#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณปลายแหลมมลายู ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 27-28 พ.ย.63 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย0 ในช่วงวันที่ 26 ? 27 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 28 พ.ย. ? 2 ธ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงตลอดช่วง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ในช่วงวันที่ 30พ.ย. ? 2 ธ.ค. 63 ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้น ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 27 พ.ย. ? 1 ธ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 พ.ย. 63ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง และควรหลีกเลี่ยงการเดืนเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
ดาวเทียมวัดการเพิ่มน้ำทะเลเมื่ออากาศอุ่นขึ้น การเร่งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะส่งผลต่อผู้คนจำนวนมากใน 30 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะประชากรเกือบ 800 ล้านคนที่อาศัยอยู่ภายใน 5 เมตรจากระดับน้ำทะเล การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลไม่กี่เซนติเมตรก็สามารถก่อความเสียหายมากขึ้นจากกระแสน้ำสูงและพายุที่พัดกระหน่ำ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) สรุปในรายงานเมื่อปีที่แล้วว่าโลกอาจเผชิญเหตุการณ์ระดับน้ำทะเลที่รุนแรงและหายากในอดีต โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีในหลายพื้นที่ภายใน พ.ศ.2593 นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าการเพิ่มของระดับน้ำทะเลทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 เมตรภายในสิ้นศตวรรษนี้ หน่วยงานอวกาศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงพัฒนาสร้างดาวเทียมสังเกตการณ์โลก Sentinel-6a เป็นดาวเทียมดวงแรกใน 2 ดวงของโครงการ Sentinel-6 ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเพื่อวัดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล โดยติดตามการเปลี่ยนแปลงที่คุกคามสิ่งมีชีวิตนับสิบล้านชีวิต ถือเป็นการวัดค่าความแม่นยำอย่างไม่เคยมีมาก่อน ที่จะทำงานจนถึงอย่างน้อยปี พ.ศ.2573 ทั้งนี้ ดาวเทียมในโครงการ Sentinel-6 แต่ละดวงจะมีเครื่องวัดความสูงของเรดาร์ วัดเวลาที่เรดาร์ใช้ในการเดินทางไปยังพื้นผิวโลกและย้อนกลับมาอีกครั้ง ดาวเทียมจะวนรอบโลกในวงโคจรเดียวกับภารกิจก่อนหน้านี้ที่ให้ข้อมูลความสูงผิวน้ำทะเลในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยทำแผนที่ 95% ของมหาสมุทรที่ปราศจากน้ำแข็งทุกๆ 10 วัน. https://www.thairath.co.th/news/foreign/1983620
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์
ทุบสถิติ! เรือดำน้ำจีนลงจอดจุดที่ลึกที่สุดของโลก จีนสร้างสถิติใหม่ขับเคลื่อนเรือดำน้ำในระดับความลึกกว่าหมื่นเมตร "เฟิ่นโต้วเจ่อ" (Fendouzhe) ซึ่งมีความหมายว่าผู้ไม่ย่อท้อ เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยมนุษย์จากประเทศจีน ที่สามารถทุบสถิติโดยลงจอดบริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นจุดลึกที่สุดของโลก ในระดับความลึก 10,909 เมตร เมื่อวันที่ 10 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยได้ทำลายสถิติจากวันที่ 27 ต.ค. ที่เรือดำน้ำเฟิ่นโต้วเจ่อดำดิ่งไปที่ระดับความลึก 10,058 เมตร ภารกิจนี้จะทำการวิจัยเกี่ยวกับทรัพยากรใต้ทะเลลึก โดยในเดือนนี้รัฐบาลจีนได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยร่วมกับหน่วยงานท้องทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งจัดฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีใต้ทะเล ตลอดจนการวิจัยเกี่ยวกับการขุดหาแร่ธาตุที่มีค่าบริเวณก้นมหาสมุทร โดยคาดว่าเรือดำน้ำลำดังกล่าวจะเป็นมาตรฐานสำหรับเรือเดินทะเลของจีนในอนาคต ซึ่งขณะนี้จีนกำลังผลักดันการขุดสำรวจในทะเลลึก ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2019 วิคเตอร์ เวสโคโว นักสำรวจชาวอเมริกัน ทำลายสถิติโลกโดยการนำเรือดำน้ำลงไปที่ระดับความลึก 10,927 เมตร บริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนาเช่นกัน https://www.posttoday.com/world/638935
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
รวยไม่รู้ตัว! ชาวประมงเมืองคอนพบอ้วกวาฬ คนแย่งซื้อจ่ายเป็นล้าน 26 พ.ย.63 นายนริศ สุวรรณสังข์ อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 156 หมู่ 1 ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เมื่อเช้าวันที่ 23 พ.ย.63 ที่ผ่านมา ขณะที่ตนกำลังเดินออกกำลังกายอยู่ริมชายหาดทะเลบริเวณหมู่บ้านแหลมตะลุมพุก ก็พบกับก้อนสีขาวๆ เหลืองๆ ขนาดใหญ่ ลอยเกยชายหาดจำนวน 1 ก้อน และก้อนขนาดเล็กอีก 2-3 ก้อน ขณะนั้นยังไม่รู้ว่าเป็นก้อนอะไร กระทั่งตนและญาติช่วยกันยกก้อนแปลกประหลาดสีขาวขนาดใหญ่ 1 ก้อน และขนาดเล็กๆ อีกหลายก้อน มารวมกันพากลับบ้านพัก ตรวจสอบดูอย่างละเอียดและหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต พร้อมกับจุดไฟลนก้อนดังกล่าว พบว่าก้อนดังกล่าวจะแปรสภาพเป็นของเหลวเหมือนเทียนไขถูกไฟล้น และมีกลิ่นคาวจึงมั่นใจว่าก้อนสีขาวประหลาดดังกล่าวเป็นอ้วกวาฬหรืออำพันทะเล อย่างแน่นอน จึงรวบรวมก้อนอ้วกวาฬทั้งหมดชั่งน้ำหนักและพบว่ามีน้ำหนักรวมกันมากถึง 100กิโลกรัม ถือว่าเป็นก้อนอ้วกวาฬที่มีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมากที่สุดที่เคยพบมาในอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามก่อนที่จะพบก้อนอ้วกวาฬ ทะเลอ่านใน บริเวณแหลมตะลุมพุก เกิดลมพายุฝน และคลื่นทะเลสูง 2-3 เมตร นายนริศ เผยอีกว่า หลังจากพบก้อนอ้วกวาฬ ลูกหลานลงภาพก้อนอ้วกวาฬในเฟซบุ๊กจนเป็นที่ฮือฮา ชาวเน็ตแห่มาดูก้อนอ้วกวาฬที่บ้านของตนเต็มไปหมดทุกวันไม่ขาดสาย เพราะถือเป็นก้อนอ้วกวาฬขนาดใหญ่และน้ำหนักมากไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน กระทั่งล่าสุดมีนักธุรกิจคนหนึ่งจาก จ.ภูเก็ตโทรศัพท์ติดต่อขอซื้อก้อนอ้วกวาฬ แต่ขอตรวจพิสูจน์ผลทางวิทยาศาสตร์ก่อนว่าเป็นก้อนอ้วกวาฬจริงหรือไม่ หากใช้อวกวาฬจะมีการแยกเกรดของอ้วกวาฬ หากเป็นเกรด A จะให้ราคากิโลกรัมละ 9.6 แสนบาท , เกรด B เกรด C ราคาลดลงตามเกรด อยู่ระหว่างติดต่อประสานงานกันเท่านั้น ยังไม่มีการตอบตกลงการซื้อขายแต่อย่างใด ตนอยากให้หน่วยงานประมงหรือมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญเรื่องอ้วกวาฬช่วยตรวจสอบว่า อ้วกวาฬที่พบเป็นอ้วกวาฬชนิดใดกันแน่ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ตนจะเข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.ปากพนัง เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพราะเกรงว่าอาจจะสูญหายหรือถูกลักขโมย เพราะทราบว่าก้อนอ้วกวาฬมีราคาสูง https://www.naewna.com/likesara/534507
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
หลักฐานภาพถ่ายดาวเทียม ชี้ไทยเผชิญฝุ่นมาแล้ว 20 ปี "จิสด้า" เผยภาพดาวเทียมย้อนหลังปี 2541-2559 พบไทยเผชิญฝุ่นละอองมาแล้วเกือบ 20 ปี โดยเฉพาะภาคเหนือ จ.น่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮองสอน ซึ่งอยู่ในจุดเสี่ยงที่ค่าฝุ่น PM2.5 ล่าสุดใช้ดาวเทียมเก็บค่าฝุ่นวันละ 2 รอบ ปัญหาฝุ่น PM2.5 และหมอกควันภาคเหนือ ถือเป็นปัญหาเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางตั้งแต่ในเมืองใหญ่ ไปจนถึงพื้นที่ชนบทและพื้นที่ชายแดนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์อย่างรุนแรงในระยะยาว รวมถึงผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก วันนี้ (26 พ.