#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (19 ก.ย. 2563) พายุระดับ 3 (โซนร้อน) "โนอึล" ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) "โนอึล" ปกคลุมบริเวณจังหวัดขอนแก่น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่กับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ และระวังอันตรายจากลมแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2563 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 - 20 กันยายน 2563 พายุระดับ 3 (โซนร้อน) "โนอึล" ปกคลุมบริเวณเมืองสาละวัน ประเทศลาวตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ เข้าสู่ประเทศเมียนมา และมีแนวโน้มว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน)ในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 3-5 เมตร และอ่าวไทยคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 5 เมตร หลังจากนั้น ในช่วงวันที่ 21 - 24 กันยายน 2563 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 20 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากลมแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรงดการเดินเรือในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) "โนอึล" (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2563)" ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 19 กันยายน 2563 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (19 ก.ย. 2563) พายุระดับ 3 (โซนร้อน) "โนอึล" ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) "โนอึล"บริเวณจังหวัดขอนแก่น หรือที่ละติจูด 16.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 102.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและสลายตัวในบริเวณจังหวัดสุโขทัยในวันนี้ (19 ก.ย. 2563) ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่กับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ และระวังอันตรายจากลมแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย คาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้ วันที่ 19 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรีสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล วันที่ 20 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนัก ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2563
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
2 ธารน้ำแข็งอันตรายสุดในโลกกำลังแตก เสี่ยงกระทบระดับน้ำทะเล - ปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ทั่วโลก มีความเสี่ยงจะรุนแรงขึ้นเร็วกว่าที่เคยคิดไว้ เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า ธารน้ำแข็งสำคัญในขั้วโลกใต้กำลังแตกเร็วขึ้นกว่าเดิม - ภาพจากดาวเทียมทำให้รู้ว่า ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดของขั้วโลกใต้ กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ ซึ่งอาจก่อให้เกิด วังวนอันตราย ที่ส่งผลให้หิ้งน้ำแข็งพังทลายลงในอนาคต - การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดในทันที แต่จะค่อยๆ สะสมพลัง และสร้างความเสียหายมากขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น วิกฤติที่ค่อยๆ คืบคลานเข้ามา ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ความสูงเฉลี่ยของน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ถึง 1 ซม.ต่อปี แต่มันสะสมมาเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในปี ค.ศ.1900 ราว 13-20 ซม.