#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 23 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 22 - 23 กันยายน 2563 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง ในช่วงวันที่ 24 - 28 กันยายน 2563 ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 23 - 28 ก.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ระวังอันตรายฝนตกหนักไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 28 ก.ย. 63 ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ออสเตรเลียเร่งช่วย 'วาฬ' ฝูงใหญ่เกยตื้น สุดยื้อ ตายหมู่แล้วเกือบ 100 ทีมกู้ภัยออสเตรเลียเร่งหาทางช่วยชีวิต ?วาฬนำร่อง? ฝูงใหญ่ เกยตื้นเกลื่อนชายหาดเกาะแทสมาเนีย อย่างน้อยถึง 270 ตัว และในจำนวนนี้ตายสลดแล้ว 1 ใน 3 หรือนับ 90 ตัว เมื่อ 22 ก.ย.63 สำนักข่าวบีบีซีรายงาน เกิดเหตุการณ์สะเทือนใจ?วาฬนำร่อง?เกยตื้นเกลื่อนชายหาดเกาะแทสมาเนีย ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลียอย่างน้อย 270 ตัว และในจำนวนนี้ ตายสลดไปแล้วถึง 1 ใน 3 หรือนับ 90 ตัว ในขณะที่ เจ้าหน้าที่ชีววิทยาทางทะเลของออสเตรเลีย หวั่นวิตกว่าวาฬนำร่องที่เกยตื้นเหล่านี้กำลังจะตายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยทีมกู้ภัยพยายามหาทางช่วยชีวิตพวกมันกลับสู่ท้องทะเล แต่ดูเหมือนต้องใช้เวลาหลายวัน เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ชีววิทยาทางทะเลยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมฝูงวาฬนำร่องกลุ่มนี้จึงมาเกยตื้นบริเวณชายฝั่งทางด้านตะวันตกของเกาะแทสมาเนีย และมีคนมาพบเมื่อวันจันทร์ที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา ทีมกู้ภัยออสเตรเลียพยายามช่วยชีวิตวาฬนำร่องหลงเกยตื้นชายหาดเกาะแทสมาเนีย ในขณะที่ปกติแล้ว มีวาฬมาเกยตื้นในภูมิภาคนี้เป็นประจำ แต่การมาเกยตื้นของวาฬฝูงใหญ่ที่มีจำนวนมากนับ 270 ตัวในครั้งนี้ ถือเป็นการเกยตื้นของวาฬจำนวนมากที่สุดในออสเตรเลีย ในรอบ 10 ปี หลังจากเคยมีวาฬฝูงใหญ่มาเกยตื้นที่เกาะแทสมาเนีย ประมาณ 200 ตัวในปี 2552 ส่วนสาเหตุที่ทำให้วาฬมาเกยตื้นนั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ทราบเหตุผลแน่ชัด https://www.thairath.co.th/news/foreign/1934687 ********************************************************************************************************************************************************* ทร.เปิดแหล่งเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว "เรือพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" ให้ชมแล้ว เปิดแล้วแหล่งเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว "ร.ล.พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" ทอดสมอลอยลำกลางอ่าวสัตหีบ เปิด จันทร์-ศุกร์ วันละ 1 รอบ เสาร์-อาทิตย์ วันละ 2 รอบ ขึ้นที่ท่าเทียบเรือกลางอ่าว กองเรือยุทธการ เมื่อวันที่ 22 ก.ย.63 กองทัพเรือ โดย พลเรือเอก ชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการ กองเรือยุทธการ เป็นประธานเปิดแหล่งเรียนรู้เชิงท่องเที่ยว ?เรือหลวงพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก? เรือรบแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ปกป้องอธิปไตยของชาติในทะเลมายาวนาน 2 ทศวรรษ โดยมี พลเรือตรี อนุพงษ์ ทะประสพ ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 1 นำอดีตผู้บังคับการ และพลประจำเรือ ร่วมเป็นเกียรติ ณ ดาดฟ้าเรือ ที่ทอดสมอลอยลำตระหง่านอยู่กลางอ่าวสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นเรือรบที่กองทัพเรือไทย จัดหาเรือฟริเกตชั้นน็อกซ์ (Knox) มือสองจากกองทัพเรือสหรัฐฯ จำนวน 2 ลำ ประจำการในปี พ.ศ.2537 ส่วนอีกลำ คือ เรือหลวงพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำการในปี พ.ศ.2539 นับเป็นเรือรบที่มีสมรรถนะสูงที่เน้นขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ มีอาวุธประจำเรือ คือ ปืนใหญ่เรือขนาด 5 นิ้วแบบ MK42 จำนวน 1 กระบอก ปืนกลขนาด .50 จำนวน 4 กระบอก ระบบป้องกันระยะประชิด (CIWS) ระบบยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น ฮาร์พูน จำนวน 4 ท่อยิง แท่นยิงอาวุธนำวิถีปราบเรือดำน้ำ ASROC 4 ท่อยิงคู่กับฮาร์พูน แท่นยิงตอร์ปิโดต่อต้านเรือดำน้ำแบบ MK.44-MK.46 แท่นยิงเป้าลวง จำนวน 2 แท่น แท่นละ 6 ท่อยิง เป้าลวงตอร์ปิโด AN/SLQ-25 และชุดระบบยิงเป้าลวง MK.36 SRBOC ที่ปัจจุบันทั้ง 2 ลำ ได้ปลดประจำการในปี พ.ศ.2560 พลเรือเอก ชุมศักดิ์ นาควิจิตร กล่าวว่า เรือรบ ซึ่งถือเป็นสมบัติของชาติ แม้ปลดประจำการไปแล้ว เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด กองทัพเรือ ได้มีความมุ่งหวังให้เรือรบทั้ง 2 ลำ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้อนุชนได้ชื่นชมยกย่องถึงประวัติศาสตร์ที่เกรียงไกรของเรือ อีกทั้งชื่อของเรือนั้น เป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ยิ่งต้องเทิดทูนเหนือสิ่งอื่นใด จึงได้นำมาจอดทอดสมอไว้ ณ กลางอ่าวสัตหีบ ซึ่งเป็นฐานทัพเรือสัตหีบ ได้เป็นอนุสรณ์แด่ทหารเรือ ตลอดจนเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ให้ประชาชนได้ขึ้นเที่ยวชมบนเรือ สำหรับการจัดแสดงบนเรือ ประกอบด้วย บอร์ดนิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมา แสดงอุปกรณ์ต่างๆ ของเรือ และมีร้านกาแฟ คอยให้บริการบนดาดฟ้าเรือ ท่ามกลางธรรมชาติกลางทะเลที่สวยงาม โดยเปิดให้เยี่ยมชมในวันจันทร์-ศุกร์ วันละ 1 รอบ และวันเสาร์-อาทิตย์ วันละ 2 รอบ รอบละไม่เกิน 25 คน โดยสามารถติดต่อขึ้นเรือได้ยังท่าเทียบเรือกลางอ่าว กองเรือยุทธการ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป https://www.thairath.co.th/news/local/east/1935052
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ข้อเสนอ แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ .................. โดย วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา ซึ่งมีพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ เป็นประธานได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ทำการศึกษาเรื่องฝุ่น PM 2.5 ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ว่าใครควรต้องทำอะไร เพื่อให้ความเข้มข้นของ ฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ ลดลงเหลือ 25.5 ไมโครกรัม/ลบ.เมตร ภายใน 5 ปี เพื่อจะได้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนปฏิรูปประเทศ ที่ตั้งใจกันไว้ ผลการศึกษาโดยคณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม ที่มีสว.ดร.บุญส่ง ไข่เกษ เป็นประธานพบว่า สิ่งที่เเนะนำเร่งด่วนก่อนเลยคือ สองแหล่งกำเนิดฝุ่นของเมืองใหญ่ หมวดแรก จากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล หมวดนี้แนะนำให้จัดการดังนี้ 1.