เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 12-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน โดยในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 12-15 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 3 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนน้อยลง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากว่า 3 เมตร และบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ย. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในระยะต่อไป


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 12 - 15 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดการเดินเรือในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ไขความลับ "หินนิ้วมือ" จ.พังงา ไม่ธรรมดาเอาเสียเลย

กรมทรัพยากรธรณี เผยความลับ "หินนิ้วมือ" จ.พังงา เป็นแร่ควอตซ์ยุคเพอร์เมียน ถือเป็นอีกหนึ่งความมหัศจรรย์ธรรมชาติสรรค์สร้าง ที่เหมาะต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา

จากกรณีชาวเน็ตแห่แชร์ หินรูปร่างประหลาดบนเกาะคอเขา หมู่ 2 บ้านนอกนา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ที่มีรูปลักษณะคล้ายนิ้วมือคน จนถูกเรียกขานว่า ?หินนิ้วมือ? ล่าสุดทาง กรมทรัพยากรธรณี ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลทางวิชาการของหินดังกล่าว

โดยนายปรัชญา บำรุงสงฆ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี สำนักทรัพยากรธรณี เขต 4 และคณะ ได้ประสานงานกับสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพังงา และหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว

สำหรับผลการของการตรวจสอบพบว่า หินที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายนิ้วมือ มีเล็บติด สีขาว ขนาดกว้างยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร สามารถยืนยันได้ว่า ?หินนิ้วมือ? เป็นกรวดชนิดแร่ควอตซ์ (Quatz) สีขาว สะสมตัวแบบทุติยภูมิในหินตะกอนชนิดหินทรายเนื้อปนกรวด หมวดหินเกาะเฮ กลุ่มหินแก่งกระจาน ยุคเพอร์เมียน

โดยกรวดที่พบในหินทรายประกอบด้วยแร่ควอตซ์ แร่เฟลด์สปาร์ หินทรายแป้ง และหินแกรนิต ซึ่งในพื้นที่โดยรอบสามารถพบกรวดที่มีลักษณะตามธรรมชาติแบบต่าง ๆ ปะปนในเนื้อหินอยู่ทั่วไป

ดังนั้น "หินนิ้วมือ" ดังกล่าว คือ "แร่ควอตซ์สีขาว" ที่มีคุณสมบัติคงทนต่อการกัดกร่อนสูงและเกิดขึ้นเองโดยกระบวนการทางธรรมชาติ

ขณะที่ในส่วนของพื้นที่ที่พบ "หินนิ้วมือ" นั้นมีความเหมาะสมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ทางธรณีวิทยาต่อไป เนื่องจากมีภูมิประเทศที่โดดเด่นและมีลักษณะธรณีวิทยาที่น่าสนใจสำหรับการศึกษา สำรวจ และค้นหาเพิ่มเติมในอนาคต

สำหรับยุคเพอร์เมียน เป็นยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วงประมาณ 295 ? 248 ล้านปี ก่อนที่เปลือกโลกทวีปจะรวมตัวกันเป็นทวีปขนาดใหญ่ หรือมหาทวีปชื่อ "แพนเจีย"(Pangaea)

ยุคนี้ในทะเลมีแนวประการัง และไบโอซัวร์ ส่วนบนบกเกิดการแพร่พันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ที่สำคัญคือในปลายยุคเพอร์เมียนได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ (Mass extinction) ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งบนบก และในทะเลหายไปร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการสิ้นสุดมหายุคพาลีโอโซอิก


https://mgronline.com/travel/detail/9630000093279

รูป
 
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:27


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger