เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-11-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูยังคงมีอากาศหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วนกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย0

ในช่วงวันที่ 18 ? 20 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 23 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ จะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 22-23 พ.ย. 2563 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21 ? 23 พ.ย. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-11-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


ชุมชนดั้งเดิม! รวมญาติชาวเลสร้าง 'หลีเป๊ะ' ต้นแบบเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม



ชาวเลเป็นกลุ่มคนดั้งเดิม(กลุ่มชาติพันธุ์หรือชนเผ่าพื้นเมือง)ที่อาศัยอยู่ชายฝั่งประเทศไทยก่อนมีประเทศสยาม เท่าที่พอมีหลักฐานยืนยันพบว่าอยู่กันมามากกว่า 1,300 ปี โดยปัจจุบันมีชาวเลอยู่ประมาณ 14,000 คน ใน 5 จังหวัดอันดามัน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ "มอแกน" อาศัยอยู่ตามเกาะแก่งแถบระนอง และพังงา "มอแกลน" อาศัยอยู่ในจังหวัดพังงา และตอนเหนือของเกาะภูเก็ต. และ "อูรักลาโว้ย" มีเมืองหลวงที่บันทึกไว้ คือเกาะลันตา นอกจากนั้นกระจัดกระจายอยู่แถวภูเก็ต และสตูล

ชาวเลส่วนใหญ่เป็นเครือญาติเชื่อมโยงและไปมาหาสู่กันตลอด แต่ปัจจุบันเมื่อมีกฎหมายได้เกิดข้อจำกัดในการเดินทาง และการล่องเรือหากันเป็นเรื่องยากขึ้น สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ชาวเลจึงได้เสนอนโยบาย กับรัฐบาล ให้มีมติ คณะรัฐมนตรี 2 มิถุนา 2553 ให้ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ขึ้นโดยให้มีวันรวมญาติชาวเลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ประกอบกับการอยู่อาศัยของชาวเล ที่อยู่ริมทะเล เกาะแก่งเป็นหลัก โดยไม่ยึดถือครอบครองที่ดิน จึงทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น ที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสารสิทธิ์ ทำให้เอกชนฟ้องร้องขับไล่ บางส่วนอยู่ในพื้นที่ของรัฐแต่กลับเข้าไม่ถึงการพัฒนา บางส่วนอยู่ตามเกาะแก่งแต่หากินไม่ได้เพราะติดระเบียบกฎหมาย และกติกาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สถานการณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเบียดขับกลุ่มชาติพันธุ์โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

ชุมชนชาวเล "อิซักกาอู้" หรือ"สังกาอู้" ชุมชนนี้ตั้งอยู่ ม.7 ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ พวกเขาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อนจะกลายเป็นเส้นทางการค้าทางทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่าเป็น "เมืองหลวง" ของชาวอูรักลาโว้ย เพราะเป็นถิ่นแรกๆ ที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร และเป็นชุมชนที่มีญาติพี่น้องทยอยกันเข้ามาอยู่เป็นชุมชนใหญ่ จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส และจากชื่อภูมินามบริวณรอบหมู่เกาะลันตาที่เป็นภาษาอูรักลาโว้ย ล้วนบ่งบอกว่าชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์แรกๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ประมาณ 500 ปีก่อน. แต่ด้วยวิถีเร่ร่อนหากินทางทะเลที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยไม่มีการจับจองพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานถาวร อาศัยพักพิงชั่วคราวตามชายฝั่งทะเลเฉพาะช่วงฤดูมรสุม เมื่อกลับมาแหล่งเดิมจึงมักถูกคนกลุ่มอื่นเข้ามายืดครอง ชาวอูรักลาโว้ยจึงต้องหาแหล่งพักพิงใหม่ไปเรื่อยๆ ชาวอุรักลาโว้ยเรียกเกาะลันตาว่า "ชาตั๊ก"

แต่ต่อมาชาวอูรักลาโว้ยทยอยย้ายจากหัวแหลมมาที่นี่ ตั้งแต่ประมาณ พศ. 2360 หรือนับได้ประมาณ 8 ชั่วอายุคนมาแล้ว เนื่องจากเป็นถิ่นอาศัยมานาน ชาวเลจึงกระจายตัวไปอยู่อาศัยและทำมาหากินรอบเกาะ และมีพิธีสำคัญคือ งานลอยเรือที่ชุมชนต่างๆ จะรวมตัวฉลองร่วมกัน