เร่งนำน้ำมันดีเซลเกรดที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาใช้เติมรถที่เข้ามาตรฐานยูโร 3 และยูโร 4 ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลทันที เพราะจะช่วยลดฝุ่นร้ายนี้จากปลายท่อไอเสียได้ระหว่าง 16-20% 2.ลดเวลาและลดพื้นที่ๆยอมให้รถดีเซลคันใหญ่ๆเข้าเขตประชากรหนาแน่น โดยอาจห้ามรถเลขท้ายทะเบียนคู่สลับกับเลขท้ายทะเบียนคี่ ไปก่อน ผลคือจะทำให้เหลือรถบรรทุกใหญ่ๆที่ใช้ดีเซลแล่นในเขตที่ประชากรหนาแน่นลงได้ครึ่งหนึ่งทันที จากนั้นค่อยนำไปสู่การห้าม 100% 3.เหลื่อมเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือให้สามารถทำงานจากนอกที่ตั้งสำนักงาน เพื่อลดการคับคั่งของการจราจร จากนั้นก็ชักชวนภาคเอกชนให้ทำบ้างเช่นกัน 4.ทำให้การจราจรเคลื่อนไหลดีๆ รถเล็กก็ปล่อยฝุ่นมากขึ้นในทุกความติดขัดของการจราจร ดังนั้น รถไฟฟ้า รถไฟขนส่งมวลชน การเดิน การใช้จักรยานก็จะมีส่วนช่วยในเป้าหมายนี้ (แต่ฟุตบาท และฝาท่อต้องดีด้วยนะ) 5.ถ้าพื้นที่ใดมีสภาวะฝุ่นถึงระดับวิกฤติ ก็ควรตัดสินใจใช้ มาตรา 45 ของพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2534 โดยจริงจัง อย่ามัวเงื้อง่าเชียว 6.ในระยะถัดไป ต้องเร่งลดสารกำมะถันโดยเฉพาะในน้ำมันดีเซลให้เหลือไม่เกิน 10 ppmให้หมด ก่อน 1 มกราคม 2567 ตามแผนที่เคยประกาศไว้ 7.ใช้มาตรฐาน Euro VI สำหรับรถใหม่ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกสิ่งของหรือเป็นรถบัส รถเก็บขยะ รถดีเซลใหญ่ๆของหน่วยงานรัฐ และผลักดันใช้มาตรฐาน Euro6 ในรถใหม่ขนาดเล็ก เพราะจะมีประสิทธิภาพกำจัดมลพิษสูง ส่วนรถเมล์ก็ควรเปลี่ยนเป็นรถใช้ก๊าซธรรมชาติหรือใช้ไฟฟ้าให้ได้ทั้งหมดต่อไปด้วย 8.เพิ่มสถานีขนถ่ายสินค้าชานเมือง รองรับการห้ามรถบรรทุกดีเซลขนาดใหญ่แล่นเข้าพื้นที่ชั้นในของเมือง 9.ปรับแก้กฏกระทรวงตามพ.ร.บ.จราจรทางบก เพื่อห้ามรถที่ตรวจควันดำไม่ผ่านออกมาแล่นต่อจนกว่าจะซ่อมแก้ไข ไม่ใช่เพียงมีค่าปรับหนึ่งพันบาทแล้วปล่อยต่อไปเหมือนที่ผ่านมา ทำให้รถนั้นก็ยังแล่นปล่อยฝุ่นเกินค่าต่อไปเรื่อยๆ 10.ปรับปรุงวิธีตรวจวัดควันดำด้วยการใช้กล้องถ่ายจากระยะห่าง ซึ่งทำให้ไม่ต้องตั้งด่าน ไม่กีดขวางผิวจราจรและสามารถส่งข้อความตามไปแจ้งเจ้าของรถมาทำการตรวจวัดใหม่ได้ด้วย 11.กระชับช่วงเวลาที่เจ้าของรถต้องนำรถไปตรวจสภาพด้านมลพิษจากเกณฑ์ 7 ปี ให้ลดเหลือ 5 ปี และถ้าเป็นรถที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ก็ยิ่งควรมีรอบการตรวจที่เร็วขึ้น 12.ใช้มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมการใช้รถ และการผลิตที่ลดการปล่อยค่ามลพิษลงให้หลากหลาย ส่งเสริมการปรับปรุงรถเก่าไปเป็นรถใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ด้วยการอบรมช่างในพื้นที่ต่างๆให้ทำเป็น และลดอุปสรรคในการจดทะเบียนรถกลุ่มที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงแบบนี้ อันจะเป็นการลดปริมาณซากรถเก่าที่จอดทอดทิ้งให้น้อยลงไปได้ด้วย ทีนี้ก็มีข้อเสนอแนะในหมวดที่สอง คือลดฝุ่นจากการเผาในที่โล่ง ข้อแนะนำในหมวดนี้มี 6 ประการ 1. ต้องพยายามลดการเผาขยะในที่โล่งเพราะถ้าท้องถิ่นจัดการไม่ทัน ไม่ว่าจะต้องช่วยพาให้มีระบบขนเก็บ การคัดแยกใช้ประโยชน์ และการกำจัดที่ถูกต้อง เผลอแผลบเดียวก็จะเกิดการเผา และถ้าหากไฟติดลามในกองขยะขนาดใหญ่เสียแล้วจะดับยาก แถมควันที่ได้จะเป็นพิษเสียอีกด้วย 2.