#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย0 ในช่วงวันที่ 19 ? 20 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่คลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 24 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. 2563 โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 21 ? 24 พ.ย. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เอาแล้ว! ทม.แสนสุขห้ามขาย-ดื่มแอลกอฮอล์บนชายหาด หลังตั้งวงดื่ม-กินทิ้งเศษอาหารเพียบ ศูนย์ข่าวศรีราชา -เอาแล้ว! เทศบาลเมืองแสนสุข เข้มห้ามจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนชายหาดบางแสน หลังพบนักท่องเที่ยวมักง่ายตั้งวงสังสรรค์ดื่ม-กินทิ้งเศษอาหาร ขวดเบียร์เพียบ เผยอนาคตอาจมีมาตรการจับปรับ จากกรณีที่มีนักท่องเที่ยวมักง่ายพากันทิ้งเศษอาหารและขวดสุราเกลื่อนหาดวอนนภา บางแสน หลังตั้งวงสังสรรค์ในช่วงค่ำคืน ไม่นับรวมการทิ้งขยะจำนวนมากบนชายหาดของนักท่องเที่ยวจนทำให้ปริมาณขยะบริเวณชายหาดบางแสนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังเทศบาลเมืองแสนสุข ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าพักผ่อนและทำกิจกรรมริมทะเลหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมของประชาชน และนักท่องเที่ยว จนทำให้ นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข ต้องออกมาตำหนิผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมขู่ว่าหากนักท่องเที่ยวยังมีการกระทำเช่นนี้เทศบาลฯ อาจต้องใช้มาตรการกำหนดเวลาเปิดปิดหาด หลังมีการเผยแพร่ภาพนักท่องเที่ยวมักง่ายทิ้งเศษอาหาร เศษกระดาษ และขวดสุราริมชายหาดวอนนภาในช่วงปลายเดือด ต.ค.ที่ผ่านมานั้น ล่าสุด นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข ได้ประกาศผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวานนี้ (17 พ.ย.) เกี่ยวกับการดำเนินมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเข้มข้นบริเวณชายหาดบางแสน โดยระบุข้อความประกาศห้ามจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดบนพื้นที่ชายหาดบางแสน และในอนาคตยังจะมีมาตรการเปรียบเทียบปรับต่อผู้กระทำความผิด เพื่อให้ชายหาดบางแสนเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับพักผ่อนอย่างแท้จริง ?ช่วยกันแชร์และช่วยกันปฏิบัติหน่อยนะครับผมเข้าใจว่าหลายๆ ท่านคงรู้สึกขัดใจว่าทำไมที่ชายหาดจะดื่มเหล้า เบียร์ไม่ได้ สูบบุหรี่ไม่ได้ เพราะอาจจะเคยชินและรู้สึกว่าที่สาธารณะจะทำอะไรก็ได้ แต่จริงๆ แล้วยิ่งที่สาธารณะไม่ควรทำโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีคนจำนวนมากเพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการทะเลาะเบาะแว้ง การทำเสียงดัง และการทิ้งขยะต่างๆ แม้กระทั่งการขาดสติจนเกิดเหตุต่างๆมากมาย อุบัติเหตุต่างๆ แม้กระทั่งการจมน้ำตายที่ชายหาด ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงออกกฎหมายตามประกาศนี้ครับ ส่วนบุหรี่ก็เช่นกันครับทำลายสุขภาพตนเองและผู้อื่นรวมถึงก้นบุหรี่ยังเป็นขยะจำนวนมากมายมหาศาลที่พื้นทรายอีกด้วยครับเตือนก่อนนะครับ? พร้อมระบุอีกว่า ในอนาคตจะมีการนำมาตรการเปรียบเทียบปรับ หรือการควบคุมพื้นที่เข้ามาใช้มากขึ้นเพื่อให้พื้นที่ชายหาดเป็นพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง และเหมาะสมกับการสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่ดี https://mgronline.com/local/detail/9630000118971 ********************************************************************************************************************************************************* "นายกตุ้ย" พ้อชาวเรือแอบเทขยะโฟม สุดท้ายลอยเข้าฝั่ง ชี้ทุกวันนี้ จนท.