#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 28 กันยายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณแนวร่องมรสุมปกคลุมภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตลอดช่วง ประกอบกับ ในช่วงวันที่ 27 ? 29 ก.ย. 2563 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้จะเคลื่อนตัวเข้าสู่แนวร่องมรสุมปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และอ่าวไทยตอนบน สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผบ.ทร.ภาค 2 จี้ผู้ประกอบการเลี้ยงหอยแครงรื้อขนำให้สิ้นซาก สุราษฎร์ธานี - ผบ.ทร.ภาค 2 จี้ผู้ประกอบการเลี้ยงหอยแครงทะเลอ่าวบ้านดอน ต้องรื้อขนำไม่ให้เหลือซาก โดยผู้ประกอบการรื้อเองไปบางส่วน 111 หลัง ศรชล.รื้อเอง 2 หลัง ล่าสุด เสี่ยคนดังเมืองสุราษฎร์ฯ เข้าแสดงตัวเป็นเจ้าของ จากกรณีปัญหาความขัดแย้ง แย่งชิงผลประโยชน์ลูกหอยแครงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นพื้นสาธารณประโยชน์ประชาชนใช้ร่วมกัน และไม่อนุญาตให้มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน ในพื้นที่ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน และตำบลคลองฉนาก ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จ.สุราษฎร์ธานี จนเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มประมงพื้นบ้าน ผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการ จนเป็นที่มาของการสั่งรื้อขนำเฝ้าคอกหอยแครง คืบหน้าล่าสุด วันนี้ (27 ก.ย.) ที่กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยและแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณาบริเวณอ่าวบ้านดอน วัดชลธาร ต.บางไทร อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี พลร.ท.สำเริง จันทร์โส ผู้บัญชาการทหารเรือภาค 2 หรือผู้อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 2 ได้เดินลงพื้นที่เพื่อติดตามและให้กำลังแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่รื้อขนำกลางทะเล ซึ่งล่าสุดผู้ประกอบการได้รื้อไปบางส่วนแล้ว จำนวน 111 หลัง และมีจำนวน 2 หลัง รื้อไปโดยไม่มีซากหลงเหลือโดยทางเจ้าหน้าที่รื้อเอง ผอ.ศรชล.ภาค 2 กล่าวว่า วันนี้ขนำเฝ้าหอยแครงในพื้นที่อ่าวบ้านดอนโดยเฉพาะพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอพุนพินได้หายไปจากท้องทะเลจำนวนมาก เนื่องจากผู้ประกอบการรื้อถอนไปเอง แต่ยังมีเฝ้าปูนโครงสร้างตัวอาคารบางส่วนที่ยังไม่ได้รื้อ ดังนั้น จึงฝากเตือนไปถึงกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้เร่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่ทั้งหมด หากปล่อยทิ้งไว้ทาง ปปง.เข้าตรวจพื้นที่จะกลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่สาวไปถึงตัวเจ้าของขนำ จนโดนขยายผลติดตามยึดทรัพย์ในอนาคตต่อไป ด้าน นายเดชา ปรัชญารัตน์ ผู้อำนวยการกองกฎหมายกรมประมง ได้กล่าวย้ำว่า ทางกรมประมงเอาจริงกับผู้บุกรุกครอบครองพื้นที่สาธารณประโยชน์อ่าวบ้านดอน และดำเนินการต่อชาวประมงที่ใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายในการทำประมง และที่ยอมไม่ได้ในกรณีมีผู้คุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประมง พร้อมยังระบุว่า ผู้ที่บุกรุกครอบครองพื้นที่สาธารณประโยชน์อ่าวบ้านดอนและดำเนินการเลี้ยงหอยแครงพร้อมก่อสร้างขนำมีความผิดตามกฎหมายฟอกเงินของ ปปง. สำหรับบรรยากาศการรื้อถอนขนำในวันนี้มีเป้าหมายจำนวน 2 หลัง 1 ในจำนนวนนั้นมีเสี่ยคนดังของเมืองสุราษฎร์ธานีเข้ามาแสดงตนรับเป็นเจ้าของและขอรื้อเองโดยขอเวลา 30 วัน ในการรื้อถอน ทางเจ้าหน้าที่ได้เปิดโอกาสให้แต่ก็ได้กำชับว่าต้องรื้อถอนให้สิ้นซาก มิฉะนั้นเมื่อถึงเวลากำหนดทางเจ้าหน้าที่จะได้เข้ารื้อถอนเอง https://mgronline.com/south/detail/9630000098909
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
ผลตรวจคุณภาพน้ำทะเลเกาะสมุยจากเหตุเรือขยะล่มไม่พบมลพิษ ทะเลสมุยไม่มีมลพิษ ผลตรวจคุณภาพน้ำทะเลหลังเหตุเรือขนส่งขยะอัปปางผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ว่าฯชี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 63 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 (สุราษฎร์ธานี) ได้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลจากเหตุเรือขนส่งขยะอัปปาง ใน อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ตามแผนปฏิบัติการกู้ขยะจากบริเวณเรืออับปางและบริเวณชายหาดที่อาจจะมีผลกระทบ ทั้งก่อนและหลังปฏิบัติการกู้เรือ ซึ่งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล จำนวน 3 ครั้ง จาก 4 สถานีหลักครอบคลุมช่วงก่อนกู้เรือ ระหว่างการกู้เรือ และหลังกู้เรือ เพื่อติดตามผลกระทบจากการปนเปื้อนมลพิษของขยะในเรือ รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลครั้งที่ 1 ก่อนจะกู้เรือซึ่งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล เมื่อวันที่ 24 ส.ค.63 เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พบว่า จุดที่ 1 บริเวณที่เกิดเหตุเรืออับปาง ปรากฏว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จุดที่ 2 ชายฝั่งทะเลบ้านตลิ่งงาม หมู่ที่ 3 ต.