เร่งรัดทุกท้องถิ่นทั้งในปริมณฑลและกทม. ให้ประกาศเทศบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการเผาในที่โล่ง และดำเนินการบังคับใช้กติกาที่ออกโดยท้องถิ่นเหล่านั้น ด้วยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงจุดความร้อนสนับสนุนและทำสถิติติดตามทุกวัน 3. ใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และเกณท์ส่งเสริมการลงทุนจูงใจให้ทำเกษตรกรรมปลอดการเผา ดึงเอาเงื่อนไขปลอดการเผาตอซังมาใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (Good Agriculture Practicesหรือ GAP) 4. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและผลิตเครื่องกลในประเทศเพื่อใช้ในการเกษตร ที่ช่วยลดการเผา ไม่ว่าจะเพื่อเตรียมดินหรือเพื่อเก็บเกี่ยว 5.สำหรับกรณีที่ยังจำเป็นต้องมีการเผา ก็ควรมีระบบบริหารเวลา และจัดระเบียบการเผาชีวมวล มีการนำข้อมูลอุตุนิยม ทิศทางลม และการเคลื่อนที่ของหย่อมความกดอากาศมาประกอบการวางระบบ 6. สนับสนุนให้หน่วยงานที่ดูแลเขตทางอย่างกรมทางหลวง การรถไฟ และกรมทางหลวงชนบทมีระบบจัดการดูแลไม่ให้เกิดการเผาในเขตทางที่เข้มงวดขึ้น ส่วนฝุ่นที่มาจากหมวดอื่นๆ ได้แก่จากโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เน้นไปที่ค่ามาตรฐานน้ำมันเตา และหรือถ่านหินที่ควรลดปริมาณสารกำมะถันลง เพราะเมื่อสารกำมะถันถูกเผาจะกลายเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งพอถูกปฏิกิริยาเคมีในอากาศ มันจะกลายร่างใหม่ เป็นอนุภาคฝุ่นขนาดไม่เกิน PM 2.5 ตลอดจนควรมีการติดตั้งระบบอุปกรณ์ตรวจวัดการระบายมลพิษที่ปลายปล่องอุตสาหกรรมและกำหนดค่ามาตรฐานสากลที่จะยอมให้ปลดปล่อยได้ เคี่ยวเข็ญให้ทำแค่ที่เล่ามานี้นี้ก็ตาลายแล้วใช่มั้ยครับ? นี่แค่กรุงเทพปริมณฑลนะครับ ถ้าจะแก้ฝุ่นของต่างจังหวัด ต้องใช้แผนอีกชุดนึงเลย ฝุ่น?ไม่ละเว้นใคร รวยหรือจนก็ต้องหายใจทุกคน ไม่มีพรมแดน ไม่มีกลางวันกลางคืน ไม่มีละเว้นว่าใครจะอยู่อาคารสูงหรือไม่สูง เพราะฝุ่นจิ๋วพวกนี้ลอยตัวได้สูงเกินภูเขาและตึกระฟ้าและต่อให้มีเครื่องปรับอากาศ ฝุ่นจิ๋วพวกนี้ก็เล็ดลอดเข้าระบบจนได้ ต่างกันแค่ว่า หนาแน่นน้อยหรือหนาแน่นมากกว่ากันในแต่ละพื้นที่ และช่วงเวลา สถิติในต่างประเทศโชว์ออกมาเรื่อยๆว่าฝุ่นมฤตยูนี้ทำให้คนเจ็บป่วย และอายุสั้นลง ต้นไม้ ช่วยจับละอองฝุ่นไว้ได้ ฝนช่วยลดฝุ่นที่ล่องลอยในอากาศได้ ดังนั้น เราทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่สนับสนุนเหตุแห่งการเผา และใช้พลังงานสะอาดให้สามารถทดแทนความคุ้นเคยเก่าๆให้ได้มากๆเท่านั้นครับ https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000096955
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
วาฬเกือบ 300 ตัวเกยตื้นในออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลและเจ้าหน้าที่ออสเตรเลียแข่งกับเวลาช่วยวาฬนำร่องเกยตื้นเกือบ 300 ตัว มากสุดในรอบ 10 ปี เบื้องต้นตายแล้วอย่างน้อย 90 ตัว เจ้าหน้าที่จากโครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลแทสเมเนียของออสเตรเลียร่วมกับอาสาสมัครราว 60 คน เร่งให้ความช่วยเหลือวาฬนำร่องราว 270 ตัวที่พากันเกยตื้นตามชายหาดของเมืองสตรอแอนในรัฐแทสเมเนียตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ล่าสุดมีวาฬตายแล้ว 1 ใน 3 หรือราว 90 ตัว และเจ้าหน้าที่คาดว่าตัวเลขอาจเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากยังต้องใช้เวลาอีกหลายวันในการนำวาฬกลับสู่ท้องทะเล และกรณีนี้ยังเป็นกรณีที่ยากที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะวาฬเกยตื้นกระจายเป็นวงกว้าง และบางจุดยังเข้าไปช่วยได้ยาก คริส คาร์เลียน นักชีววิทยาสัตว์ป่าเผยว่า ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเหตุใดวาฬจึงเกยตื้น ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาทิ วาฬอาจถูกดึงดูดเข้ามาหลังมีการให้อาหารใกล้ชายฝั่ง หรือวาฬอาจไล่ล่าฉลามจนติดอยู่ในสันดอนทราย อีกสาเหตุหนึ่งคือ วาฬบางตัวในฝูงอาจบังเอิญว่ายน้ำเข้ามาใกล้ชายฝั่งเกินไป แล้ววาฬตัวอื่นในฝูงจึงว่ายตามเข้ามาจนเกยตื้นกันทั้งฝูง เนื่องจากวาฬมีความผูกพันที่เหนียวแน่นมากในฝูง ทั้งนี้ ชายหาดในรัฐแทสเมเนียมักจะมีฝูงวาฬหรือโลมาเข้ามาเกยตื้น แต่การเกยตื้นจำนวนมากอย่างในครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยครั้งหลังสุดที่มีการเกยตื้นครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อปี 2009 ซึ่งมีวาฬติดอยู่ที่ชายฝั่งราว 200 ตัว https://www.posttoday.com/world/633644
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
วิจัยพบ คนรวย 1% บนโลก สร้างมลพิษมากกว่าคนจนถึง 2 เท่า นักวิจัยต่างประเทศเผย พฤติกรรมของคนรวยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าคนจน 2 เท่า โดยเฉพาะการใช้รถยนต์ SUV และการใช้เครื่องบินเกินความจำเป็น ผลการวิจัยใหม่พบว่า ในช่วงระหว่างปี 1990-2015 ประชากรที่ร่ำรวยที่สุดของโลกซึ่งคิดเป็น 1% มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับประชากรยากจนที่มีอยู่ครึ่งโลก การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 60% ในช่วง 25 ปีดังกล่าว แต่พบว่ามีการปล่อยก๊าซจากคนรวยมากกว่าการปล่อยก๊าซจากผู้ที่ยากจน รายงานซึ่งรวบรวมโดย Oxfam และสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์มเตือนว่า การบริโภคที่มากเกินไปและการเสพติดการขนส่งที่ใช้คาร์บอนสูงของเหล่าคนรวยและชนชั้นสูง กำลังทำให้ "งบประมาณคาร์บอน (Carbon Budget)" ของโลกหมดลง งบประมาณคาร์บอน คือ ขีดจำกัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาที่โลกจะรับได้โดยอุณหภูมิไม่เพิ่มขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับการเพิ่มขึ้นที่นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อมมองว่า จะสร้างผลเสียมหาศาลให้กับธรรมชาติ ทิม กอร์ (Tim Gore) หัวหน้าฝ่ายนโยบายการสนับสนุนและการวิจัยของ Oxfam International กล่าวว่า "งบประมาณคาร์บอนทั่วโลกถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองเพื่อขยายการบริโภคของคนรวยแทนที่จะนำมาพัฒนามนุษยชาติ ... เราต้องมั่นใจว่าคาร์บอนจะถูกใช้อย่างดีที่สุด" การศึกษาแสดงให้เห็นว่าคน 10% ที่ร่ำรวยที่สุดของประชากรทั่วโลกประกอบด้วยประชากรประมาณ 630 ล้าน แต่ปล่อยมลพิษทั่วโลกประมาณ 52% ตลอดระยะเวลา 25 ปี คนรวยที่สุด 10% ทั่วโลกคือผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 35,000 ดอลลาร์ (ราว 1 ล้านบาท) ต่อปีและ 1% ที่ร่ำรวยที่สุดคือผู้ที่มีรายได้มากกว่า 100,000 ดอลลาร์ (ราว 30 ล้านบาท) นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า งบประมาณคาร์บอนจะหมดลงภายในหนึ่งทศวรรษในอัตราปัจจุบัน หากปล่อยเอาไว้ ในทศวรรษหน้า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 10% จะเพียงพอต่อการเพิ่มความเสี่ยงที่อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และแม้ว่าคนที่เหลือบนโลกทั้งหมดจะลดการปล่อยก๊าซให้เหลือศูนย์ทันทีก็ไม่อาจแก้ไขได้ Oxfam ระบุว่า การคนรวยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากกว่าคนที่ยากจนนั้นไม่ยุติธรรม ในขณะที่โลกกำลังก้าวไปสู่ยุคพลังงานหมุนเวียนและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การปล่อยมลพิษใด