ทำงานหนักแล้ว นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม พบมีคนแอบเทขยะโฟมลงจากเรือ และลอยมาติดที่ฝั่ง แหลมแท่นบางแสน จ.ชลบุรี ทั้งๆ ที่ ฤดูกาลนี้ ขยะจากทะเลจะไม่ถูกพัดมาที่บางแสน ชี้เสียใจ และสงสารเจ้าหน้าที่ต้องไล่เก็บขยะในน้ำอย่างลำบาก ลั่นคนทำไม่ต่างจากขยะที่ทิ้ง วันนี้ (18 พ.ย.) เพจ "ณรงค์ชัย (ตุ้ย) คุณปลื้ม" นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข จ.ชลบุรี โพสต์เผยรายละเอียดว่า "น้ำใสทะเลสวย แต่ก็ยังไม่วาย คาดว่ามีพวกแอบเทขยะ โฟม ลงจากเรือ ในที่สุดก็ลอยมาติดที่ฝั่ง แหลมแท่นบางแสน อีกแล้ว ทั้งๆ ที่ฤดูกาลนี้ขยะจากทะเลไม่ค่อยได้ถูกกระแสน้ำพัดมาที่บางแสน เสียใจ และสงสารเจ้าหน้าที่ต้องไล่เก็บขยะในน้ำอย่างลำบาก ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่ทุกท่านนะครับที่ทำงานหนัก ใครก็ตามที่ทำขอให้รับรู้ว่า คุณก็เป็นเหมือนสิ่งที่คุณทิ้งลงทะเลนี่แหละ ที่คนเค้ารังเกียจ" https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000119131
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
รักษ์ทะเล รักษ์สัตว์ ช่วยกันไม่สร้างขยะ สำนักข่าวไทย 18 พ.ย.- รักษ์ ทะเล รักษ์สัตว์ ช่วยกันไม่สร้างขยะ ช่วงหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน หลายคนคงวางแผน ไปท่องเที่ยว เอาไว้ใช่หรือไม่? หนึ่งสถานที่ที่หลายๆคนวางแผนจะไปท่องเที่ยวพักผ่อนกายใจ คือทะเล นอนมองฟ้าสวยๆและฟังเสียงของคลื่นทะเลที่กระทบชายฝั่ง หนึ่งสิ่งเมื่อเราไปท่องเที่ยวทะเล คือการช่วยกันดูแลรักษาทะเล เพื่อไม่ให้ธรรมชาติและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลต้องได้รับผลกระทบ Animal Time ขอพาทุกๆคนชมความสวยงามของทะเล ที่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ. กระบี่ จะสวยแค่ไหนไปชมกันเลย https://tna.mcot.net/pick-586275
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
เปิดปม : จับชีพจรตะรุเตา 7 เดือนหลังปิดฤดูการท่องเที่ยวและปิดต่อเนื่องจากผลกระทบโควิด-19 ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล อช.ตะรุเตา จ.สตูล ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด แต่สภาพเศรษฐกิจที่ยึดโยงกับการท่องเที่ยวกลับยังไม่สามารถฟื้นคืนมาได้ ปะการังเจ็ดสี จุดขายของแหล่งดำน้ำ บริเวณร่องน้ำจาบัง ฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด พบเห็นปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ มากขึ้น หลังจาก ที่นี่ ไม่ถูกรบกวนด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวมานาน 7 เดือน บริเวณนี้ ยังพบปะการังอ่อนหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังดาวใหญ่ รวมถึงดอกไม้ทะเล ซึ่งเป็นที่อาศัยของปลาการ์ตูน นายอัสลัม สะกะแย นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จ.สตูล ดำน้ำสำรวจการฟื้นตัวของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลตั้งแต่ช่วงปิดฤดูกาลท่องเที่ยวและปิดต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด ? 