ปัจจุบันพื้นที่ธรรมชาติบริเวณนี้ของเกาะลันตาค่อยๆถูกจับจองสร้างเป็นสถานที่รับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นๆ ทุกปีชาวอูรักลาโว้ยที่นี่ได้เคยประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษ (บริเวณศูนย์วัฒนธรรมชาวเลสังกาอู้)? ตามมติครม.เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล 2 มิถุนายน 2553 โดยมีบ้านร็องเง็งและพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวของชุมชน ส่วนด้านการรองรับการท่องเที่ยว

ขณะที่ชาวเล "เกาะหลีเป๊ะ" เป็นชุมชนดั้งเดิม ที่อาศัยอยู่บนเกาะ มานานกว่า 150 ปี ก่อนสมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการแบ่งอาณาเขตประเทศสยามในขณะนั้น ข้าหลวงแห่งประเทศอังกฤษ เป็นคนกลางในการปักปันเขตแดนประเทศสยาม กับประเทศมาเลเซีย

"เราอยู่ประเทศสยาม" คือคำตอบของชาวเลบนเกาะในยุคนั้น ที่บันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุ จับใจความได้ว่า เราได้เกาะหลีเป๊ะเป็นของประเทศไทยมาถึงปัจจุบัน เพราะการที่มีคนบนเกาะอาศัยอยู่ แต่วันนี้ชาวเลเกาะหลีเป๊ะกว่า 125 ครัวเรือน กลับไม่มีที่อยู่อาศัยเลย ไม่มีสิทธิในที่ดิน ส่วนท้องทะเลก็เป็นไปเพื่อการท่องเที่ยวเป็นหลัก ชาวเลได้แค่หากินประทังชีวิตด้วยการทำลอบ ตกปลา ปัญหาคุณภาพชีวิตชาวเลที่นี่ย่ำแย่ลงมาก จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งการแย่งชิงที่ดิน การฟ้องร้องขับไล่ การข่มขู่คุกคาม การใช้ช่องทางกฎหมายแบ่งปันที่ดิน แย่งชิงด้วยกลวิธีต่างๆ ซึ่งชาวเลไม่สามารถรู้เท่าทันจึงสูญเสียที่ดินไปเกือบหมด



งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 11 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2563 มีเป้าหมาย ที่เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล ที่ห่างไกล เราต้องการสื่อสารกับผู้บริหารนโยบายประเทศ ให้เห็นปัญหาชาวเล เรียนรู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวเล การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่จะทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นโมเดล ในการสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันกฎหมาย ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ ร่วมกัน โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย

1.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)เป็นประธานจัดงาน และบันทึกความร่วมมือในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี 2553 โดย ทส.ยังเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงาน ซึ่งกรมอุทยานฯ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนับสนุนพาเครือข่ายเข้าร่วมงาน

2.รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ลงมาร่วมงาน และเป็นเจ้าภาพร่วม พร้อมบันทึกความร่วมมือในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลและขับเคลื่อน เขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมชาวเล

3.ศูนยฺมนุษยวิทยาสิรินธร เป็นเจ้าภาพหลัก ในการประสานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ศิลปิน ลงพื้นที่ และการสนับสนุนการเตรียมการจัดงานต่างๆ ผ่าน มูลนิธิชุมชนไท และบันทึกความร่วมมือในการเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายชาติพันธ์

4.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(อค์การมหาชน) ร่วมสนับสนุนในการจัดงาน และลงบันทึกความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลอย่างยั่งยืน ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัยและอื่นๆ

5.สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯเป็นภาคีด้านวิชาการ และบันทึกความร่วมมือในการจัดทำข้อมูลทางวิชาการ เพื่อการขับเคลื่อเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมร่วมกัน

6.มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ จะประสานเครือข่ายกะเหรี่ยงเข้าร่วมงาน และบันทึกความร่วมมือการเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายกะเหรี่ยง ในพื้นที่ภาคเหนือ และอื่นๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม

7. มูลนิธิชุมชนไท เป็นองค์กรเลขาในการจัดงานสนับสนุนเครือข่ายชาวเล และร่วมเป็นเลขาขับเคลื่อนนโยบายต่างๆพร้อมการสนับสนุนกระบวนการยกร่างกฎหมายคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ แบบมีส่วนร่วม และเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายชาวเลในอันดามัน

8.เครือข่ายชาวเลอันดามัน ถือเป็นเจ้าภาพหลัก ที่ต้องปฎิบัติการขับเคลื่อทุกอย่างให้เป็นจริง โดยลงบันทึกความร่วมมือไว้ด้วยกัน

9.เครือข่ายกะเหรี่ยงในฐานะภาคีขับเคลื่อนกฎหมายเข้าร่วมงานและบันทึกความร่วมมือในการขับเคลื่อนร่วมกัน ส่วนสำนักงานกรรมกาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและสนับสนุนสนับสนุนงบประมาณจัดงาน โดยสก.สว.ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยชุมชนเพื่อเตรียมเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรม

กิจกรรมในงาน รัฐมนตรีทั้ง 2 กระทรวงและคณะ จะลงพื้นที่ รับฟังปัญหา และสภาพพื้นที่จริงตั้งแต่เช้าวันที่ 28 พฤศจิกายน ก่อนชมนิทรรศการและเปิดงานอย่างเป็นทางการ. จากนั้น ภาคีทั้ง 9 องค์กรจะลงบันทึกความร่วมมือกัน ภายใต้เป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งการศึกษา รวบรวมข้อมูล วิชาการ เพื่อแก้ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์

เครือข่ายชาวเลอันดามันจากทุกจังหวัดเข้าร่วมงานนี้กว่า 300 คน เครือข่ายกะเหรี่ยง เครือข่ายชุมชน เครือข่ายภาครัฐ และส่วนต่างๆของสังคม พร้อมเข้าร่วมเรียนรู้มากกว่า 300 คน. และชาวเลเกาะหลีเปะ อีก 1,200 คน ร่วมเป็นเจ้าภาพ


https://www.naewna.com/likesara/532484

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-11-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก บ้านเมือง


อุทยานเฮ! "แม่ศรีสุดา" ขึ้นวางไข่อีกบนเกาะทะลุ



วันที่ 16 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น. นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ได้รับรายงานจาก นายภัทร อินทรไพโรจน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ว่าพบแม่เต่ากระ ขึ้นวางไข่บริเวณปลายหางของเกาะทะลุ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม (เตรียมการ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังการขึ้นวางไข่ของแม่เต่ากระ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแม่เต่ากระตัวเดิม เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 63 เนื่องจากมีเครื่องเครื่องติดตามดาวเทียม (GPS Track) บนกระดอง ไมโครชิพหมายเลข 933076400530527 ขึ้นวางไข่บริเวณดังกล่าวจำนวน 178 ฟอง พิกัด 47 P 559957N 1223711E ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ)

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฯได้ดำเนินการวัดขนาดของแม่เต่าตัวดังกล่าว มีความกว้าง 79 ซม. ความยาว 73 ซม. ระยะทางจากรอยขึ้นถึงชายน้ำประมาณ 21 เมตร พร้อมทั้งยังเคลื่อนย้ายไข่เต่าให้พ้นจากบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงไปยังจุดอนุบาลฯ โดยวัดความลึกของหลุม 40 ซม. ความกว้างของหลุม 21 ซม. ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 63 เป็นต้นมา พบแม่เต่ากระขึ้นวางไข่แล้ว 4 รัง จึงได้ตั้งชื่อให้แม่เต่ากระตัวนี้ว่า "แม่ศรีสุดา" ทั้งนี้ยังได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง หากมีเต่าขึ้นวางไข่เพิ่มเติม.


https://www.banmuang.co.th/news/region/212828

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 18-11-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


วาฬเพชรฆาตดำเกยตื้นเกาะเตียบอาการยังน่าห่วง

กรุงเทพฯ 17 พ.ย. ? สัตวแพทย์ ทช.ช่วยประคับประคองวาฬเพชรฆาตดำเกยตื้นเกาะเตียบเต็มที่ เผยยังอยู่ในสภาพอ่อนแรง จึงบดอาหารแล้วให้ผ่านท่อที่สอดผ่านทางปาก ติดตามอาการใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง



นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า ศูนย์วิจัย ทช.อ่าวไทยตอนกลางดูแลรักษาวาฬเพชรฆาตดำเกยตื้นบริเวณเกาะเตียบ อ.ปะทิว จ.ชุมพร รายงานว่า อาการวันนี้ วาฬยังคงอ่อนแรง ไม่สามารถว่ายน้ำได้เอง อัตราการหายใจอยู่ที่ 9-10 ครั้งต่อ 5 นาที อัตราหัวใจ 80-100 ครั้งต่อนาทีบ่งบอกว่าวาฬไม่มีภาวะเครียด

ทั้งนี้ สัตวแพทย์กำลังรอผลเลือดที่ส่งตรวจสุขภาพ ยังคงให้สารน้ำ น้ำตาล วิตามิน และยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือด ล่าสุดให้อาหารเหลวทางสายยาง โดยวาฬยังไม่สามารถว่ายน้ำเองได้ จึงต้องนอนบนเปลที่ทำให้ และล้อมอวนรอบบริเวณที่รักษาวาฬอยู่ พร้อมทั้งจัดเวรยามเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด.


https://tna.mcot.net/business-585419

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:27


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger