อาจเกิดปัญหาขณะการกู้เรือก็เป็นไปได้ ด้านสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นสำรวจตรวจวัดคุณภาพน้ำในจุดเกิดเหตุ และจุดใกล้เคียงที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 จุด ก่อนการกู้เรือและขณะกำลังกู้เรือและหลังการกู้เรือ ว่าระบบนิเวศของน้ำทะเลมีการเปลี่ยนไปหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงไปจนส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล ปะการัง หญ้าทะเล และพื้นที่ชายหาด ผู้เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดขอบและเป็นการผิดกฎหมายอีกด้วย แต่ในขณะนี้ยังยืนยันว่า จากวันเกิดเหตุเมื่อคืนวันที่ 1 สิงหาคม จนมาถึงวันนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์ทะเล ซึ่งทาง ทช. และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เฝ้าติดตามและดำเนินการจัดเก็บขยะในพื้นที่เกาะแตนและพื้นที่ใกล้เคียงที่เป็นจุดเฝ้าระวังที่ขยะจะหลุดลอยมาติดค้าง ซึ่งการจัดเก็บขยะที่ผ่านมาพบว่าเป็นขยะเก่าที่ลอยมากับคลื่นลมไม่ใช่ขยะใหม่ที่หลุดลอยมาจากก้อนขยะที่จมอยู่ใต้ทะเลดังกล่าว https://mgronline.com/south/detail/9630000087952 ********************************************************************************************************************************************************* เตรียมรำลึกครบรอบ 30 ปี การจากไปของ "สืบ นาคะเสถียร" บนหนทางเดินและวันเวลาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มูลนิธิสืบฯ จะยังคงสืบทอดเจตนาเดิมของคุณสืบ นาคะเสถียร และร่วมส่งต่อประกายไฟแห่งการอนุรักษ์ให้ลุกโชนสืบไปไม่มีวันสิ้นสุด เนื่องในวันครบรอบ 30 ปี การจากไปของสืบ นาคะเสถียร ในปีนี้ยังคงไว้ซึ่งการจัดกิจกรรมระลึกถึงนักอนุรักษ์ผู้วายชนม์ดั่งเช่นปีที่ผ่านๆ มา เพียงแต่สถานการณ์การระบาดของโควิด ? 19 ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 6 กันยายน 2563 ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมออนไลน์และออฟไลน์ สำหรับกิจกรรมงานรำลึกสืบ นาคะเสถียร ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ในปีนี้ไม่มีกิจกรรมให้บุคคลภายนอกเข้าร่วม เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของทุกคน จึงปรับกิจกรรมเป็นรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เพจมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ทั้งนี้ วันที่ 31 สิงหาคม 2563 งานทำบุญและวางหรีด ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมีมาตรการจำกัดจำนวนคนเข้าร่วม จึงขอประกาศอย่างเป็นทางการว่า "งานรำลึก 30 ปีสืบฯ ห้วยขาแข้งจัดเป็นการภายใน ไม่มีอนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วม" ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมรำลึกสืบฯ ผ่านกิจกรรมออนไลน์ เช่น กิจกรรมวางดอกไม้และจุดเทียนรำลึกสืบ นาคะเสถียร และกิจกรรม LIGHT IT UP ฉายเลเซอร์ข้อความรณรงค์สิ่งแวดล้อม ส่วนนิทรรศการจัดขึ้นในวันที่ 1-9 กันยายน 2563 เวลา 10.00 ? 