19 ระบาด บอกว่า ก่อนหน้านี้ ร่องน้ำจาบัง เป็นจุดดำน้ำตื้นที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ทำให้ทรัพยากรที่นี่ถูกใช้เต็มศักยภาพ แม้จะมีการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว หรือ CC ไว้ที่ 50 คน ต่อ หนึ่งช่วงเวลา และ เรือทุกลำต้องผูกทุ่นห้ามทิ้งสมอเรือก็ตาม เกาะยาง เป็นจุดดำน้ำอีกแห่งในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ทีมสำรวจพบปะการังฟื้นตัว โดยเฉพาะปะการังจาน หรือ ปะการังผักกาด ที่พบทั่วไปในเขตน้ำขึ้นน้ำลงระดับ 2-3 เมตร และ มักได้รับความเสียหายเสื่อมโทรมจากกิจกรรมการท่องเที่ยว นายอัสลัม บอกว่า ด้านทิศตะวันตกของเกาะยาง ซึ่งปิดไม่ให้ท่องเที่ยวมานานกว่า 4 ปี เขาพบปะการังอ่อนฟื้นตัวบนหาดทรายเยอะมาก หลังจาก ได้รับความเสียหายจากการกิจกรรมการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นปะการังน้ำตื้น "เวลามาดำน้ำ บางคนไม่สวมชูชีพ ตรงนี้เป็นปะการังอ่อนน้ำตื้นมาก 2 เมตร เวลาเหยียดตัวตรง ฟิน หรือ ขาไปโดนทำให้ปะการังอ่อนหลุดออกได้ เราเลยปิดเกาะยางฝั่งตะวันตก ไปเปิดให้ท่องเที่ยวฝั่งตะวันออก เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว" นายกาญจนพันธ์ คำแหง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา บอกว่า การมีระยะเวลาให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นตัวเป็นเรื่องที่ดี อีกทั้ง การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการรวมถึงนักท่องเที่ยวให้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากความแออัดของแหล่งท่องเที่ยวแต่ละจุดมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีต่อการจัดการท่องเที่ยวในอนาคต "6 เดือนเพียงพออยู่แล้ว เปิดฤดูกาลมาทุกปีจะมีสีสันสวยงามของปะการัง ซึ่งเป็นการฟื้นของธรรมชาติ ช่วงมีโควิดหลายอย่างที่เราใช้ เช่น จัดระเบียบสังคม กำหนดจำนวนนักท่องเที่ยว ตรวจวัดอุณหภูมิ ซึ่งทางอุทยานฯ ควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวได้ดีกว่าเมื่อก่อน คิดว่าคงใช้ระบบนี้ยาวไป" ขณะที่ ธรรมชาติใต้ทะเลฟื้นตัว แต่บรรยากาศการท่องเที่ยวหลังจากมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 เริ่มผ่อนคลายกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ปี 2562 อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีรายได้จากการจัดเก็บค่าเข้าอุทยานกว่า 30 ล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 260,000 คน โดยร้อยละ 60 เป็นนักท่องเที่ยวโซนยุโรป แต่ปีนี้มีเพียงนักท่องเที่ยวชาวไทย และ มีการคาดการณ์ว่า จะได้ส่วนแบ่งนักท่องเที่ยวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 10 โรงแรม ที่พักริมหาด ที่เคยถูกนักท่องเที่ยวต่างชาติจองเต็มข้ามปี ขณะนี้ ต้องปรับลดราคามากกว่าร้อยละ 50 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวไทย นายเทวากร อาภาภิรมย์ ผู้จัดการเครือโรงแรมบนเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล บอกว่า แม้มีภาพธรรมชาติฟื้นตัวดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาท่องเที่ยว แต่เดือนแรกของฤดูการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตาปีนี้ยังคงซบเซา "แต่ก่อนมีทั้งนักท่องเที่ยวที่มาจากปากบารา เกาะลังกาวี ลันตา ภูเก็ต ตอนนี้เหลือเส้นทางเดียวคือ จากปากบารา และในนักท่องเที่ยวจากปากบารา ปกติหลีเป๊ะ 80% เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตอนนี้เหลือเฉพาะคนไทยและชาวต่างชาติที่อยู่เมืองไทย ปกติ 80-90% เต็มจนถึงปีหน้า แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 1 ใน 3 ของที่กล่าวมา" วันนี้ ถนนคนเดินบนเกาะหลีเป๊ะที่เคยคึกคักยามค่ำคืน มีนักท่องเที่ยวบางตา กลุ่มผู้ประกอบการ ประเมินว่า ผลกระทบจากโควิด-19 จะส่งผลต่อเศรษฐกิจที่นี่ต่อไป และอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวไม่น้อยกว่า 2-3 ปี จ.สตูลมีด่านชายแดนติดกับประเทศมาเลเซีย 3 แห่ง 1 ในนั้นคือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาะหลีเป๊ะ ปี 2561 มีนักท่องเที่ยวเข้า-ออก ทางด่านตรวจคนเข้าเมืองบนเกาะหลีเป๊ะ ประมาณ 50,000 คน จากจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดกว่า 200,000 คน มีข้อมูลว่า สัดส่วนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในเวลานั้น มาจากการเปิดเส้นทางเดินเรือตรงจากเกาะลังกาวีมาที่เกาะหลีเป๊ะโดยมีเรือเฟอรี่ให้บริการมากกว่าวันละ 3 เที่ยว ข้อมูลจากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จ.สตูล ระบุว่า ปี 2557 ซึ่งเป็นปีแรกของการเปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาะหลีเป๊ะ มีรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 6,200 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 9,100 ล้านบาทในปี 2561 นายพิทักษ์สิทธิ์ ชีวรัฐพัฒน์ ประธานหอการค้า จ.สตูล บอกว่า ควรพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยใช้ด่านตรวจคนเข้าเมืองหลีเป๊ะ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งในเรื่องการ Quarantine เข้ามาฟื้นเศรษฐกิจ โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ สาธารณสุขและเอกชน วางแผนเพื่อกระจายนักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่อื่นๆของจังหวัดสตูล ให้เม็ดเงินหมุนเวียน และสร้างโมเดลการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ "ถ้าประเทศไทยยังไม่ใช้จุดแข็งเรื่องการ Quarantine การดูแลสาธารณสุข แล้วเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างมีเงื่อนไขเข้ามา ประเทศไทยคงต้องลำบากกัน จากนี้ไปเราควรมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ และ การปรับราคาขึ้นมา" แม้ข้อเสนอนี้ ดูจะเป็นทางรอดสำหรับภาคธุรกิจแต่ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล ยอมรับว่า รูปแบบการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 จะต้องเปลี่ยนโฉมไปจากเดิม โดยลดการเน้นจำนวนนักท่องเที่ยว โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมกับทรัพยากรที่มี https://news.thaipbs.or.th/content/298458
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
ประมงต่างมุมมองกับ 'มด ? ภควรรณ ตาฬวัฒน์' : เคลียร์ 7 ความเชื่อที่ไม่ค่อยจะใช่ ................ โดย Sirichai Leelertyuth "บางครั้งเราเห็นปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกพูดให้เป็นขาว-ดำ มีคนดี มีผู้ร้ายที่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่จริงๆแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในชีวิตประจำวันและเราต้องหาวิธีบริหารจัดการ" "คุณมด" ภควรรณ ตาฬวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านการจัดการประมงอย่างยั่งยืน แชร์มุมมองจากประสบการณ์การทำงานด้านประมงยั่งยืนและขยะทะเล ในองค์กรระหว่างประเทศ ทั้ง Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC), Marine Stewardship Council (MSC), WWF, แพลตฟอร์ม Global Dialogue on Seafood Traceability (GDST), โครงการด้านขยะทะเลพลาสติกของ World Bank และยังเป็นเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาด้านประมงยั่งยืนชื่อ Sea Purpose จากประสบการณ์ทำงานด้านประมงมาอย่างต่อเนื่อง และอ่านบทความออนไลน์เกี่ยวกับปัญหาการทำประมง คุณมดพบความเชื่อ 7 เรื่องเกี่ยวกับทะเลที่จะมาเล่าให้เราฟังว่า ในมุมมองของเธอ มีเรื่องไหนที่จริง และเรื่องไหนที่ ?