ตลิ่งงาม อ.เกาะสมุย ซึ่งเป็นชุมชนใกล้กับจุดเกิดเหตุมากที่สุดของเกาะสมุย พบคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ปะการัง จุดที่ 3 ชายฝั่งทะเลเกาะแตน ด้านทิศตะวันตกใกล้จุดเกิดเหตุ และเป็นบริเวณที่พบผู้เสียชีวิต คุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์ปะการัง จุดที่ 4 ชายฝั่งทะเลบ้านหัวถนน หมู่ที่ 1 ต.มะเร็ต อ.เกาะสมุย ซึ่งเป็นจุดที่คาดว่ากระแสน้ำจุดเกิดเหตุไหลผ่าน พบไม่อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการอนุรักษ์ปะการัง สาเหตุอาจเกิดจากมีน้ำทิ้งจากชุมชนบนฝั่งไหลลงมาทั้งจากตลาด ร้านอาหาร และท่าเรือประมงชายฝั่ง นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า จากเหตุเรือเฟอร์รี่ประสบเหตุล่ม ทางจังหวัดและหน่วยงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยแผนการกู้เรือได้ให้มีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลจากห้องปฎิบัติการ เนื่องจากเกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยผลการตรวจสอบพบคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นได้เป็นอย่างดี https://www.posttoday.com/social/local/634072#cxrecs_s
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
คลื่นความร้อนวงกว้างในมหาสมุทรเกิดบ่อยครั้งกว่าเดิม 20 เท่าจากฝีมือมนุษย์ ที่มาของภาพ,AFP ปรากฏการณ์ที่มีมวลน้ำอุ่นผิดปกติก่อตัวขึ้นเป็นบริเวณกว้างในมหาสมุทร หรือที่เรียกกันว่า "คลื่นความร้อนทางทะเล" (marine heat wave) นั้น แม้อาจเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันมีหลักฐานที่ชี้ว่า พบคลื่นความร้อนใต้ผืนน้ำได้บ่อยครั้งขึ้นอย่างน่าตกใจ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกจากการกระทำของมนุษย์ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกไว้ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา จนพบว่าในช่วงหลัง ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนทางทะเลแต่ละครั้งมีความรุนแรงและกินเวลายาวนานมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นบ่อยถี่กว่าแต่ก่อนอย่างมากถึง 20 เท่า ในมหาสมุทรทุกแห่งของโลก รายงานวิจัยที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเบิร์นของสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งลงตีพิมพ์ในวารสาร Science ระบุว่า ในสิบปีแรกของช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ซึ่งอยู่ระหว่างปี 1981-2017 โลกมีปรากฏการณ์คลื่นความร้อนทางทะเลครั้งใหญ่เกิดขึ้นทั้งสิ้น 27 ครั้ง โดยคลื่นความร้อนคงตัวอยู่เป็นเวลาราว 32 วันก่อนจะสลายไป และทำให้ผืนน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว 4.8 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลข้างต้นกับช่วงเวลาไม่กี่ทศวรรษหลังจากนั้น พบว่าในช่วงสิบปีสุดท้ายของการศึกษา กลับมีปรากฏการณ์คลื่นความร้อนทางทะเลครั้งใหญ่เกิดเพิ่มขึ้นถึง 172 ครั้ง โดยคลื่นความร้อนคงตัวอยู่เป็นเวลานานขึ้นราว 48 วัน และทำให้ผืนน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาว 5.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยยังนำข้อมูลทางสถิติที่วิเคราะห์ได้ข้างต้นไปสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เพื่อคำนวณหาแนวโน้มความถี่ของการเกิดคลื่นความร้อนทางทะเลครั้งใหญ่ในอนาคตด้วย ที่นอกชายฝั่งอเมริกาเหนือ มวลน้ำอุ่นผิดปกติซึ่งเกิดจากคลื่นความร้อนทางทะเลทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ... ที่มาของภาพ,NOAA มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า หากปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนทางทะเลจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 1 ทศวรรษ หรือรอบ 1 ศตวรรษ แต่หากปล่อยให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกปี หรือทุก 1 ทศวรรษ ซึ่งนับว่าเป็นแนวโน้มที่น่ากลัว เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมที่คลื่นความร้อนทางทะเลครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งในรอบหลายร้อยปีหรือหลายพันปี ความเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็วดังกล่าว เกิดขึ้นในยุคที่มนุษย์เร่งพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งชี้ว่าการกระทำของคนยุคใหม่มีอิทธิพลต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโลก รวมทั้งการเกิดคลื่นความร้อนทางทะเลที่บ่อยถี่ผิดปกตินี้ด้วย ทีมผู้วิจัยบอกว่าการที่ผืนน้ำกว้าง 1.5 ล้านตารางกิโลเมตรในมหาสมุทร มีอุณหภูมิสูงขึ้น 5.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ ก็สามารถจะสร้างความเสียหายถาวรต่อระบบนิเวศใต้ทะเลได้อย่างมหาศาลแล้ว เช่นทำให้เกิดปะการังฟอกขาว ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง สารอาหารในทะเลลดลง รวมทั้งสัตว์น้ำล้มตายและต้องอพยพสู่เขตที่มีน้ำเย็นกว่า https://www.bbc.com/thai/features-54315995
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|