#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 14 ตุลาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือในระยะนี้ อนึ่ง พายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) "นังกา" บริเวณอ่าวตังเกี๋ย กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวตังเกี๋ยเข้าสู่บริเวณ ประเทศเวียดนามตอนบน ในวันนี้ (14 ตุลาคม 2563) โดยจะมีผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝน ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 14 - 15 ต.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีฝนเพิ่มมากขึ้น และ 16 - 19 ต.ค. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ในขณะที่ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมทำให้มีฝนน้อยในระยะนี้ อนึ่ง พายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) "นังกา" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย และเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 14-15 ตุลาคม 2563 แล้วจะอ่อนกำลังลง และในช่วงวันที่ 16 - 19 ต.ค. จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 17 - 18 ต.ค. ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) "นังกา" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 14 ? 16 ต.ค. 2563)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2563 เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (14 ตุลาคม 2563) พายุระดับ 3 (พายุโซนร้อน) "นังกา" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่อ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 19.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวตังเกี๋ย เข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบน ในวันนี้ (14 ตุลาคม 2563) โดยจะทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณด้านตะวันออก และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือในระยะนี้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ระทึก ระเบิดยุคสงครามโลก 2 บึมขณะเก็บกู้ เคราะห์ดีไม่คนเจ็บ ระเบิดยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดระหว่างการเก็บกู้ใต้ทะเล ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปแลนด์ แต่เคราะห์ดีที่ไม่มีผู้บาดเจ็บ สำนักข่าว เอบีซีนิวส์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ของประเทศโปแลนด์ทำการเก็บกู้ระเบิด 'ทอลล์บอย' (Tallboy) ที่อังกฤษเคยทิ้งลงมาโจมตีในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วในวันอังคารที่ 13 ต.ค. 2563 หลังจากพบระเบิดลูกนี้ใต้ทางเดินเรือซึ่งนำไปสู่เมืองท่า สไวนูจซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 เจ้าหน้าที่โปแลนด์ใช้เวลาเตรียมการเก็บกู้ระเบิดน้ำหนักกว่า 5.4 ตัน ลูกนี้นานหลายเดือน โดยอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกว่า 750 คน และปิดกั้นการเดินเรือ ส่วนผู้เชี่ยวชาญจะใช้อุปกรณ์ระยะไกลปลดชนวนระเบิดใต้น้ำ ด้วยวิธีการ 'deflagration' หรือการเผาไหม้เชื้อประทุระเบิดในจุดที่อุณหภูมิต่ำกว่าระดับทำให้ระเบิด แต่ระหว่างดำเนินการในวันอังคาร ระเบิดลูกนี้กลับถูกจุดขึ้น ส่งแรงระเบิดดันน้ำทะเลพุ่งขึ้นฟ้า ชาวเมืองสไวนูจซี สามารถรู้สึกถึงแรงระเบิดได้ อย่างไรก็ตาม พันโท เชกอร์ซ เลวานดอฟสกี โฆษกกองทัพเรือโปแลนด์ยืนยันว่า ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บในเหตุระเบิด เนื่องจากเจ้าหน้าที่อยู่ในระยะห่างที่ปลอดภัย อนึ่ง ทอลล์บอย มีฉายาว่าระเบิดแผ่นดินไหว เพราะแรงระเบิดสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้ ถูกออกแบบโดยวิศวกรการบินชาวอังกฤษ บาร์นส์ วอลลิส และถูกใช้โดยกองทัพอากาศอังกฤษ เพื่อสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ด้วยคลื่นกระแทก โดยเมืองสไวนูจซีซึ่งในช่วงสงครามโลกอยู่ภายใต้การปกครองของนาซี ก็เป็นหนึ่งในเมืองที่ถูกระเบิดลูกนี้โจมตี https://www.thairath.co.th/news/foreign/1952004