19.00 น. (ทุกวัน) ณ โถงชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นิทรรศการ "30 ปี สืบในความทรงจำ ผู้จุดไฟในงานอนุรักษ์" เป็นการเล่าเรื่องราวของสืบ นาคะเสถียร จากอดีตที่ผ่านมาถึงการทำงานสืบทอดเจตนาในปัจจุบัน 30 ปี สืบ นาคะเสถียร ผ่านมิติของแสงและเงา เพื่อระลึกถึงการจากไปของนักอนุรักษ์ผู้เป็นตำนาน "แสง-เงา" เป็นคำที่หยิบมาใช้เพื่อบอกความหมายของงานอนุรักษ์ในมุมมองของมูลนิธิสืบฯ "แสง" ตัวแทนของงานอนุรักษ์ นิทรรศการครั้งนี้เราตั้งใจใช้แสงไฟเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ และขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในอีกนัยยะหนึ่ง คือ แสงที่จะส่องต่อไปยังคนรุ่นใหม่ เพื่อที่พวกเขาจะเป็นอีกแรงหนึ่งในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้ยังคงอุดมสมบูรณ์ "เงา" ตัวแทนอุดมการณ์ของสืบ ที่ทางมูลนิธิสืบฯ ได้สานต่อเจตนาแต่หนก่อนสู่การลงมือปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการป่าอนุรักษ์ 20 ล้านไร่ การผลักดันให้ป่าห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก และการเฝ้าระวังโครงการต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000087657
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
โล่งอก! ผลตรวจแมงกะพรุนตลาดสัตหีบไม่ใช่พลาสติก หลังถูกร้องเป็นของปลอม 27 สิงหาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีมีผู้ร้องเรียนและโพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ได้ซื้อแมงกะพรุนจากตลาดเช้าสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และได้นำไปลวกในน้ำร้อน กลายเป็นลักษณะเหมือนพลาสติกหรือคล้ายยาง คาดว่าน่าจะเป็นแมงกะพรุนปลอม โดยในวันที่ 13 ส.ค.63 ที่ผ่านมา อำเภอสัตหีบ ร่วมกับสาธารณสุขอำเภอสัตหีบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสัตหีบ และ เจ้าหน้าที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านจำหน่ายแมงกะพรุน ทุกร้านภายในตลาดเช้าสัตหีบ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อเก็บชิ้นเนื้อแมงกะพรุน ตามร้านต่างๆ ส่งตรวจยัง กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องรอผลตรวจสอบว่าเป็นแมงกะพรุนปลอมจริงหรือไม่ ล่าสุด วันนี้ (27 สิงหาคม) นายกิตติ บุญรัตนเนตร สาธารณสุขอำเภอสัตหีบ เปิดเผยว่า ผลตรวจชิ้นเนื้อแมงกะพรุน ได้ออกมาแล้ว จากสำนักคุณภาพและความปลอดภัย อาหาร (สคอ ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุข โดยผลตรวจออกมาทุกร้าน ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผลตรวจปรากฏ ว่า เป็น DNA จำเพาะของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างไม่ใช้หรือใกล้เคียงกับพลาสติก สรุปคือไม่ใช่พลาสติกหรือยาง อย่างแน่นอน ขอให้ประชาชนและพ่อค้าแม่ค้า ที่มาจับจ่ายซื้อของภายในตลาดเข้าสัตหีบอุ่นใจว่าไม่มีแมงกะพรุนปลอมอย่างที่เป็นข่าวในโลกโซเชียล อย่างแน่นอน ซึ่งประชาชนท่านใดหากมีข้อสงสัยในอาหารหรือวัตถุดิบที่ซื้อมารับประทานหรือนำมาประกอบอาหาร ว่าไม่มีคุณภาพหรือไม่สะอาด สามารถร้องเรียนได้ที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ หรือ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสัตหีบ หรือเบอร์โทร 038-245330 ได้ในวันและเวลาราชการ เราจะได้ส่งทีมงานลงพื้นที่ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจและสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนต่อไป https://www.naewna.com/local/514611 ********************************************************************************************************************************************************* จนท.อุทยานเกาะพีพีดำน้ำกู้ซาก 'อวนหนัก200กิโล' ติดปะการังเสียหาย เมื่อช่วงเช้าวันที่ 27 ส.ค.63 ที่ผ่านมา นายวรพจน์ ล้อมลิ้ม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ นำกำลังชุดนักดำน้ำของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี และฝ่ายศึกษาวิจัยอุทยานแห่งชาติ ร่วมกับนักดำน้ำจิตอาสาเรือโพไซดอนออกแผนปฏิบัติการดูแลป้องกันรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวปะการังและสัตว์น้ำที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ บริเวณรอบเกาะห้า หมู่ที่ 2 บ้านอ่าวนาง ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ ปรากฏว่าพื้นที่ในระยะห่างจากเกาะห้า 800 เมตรในระดับน้ำลึก 10 เมตร บริเวณแนวปะการังและทรัพยากรสัตว์น้ำยังมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีการถูกทำลายเสียหายแต่อย่างใด เมื่อได้สำรวจพื้นที่ห่างออกไปถึง 1,000 เมตร หรือ 1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก ปรากฏว่าพบซากอวน 1 ผืน สภาพเก่าไม่ต่ำกว่า 1 ปี มีน้ำหนักประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เวลาทำการเก็บกู้ 1 ชม. ติดอยู่บนปะการังเนื้อที่ประมาณ 2 เมตร จึงทำให้ปะการังเสียหายเล็กน้อย ปกติอวนส่วนใหญ่จะลอยน้ำ ด้านเจ้าหน้าที่จึงช่วยกันกู้ซากและตัดอวกออกจากปะการังให้น้อยที่สุด ไม่ให้ไปกระทบกับปะการัง เพราะปะการังเริ่มมีการฟื้นตัวกลับคืนมาอีกครั้ง นายวรพจน์ ล้อมลิ้ม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า การออกแผนปฏิบัติการดูแลป้องกันรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรใต้ท้องทะเลครั้งนี้เป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันและป้องปรามในการลักลอบจับทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี ปัจจุบันยังมีชาวประมงที่ตั้งใจลักลอบจับสัตว์น้ำ เนื่องจากพื้นที่ในอุทยานมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์และชาวประมงไม่ได้คำนึงว่าอวนที่ทิ้งลงไปในทะเลจะไปทำลายปะการัง และแหล่งที่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการออกสำรวจพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ให้คงมีสภาพที่สมบูรณ์ไม่มีการถูกทำลาย เป็นการดูแลรักษาและอนุรักษ์ปะการังและสัตว์น้ำ ให้คงอยู่เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมาสัมผัสกับธรรมชาติของทะเลอันดามันน่านน้ำของจังหวัดกระบี่ อย่างยังยืนต่อไป นายวรพจน์ ล้อมลิ้ม กล่าว https://www.naewna.com/likesara/514426
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เย้ยกฎหมาย! แอบวางลอบดักปลาสวยงามใต้ทะเลเกาะลันตา แก๊งล่าปลาสวยงามอาละวาด แอบวางนำลอบดักปลาสวยงาม ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ เจ้าหน้าที่เข้าเก็บกู้พบปลาโนรี ปลานกแก้ว ปลาสินสมุทร เร่งหาตัวผู้กระทำผิด พร้อมเตือนโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปีปรับไม่เกิน 200,000 บาท คาดส่งขาย วันนี้ (27 ส.