แล้ว นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะก่อนยุคปี 2000 ระดับน้ำทะเลโลกไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยช่วงปี 1900-1990 ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2-1.7 มม. แต่ในปี 2000 ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 3.2 มม. และ 3.4 มม.ในปี 2016 นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ และระดับน้ำทะเลก็เริ่มสูงขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 ไม่นานหลังจากมนุษย์เริ่มเผาถ่านหิน, ก๊าซธรรชาติ และเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อใช้เป็นพลังงาน สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซตัวนี้ดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์และกักเก็บเอาไว้ ทำให้ชั้นบรรยากาศโลกร้อนขึ้น และเมื่อโลกร้อนขึ้น ก็เกิด 2 ปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อย่างแรกคือ การละลายของน้ำแข็งบนแผ่นดิน อย่างเช่น ธารน้ำแข็ง (glacier) และพืดน้ำแข็ง (ice sheet) ที่เพิ่มน้ำลงในทะเล และอย่างที่ 2 คือ การขยายตัวของน้ำอุ่นกินพื้นที่น้ำเย็นมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มสูง รอยแยกที่หิ้งน้ำแข็ง ลาร์เซน ซี. เมื่อปี 2017 ธารน้ำแข็งอันตรายที่สุดในโลกกำลังแตก อย่างที่ระบุไปข้างต้นว่า การละลายของธารน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ในวันที่ 14 ก.ย. 2020 ผ่านมา ก็มีข่าวที่ไม่สู้ดีนักสำหรับสถานการณ์น้ำแข็งขั้วโลก เมื่อธารน้ำแข็ง "ไพน์ ไอส์แลนด์" (Pine Island) กับธารน้ำแข็ง 'ธเวตส์' (Thwaites) ในทะเลอามันด์เซน ทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ กำลังแตกตัวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในระดับสูง การละลายของธารน้ำแข็งขนาดมหึมาทั้งสองในช่วงที่ผ่านมา มีส่วนทำให้น้ำทะเลโลกเพิ่มขึ้นคิดเป็น 5% ของปริมาณที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยธารน้ำแข็ง ธเวตส์ เป็นหนึ่งในก้อนนำ้แข็งขนาดใหญ่และไม่มั่นคงที่สุดในแอนตาร์กติกา มีพื้นที่มากกว่า 192,000 ตร.กม. ใกล้เคียงกับรัฐฟลอริดา และเกาะบริเตนใหญ่ ธารน้ำแข็งทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเหมือนหลอดเลือด เชื่อมต่อ 'พืดน้ำแข็งแอนตาร์ติกตะวันตก' กับมหาสมุทรด้วย เครื่องบินของนาซา บินสำรวจ ธารน้ำแข็ง ไพน์ ไอส์แลนด์ ในปี 2011 เพื่อศึกษารอยแตกที่กำลังกระจายไปทั่วหิ้งน้ำแข็ง การอยู่รอดของมันสำคัญถึงขนาดที่สหรัฐฯ กับสหราชอาณาจักร ต้องทุ่มเทงบประมาณหลายล้านดอลลาร์เพื่อการศึกษาวิจัย เพราะหากธารน้ำแข็งทั้งสองหายไป ก็อาจกลายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการถล่มเป็นวงกว้างของ พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกตะวันตก ซึ่งมีน้ำแข็งมากพอจะเพิ่มระดับน้ำทะเลได้ถึง 10 ฟุต และผลการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ผ่านวารสารวิทยาศาสตร์ 'Proceedings of the National Academy of Sciences' เมื่อ 14 ก.ย. แสดงให้เห็นรอยแยกและรอยแตกมากมายบนธารน้ำแข็งทั้งสอง บ่งชี้ว่า ระบบเบรกตามธรรมชาติที่ป้องกันไม่ให้น้ำแข็งของ ไพน์ ไอส์แลนด์ กับ ธเวตส์ ไหลออกสู่ทะเล กำลังอ่อนแอลง และความเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้การถดถอยของธารน้ำแข็งรวดเร็วขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่หิ้งนำ้แข็งของมันจะพังทลายในอนาคต กำลังเกิดอะไรขึ้นกับธารน้ำแข็ง ไพน์ ไอส์แลนด์ และ ธเวตส์ ระบบเบรกดังกล่าว เกิดขึ้นจาก หิ้งน้ำแข็ง (ice shelf) ซึ่งเป็นแผ่นน้ำแข็งลอยน้ำขนานใหญ่ที่แผ่ขยายจากขอบนอกของธารน้ำแข็ง ออกไปในมหาสมุทร โดยในขณะที่มันแผ่ขยายออกไปในน้ำ หิ้งน้ำแข็งเหล่านี้จะถูกแช่แข็งไปบนไหล่เขาหรือเกาะต่างๆ และยึดตัวเองกับพื้นทะเล ทำให้มันกลายเป็นเหมือนระบบเบรกตามธรรมชาติ ไม่ให้น้ำแข็งไหลออกไป แต่ผลการศึกษาใหม่ซึ่งใช้การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมตั้งแต่ ค.