#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 28 ตุลาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" (พายุระดับ 5) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในวันนี้ (28 ตุลาคม 2563) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน (พายุระดับ 3) ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่ร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ส่งผลทำให้ภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและลมแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 28 ต.ค. - 2 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" (พายุระดับ 5) จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ในวันที่ 28 ต.ค. 63 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับในระยะต่อไป บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเย็น ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 28 ? 30 ต.ค. 63 บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนตกหนักกับมีลมแรง สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 28 ? 30 ต.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" (พายุระดับ 5) (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 28 ? 30 ตุลาคม 2563)" ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2563 เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (28 ตุลาคม 2563) พายุไต้ฝุ่น "โมลาเบ" (พายุระดับ 5) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากทางด้านตะวันออกของเมืองบินห์ดินห์ ประเทศเวียดนาม ประมาณ 120 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 14.3 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.2องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 155 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในเช้าวันนี้ (28 ตุลาคม 2563) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน (พายุระดับ 3) ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเป็นบริเวณกว้างและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในช่วงวันที่ 28-29 ตุลาคม 2563 ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรง ส่งผลทำให้ภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมแรง จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากมีดังนี้ ในวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ในช่วงวันที่ 29-30 ตุลาคม 2563 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและลมแรง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เศร้า พะยูนสาว ถูกใบพัดเรือลอยในอ่าวมาหยา ตายขณะนำส่งรักษา สัตวแพทย์ และเจ้าหน้าที่ อช.นพรัตน์ธาราฯ เข้าช่วยเหลือพะยูนเพศเมีย มีแผลฉกรรจ์ที่กลางหลัง คาดถูกใบพัดเรือ ว่ายน้ำอย่างอ่อนแรงอยู่ในอ่าวมาหยา จ.กระบี่ นำส่งรักษาที่ศูนย์ช่วยสัตว์ทะเลหายากฯ จ.ภูเก็ต แต่ตายระหว่างทาง เมื่อวันที่ 27 ต.ค. เจ้าหน้าที่ทีมสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนบน พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เข้าช่วยเหลือพะยูนเพศเมีย ยาว 1.7 เมตร อายุประมาณ 8-12 ปี น้ำหนัก 115 กก. ว่ายน้ำเข้ามาบริเวณอ่าวมาหยา เกาะพีพีเล อ.เมืองกระบี่ พบที่หลังมีบาดแผลยาว 20 ซม. กว้าง 7 ซม. คาดว่าถูกใบพัดเรือ เป็นแผลมานานประมาณ 2 สัปดาห์ โดยพะยูนตัวดังกล่าว มีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด จึงเร่งนำตัวส่งไปรักษาด่วนที่ศูนย์ช่วยสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร อ.เมือง จ.ภูเก็ต ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ตั้งชื่อให้พะยูนตัวนี้ว่า น้องมาหยา โดยระหว่างนำตัวส่งไปยังศูนย์ช่วยเหลือ ได้ปฐมพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากสภาพร่างกายของพะยูน อ่อนแรงอย่างมาก และตายระหว่างนำตัวส่งศูนย์ช่วยเหลือฯ ท่ามกลางความเศร้าเสียใจของเจ้าหน้าที่ ที่พยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ โดยจะนำซากผ่าพิสูจน์อย่างละเอียดอีกครั้ง https://www.thairath.co.th/news/local/south/1963046 ********************************************************************************************************************************************************* มลพิษทางอากาศมีผลต่อโรคซึมเศร้า และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร งานวิจัยพบมลพิษทางอากาศมีผลต่ออาการซึมเศร้า พบฝุ่นละอองขนาดเล็กในสมองของมนุษย์ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคร้าย - นักวิจัยเผยพบหลักฐานเชื่อมโยงมลพิษทางอากาศกับโรคซึมเศร้า ชี้ผู้ที่สูดดมมลพิษมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศสะอาด - การเพิ่มขึ้นของก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ จากเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้ประชากรเสี่ยงการเป็นโรคที่เกี่ยวข้างกับจิตประสาทมากถึง 39 เปอร์เซ็นต์ และกระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด - สหประชาชาติเผยประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษกว่าสองแสนราย เด็กทารกเสี่ยงที่สุด นักวิจัยเรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งลงมือแก้ไขก่อนสายเกินแก้ ปัญหามลพิษทางอากาศไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษเผยผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษฝุ่นละออง มีแนวโน้มเผชิญปัญหาสุขภาพจิต มากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์มากถึงสองเท่า ซึ่งการสูดดมอากาศที่เป็นพิษยังเข้าไปทำลายอวัยวะทุกส่วนของร่างกายจนสุขภาพย่ำแย่ และมีความเชี่ยมโยงกับโรคซึมเศร้า แต่อาการที่เกิดขึ้นจากการสูดดมอากาศเป็นพิษนั้นแตกต่างจากโรคจากพันธุกรรม และสามารถป้องกันได้หากมีการเอาจริงเอาจังกับมาตรการต่างๆ สถิติจากองค์การอนามัยโลกเผย ประชากรโลก 90 เปอร์เซ็นต์สูดดมอากาศเป็นพิษซึ่งเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพ ขณะที่ ดร.เอียน มัดเวย์ นักวิชาการจาก วิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน ชี้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองมีโอกาสมีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ (Mental Disorder) และยังพบความเชี่ยมโยงระหว่างมลพิษที่ส่งผลให้เกิดอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการเติบโตในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง ส่งผลให้เป็นโรคความผิดปกติทางจิตประสาท ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสติปัญญาเชื่อมโยงกับโรคสมองเสื่อม และมีแนวโน้มเข้าไปทำลายอวัยวะทุกๆ ส่วนของร่างกาย สอดคล้องกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology ที่ชี้ให้เห็นว่าถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถทำการทดลองความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษและสุขภาพมนุษย์ได้โดยตรง แต่พบความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษทางอากาศกับอาการอักเสบภายในร่างกาย และพบหลักฐานที่ชี้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นมีความเกี่ยวพันกับความเสียหายของโมเลกุลสมอง ขณะที่เว็บไซต์ นิวส์ไซเอนทิสท์ ตั้งข้อสังเกตว่า ผลการวิจัยที่เชื่อมโยงฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 และโรคซึมเศร้า โดยถึงแม้จะไม่สามารถฟันธงความเสียหายของสมองที่เกิดขึ้นจากมลพิทางอากาศได้โดยตรง แต่งานวิจัยจากทั่วโลกพบหลักฐานที่คล้ายคลึงกัน ชี้ว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าไปในสมองมนุษย์ผ่านทางเส้นเลือด กระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด มลพิษทางอากาศ สาเหตุประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ด้านสหประชาชาติ ชี้ประชากรโลก 226,000 ศพ ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในปี 2016 จากการสูดดมอากาศที่เป็นพิษในพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยพบเด็กทารกเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่สุด ปัญหามลพิษยังเป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในประเทศกำลังพัฒนาในแถบเอเชียใต้ และแอฟริกา ขณะที่ธนาคารโลกชี้ว่าปัญหามลพิษได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 156 ล้านล้านบาท นักวิทย์เรียกร้องจัดการปัญหามลพิษ ความเสียหายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศนั้นแตกต่างปัญหาสุขภาพทางพันธุกรรม ที่ถูกถ่ายทอดผ่านสายเลือดซึ่งในบางเคสไม่อาจหลีกเลี่ยงโรคภัยทางพันธุกรรมได้ แต่ปัญหาทางสุขภาพที่เกิดจากมลพิษนั้นสามารถจัดการได้หากทุกฝ่ายหันมาให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา ด้านศาสตราจารย์ อันนา ฮานแซล จากมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ขณะนี้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการลดมลพิษทางอากาศที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และประชาชนควรหันมาสนใจสุขภาพของตน ปัญหามลพิษเป็นปัญหาที่ประชาชนทุกคนต้องลงมือแก้ไข ไม่ใช่แค่วิตกกังวล ซึ่งหลักฐานที่แสดงให้เห็นผลเสียจากมลพิษที่ทำลายสุขภาพนั้นชัดเจนพอที่จะทำให้เกิดการตั้งคำถามและเรียกร้องการลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1961279
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ชาวประมงผงะ!จับได้ปลาคล้ายหน้าคน ผวาไม่กล้ากิน ชาวประมงกระบี่ผงะจับได้ปลาหน้าตาประหลาด คล้ายใบหน้าคน น้ำหนักเกือบ 3 กก. ด้านนักวิชาการ เผยเป็นปลาอุกหรือปลาอุบยักษ์แต้มขาวชนิดใหม่ ที่ค้นพบโดยนักวิจัยชาวไทยและต่างประเทศ ? เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจากชาวประมง บ้านคลองกรวด หมู่ 6 ต.เขาทอง? อ.เมือง จ.กระบี่ ว่า ชาวประมงจับปลารูปร่างหน้าตาประหลาด ขนาดใหญ่ได้ เบื้องต้นพบว่า ชาวประมงที่พบปลาดังกล่าว คือ นายประเสริฐ ชูกูล อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 145 หมู่ 6 ต.เขาทอง จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบนายประเสริฐได้นำปลาตัวดังกล่าวขึ้นจากเรือ ที่บริเวณท่าเทียบเรือหลังบ้าน ขณะที่ชาวบ้านกำลังยืนมุงดูปลาตัวขนาดใหญ่ วางบนตาชั่ง น้ำหนัก 2.7 กิโลกรัม ยาว 42 เซนติเมตร ลำตัวลักษณะลายจุดขาวคล้ายปลาเก๋า แต่ส่วนหัวมีลักษณะแปลกออกไป ตา 2 ข้างตั้งอยู่ด้านบนหัว มีปากใหญ่และหนา ครีบหางมี 3 แฉก นายประเสริฐ กล่าวว่า ตนได้จับปลาตัวดังกล่าวได้เมื่อวานนี้ ( 25 ต.ค.) หลังจากที่ออกไปวางอวนดักปูม้าที่บริเวณเกาะบงบง ต.เขาทอง ห่างจากท่าเรือประมาณ 20? กม.ขณะที่ตนและลูกเรือกำลังสาวอวนขึ้นมา รู้สึกว่าอวนหนักมากเมื่ออวนโผล่พ้นน้ำก็ต้องตกใจ เมื่อเห็นตัวปลาหน้าตาประหลาดน่ากลัว ไม่เคยเห็นมาก่อน แทบจะวางอวนลง แต่ด้วยความอยากรู้ว่าเป็นปลาอะไรกันแน่ จึงนำกลับมาบ้าน สอบถามชาวประมงเก่าแก่ในหมู่บ้านก็ไม่มีใครรู้จัก และไม่เคยเห็น จึงไม่กล้านำไปประกอบอาหาร เพราะหน้าตาคล้ายคนมาก เปลือกปากใหญ่แต่ไม่มีฟันแม้แต่ซี่เดียว ด้าน ดร.ทัศพล กระจ่างดารา นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามัน(ภูเก็ต) กล่าวว่า ปลาชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่าปลาอุก แต่ชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นอาจเรียกไม่เหมือนกัน บางพื้นที่เรียกปลาอุก หรือ ปลาอุบยักษ์? ซึ่งพบเห็นได้ในทะเลประเทศไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ประชากรปลาจำพวกนี้มีน้อยมาก จึงไม่มีใครสังเกต แต่ก็มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ขณะที่ข้อมูล จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า ปลาชนิดนี้ เรียกว่าปลาอุบยักษ์แต้มขาว หรือปลาอุบยักษ์เอเชียตะวันออก เป็นปลาทะเลชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบโดย ดร.วีระ วิลาศรี นักวิจัยประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา? รวมทั้งนักวิจัยชาวญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ซึ่งได้ตีพิมพ์บรรยายลักษณะในวารสารวิชาการ Zootaxa เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 ปลาชนิดนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ichthyscopus pollicaris โดยชื่อชนิด ?pollicaris? มาจากภาษาละตินหมายถึง ?