เคย? จริงแต่ตอนนี้อาจไม่ใช่อย่างที่เราเชื่อกันอยู่ตอนนี้แล้ว ความเชื่อที่ 1: ชาวประมงขนาดเล็กทำประมงอย่างยั่งยืนเสมอ ร้านขายอาหารทะเลบางแห่งใช้จุดขายว่า สินค้ามาจากชาวประมงขนาดเล็ก โดยขาดรายละเอียดที่มาของสินค้า และเกิดภาพจำว่าชาวประมงขนาดเล็กจับปลาด้วยวิธีที่ยั่งยืนเสมอ คุณมดมองว่าไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะการทำประมงขนาดเล็กบริเวณชายฝั่งยังมีโอกาสที่จะจับสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัย หรือใช้วิธีที่ไม่ยั่งยืน เช่น การระเบิดปลา ได้เช่นกัน ประมงขนาดเล็กจึงไม่ใช่ปัจจัยที่การันตีเรื่องความยั่งยืน แต่ประเด็นที่ควรให้ความสนใจและใส่ใจควบคู่ไปมากกว่า คือ การสร้างกลไกการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่จะช่วยให้รู้ว่าว่าปลาถูกจับมาด้วยเครื่องมือประมงถูกกฎหมาย และมีหลักฐานและรายละเอียดที่มาของสินค้าที่ชัดเจน เพื่อเป็นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคถึงอาหารของตน ความเชื่อที่ 2: การทำประมงแบบทำลายล้าง มาจากประมงระดับอุตสาหกรรมเสมอ ความเชื่อว่าชาวประมงขนาดเล็กทำประมงยั่งยืนเสมอ นำมาสู่ภาพจำฝั่งตรงข้าม ว่าการทำประมงทำลายล้างมาจากระดับอุตสาหกรรมเสมอ จริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมประมงมีความหลากหลายทั้งเครื่องมือประมงที่ใช้ และสัตว์น้ำเป้าหมาย การใช้อวนลากจับสัตว์น้ำวัยอ่อน หรือปั่นไฟล่อ คือตัวอย่างของประมงทำลายล้าง แต่บางกรณี เรือประมงอุตสาหกรรมก็ต้องการเฉพาะสัตว์น้ำขนาดใหญ่ โตเต็มวัย เพื่อให้ขายได้ราคาดี เช่น ปูที่นำเนื้อกรรเชียงไปขาย ขนาดใหญ่ ก็จะราคาแพง บางชนิดสินค้าจึงเน้นการจับที่ขนาดมากกว่าปริมาณ ความเชื่อที่ 3: ปลาป่นเป็นสินค้าที่เลวร้ายเสมอ เพราะผลิตจากลูกปลาวัยอ่อนทั้งหมด ปลาป่นถูกใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น อาหารเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสินค้าที่ทำลายระบบนิเวศ เพราะใช้ลูกปลาวัยอ่อนที่จับได้จากเรืออวนลาก ซึ่งตัดวงจรการเติบโตของสัตว์น้ำ ความเชื่อนี้เป็นความจริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ปลาป่นยังมาจากเศษปลาจากการผลิตซูริมิ จากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ หรือมาจากปลาที่โตเต็มวัยอย่างปลาแป้น ด้วยแรงกดดันจากตลาดรับซื้ออาหารสัตว์และอาหารทะเลในต่างประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันเรามีผลิตภัณฑ์ปลาป่นที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ ตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือกระทั่งได้มาตรฐาน เช่น ปลาป่นที่ทำจากเศษปลาทูน่าที่เหลือใช้จากการทำปลากระป๋อง ความเชื่อที่ 4: การทำประมงเกินขนาด (Overfishing) เกิดจากการทำประมงปริมาณมากเสมอ คำว่า ประมงเกินขนาด (Overfishing) มักจะถูกใช้อธิบายสถานการณ์การทำประมงแบบที่ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อม จากการจับปลาครั้งละมากๆ คุณมดอธิบายว่า โดยหลักวิชาการแล้ว การทำประมงเกินขนาดนั้น หมายถึง การจับสัตว์น้ำเกินความสามารถในการผลิตของธรรมชาติ ทั้งนี้ ก็ขึ้นกับความสมดุลของจำนวนประชากรสัตว์น้ำด้วยว่า เมื่อถูกจับไปแล้วธรรมชาติจะสามารถผลิตสัตว์น้ำขึ้นมาทดแทนได้ทันหรือไม่ นอกจากนี้ปริมาณปลาที่จับก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดเดียว เพราะหากเรือประมงไม่กี่ลำออกไปจับลูกปลาวัยอ่อน ก็จะไปตัดวงจรการเติบโตของปลาตามธรรมชาติ ทำให้ไม่มีลูกปลาที่โตมาเป็นปลาตัวใหญ่ ก็ถือเป็นการทำประมงเกินขนาดได้เช่นกัน จะเห็นว่าขนาดเรือ จำนวนเรือ และปริมาณปลาที่จับ ยังไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดได้โดยลำพัง ลักษณะบ่งชี้ว่าทะเลบริเวณใดบริเวณหนึ่งกำลังถูกคุกคามจากการทำประมงเกินขนาด ต้องอาศัยการเก็บข้อมูล