ย.2563) เพจเฟซบุ๊กสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) รายงานข้อมูลว่า ปัจจุบันดาวเทียมสำรวจโลกที่ติดตั้งเซนเชอร์ตรวจวัดจากระยะไกล สามารถให้ข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง ทั้งที่เป็น PM 10 และ PM2.5 ได้ ข้อได้เปรียบของการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมก็คือสามารถวัดและรายงานปริมาณฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศได้ทุกที่ทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และประมวลผล การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศรับมือกับมลภาวะทางอากาศ จะช่วยลดข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือตรวจวัดภาคพื้นดินได้เป็นอย่างดี การนำข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีการตรวจวัดอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลดาวเทียมจากแหล่งต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะช่วยให้เข้าใจและเห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้นในการวางแผนแก้ไขปัญหา PM2.5 ในระดับยุทธศาสตร์ การวางแผนสั่งการและติดตามประเมินผลในระดับนโยบาย รวมถึงการวิเคราะห์ติดตามมลพิษข้ามพรมแดน ภาคเหนือเผชิญฝุ่น PM2.5 มานาน 20 ปี ทั้งนี้ GISTDA เก็บข้อมูลจากดาวเทียม และพบว่าไทยเผชิญฝุ่นละอองขนาดเล็ก และ PM2.5 มายาวนาน ข้อมูลจากดาวเทียมบางส่วนระบุแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ PM2.5 ในประเทศไทยช่วงปี 2541-2559 มีค่าความเข้มข้นกระจุกในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก "โดยเฉพาะน่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮองสอน ซึ่งอยู่ในจุดเสี่ยงที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานมานานเกือบ 20 ปี" ข้อมูลดังกล่าว ถือเป็นข้อมูลเชิงสถิติที่เก็บมาตั้งแต่ประเทศไทย ยังไม่มีการนำเครื่องมือวัดเข้ามาเมื่อ 2-3 ปีก่อนที่เพิ่งจะมีเครื่องวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก ปัจจุบัน GISTDA ใช้ดาวเทียมระบบ MODIS ในการติดตามสถานการณ์ PM2.5 วันละ 2 รอบ คือเช้าและบ่าย นอกจากนี้ GISTDA ยังได้เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการติดตามสถานการณ์โดยใช้ดาวเทียม Himawari (ฮิมาวาริ) ซึ่งเป็นดาวเทียมสัญชาติญี่ปุ่นอีก 1 ดวงที่จะทำให้ได้รับข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำในทุกๆชั่วโมง จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องได้นำไปประยุกต์ใช้วางแผน ติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ฝุ่น PM2.5 ถือเป็นวาระแห่งชาติที่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้คลี่คลาย ทั้งนี้การการแก้ไขอาจต้องใช้เวลา แต่ในฐานะพลเมืองควรร่วมมือกันในการลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น และร่วมติดตามคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินความเสี่ยง ฝุ่น PM 2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายโดยผ่านระบบทางเดินหายใจ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากแหล่งอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งก่อสร้างประเภทต่างๆ ทะเล การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ การเผาในที่โล่งจำพวกพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่เกษตร และกองขยะ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ จนเกิดเป็นละอองหรืออนุภาคต่างๆ https://news.thaipbs.or.th/content/298680
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|