ศ. 1997-2019 พบว่า พื้นที่ที่เรียกว่า ?shear margin? ซึ่งเป็นจุดที่น้ำแข็งซึ่งไหลออกสู่ทะเลอย่างรวดเร็วมาพบกับน้ำแข็งที่ไหลช้าหรือก้อนหินเบื้องล่าง จนทำให้เกิดแรงเสียดทานและชะลอการไหลของน้ำแข็ง กำลังอ่อนแอลง ทำให้น้ำแข็งไหลออกไปเร็วขึ้น กอปรกับน้ำทะเลอุ่นที่กัดเซาะด้านล่างของหิ้งน้ำแข็งจนมันเปราะบาง ทำให้ shear margin บางจุดเริ่มแตกเป็นชิ้นๆ หมายความว่า ตอนนี้น้ำแข็งจากธารน้ำแข็ง ธเวตส์ จะเพิ่มลงสู่ทะเลไวยิ่งขึ้นอีก นักวิทยาศาสตร์พบด้วยว่า shear margin ของธารน้ำแข็ง ไพน์ ไอส์แลนด์ ที่เริ่มมีรอยแตกตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 เสียหายเร็วขึ้นอย่างมากในปี 2016 โดยน้ำแข็งแตกกินพื้นที่เข้าไปเรื่อยๆ และมีรอยแตกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบนน้ำแข็งใกล้กับ 'เส้นเกยตื้น' (grounding line) หรือจุดสุดท้ายที่ธารน้ำแข็งสัมผัสพื้นดินก่อนยกตัวขึ้นเหนือก้นสมุทรกลายเป็นหิ้งน้ำแข็งลอยตัว นักวิจัยเตือนว่า กระบวนการนี้กำลังจะทำให้เกิดวังวน ซึ่งหิ้งน้ำแข็งที่อ่อนแอลงจะเร่งความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ shear margin อันเปราะบาง ก่อนจะส่งผลย้อนกลับไปเป็นความเสียหายและการแตกตัวของหิ้งน้ำแข็งเอง และนั่นอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์กันไว้ในปัจจุบัน ภาพถ่ายดาวเทียมในปี 2000 ของธารน้ำแข็ง ไพน์ ไอส์แลนด์ แสดงให้เห็นรอยแตกขนาดใหญ่ราว 400-500 เมตร ธารน้ำแข็งขั้วโลกกำลังเผชิญวิกฤติ เรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับธารน้ำแข็ง ไพน์ ไอส์แลนด์ และ ธเวตส์ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะผลการวิจัยอีกฉบับที่เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ก่อน พบว่า มีช่องทางอยู่ลึกลงไปในทะเลใต้ธารน้ำแข็ง ธเวตส์ ซึ่งอาจทำให้น้ำทะเลอุ่นไหลเข้าไปละลายน้ำแข็งจากภายในได้ และนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการละลายของธารน้ำแข็งทั้งสอง เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์เพิ่งประกาศเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ว่า ตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีก้อนน้ำแข็งขนาดรวมกว่า 44 ตารางไมล์ หรือ 2 เท่าของเมืองแมนฮัตตัน แตกออกจากหิ้งน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดที่เหลืออยู่ของทวีปกรีนแลนด์ ในอาร์กติก หรือขั้วโลกเหนือ ยิ่งเพิ่มความกังวลว่าจะเกิดการแตกตัวอย่างรวดเร็วของน้ำแข็งในภูมิภาคนี้ ศ.สเตฟ แลร์มิตต์ ผู้เชี่ยวชายด้านการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เดลฟ์ต ในเนเธอร์แลนด์ ผู้นำการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า ธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติกากำลังอ่อนแอลงในทุกด้าน โดยเฉพาะจากเบื้องล่าง เพราะกระแสน้ำอุ่นกำลังเล่นงานฐานของธารน้ำแข็ง ทำให้มันอ่อนแอลง ซึ่งมันอ่อนแอลงมาเสียจน shear margin เริ่มแตกเป็นชิ้นๆ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างไร? ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ไม่ใช่จู่ๆ จะมีคลื่นยักษ์ถาโถมท่วมบ้านเรือนเหมือนกับในภาพยนตร์ แต่สัญญาณแรกของมันคือ พายุต่างๆ หรือแม้แต่คลื่นสูง จะก่อความเสียหายมากขึ้น เหตุน้ำท่วมน้อยใหญ่จะเกิดบ่อยขึ้น พื้นที่ชายฝั่งจะถูกกัดเซาะทีละเล็กละน้อย ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ตามข้อมูลของรอยเตอร์ส ที่เผยแพร่ในปี 2014 เมื่อช่วงยุคก่อนปี 1971 หลายเมืองในพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐฯ มีระดับน้ำสูงถึงขั้นน้ำท่วมเฉลี่ยไม่ถึง 5 วันต่อปี ทว่านับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา ค่าเฉลี่ยกลับเพิ่มเป็น 20 วันต่อปี การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลยังทำให้ เส้นแนวชายทะเลขยับเข้ามาในแผ่นดินมากขึ้น ส่งผลให้คลื่นพายุหนุนซัดฝั่ง หรือ สตอร์มเซิร์จ เข้าท่วมชุมชนได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการบุกรุกของน้ำเค็ม ทำลายพืชผลทางการเกษตร และเปลี่ยนแปลงสารเคมีในดิน น้ำเค็มยังสามารถไหลเข้าสู่แหล่งเก็บน้ำบาดาล ทำให้ดินเค็มเกินกว่าที่จะเพาะปลูก แม้ว่าผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ถึงช้ามาก แต่หากมนุษย์ยังไม่สามารถควบคุมการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ภายในไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า พื้นที่ชายฝั่งที่ปัจจุบันเป็นที่อยู่ของประชาชนกว่า 470-760 ล้านคน จะจมอยู่ใต้บาดาล และลูกหลานของเราจะกลายเป็นผู้ที่ต้องรับเคราะห์ https://www.thairath.co.th/news/foreign/1931417
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ทัพเรือจับอีกเรือประมงเวียดนาม 2 ลำ พร้อมลูกเรือ 10 คน ลอบทำประมงผิดกฎหมาย ปัตตานี - ทัพเรือภาคที่ 2 จับอีกเรือประมงเวียดนาม 2 ลำ พร้อมลูกเรือ 10 คน ลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย ก่อนนำตัวขึ้นฝั่งตรวจคัดกรองโควิด-19 เข้ม วันนี้ (18 ก.ย.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 2 ได้รับรายงานจากแหล่งข่าวว่า มีเรือประมงต่างชาติรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในทะเลอาณาเขตของประเทศไทย พล.ร.ท.สำเริง จันทร์โส ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 จึงได้สั่งการให้ออกปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนตรวจสอบ กระทั่งพบเรือประมงต่างชาติ 2 ลำ กำลังลักลอบทำการประมง จึงเข้าไปดำเนินการจับกุม พร้อมลูกเรือ 10 คน จากนั้นจึงประสานเรือลาดตระเวนประจวบคีรีขันธ์ ทำการควบคุมเรือประมงของกลาง และลูกเรือทั้งหมดเดินทางกลับเข้าฝั่ง ที่ท่าเทียบเรือหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเล จ.ปัตตานี ต่อมา ได้นำลูกเรือประมงต่างด้าวทั้ง 10 คน ทำการตรวจวัดไข้ ตามมาตรการควบคุมโรคระบาดโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยทั้งหมดไม่มีอาการไข้ จากนั้นจึงนำส่งตัวไปไว้ศูนย์กักกันตัวชาวต่างด้าว ที่ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ก่อนที่จะนำตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป สำหรับการจับกุมในครั้งนี้เป็นการจับกุมครั้งที่ 15 ในปีงบประมาณ 2563 จำนวนเรือที่จับกุมรวม 31 ลำ ผู้ต้องหารวม 191 คน สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 2 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 113,275 ตารางกิโลเมตร https://mgronline.com/south/detail/9630000095792 ********************************************************************************************************************************************************* ทิชชู่เปียก-แผ่นอนามัย (ทิ้งลงชักโครกได้) อีกตัวการ! ล้างพลาสติกออกสู่ทะเลและชายฝั่งมากขึ้น (จากซ้าย) Dr Liam Morrison, Ana