นิ้วหัวแม่มือ? ซึ่งอนุมานใช้เทียบเคียงตำแหน่งเดียวกันกับก้านครีบอกแรกบนสุด (Uppermost pectoral ray) ของปลาชนิดนี้ที่มีลักษณะเด่นของแต้มสีขาวปรากฏอยู่ ปลาอุบยักษ์แต้มขาวจัดจำแนกอยู่ในสกุล Ichthyscopus วงศ์ Uranoscopidae เป็นปลาที่มีรูปแบบการดำรงชีวิตพิเศษโดยฝังลำตัวและหัวไว้ใต้พื้นทรายโผล่เพียงตา และปากเพื่อดักจับเหยื่อที่เป็นปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่ว่ายผ่านมาใกล้ ลักษณะสัณฐานมีหัวโตห่อหุ้มด้วยกระดูกแข็งผิวขรุขระ ลำตัวยาวแบนข้างเล็กน้อย ตาตั้งอยู่ด้านบนหัว ปากเปิดด้านบน ริมฝีปากบนและล่างมีแถบซี่ติ่งเนื้อสำหรับกรองทรายหรือโคลนไม่ให้เข้าปาก โพรงจมูกเชื่อมต่อกับช่องปากช่วยระบบหายใจโดยให้น้ำผ่านเข้าปากได้มากขึ้น ทำให้ปลาสามารถกบดานใต้พื้นทรายได้เป็นเวลายาวนาน มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร https://www.dailynews.co.th/regional/803248
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ใกล้ฤดูฝุ่น! กลับมาหาชาวกรุงอีกแล้ว .................... รศ.ดร. วิษณุ อรรถวานิช เมื่อฤดูฝุ่นใกล้จะกลับมาหาชาวกรุงฯ อีกครั้ง ทายกันสิครับว่าชาวกรุงเทพฯ ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นพิษ PM2.5 เท่าไหร่ในปีที่ผ่านมา?... คำตอบคือ 6,124.89 บาท/ครัวเรือน/ปี! หากนำไปพิจารณาร่วมกับจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพฯ ปี 2562 จำนวน 2,837,360 ครัวเรือน ที่ระบุว่าได้ใช้จ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นพิษ (คิดจากร้อยละ 93.3 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด) ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนทางสังคมที่ชาวกรุงเทพฯ ต้องควักจ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นพิษ PM2.5 ในฤดูฝุ่นพิษปี 2562/2563 ที่ผ่านมาจะมีค่าสูงถึง 17,379 ล้านบาท/ปี!! ติดตามอ่านรายละเอียดได้ดังนี้ครับ... งานศึกษาครั้งนี้เป็นงานศึกษาค้นคว้าอิสระของนิสิตปริญญาโทที่ผมเป็นที่ปรึกษา งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 564 ครัวเรือนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนธันวาคม 2562-กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ฝุ่นพิษ PM2.5 มีค่าอยู่ในระดับอันตรายต่อสุขภาพอย่างมากเมื่อเทียบกันเดือนอื่นๆ ของปี หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า "ฤดูฝุ่น" โดยได้กระจายเก็บข้อมูลทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ กรุงเทพเหนือ กรุงธนเหนือ กรุงธนใต้ กรุงเทพกลาง กรุงเทพตะวันออก และกรุงเทพใต้ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนประชากรทั้ง 6 พื้นที่ข้างต้น ภาพที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ภาพที่ 2 แสดงข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 564 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 55 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีร้อยละ 54.3 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด มีอายุในช่วง 40-49 ปี มากที่สุด และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและรับจ้างทั่วไปร้อยละ 30.7 และ 24.1 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงรายได้ต่อคน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 10,000-30,000 บาทต่อคนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด และหากพิจารณารายได้ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 30,000-50,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 47.3 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด และเมื่อพิจารณาจำนวนวันที่เสี่ยงอยู่นอกอาคารและสถานที่ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องเสี่ยงอยู่นอกอาคารและสถานที่ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ภาพที่ 3 ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ ภาพที่ 3 แสดงผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อกลุ่มตัวอย่าง โดยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด รายงานว่าได้รับผลกระทบอย่างมากจากมลพิษทางอากาศ และร้อยละ 27.1 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด รายงานว่าได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในระดับปานกลาง ขณะที่เพียงร้อยละ 8.3 รายงานว่าไม่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ สำหรับการหลีกเลี่ยงปัญหามลพิษทางอากาศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 93.3 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด เลือกใส่หน้ากากอนามัย/ผ้าปิดจมูก กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 3.9 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ซื้อเครื่องฟอกอากาศ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.7 ไม่ได้ทำการป้องกันตัวใดๆ เลย สำหรับพฤติกรรมการใส่หน้ากากอนามัย/ผ้าปิดจมูกในวันที่ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 ใส่หน้ากากอนามัยทุกวันในวันที่ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน ภาพที่ 4 ค่าใช้จ่ายในการป้องกัน ภาพที่ 4 แสดงค่าใช้จ่ายในการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "Avoidance Cost" ซึ่งสะท้อนต้นทุนทางสังคม (Social Cost) ส่วนที่ผ่านตลาดเพียงบางส่วนเท่านั้น จัดเป็นต้นทุนความเสียหายของสังคมขั้นต่ำที่สุดจากมลพิษทางอากาศ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ผ่านตลาด และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่ผ่านตลาด เช่น ความสุขในชีวิต การเจ็บป่วยที่ยังไม่แสดงอาการ) โดยผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศจำนวน 3,001-5,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 24.5 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด รองลงมา มีค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศจำนวน 1,000-3,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และจำนวน 7,001-10,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 23.9 และ 20.4 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ หากนำค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศของทุกครัวเรือนมาหาค่าเฉลี่ย พบว่า ในฤดูฝุ่นปี 2562/63 ที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ต้องควักจ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นพิษ PM2.5 จำนวน 6,124.89 บาท/ครัวเรือน/ปี หากนำไปพิจารณาร่วมกับจำนวนครัวเรือนในกรุงเทพฯ ปี 2562 จำนวน 2,837,360 ครัวเรือน ที่ระบุว่าได้ใช้จ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นพิษ (คิดจากร้อยละ 93.3 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด) ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนทางสังคมที่ชาวกรุงเทพฯ ต้องควักจ่ายเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ป้องกันฝุ่นพิษ PM2.5 ในฤดูฝุ่นพิษปี 2562/2563 ที่ผ่านมาจะมีค่าสูงถึง 17,379 ล้านบาท/ปี!! ถ้าคุณภาพอากาศดีขึ้นและแต่ละครัวเรือนนำเงินจำนวน 6,124.89 บาท ไปซื้อขนมให้เด็กๆ หรือไปซื้อสินค้าหรือไปท่องเที่ยวอื่นๆได้ ความสุขของชาวกรุงเทพฯ น่าจะเพิ่มได้อีก จริงมั้ยครับ https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000111331
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
สุดยื้อพะยูนมาหยา กระบี่ 27 ต.ค. 63 ? เจ้าหน้าที่สุดยื้อชีวิตพะยูนสาว ทนพิษบาดแผลจากใบพัดเรือไม่ไหว ตายนะหว่างนำตัวรักษา หลังจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี พบพะยูนเพศเมีย ลอยกลางทะเลบริเวณอ่าวมาหยาหมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน เข้าพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือพะยูนตัวดังกล่าว โดยเป็นพะยูน เพศเมีย ขนาดความยาว 1.7เมตร น้ำหนัก 115 กิโลกรัม มีสภาพอ่อนแรง สาหร่ายปกคลุมบริเวณหลัง และพบแผลฉกรรจ์ มีลักษณะเป็นแผลเนื้อตาย เปื่อยยุ่ย บริเวณด้านหลังขนาดแผลยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร กว้าง 7 เซ็นติเมตร มีภาวะท้องอืดลอยตัวเอียงด้านขวา ไม่สามารถทรงตัวว่ายน้ำได้ตามปกติ จึงร่วมกันล้อมจับและรีบขนย้ายด้วยเรือเร็วของเอกชนมาส่งยังท่าเทียบเรืที่ศูนย์วิจัยฯ ภูเก็ต เพื่อรักษา ณศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร โดยระหว่างการขนย้ายเจ้าหน้าที่ได้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและประคองอาการ แต่เนื่องจากสภาพพะยูนอ่อนแอมาก จึงเกิดภาวะช๊อกและเสียชีวิตลงในที่สุด ทั้งนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะผ่าชันสูตรเพื่อวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิตในวันที่ 28 ตุลาคม 2563 https://tna.mcot.net/environment-571867 ********************************************************************************************************************************************************* ทช. เร่งฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลแหล่งอาหารสัตว์น้ำ จ.ตรัง กรุงเทพฯ 27 ต.ค. ? อธิบดี ทช. เผยผลศึกษาแนวทางแก้ปัญหาหญ้าทะเลที่เกาะลิบงตายเป็นเนื้อที่ 400 ไร่ ซึ่งร่วมกับภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยห้ามหน่วยงานที่ขุดลอกร่องน้ำนำโคลน ทราย และหินมาทิ้งในทะเล แล้วเร่งปลูกฟื้นฟูหญ้าทะเลให้กลับมาสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารของพะยูนและสัตว์น้ำอื่นๆ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 รายงานความคืบหน้าเรื่องการตายของหญ้าทะเล พื้นที่เกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรังว่า ร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ปลัดอำเภอกันตัง ประมงอำเภอกันตัง สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3 นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กลุ่มพิทักษ์ดุหยง ผู้นำท้องท้องถิ่น และชาวบ้านตำบลเกาะลิบงตรวจสอบแหล่งหญ้าทะเลระหว่างอ่าวทุ่งจีน ? หาดตูบพบว่า หญ้าทะเลชนิดหญ้าชะเงาใบยาวตายเป็นบริเวณวงกว้าง เนื้อที่ประมาณ 400 ไร่ คณะผู้ตรวจสอบเห็นร่วมกันว่า จากนี้ไปจะไม่ให้หน่วยงานเจ้าท่าที่ขุดลอกร่องน้ำและแม่น้ำต่างๆ นำโคลน ทราย และหินมาทิ้งในทะเล โดยเฉพาะบริเวณแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยต้องนำไปทิ้งบนฝั่งเท่านั้น พร้อมเสนอแผนฟื้นฟูแหล่งหญ้าชะเงาใบยาวเพื่อลดผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำประเภท กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น ส่วนการสำรวจพบว่าในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินทรายมีหญ้าใบมะกรูดขยายเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นหญ้าที่พะยูนกินเป็นอาหารหลักจึงยังไม่กระทบต่อพะยูนที่เป็นสัตว์ป่าสงวนใกล้สูญพันธุ์ นายโสภณ กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ตลอดจนรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน โดยจะทำแผนเร่งปลูกฟื้นฟูหญ้าทะเลให้กลับสู่สภาพเดิม จากนั้นติดตามและศึกษาผลการฟื้นฟูหลังจากที่ปลูกไปเป็นระยะในเวลา 3 ปี ทั้งการฟื้นตัวของแหล่งหญ้าและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลประเภท กุ้ง หอย ปู ปลาบริเวณที่ฟื้นฟูแหล่งหญ้า นอกจากนี้จะทำศึกษาและเก็บตัวอย่างปัจจัยคุกคามที่อาจทำให้หญ้าทะเลเสื่อมโทรมและตายได้เช่น มลพิษที่เกิดน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ ที่ลงมาจากแม่น้ำและชุมชนบริเวณที่ติดต่อกับแนวแหล่งหญ้าทะเล ตะกอนดินจากพังทลายของหน้าดินจากแหล่งที่สูงแล้วพัดพาเอาตะกอนดินลงมาในทะเล ที่สำคัญคือ จะกำหนดให้ต้องศึกษาผลกระทบสำหรับโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มาดำเนินการภายในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมายก่อนดำเนินการการ "สำหรับการขุดลอกของกรมเจ้าท่าพื้นที่แม่น้ำตรัง ประจำปีงบประมาณ 2564 ทุกภาคส่วนนัดหมายในวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ในพื้นที่ดำเนินการเพื่อทำประชาคมเรื่องจุดทิ้งตะกอนบนฝั่ง โดยต้องได้รับการยอมรับจากชาวบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด" นายโสภณกล่าว . https://tna.mcot.net/latest-news-571076
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|