ๆ ที่ยังคงมีความจำเป็นในช่วงการเปลี่ยนแปลงควรถูกนำมาใช้ในการพยายามปรับปรุงการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานของคนยากจนจะดีกว่า "จุดประสงค์ที่ดีที่สุดคือ เพื่อให้มนุษยชาติทุกคนมีชีวิตที่ดี แต่งบประมาณคาร์บอนถูกใช้ไปแล้วโดยคนรวยที่ยังคงร่ำรวยขึ้น" กอร์กล่าว เขาชี้ให้เห็นว่า การขนส่งเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนสำคัญของอัตราการปล่อยมลพิษที่สูงขึ้น โดยผู้คนในประเทศร่ำรวยมีแนวโน้มทำกิจกรรมที่ปล่อยมลพิษสูงมากขึ้น เช่น ขับรถยนต์ SUV การใช้เครื่องบิน เป็นต้น "ผมไม่ได้พูดถึงคนที่ไปเที่ยวในวันหยุดกับครอบครัวปีละครั้งสองครั้ง แต่หมายถึงคนที่โดยสารเที่ยวบินระยะไกลทุกเดือนหรือสัปดาห์ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ค่อนข้างเล็ก" กอร์กล่าว https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/133617
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
โลกร้อน: นักวิทยาศาสตร์เตือน ไฟป่าปีนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยประเมินมากที่สุด Slash and burn fire in Ghana of West Africa ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นรอบโลกปีนี้ "มีขนาดใหญ่ที่สุดและปริมาณการปล่อยก๊าซ (คาร์บอนไดออกไซด์) โดยประเมินมากที่สุด" ในรอบเกือบสองทศวรรษ องค์การนาซาและหน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Atmosphere Monitoring Service) บอกว่า รัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย แถบอาร์กติก ชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ และพื้นที่ชุ่มน้ำแพนทานัลในบราซิล เผชิญกับไฟป่าครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ18 ปี อ้างอิงจากข้อมูลที่เก็บมา ลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและพื้นที่ชุ่มน้ำแพนทานัล ในฐานะป่าฝนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แอมะซอนสามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนได้มาก ช่วยชะลอภาวะโลกร้อน เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ราว 3 ล้านสายพันธุ์ และสมาชิกชนเผ่าพื้นเมืองอีกหนึ่งล้านชีวิต ผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้บอกว่า ป่าไม้ที่นี่ถูกทำลายในระดับเทียบเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อทศวรรษก่อน เปาโล มูตินโญ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแอมะซอน บอกว่า เราอาจไม่เห็นไฟลุกลามหนักเท่ากับในแคลิฟอร์เนีย เพราะไฟลุกลามในระดับต่ำกว่า แต่มันสามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่า "ต้นไม้สามารถตายอย่างช้า ๆ ภายในเวลาไม่กี่ปี" ไฟป่าในบราซิลกลับไปรุนแรงในระดับที่เท่ากับเมื่อทศวรรษที่แล้ว ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES เขาบอกว่า ในพื้นที่ราว 6 ไร่ แอมะซอนมีสัตว์และต้นไม้ 300 สายพันธุ์ เทียบกับแคลิฟอร์เนียที่มีเพียงแค่ 25 สายพันธุ์เท่านั้น ไฟป่าในชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เกิดจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ในขณะที่ในแอมะซอนเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า นักอนุรักษ์บางคนบอกว่ามีปัจจัยมาจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนทำการเกษตรและทำเหมือง นอกจากป่าฝนแล้ว แพนทานัล ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกและกินพื้นที่ประเทศบราซิล ปารากวัย และโบลิเวีย มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ก็ต้องเผชิญกับไฟป่าด้วยเช่นกัน ปกติแล้ว พื้นที่นี้จะเต็มไปด้วยน้ำในช่วงหน้าฝนระหว่างเดือน พ.