ค.2563) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ดำน้ำสำรวจการลักลอบทำประมงผิดกฎหมายบริเวณเกาะห้า ตำบล เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ แหล่งดำน้ำลึกที่สำคัญ ขณะที่ดำลงไป พบสายเชือกขนาดใหญ่วางราบไปตามแนวทราย ใกล้กับแนวปะการัง เมื่อตามสายเชือกไปก็พบกับลอบขนาดใหญ่ วางอยู่ภายในมีปลาสวยงามติดอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ปลาโนรี ปลานกแก้ว ปลาสินสมุทร เจ้าหน้าที่จึงได้ใช้มีดตัดอวนของลอบปล่อยสัตว์น้ำทั้งหมดไปตามธรรมชาติ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังได้พบลอบถูกวางไว้อีกหลายจุด จึงได้ปล่อยปลาและทำลายลอบทิ้งก่อนที่จะทำเครื่องหมายพิกัด เพื่อเข้ามาเก็บกู้ออกไปในภายหลัง เนื่องจากเป็นลอบขนาดใหญ่นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ได้เก็บกู้ซากอวนขนาดใหญ่ที่ถูกทิ้งปกคลุมแนวปะการังเป็นวงกว้าง นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา กล่าวว่า ลอบดังกล่าวที่พบนั้นเป็นของขบวนการล่าสัตว์น้ำสวยงาม จะมีการนำมาวางไว้ใกล้กับแนวปะการัง เพื่อล่อปลาเข้าไปก่อนจะมากู้จับสัตว์ไปขายในตลาดค้าสัตว์สวยงาม อุทยานฯ จะเฝ้าติดตามดูขบวนการล่าปลาสวยงามนี้ เพื่อดำเนินคดีต่อไป "อยากฝากผู้ที่จะทำประมงผิดกฎหมายในเขตอุทยาน จะมีความผิดตามพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ มาตรา 19 มีโทษสูงคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากยึดเรือได้ไม่ว่าจะมีการเช่าว่าจ้างมาหรือไม่ ก็จะมีการริบทรัพย์สิน" https://news.thaipbs.or.th/content/295891
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
หน้ากากอนามัย 5,500 ตันไปจบลงที่ไหน ................... โดย เจนนี เยห์ กว่าหกเดือนแล้วที่ COVID-19 ได้สร้างหายนะให้กับโลก และหน้ากากอนามัยก็ได้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดครั้งประวัติกาลนี้ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการใช้หน้ากากอนามัยชนิดใช้แล้วทิ้งก็ได้สร้างผลกระทบที่ไม่มีใครต้องการต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน หน้ากากอนามัยจำนวนมากที่ถูกทิ้งอยู่ตามชายฝั่งของ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีน และไต้หวัน คือหลักฐานของวิกฤตินี้ ในเวลานี้หน้ากากอนามัยได้กลายมาเป็นปรากฏการณ์ทางสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับปรากฏการณ์ทางสังคมโดยไม่ต้องสงสัย หน้ากากอนามัย 5,500 ตันถูกผลิตขึ้นภายใน 3 เดือน จากการประเมินโดย กรีนพีซ ไต้หวัน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่การระบาดมีความรุนแรงสูงสุดนั้น ไต้หวันได้ผลิตและใช้หน้ากากอนามัยมากถึง 1.3 ล้านชิ้นโดยประมาณ มีการประเมินว่าหน้ากากแต่ละอันมีน้ำหนัก 4 กรัม จะเทียบได้กับน้ำหนัก 5,500 ตันของขยะทั่วไปที่ถูกสร้างขึ้นภายในระยะเวลาสามเดือน และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น รถขยะหนึ่งคันสามารถบรรทุกขยะได้เที่ยวละ 5 ตัน ดังนั้นในช่วงเวลาสามเดือนนั้นไต้หวันได้ผลิตหน้ากากมากพอที่เติมรถขยะได้ 1,100 คัน ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยกฎและข้อบังคับที่มีอยู่เกี่ยวกับการทิ้งหน้ากากอนามัย ถือว่าหน้ากากที่ใช้แล้ว "ไม่สามารถรีไซเคิลได้" เพราะอาจมีการปนเปื้อนและอาจนำไปสู่การติดเชื้อทางอ้อมและแพร่เชื่อไวรัสได้หากเข้าสู่ระบบรีไซเคิล หน้ากากอนามัยที่ใช้ในโรงพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ จะได้รับการจัดการโดยบริษัท class-A และหน้ากากติดเชื้อก็จะถูกแยกไปกำจัดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีกลไกควบคุมการกำจัดขยะทางการแพทย์อยู่แล้ว หน้ากากอนามัยจากศูนย์การแพทย์ต่าง ๆ ก็จะถูกจัดการเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหน้ากากอนามัยที่ใช้โดยบุคคลทั่วไปจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็น "ขยะทั่วไป" หรือ "ขยะทางการแพทย์" การที่มีหน้ากากใช้แล้วจำนวนมหาศาลระหว่างการระบาด ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare and Environmental Protection Administration) พยายามสื่อสารและให้ความรู้เรื่องการกำจัดหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีกับสาธารณชนผ่านการแถลงข่าว เว็บไซต์ และแพลตฟอร์มของสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะเดียวกันบทลงโทษผู้ทิ้งขยะไม่ถูกที่ก็เพิ่มขึ้นจาก 1,200 มาเป็น 3,600 ดอลลาร์ไต้หวัน โดยที่โทษปรับสูงสุดอยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนั้นรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้ยกระดับการตรวจสอบ การสื่อสารกับสาธารณชน และเครื่องมือการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้ากากที่ใช้แล้ว ในขณะเดียวกันก็ได้เชิญชวนหน่วยงานและสำนักงานของรัฐจำนวนมากให้จัดเตรียมถังขยะสำหรับการทิ้งหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วสร้างความเสี่ยง 4 ประการที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม 1. หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วสร้างความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประการแรก สารเคมีที่อยู่ในหน้ากากอาจเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากผ้าที่ขึ้นรูปจากเส้นใยโดยตรง (non-woven fabric) และถ่านกัมมันต์ หน้ากากอนามัยยังประกอบด้วยพอลิโพรไพลีน (Polypropylene) ในปริมาณมาก ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้เวลานานในการย่อยสลายและปลดปล่อยสารพิษจำนวนมากระหว่างกระบวนการนี้ เนื่องด้วยหน้ากากทั้งหมดที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะต้องผ่านการทดสอบที่เข้มงวด จึงพอจะคาดการณ์ได้ว่ามันจะไม่ย่อยสลายได้ง่าย ๆ และการกำจัดก็จะสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศของพวกเรา 2. หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอาจกลายเป็นขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ จากข้อมูลของ RE-THINK Taiwan ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ให้ความรู้และจัดกิจกรรมทำความสะอาดชายหาด ได้ระบุว่าพบหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วบนชายหาดเกือบทุกแห่งของไต้หวันตั้งแต่ช่วงแรกของโรคระบาด และเป็นไปได้ว่าหน้ากากส่วนหนึ่งได้อยู่ในทะเลแล้ว Ocean Conservation Administration ได้ระบุว่าจะทำการเก็บและทดสอบหน้ากากเหล่านั้นเพื่อดูว่าโคโรน่าไวรัสสามารถอยู่รอดในน้ำทะเลได้หรือไม่ หากไม่จัดการ สัตว์น้ำอาจเข้าใจผิดว่าหน้ากากเหล่านี้คืออาหาร ยิ่งไปกว่านั้นอนุภาคพลาสติกที่ถูกปลดปล่อยระหว่างการย่อยสลายของหน้ากากจะยังคงอยู่ในน้ำและสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในห่วงโซ่อาหารเพื่อรอวันที่จะกลับมาทำร้ายสุขภาพของมนุษย์ 3. พื้นที่บริเวณแม่น้ำและภูเขาอาจกลายเป็นที่สะสมของขยะ ซึ่งนอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการกำจัดหน้ากากชนิดที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว ยังเป็นหายนะต่อสัตว์ป่าด้วย สวนสาธารณะในฮ่องกงที่ถูกปนเปื้อนด้วยมลพิษจากขยะและหน้ากากจากการระบาดครั้งล่าสุด ? Greenpeace / Andrew Yuen ในแต่ละปีจะมีขยะ 8 ล้านตันจากทั่วโลกไหลมาตามแม่น้ำต่าง ๆ ลงสู่มหาสมุทร จากสถิติของ Environmental Protection Administration (EPA) ขยะและเศษซากต่าง ๆ ราว 20,000 ตันจะถูกเก็บขึ้นมาจากแม่น้ำ ขยะประมาณ 2% มาจากฝีมือมนุษย์ และ 28.8% จาก 2% นั้นคือพลาสติก ซึ่งเกือบทั้งหมดคือขยะทั่วไปที่ถูกทิ้งอย่างเรี่ยราด แม้ว่า EPA จะมีระบบจัดการและเฝ้าระวังที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ขยะลงสู่แม่น้ำ แต่เราเชื่อว่านี่เป็นเรื่องที่ควรจะตั้งคำถามว่าเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการทิ้งหน้ากากอนามัยซึ่งอาจจะเป็นพาหะของไวรัส และถูกทิ้งอย่างไม่เหมาสม นอกจากนี้ ยังเจอหน้ากากถูกทิ้งในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบท เพราะผู้คนก็เดินทางไปยังพื้นที่เหล่านั้นในช่วงที่ไวรัสระบาดซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อระบบนิเวศ 4. ในด้านความเสี่ยงต่อสังคม ปริมาณหน้ากากใช้แล้วที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลอาจนำไปสู่ความต้องการเตาเผาขยะที่มากขึ้น ที่ผ่านมาได้มีตัวอย่างการประท้วงเตาเผาขยะโดยผู้คนในท้องถิ่น หากเราจำเป็นจะต้องสร้างเตาเผาขยะเพิ่มอีก ไม่ว่าจะใช้สำหรับขยะทั่วไป หรือ ขยะทางการแพทย์ แต่สิ่งนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ชุมชนโดยรอบต้องการ เป็นเรื่องยากมากที่จะสืบย้อนกลับไปว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่หลุดรอดเข้ามาในธรรมชาตินั้นมาจากไหน แล้วก็เป็นเรื่องยากพอ ๆ กันสำหรับการบังคับใช้มาตรการป้องกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับผลกระทบในระยะยาวของโรคระบาด ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมหากมีการระบาดของโรคอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กรีนพีซ ไต้หวันเสนอว่าควรจะมีแนวทางและระบบที่ครอบคลุมเพื่อดูแลการใช้และกำจัดหน้ากากอนามัย ซึ่งวิธีนี้เท่านั้นที่จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างความยั่งยืนทางสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มาร่วมกันต่อสู้เพื่อลดขยะพลาสติก ผู้คนทั่วโลกกำลังตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องลดการพึ่งพาผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่ไต้หวัน กรีนพีซได้สร้างการรับรู้เรื่องการลดใช้พลาสติกและเรียกร้องให้รัฐบาลและภาคธุรกิจเข้ามาจัดการกับปัญหาด้วยการผลักดันให้เกิดนโยบายที่เกี่ยวข้อง พวกเราประสบความสำเร็จในการรณรงค์เรื่องการแบนไมโครบีดส์ ผ่านการจัดกิจกรรมและการวิ่งมาราธอนรวมทั้งหมด 47 ครั้งภายใต้ประเด็น "ลดการใช้พลาสติก" และได้จัดตั้ง "Marine Debris Governance Platform" ร่วมกับ EPA และองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อดูแลทิศทาง การดำเนินนโยบายและแผนการลดใช้พลาสติก หน้ากากอนามัยที่ถูกทิ้งอย่างเรี่ยราดบนถนน ? Tracie Williams / Greenpeace อย่างไรก็ตาม การต่อสู้ของพวกเรายังคงไม่สิ้นสุดและโครงการของพวกเราก็ต้องการการสนับสนุนจากคุณ จากภาคธุรกิจสู่สาธารณชน มาร่วมกันให้ความรู้และสร้างความตระหนักเพื่อโลกที่น่าอยู่ และอนาคตที่ปราศจากมลภาวะจากพลาสติก เราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการลดใช้ผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียวทิ้งนับจากวันนี้ https://www.greenpeace.org/thailand/...-masks-end-up/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