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ปักหมุดเลย! หาดจอมเทียน อีกหนึ่งจุดน้ำทะเลใส-ทรายสวยไม่แพ้บางแสน ศูนย์ข่าว?ศรี?ราชา ?-ปักหมุดอีกจุดน้ำทะเลใส -ทราย?สวย ! ชายหาดจอม?เทียน? อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ทำนักท่องเที่ยวแห่ลงเล่นน้ำถ่ายภาพแชร์โลกออนไลน์ วันนี้ (13 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจสภาพน้ำทะเลบริเวณชายหาดจอมเทียน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมซึ่งในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวสภาพชายหาดและน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวจะมีความสวยงาม น้ำใสสะอาดจนเห็นผืนทรายสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีไม่แพ้แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอื่นๆ โดยในวันนี้พบว่า มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติแห่พาครอบครัวเดินทางมาพักผ่อนบริเวณชายหาดและลงเล่นน้ำทะเลกันอย่างคึกคัก ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวยังได้พากันถ่ายภาพความสวยงาม?ของชายหาดและท้องทะเลเผยแพร่ในโลกสังคมออนไลน์เพื่อชักชวนให้เดินทางมาท่องเที่ยวยังชายหาดแห่งนี้ บางรายได้พากันเก็บหอยเสียบริมชายหาดเพื่อนำไปประกอบอาหาร ซึ่งในวันหยุดเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ในหลวงรัชกาล 9 พบว่ามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวบริเวณชายหาดจอมเทียนเป็นจำนวนมาก https://mgronline.com/local/detail/9630000104554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
มติร่วม! สั่งยุติทิ้งตะกอนใกล้เกาะลิบงหลังหญ้าทะเลตาย มติร่วมชุมชน-นักอนุรักษ์ เกาะลิบง จ.ตรัง ให้กรมเจ้าท่าและบริษัทรับเหมา นำตะกอนที่ขุดร่องน้ำอ่าวกันตังไปทิ้งในจุดอื่น หลังเจอปัญหาแหล่งหญ้าทะเลในอ่าวทุ่งจีน อาหารพะยูนตายนับพันไร่ ขณะที่อ้างว่ามีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว วันนี้ (13 ต.ค.2563) นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง กล่าวว่า หลังจากพบปัญหาหญ้าทะเลบริเวณอ่าวทุ่งจีน อ.กันตัง จ.ตรัง เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มเน่าตายเป็นบริ เวณกว้าง สาเหตุอาจมาจากตะกอนดินที่มาทับถม ทำให้ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ร่วมกันเรียกร้องให้กรมเจ้าท่าแก้ปัญหาที่เกิดขึ้่น เพราะกังวลว่าจะทำให้กระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูน ทั้งนี้จากการประชุมร่วมของตัวแทนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า ผู้ประสานงานมูลนิธิอันดามัน เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง และตัวแทนบริษัท แสงเจริญมารีนเซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาขุดลอกร่องน้ำกันตัง ประชุมร่วมกันเพื่อหาทางแก้ปัญหาการตายของหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิบง "มีมติให้กรมเจ้าท่า ประสานงานกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงหาจุดทิ้งตะกอนที่เหมาะสมบนฝั่ง ประสานกับชุมชนมดตะนอย เกาะลิบง บ้านทรายขาว เพื่อนำทรายกับหินไปช่วยเติมในพื้นที่ที่มีการกัดเซาะชายฝั่งโดยจะทำการศึกษาผลกระทบอย่างถี่ถ้วน" สำหรับโคลน กรมเจ้าท่ากับบริษัทรับเหมา จะไปศึกษาจุดทิ้งตามข้อเสนอของที่ประชุม คือห่างจากจุดเดิมออกไปในทะเล ระยะทาง 12-13 กิโลเมตร จากจุดทิ้งเดิม และห่างจากเกาะลิบงประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งต้องมีการศึกษาและสำรวจพื้นที่เหมาะสมอีกครั้ง ศึกษาตะกอน-ขุดทิ้งบนฝั่งห้ามทิ้งในทะเล นอกจากนี้จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการพะยูนและหญ้าทะเล และลงพื้นที่จัดเวที ประชุมชี้แจงรับฟังความเห็นของชุมชนบนเกาะลิบง วางแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ควบคู่กับการศึกษาปริมาณตะกอน และคุณภาพน้ำบริเวณดังกล่าว "สำหรับการขุดลอกร่องน้ำในปีงบประมาณ 2564 เสนอให้กรมเจ้าท่าดำเนินการขุดลอกในแหล่งที่เป็นหินเป็นหลัก และให้นำขึ้นมาทิ้งบนฝั่งทั้งหมด" ทั้งนี้ สำหรับจุดทิ้งตะกอนดินตามโครงการของกรมเจ้าท่า ตั้งแต่ปี 2560 อยู่นอกเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ห่างจากแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ประมาณ 5 กิโลเมตร และจุดขุดลอกตะกอนดินอยู่ในแม่น้ำตรัง บริเวณตั้งแต่ท่าเรือกันตังมาตลอดแม่น้ำตรังจนออก ปากแม่น้ำตรัง ในปีงบประมาณ 2563 กรมเจ้าท่า แจ้งว่าโครงการขุดลอกเสร็จสิ้นแล้ว และแจ้งว่าได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาผลกระทบตั้งแต่ก่อนดำเนินการขุดลอก และระหว่างขุดลอก และหลังจากขุดลอกเสร็จสิ้น เพื่อเป็นข้อมูลนำมาบริหารจัดการในการดำเนินการ https://news.thaipbs.or.th/content/297321
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|