ย. ถึง เม.ย. แต่ปีนี้ในพื้นที่กลับไม่มีน้ำท่วม ทำให้ภูมิภาคต้องเผชิญภัยแล้งอย่างหนัก ป่าฝนอินโดนีเซีย แม้ว่าฤดูไฟป่าในอินโดนีเซียจะเริ่มต้นตั้งแต่ 2-3 เดือนที่ผ่านมา แต่จังหวัดสุมาตราและกาลีมันตันกลางก็ยังมีไฟป่าลุกลามอยู่ โดยเจ้าหน้าที่กรีนพีซบอกว่าผืนป่าราว 4 แสนไร่ ได้เสียหายไปแล้วเมื่อนับถึงปลายเดือน ก.ค. แต่ก็ยังถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าปีก่อนหน้า กาลีมันตันกลาง ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สามของอินโดนีเซีย ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแล้วหลังพบไฟป่ามากกว่า 700 จุด ไฟป่าในอินโดนีเซียก็รุนแรงเช่นกัน ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES พื้นที่ชุ่มน้ำแบบพรุในแถบอาร์กติก ขณะที่ไฟป่าเริ่มลุกลามแคลิฟอร์เนียเมื่อเดือนที่แล้ว บริเวณอาร์กติกเซอร์เคิลก็เริ่มมีไฟป่าลุกลามแล้วเช่นกัน หน่วยบริการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศโคเปอร์นิคัสบอกว่า ไฟป่าในแถบอาร์กติกนี้ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ 244 เมกะตัน ซึ่งถือว่ามากกว่าปีที่แล้วรวมกันทั้งปีถึง 35% ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า มลพิษที่เกิดขึ้นอาจมาจากการเผาไหม้พื้นที่ชุ่มน้ำแบบพรุที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยคาร์บอน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ทุกปีพื้นที่ป่าราว 4 ล้าน ตร.กม. หรือราวพื้นที่เท่า ๆ สหภาพยุโรป ถูกไฟป่าเผาทำลาย ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศของโลก รายงานจากหน่วยบริการงานด้านความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ (Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services) จากเมื่อปีที่แล้ว เตือนว่า สัตว์และพืชราว ราว 1 ล้านสายพันธุ์ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูญพันธุ์ยิ่งกว่าที่เคยมีมา และไฟป่ายังทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ เนื่องจากสารมลพิษสามารถเดินทางไปได้ไกลและกลายเป็นพิษรุนแรงกว่าเดิมเมื่อทำปฏิกิริยากับแสงแดดและปัจจัยอื่น ๆ โควิด-19 พื้นที่ชุ่มน้ำแพนทานัลถูกไฟป่าทำลายในระดับที่องค์การนาซาบอกว่าไม่เคยพบมาก่อน ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าคนที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้พื้นที่ที่เกิดไฟป่าจะมีความเสี่ยงติดโควิด-19 มากขึ้น "ในบราซิล การติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่ชนพื้นเมืองสูงกว่าประชากรทั่วไปในประเทศถึง 150%" มูตินโญ่ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแอมะซอน กล่าว "เนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้อยู่ในหรือใกล้บริเวณที่โดนไฟป่า จึงน่ากังวลว่ามลพิษทางอากาศอาจส่งผลต่อระดับการติดเชื้อโควิด-19 ของคน" งานวิจัยบางชิ้นบอกว่ามลภาวะทางอากาศมีความเชื่อมโยงกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการร้ายแรง จนองค์การอนามัยโลกต้องออกมาเตือนประเทศต่าง ๆ ถึงความเป็นไปได้นี้ https://www.bbc.com/thai/international-54242024
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|