Mendes, Ois?n? Briain ที่หาด Grattan ประเทศไอร์แลนด์ นักวิจัยจาก Earth and Ocean Sciences and the Ryan Institute เผยการสำรวจตะกอนบริเวณชาดหาดใกล้กับโรงงานบำบัดน้ำเสีย พบเส้นใยไมโครพลาสติกจำนวนมาก ซึ่งไมโครพลาสติกเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบของ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด "ทิชชู่เปียกและแผ่นอนามัย" แม้ทิชชู่เปียกบางยี่ห้อจะระบุว่า Flushable หรือ ทิ้งลงชักโครกได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะย่อยสลายได้ทั้งหมด เพียงแต่มันสามารถละลายไปกับน้ำโดยไม่อุดตันท่อน้ำทิ้งเท่านั้น หากส่วนที่เป็นเส้นใยไมโครพลาสติกยังคงอยู่ และไหลลงไปในทะเลในท้ายที่สุด จากการทดสอบทิชชู่เปียกยี่ห้อต่างๆ ที่ระบุว่า flushable แต่ก็พบว่ามีถึง 50% ที่มีส่วนประกอบของพลาสติก นักวิจัยได้นำตะกอนดินเหล่านั้นมาตรวจ พบว่าตะกอนดิน 1 กิโลกรัม มีเส้นใยไมโครพลาสติกถึง 6,083 ชิ้น ปะปนอยู่กับดินและสาหร่ายจนอาจจะแยกไม่ออก . นอกจากนี้ไมโครไฟเบอร์เหล่านั้นยังสามารถนำพาเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ลงสู่ทะเลได้อีกด้วย ซึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 มี่การใช้ทิ้งชู่เปียกและแผ่นอนามัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากคนใช้เช็ดทำความสะอาดบ่อยครั้งกว่าช่วงปกติ. ล้างเศษสิ่งปฏิกูลมารวมกันในทะเล ที่ชายหาดพบทั้งผ้าเช็ดทำความสะอาดเปียกและแผ่นอนามัยผสมกับสาหร่ายทะเล นักวิจัยกล่าวว่า เส้นใยไมโครพลาสติกเหล่านี้ เป็นเส้นใยพลาสติกที่ใช้ในผ้าที่ไม่ผ่านการถักทอ (non-woven) กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากให้ความสะดวกในการใช้ แต่กลับถูกประเมินผลอันตรายของมันน้อยเกินไปภายหลังจากที่ใช้แล้วทิ้ง "ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทอเป็นแหล่งไมโครพลาสติกที่ถูกประเมินต่ำในสิ่งแวดล้อมทางทะเล" https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000095530
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
โควิด-19: "เนื้อวาฬเป็นตัวแทนวัยเด็กและความทรงจำของผม" เจ้าของร้านอาหารในนอร์เวย์กล่าว ปีนี้เนื้อวาฬมียอดขายดีขึ้นในนอร์เวย์ ขณะที่วิกฤตโควิด-19 สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไปทั่วโลก ชาวนอร์เวย์เลือกที่จะไปเที่ยวในประเทศแทน "สำหรับผม เนื้อวาฬเป็นตัวแทนวัยเด็กและความทรงจำของผม" ฟรูเดอ เรฟเคอ เจ้าของร้านอุสต์ & ซอนต์ (Ost & Sant) ร้านขายอาหารตำรับนอร์เวย์ในกรุงออสโล นครหลวงของประเทศ เล่า "สปาเก็ตตี้ซอสโบโลเนสสูตรแม่ผมยังใช้เนื้อวาฬเลย ครั้งแรกที่ผมไปอิตาลี ผิดหวังมาก [สปาเก็ตตี้ที่นั่น]ไม่มีรสอะไรเลย" แม้ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ปีนี้ร้านเขามีชาวนอร์เวย์มาอุดหนุนมากขึ้น สิ่งที่เปลี่ยนไปคือเขาเริ่มขายเนื้อวาฬได้มากขึ้น ปีนี้มีความต้องการเนื้อวาฬสูงขึ้นโดยจับวาฬมิงค์ไปเกือบ 500 ตัวแล้ว ... ที่มาของภาพ,MYKLEBUS WHALE PRODUCTS นี่เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่อุตสากรรมค้าเนื้อวาฬทำยอดขายได้สูงขึ้น วาฬเป็นอาหารที่ผิดกฎหมายในเกือบทุกประเทศทั่วโลก คณะกรรมการว่าด้วยการล่าวาฬระหว่างประเทศ (IWC) ประกาศห้ามล่าวาฬในปี 1986 แต่มีนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และญี่ปุ่น เท่านั้นที่ยังล่าวาฬต่อในระดับอุตสาหกรรม ขณะที่ชนเผ่าพื้นเมืองในอะแลสกา แคนาดา กรีนแลนด์ และรัสเซีย ยังล่าวาฬอยู่แต่ไม่ได้ทำในเชิงพาณิชย์ นอร์เวย์ไม่สนคำสั่งห้ามดังกล่าวโดยอ้างเหตุผลทางวัฒนธรรม