ประชากรสัตว์น้ำและการทำประมงอย่างต่อเนื่อง เพราะหากปริมาณปลาที่เกิดใหม่สมดุลกับปริมาณปลาที่ถูกจับ ก็ไม่ถือว่าเกิดการทำประมงเกินขนาด ความเชื่อที่ 5: ประมงเกินขนาด (Overfishing) = ประมงทำลายล้าง (Destructive fishing) บางครั้งมีการใช้ 2 คำนี้แทนกัน แต่จริง ๆ แล้วไม่เหมือนกัน การทำประมงทำลายล้าง (Destructive fishing) จะเห็นได้จากวิธีทำประมงของเรือแต่ละลำ เช่น การทำประมงที่ทำลายหน้าดิน ปะการัง หรือหญ้าทะเล การจับสัตว์น้ำวัยอ่อน การระเบิดปลา การจับฉลามเพื่อทำหูฉลาม ในความหมายที่กว้างมากขึ้น อาจจะรวมถึง การจับปลาในพื้นที่วางไข่และแหล่งอนุบาล และการจับสัตว์น้ำอื่นที่ไม่ใช้เป้าหมายได้ในปริมาณมาก แต่ประมงเกินขนาด (Overfishing) คือภาพรวมของปริมาณสัตว์น้ำ ที่จะรู้ได้เมื่อศึกษาคำนวณปริมาณประชากรสัตว์น้ำในทะเล และผลรวมของการทำประมงของเรือหลาย ๆ ลำ อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาจมีการใช้คำว่า การทำประมงทำลายล้าง ในความหมายที่รวมถึงการทำประมงเกินขนาดที่ไม่สามารถฟื้นคืนปริมาณสัตว์น้ำได้ ? Athit Perawongmetha / Greenpeace ความเชื่อที่ 6: เศษซากแหอวนที่ไม่ใช้แล้ว (Ghost Gear) = ขยะพลาสติกในทะเลเสมอ เศษซากแหอวนที่ไม่ใช้แล้ว (Ghost Gear) คือเครื่องมือประมงที่สูญหายไปเป็นขยะทะเล และใช้ในความหมายที่ว่า เมื่อหลุดหายไปในทะเลแล้ว ยังคงสามารถจับปลาต่อไปได้อีก บางครั้งมีการใช้คำว่า "ขยะพลาสติกในทะเล" เมื่อพูดถึง Ghost Gear ซึ่งไม่ถูกต้องเสมอไป ตัวอย่างของเศษอวนที่เป็นขยะพลาสติก แต่ไม่ใช่ Ghost Gear คือ เศษอวนขนาดสัก 5 เซนติเมตร เพราะเล็กจนไม่สามารถจับปลาได้เมื่อหลุดหายไปในทะเล ขณะเดียวกัน ตัวอย่างของ Ghost Gear ที่ไม่ใช่ขยะพลาสติก คือ เศษเครื่องมือประมงที่ทำจากวัสดุอื่น เช่น เบ็ด ที่หลุดไปในทะเลแล้วมีสัตว์กลืนเข้าไปหรือถูกเกี่ยวจนบาดเจ็บ ความเชื่อที่ 7: เศษซากแหอวนที่ไม่ใช้แล้ว (Ghost Gear) มาจากเครื่องมือผิดกฎหมายเสมอ หลายคนเข้าใจว่า Ghost Gear มาจากเครื่องมือประมงผิดกฎหมายเสมอ ความเข้าใจนี้เป็นความจริงแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะ Ghost Gear สามารถเกิดจากการทำประมงทั่วไปในชีวิตประจำวันของชาวประมงเพราะเมื่ออุปกรณ์หมดอายุขัยการใช้งาน ก็มีโอกาสที่จะฉีกขาด จนหลุดหายไปในทะเล และทำอันตรายสัตว์น้ำอื่น ๆ ต้องเข้าใจว่าแม้ว่าจะใช้เครื่องมือประมงถูกกฎหมาย หรือทำประมงในพื้นที่ถูกกฎหมายก็ตาม แต่หากเครื่องมือประมงนั้นเสื่อมสภาพ หรือสภาพอากาศเลวร้าย ก็สามารถกลายเป็นขยะในท้องทะเลได้ ? Justin Hofman / Greenpeace คุณมดสะท้อนว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา ชาวประมงที่ดี ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ก็สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน จึงต้องมีวิธีบริหารจัดการ เช่น มีนโยบายช่วยชาวประมงรีไซเคิลเครื่องมือประมงก่อนหมดอายุขัย เพราะเครื่องมือเหล่านี้เป็นต้นทุนที่ชาวประมงอยากใช้งานให้นานที่สุด ยากที่จะเปลี่ยนบ่อย ๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องคนเลว แต่อยู่ในการดำเนินชีวิตเรา และต้องบริหารจัดการ ความเชื่อเหล่านี้สะท้อนอะไรบ้าง ? คุณมดมองว่าการเหมารวมให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีตัวร้ายชัดเจน ไม่เกิดผลดีต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ภาพจำแบบคู่ตรงข้าม ว่าชาวประมงขนาดเล็กทำประมงยั่งยืนเสมอ และประมงทำลายล้างมาจากระดับอุตสาหกรรมเสมอ อาจทำให้คนมองข้ามการตรวจสอบย้อนกลับที่มาของอาหารทะเล อีกตัวอย่างคือ อาหารทะเลจากฟาร์มเพาะเลี้ยง เช่น ฟาร์มกุ้ง ก็ถูกเหมารวมว่าไม่ดีได้เช่นกัน