จีนเปิดให้ "เช่าเกาะร้าง" หลังพบปัญหาถมดินทำทะเลเทียมทำลายระบบนิเวศหนัก มณฑลเหลียวหนิง ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน มีหมู่เกาะที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่จำนวนหลายร้อยเกาะและกำลังจะเปิดให้เช่า หลังพบว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา การถมพื้นที่สร้างทะเลเทียมทำให้ระบบนิเวศทางทะเลพัง มณฑลเหลียวหนิง มีเมืองเสิ่นหยางเป็นเมืองหลวง อยู่ห่างจากปักกิ่งไปทางตะวันออก 430 ไมล์ ซึ่งมีหมู่เกาะจำนวนมากที่สุดในภาคเหนือของจีน ทั้งหมด 633 เกาะ แต่เกาะที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 44 เกาะ ส่วนที่เหลืออีก 589 เกาะนั้นว่างเปล่า ซึ่งเปิดให้เช่าสำหรับผู้ที่สนใจ โดยบางเกาะอยู่นอกชายฝั่งในทะเลเหลือง และก็ยังมีหลายเกาะที่กระจัดกระจายไปตามแม่น้ำยาลู ซึ่งอยู่ใกล้เกาหลีเหนือ ในจำนวนเกาะที่มีการเปิดให้เช่า บางแห่งมีค่าเช่าสูงถึง 25 ล้านหยวน (ประมาณ 1.13 ร้อยล้านบาท) ต่อเฮกตาร์ หรือประมาณ 6 ไร่ กับ 1 งานต่อปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาในหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเกาะ ขณะที่ราคาค่าเช่าต่ำที่สุดจะอยู่ที่ 16,727 บาทต่อเฮกตาร์ แต่ส่วนใหญ่จะถูกจัดอยู่ในระดับต่ำที่สุดจากทั้งหมดหกลำดับของคุณภาพเกาะที่จัดเรียงตาม "โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม" ยิ่งอันดับสูงเท่าไหร่ราคาก็ยิ่งแพงเท่านั้น แต่ใช้ว่ามีเงินจ่ายค่าเช่าก็เพียงพอแล้ว เพราะเกาะที่เช่าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันสิ่งแวดล้อม คือ ต้องไม่มีการถมที่หรือการพัฒนาที่ดินจนทำให้ราคาให้สูงขึ้นเกิน 20 เท่าของมูลค่าปัจจุบัน จุดนี้จึงทำให้กลายเป็นจึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาที่ดินในอนาคต ซึ่งทางการได้กำหนดแนวทางการพัฒนาที่ดินบนเกาะไว้ 9 ประเภท เช่น การเกษตร การประมง พลังงานหมุนเวียน การพัฒนาเมืองหรืออื่น ๆ โดยมีราคาค่าเช่าที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวได้รับความนิยมมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสข่าวเรื่องการเปิดให้บุคคลทั่วไปเช่าเกาะ ถูกเผยแพร่ออกไปใน Weibo แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีน ทำให้ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้น เจ้าหน้าที่ทางการก็ออกมาเตือนว่า การเซ็นสัญญาเช่าเกาะต้องผ่านการพิจารณาที่เข้มงวด การกำหนดค่าเช่าที่มีความซับซ้อนและใช้เวลายาวนาน เพื่อให้แน่ใจว่า หมู่เกาะเหล่านี้จะถูกนำไปพัฒนาโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการตรวจสอบแผนการพัฒนาพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงเท่านั้น รวมถึงมูลค่าของเกาะจะถูกคำนวณอย่างรอบคอบ โดยการคำนึงถึงระบบนิเวศทางทะเลและสิ่งมีชีวิตที่หายากที่อาศัยอยู่ด้วย https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/132150
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|