และยืนยันว่าแม้การล่าวาฬจะมีภาพลักษณ์ไม่ดีแต่ก็ที่จริงแล้วเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม อเลสซานโดร แอสโตรเซอ ที่ปรึกษาอาวุโสกระทรวงการค้านอร์เวย์ ตั้งคำถามว่าทำไมเนื้อวาฬถูกมองว่าแย่กว่าแหล่งโปรตีนอื่นทั้ง ๆ ที่วาฬที่จับมาถูกเลี้ยงแบบปล่อย ไม่ได้เสี่ยงสูญพันธุ์ และก็ไม่ได้สร้างก๊าซมีเทนแบบการเลี้ยงวัวด้วย Norwegian whalers boxing up whale meat on their ship ที่มาของภาพ,MYKLEBUS WHALE PRODUCTS บางฝ่ายตั้งคำถามว่าทำไมเนื้อวาฬถูกมองว่าแย่กว่าแหล่งโปรตีนอื่นทั้ง ๆ ที่วาฬที่จับมาถูกเลี้ยงแบบปล่อย ไม่ได้เสี่ยงสูญพันธุ์ แล้วรสชาติมันเป็นอย่างไร ชาวนอร์เวย์ใช้คำว่า "tran" ซึ่งไม่สามารถแปลเป็นอังกฤษแบบตรง ๆ ได้ ใกล้เคียงที่สุดคือมันมีรสคล้ายน้ำมันตับปลา บวกกับลักษณะที่เหมือนเนื้อวัว และรสเกลือเค็ม ๆ หากคุณคิดว่าเนื้อวาฬไม่น่ากินเลย มีคนอื่นที่คิดเหมือนกัน ชาวนอร์เวย์ต้องการเนื้อวาฬน้อยลงเรื่อย ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเมื่อปี 2019 มีการจับวาฬมิงค์น้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 429 ตัวจากที่มีทั้งหมดมากกว่า 100,000 ตัวในทะเลนอร์เวย์และแบเรนต์ส ชาวนอร์เวย์นิยมกินเนื้อวาฬมาตั้งแต่ในอดีต มาปีนี้มีความต้องการเนื้อวาฬสูงขึ้นโดยมีการจับวาฬมิงค์ไปเกือบ 500 ตัวแล้ว เอยวิน ฮาราม จากสหพันธ์อาหารทะเลนอร์เวย์ บอกว่าโควิด-19 ไม่ใช่เหตุผลเดียว เขาบอกว่าโครงการรณรงค์ให้คนกลับมานิยมกินเนื้อวาฬที่เขาผลักดันเริ่มเห็นผลแล้ว เขาบอกว่าเริ่มส่งเสริมการกินเนื้อวาฬทางโซเชียลมีเดียตั้งแต่ต้นปีก่อนฤดูล่าวาฬแล้ว เขาบอกว่าวาฬเป็นสินค้าท้องถิ่น ไม่ต้องขนส่งไกล มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีความยั่งยืนเพราะล่าไม่เกินกำหนดโควต้าในแต่ละฤดูกาลด้วย นอกจากพยายามเชื้อชวนวัยรุ่นให้หันมากินเนื้อวาฬมากขึ้น เขายังร่วมงานกับเชฟชื่อดังของนอร์เวย์อย่าง โจนาธาน โรมาโน ด้วย โรมาโน โตมาในบ้านที่มีเชื้อสายฟิลิปปินส์จึงไม่ได้กินเนื้อวาฬตั้งแต่เด็ก แต่ความคิดก็เปลี่ยนไปเมื่อได้มาเจอกับ เอยวิน ฮาราม "ปัญหาคือ ตามธรรมเนียมคุณกินเนื้อวาฬในสตูว์กับน้ำเกรวี่ เนื้อกลายเป็นแข็งและมีรสชาติออกเหมือนโลหะ ทั้ง ๆ ที่คุณควรทอด เอาไปนาบกระทะและปล่อยให้เนื้อตรงกลางยังดิบอยู่" โรมาโน เชื่อว่าจะมีเชฟหันมาใช้เนื้อวาฬทำอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนกับธุรกิจที่มีมาตั้งแต่โบร่ำโบราณอื่น ๆ การล่าวาฬเป็นธุรกิจที่ส่งต่อกันจากพ่อสู่ลูก ในช่วงที่ผ่านมา แทบไม่มีการจ้างงานใหม่เพื่อออกไปล่าวาฬเลยแม้ว่ามีโอกาสที่คน ๆ หนึ่งจะทำเงินได้ถึง 1.6 ล้านโครน หรือราว 5.5 ล้านบาทต่อปี และรัฐบาลก็พยายามลดขั้นตอนยุ่งยากโดยหวังให้คนหันมาทำธุรกิจนี้แล้ว เซียรี มาร์ตินเซิน จากกลุ่มต่อต้านการล่าวาฬ โนอาห์(Noah) บอกว่า คนหนุ่มสาวจะไม่หันมากินเนื้อวาฬ โดยบอกว่ามีคนนอร์เวย์เพียง 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กินเนื้อวาฬเป็นประจำ แต่ อูเลอ มูเลอบัสต์ ไม่คิดอย่างนั้น บริษัทเขาเป็นผู้ขายเนื้อวาฬมากกว่าร้อยละ 20 ของทั้งหมดในประเทศ และยังเป็นผู้ส่งออกไปญี่ปุ่นรายเดียวของนอร์เวย์ด้วย เขาบอกว่าขายเนื้อวาฬให้เครือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เวย์มากขึ้น และคาดว่าจะมากกว่านี้อีกในปีหน้า กลับมาที่ร้านอุสต์ & ซอนต์ ฟรูเดอ เรฟเคอ บอกว่า เขาเริ่มเอาเนื้อวาฬมาขายแค่สนุก ๆ เท่านั้น แค่สงสัยว่าคนจะชอบไหม "แต่ไม่กี่เดือน มันกลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมที่สุดในร้าน" https://www.bbc.com/thai/international-54192699
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|