จากกรณีการทิ้งน้ำเสียสู่ทะเล การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำฟาร์ม และใช้ปลาป่นจากลูกปลาวัยอ่อนเป็นอาหารกุ้ง แต่ทุกวันนี้มีฟาร์มกุ้งในไทยหลายฟาร์มที่ได้มาตรฐานเรื่องความยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีการบำบัดน้ำเสียในฟาร์ม ตรวจสอบย้อนกลับที่มาของอาหารกุ้งได้ มีการใช้แรงงานในฟาร์มอย่างเป็นธรรม ซึ่งคุณมดมองว่าผู้บริโภคควรหันมาสนับสนุนมาตรฐานเหล่านี้ "สมมติว่ามีฟาร์มเพียง 5-10% ที่ทำฟาร์มอย่างยั่งยืน จะทำอย่างไรให้ขยายเป็น 20%-30% การเหมารวมว่าฟาร์มทั้งหมดไม่ดี มันไม่เปิดโอกาสให้เขาพัฒนา แต่ถ้าเราเปลี่ยนเป็นเลือกอาหารทะเลจากฟาร์มที่ดี ตรวจสอบย้อนกลับได้ ความต้องการอาหารทะเลที่ยั่งยืนจะผลักดันให้ฟาร์มเหล่านี้หันมาโปรโมทสินค้าที่ยั่งยืน มีใบรับรองต่างๆ มาแสดงเป็นจุดขาย จาก 5-10% มันก็จะขยายเป็น 20%-30% ได้" บางคนคิดว่า ไม่ต้องกินอาหารทะเลก็จบปัญหา แต่คุณมดเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังมีมิติอื่น ๆ ที่ต้องมอง เช่น ทำให้เกิดการจ้างงานคนในชุมชนจำนวนมากเพื่อทำงานในอุตสาหกรรม เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทะเลได้ และการทำประมงทั้งขนาดเล็ก หรือระดับอุตสาหกรรมไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะมนุษย์ยังต้องพึ่งพาทะเลและมหาสมุทรในฐานะที่เป็นแหล่งอาหาร แหล่งรายได้ และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แต่เราต้องมุ่งไปสู่หนทางการทำประมงอย่างยั่งยืนอย่างจริงจัง ควบคู่กับการจัดการระบบนิเวศทางทะเลที่สมดุลและเป็นธรรม เช่น การกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ก็จะสามารถช่วยให้สัตว์น้ำฟื้นตัวได้ในระยะเวลาที่เร็วขึ้น "เรากินอาหารทะเลได้ แต่ควรรู้ว่าอาหารทะเลมาจากไหน เพื่อสนับสนุนการทำประมงที่ยั่งยืนและไม่ทำลายระบบนิเวศ" คุณมดย้ำทิ้งท้ายถึงความสำคัญของผู้บริโภคต่อการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่การผลิตอาหารทะเล https://www.greenpeace.org/thailand/...about-fishery/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
น้ำทะเลหนุนสูงท่วมชายฝั่งอ่าวไทย 'อ.ธรณ์' เตือนรัฐเร่งรับมือโลกร้อน ก่อนกรุงเทพฯจมทะเล ................... โดย ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เตือนพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนในยังคงเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันจากน้ำทะเลหนุนสูง จนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชื่อดัง ชี้ เหตุการณ์น้ำทะเลเอ่อท่วมพื้นที่ชายฝั่ง เป็นสัญญาณเตือนถึงวิกฤตการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจากสภาวะโลกร้อน พร้อมเสนอให้ขับเคลื่อนโครงการจัดการน้ำเมกะโปรเจ็ค "เจ้าพระยาเดลต้า 2040" อย่างจริงจัง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติก่อนทะเลจะท่วมกรุงเทพฯ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 หลายพื้นที่ในเขตจังหวัดรอบอ่าวไทยตอนใน ตั้งแต่ จ.สมุทรสงคราม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา และจ.ชลบุรี ต้องประสบกับน้ำท่วมสูงฉับพลันจากปรากฎการณ์น้ำทะเลหนุนสูงสุดในรอบเดือน เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนต่อการดำเนินชีวิต และสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ รพ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา นำเรือท้องแบน-รถบรรทุกเร่งอพยพคนไข้ หลังน้ำทะเลหนุนสูงทำน้ำบางปะกงทะลักเข้าโรงพยาบาล และท่วมถนนบางนา-ตราด ช่วง กม.47 ระดับน้ำเฉลี่ย 60 ซม. //ขอบคุณภาพจาก: แจ้งข่าวสาร เตือนภัย Thailand กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่งหลายจังหวัดรอบอ่าวไทยตอนใน เป็นผลมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนบนและภาคใต้มีกําลังแรง ระหว่างช่วงน้ำขึ้นสูงสุด จึงเสริมให้น้ำทะเลหนุนสูงกว่าระดับปกติ โดยคาดการณ์ว่า ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ และพื้นที่ใกล้เคียง จะมีระดับน้ำทะเลหนุนสูงถึง 1.7 ? 