#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดน้อยลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆมาก กับมีฝนเล็กน้อย ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 20 - 21 ต.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้ ในช่วงวันที่ 22 - 25 ต.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศเย็นและมีลมแรง ในขณะที่ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง อนึ่ง พายุดีเปรสชัน (พายุระดับ 2) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน (พายุระดับ3) และจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 20-21 ต.ค. 63 หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งเวียดนามในช่วงวันที่ 23-24 ต.ค. 63 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 22-25 ต.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เฮ! เปิด "เกาะสิมิลัน" รับนักท่องเที่ยวหลังคลื่นลมสงบ พังงา - เปิด "เกาะสิมิลัน" แล้ว หลังฝนหยุดตก คลื่นลมสงบ นักท่องเที่ยวสุดดีใจได้ลงเรือชมความสวยงามหลังถูกปิดมานานเกือบ 7 เดือน จากกรณีอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประกาศปิดเกาะสิมิลันตั้งแต่วันที่ 15 ต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง หวั่นเกิดอันตรายกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยว ล่าสุด วันนี้ (19 ต.ค.) ทางอุทยานได้ประกาศเปิดเกาะรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งหลังคลื่นลมสงบ โดยที่ท่าเรือบ้านทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา พบว่า บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย มากันเป็นหมู่คณะ ครอบครัว และคู่รัก มาขึ้นเรือเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยวยังหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ จำนวนมาก เพื่อชมความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวหลังถูกปิดมายาวนานถึง 7 เดือน โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังเกาะสิมิลันในครั้งนี้ต่างก็ดีใจที่ได้เดินทางไปยังเกาะสิมิลัน และเกาะสุรินทร์ หลังรอกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากขณะนี้แหล่งท่องเที่ยวมีความสวยงาม และกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง https://mgronline.com/south/detail/9630000106321 ********************************************************************************************************************************************************* ฮือฮา! พบ "ปูไก่" สัตว์หายากอาศัยที่ทำการอุทยานหมู่เกาะลันตา นับ 1,000 ตัว กระบี่ - ฮือฮา! พบ "ปูไก่" สัตว์หายาก ขุดรูอาศัยบริเวณที่ทำการอุทยานหมู่เกาะลันตา นับ 1,000 รู ระบุพบมากที่สุดใน จ.กระบี่ ชี้ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ทางอุทยานฯ ได้ทำการสำรวจสัตว์ทะเลและสัตว์บกตามเกาะแก่งต่างๆ บริเวณหมู่เกาะลันตา เพื่อเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลตามหมู่เกาะลันตา ซึ่งปรากฏว่า จากการสำรวจ เจ้าหน้าที่พบ "ปูไก่" หรือปูภูเขา ซึ่งเป็นปูหายากชนิดหนึ่ง เข้ามาขุดรูอาศัยอยู่บริเวณใกล้ที่ทำการอุทยานฯ เป็นจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 1 พันรู หรือ 1 พันตัว และในช่วงกลางคืน "ปูไก่" ก็จะออกจากรูมาหากิน ส่งเสียงร้องคล้ายกับลูกไก่ สร้างความตื่นเต้นแก่เจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมอุทยาน และในตอนกลางวันปูไก่เหล่านี้ก็จะกลับเข้าไปอยู่ในรู ซึ่งจากที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในอุทยานฯ มาหลายแห่ง พบว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตาพบปูไก่ เยอะมากที่สุดที่เคยพบมา เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ เนื่องจากปูชนิดนี้นับวันจะเหลือน้อยลง และใกล้จะสูญพันธุ์ เหตุจากความหลากหลายทางธรรมชาติที่เปลี่ยนไป นายวีระศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปูไก่ที่พบใกล้ที่ทำการอุทยานหมู่เกาะห้อง มีขนาดรูและตัวหลายขนาด ตั้งแต่ 5-10 ซม. มีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในตอนกลางวันจะหลบซ่อนตัวอยู่ในรูและช่วงกลางคืนก็จะออกหากินซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร ทั้งนี้ ที่ได้ชื่อว่าปูไก่นั้น ก็เพราะมีเสียงร้องคล้ายกับลูกไก่ อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจตามเกาะอื่นๆ ยังไม่พบปูไก่ ขณะนี้พบเพียงที่เดียวในเขตอุทยานหมู่เกาะลันตา ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี และบ่งชี้ถึงสภาพระบบนิเวศป่าภายในอุทยานหมู่เกาะลันตา ยังมีความสมบูรณ์อยู่เป็นอย่างมาก https://mgronline.com/south/detail/9630000106358
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
ทุบสถิติรอบ 86 ปี ฉลามในออสเตรเลียคร่าชีวิตคน 7 ราย ฉลามในออสเตรเลียคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 7 รายในปีนี้ มากสุดในรอบ 86 ปี โดยส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป โฆษกจากสมาคมอนุรักษ์สัตว์จาก สวนสัตว์ทารองกา ออสเตรเลีย เปิดเผยว่า การโจมตีของฉลามในออสเตรเลีย เกิดขึ้นในหลายรัฐทั้งควีนส์แลนด์และนิวเซาท์เวลส์ โดยเมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีการนำเสนอข่าวการหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่พบแม้กระทั่งศพของนักประดาน้ำ ซึ่งโดยปกติแล้วในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการถูกฉลามโจมตี 1-2 คน และในปี 2562 ไม่มีผู้เสียชีวิตเลย แต่ปรากฏว่าในปีนี้ คาดว่าฉลามคร่าชีวิตคนเหล่านั้นไปแล้ว 7 คน เท่ากับเมื่อ 86 ปีก่อน (พ.ศ.2477) โดยผู้เชี่ยวชาญ คาดว่า ฉลาม 3 สายพันธุ์ที่ต้องสงสัยว่า เข้าโจมตีมนุษย์จนเสียชีวิตมากที่สุด คือ ฉลามกระทิง ฉลามขาว และฉลามเสือ ศาสตราจารย์ คูลัม บราวส์ (Culum Brown) จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพของมหาวิทยาลัยแมคควอรี่ ในซิดนีย์ กล่าวว่า การเข้าโจมตีของฉลามในออสเตรเลียเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 21 ครั้งต่อปี และตลอด 50 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากการถูกฉลามโจมตี 1 ราย แต่ในปีนี้ถือว่าสูงมาก มีคำอธิบายที่ถึงเหตุการณืที่เกิดขึ้นในหลายปัจจัย ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชี้ให้เห็นว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นคือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ "เมื่ออุณหภูมิในมหาสมุทรร้อนขึ้น ระบบนิเวศทั้งหมดกำลังถูกทำลายและถูกบีบให้ปรับตัว ปลาต่างๆ อพยพย้ายถิ่น ไปในที่ที่ไม่เคยไปมาก่อน พฤติกรรมของสัตว์แต่ละสปีชีส์ กำลังเปลี่ยนไป ส่งผลให้ระบบนิเวศโลกใต้ทะเลเปลี่ยนไปด้วย และฉลามก็ติดตามเหยื่อของมันซึ่งอาจทำให้ต้องเข้าใกล้ชายฝั่งและมนุษย์มากขึ้น" บราวส์ กล่าว นอกจากนั้นแล้ว ผลพวงจากสถานการณ์ไฟป่าขนาดใหญ่ทำให้เกิดคลื่นความร้อน ภัยแล้ง ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติการณ์ ส่งผลไปยังมหาสมุทรทำให้เกิดสภาวะความเป็นกรดและอุณหภูมิที่สูงขึ้น สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย โดยพบว่าสภาพภูมิอากาศ และอุณหภูมิของน้ำร้อนขึ้นประมาณ 4 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก จุดสำคัญคือ แนวปะการัง เกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) ซึ่งเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญตามแนวชายฝั่งตะวันออก ประสบปัญหาปะการังฟอกขาวอย่างต่อเนื่องและขยายวงกว้าง ส่งผลให้แนวปะการังตายไปกว่าครึ่ง ป่าชายเลนถูกทำลายไปอีกจำนวนมหาศาลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้ทำให้สัตว์ทะเลอพยพไปทางใต้มากกว่าปกติ เพื่อค้นหาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น สัตว์จำพวกปลาหางเหลือง ที่มักพบเห็นได้ทั่วไปในน่านน้ำเขตร้อนทางตอนเหนือ ก็ปรากฏเป็นฝูงใกล้กับเกาะทางตอนใต้ของรัฐแทสเมเนีย ปลาหมึกซิดนีย์ เปลี่ยนจากรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของควีนส์แลนด์ลงมาที่แทสเมเนีย แม้แต่แพลงก์ตอนและพืชอย่าง สาหร่ายทะเล ก็เคลื่อนตัวไปทางใต้ เช่นกัน ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่า นักล่าอย่างฉลามจะต้องตามล่าเหยื่อของมันไปด้วย ประกอบกับในมหาสมุทร จะมีกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวทั้งกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็น กระแสน้ำในออสเตรเลียตะวันออกมีบทบาทสำคัญในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา พัดพา กระแสน้ำจากเขตร้อนทำให้น้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น ขณะเดียวกันกระแสน้ำที่มีความรุนแรงมากขึ้น ก็ทำให้น้ำเย็นที่อุดมด้วยสารอาหารไหลไปสู่ชายฝั่งตะวันออกบางแห่ง อุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งเหล่านี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉลามเริ่มเคลื่อนตัวเข้าใกล้มนุษย์มากขึ้น โรเบิร์ต ฮาร์คอร์ท นักวิจัยด้านนิเวศวิทยาของฉลามและผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนักล่าทางทะเลของ มหาวิทยาลัยแมคควอรี่ กล่าวว่า "พวกฉลามอาจมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นตลอดเวลา" มหาสมุทรกำลังเปลี่ยนไป และฉลามก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับมัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทำลายล้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของโลกและทำให้ทุกอย่างขาดความสมดุล รบกวนระบบนิเวศทางทะเล ที่อาศัยอยู่ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวอพยพที่มีผลต่อมนุษย์มากขึ้น เรียบเรียงจาก CNN https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/135146
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|