1.9 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ดังนั้น กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ จึงได้ประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้ชายฝั่ง ให้ระมัดระวังผลกระทบจากระดับน้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติ และติดตามสภาวะระดับน้ำอย่างใกล้ชิด ในช่วงตั้งแต่วันที่ 15 -23 พฤศจิกายน ระหว่างเวลาประมาณ 5.00 น. ? 13.00 น. ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจเช็คการคาดการณ์ระดับน้ำล่วงหน้าได้ที่ เว็บไซต์ของกรมอุทกศาสตร์ ในขณะที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุผ่านทางเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า แม้สาเหตุหลักของสถานการณ์น้ำทะเลเอ่อท่วมพื้นที่ชายฝั่งหลายจังหวัดรอบอ่าวไทยตอนใน เกิดจากปรากฎการณ์น้ำขึ้นสูงสุดในรอบเดือน ประกอบกับการทรุดตัวของชายฝั่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ย้ำเตือนให้เราต้องเริ่มตระหนักถึงการเตรียมรับมือผลกระทบสภาวะโลกร้อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอันเกิดจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย กำลังเป็นภัยคุกคามที่กำลังทำให้พื้นที่ลุ่มปากแม่น้ำเจ้าพระยาจมทะเลอย่างช้าๆ จากข้อมูลการศึกษาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NASA) พบว่า ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ทำให้ในปัจจุบันระดับน้ำทะเลทั่วโลกมีอัตราเพิ่มระดับขึ้นราว 3.3 มิลลิเมตร/ปี ยิ่งไปกว่านั้น รายงานศึกษาคาดการณ์การเพิ่มขึ้นระดับน้ำทะเล โดยคณะนักวิจัยด้านสมุทรศาสตร์และภูมิอากาศ นำโดย NASA ยังเผยว่า หากมนุษยชาติยังคงปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราปัจจุบัน สภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นจะส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งทั้งที่กรีนแลนด์และขั้วโลกใต้ละลาย จนทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นมากกว่า 38 เซนติเมตร เอ่อท่วมพื้นที่ราบต่ำชายฝั่งทั่วโลก รวมถึงพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา สภาวะโลกร้อนแผนที่คาดการณ์พื้นที่ที่จะจมอยู่ใต้ทะเลภายในปี 2050 หากไม่มีการควบคุมสภาวะโลกร้อน โดย Climate Central?s Program on Sea Level Rise "โครงการที่ผมพอทราบมีอยู่บ้าง เช่น เจ้าพระยาเดลต้า อาจต้องนำมาคิดจริงจังมากขึ้น หาข้อมูลเพิ่มขึ้นเพราะเราจะสู้กับธรรมชาติโดยไม่รอบคอบ เรามีแต่แพ้กับแพ้ ไอเดียมีหลากหลาย แต่การตัดสินใจต้องมีฐานข้อมูลให้ครบถ้วน ณ ตอนนี้ยังบอกอะไรเพื่อนธรณ์ไม่ได้มาก แต่อยากให้ขยับขับเคลื่อนไปบ้าง เพราะการรับมือเรื่องนี้ต้องวางแผน ต้องพิจารณาข้อมูลโน่นนี่เป็นเวลานาน" ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าว อนึ่ง โครงการเจ้าพระยาเดลต้า เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นการบริหารงานวิจัยแบบใหม่ที่มุ่งเน้นก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพที่สามารถรองรับการเติบโตในอนาคตของประเทศ https://greennews.agency/?p=22167
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|