เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-12-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้และประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนวันพรุ่งนี้ (4 ธ.ค. 2563) ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่าง คลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 63


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.


คาดหมาย0

ในช่วงวันที่ 2 - 3 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 6 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่จะมีลมตะวันตกพัดพาความหนาวเย็นจากประเทศเมียนมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 7 - 8 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2 ? 3 ธ.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่าง และประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนผ่านเข้าสู่ทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 4 - 8 ธ.ค. 63 ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมมีกำลังอ่อนลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 ? 7 ธ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ธ.ค. 63 ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากด้วย และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ควรหลีกเลี่ยงการเดืนเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 3 ? 4 ธ.ค. 63



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2563)" ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 03 ธันวาคม 2563

มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำยังคงปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามันต่อไป (วันที่ 3 ธ.ค. 63) ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ลุ่มต่าง ๆ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทย ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 63












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-12-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ไขคำตอบ สัตว์ทะเลคล้ายแมงมุมยักษ์ คือ "ดาวขนนก" หลังตกได้ที่เกาะลันตา

นักวิชาการไขข้อสงสัย สัตว์ทะเลรูปร่างประหลาดคล้ายแมงมุมยักษ์ คือ "ดาวขนนก" หลังนักตกปลาพบที่เกาะลันตา จ.กระบี่



วันที่ 2 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรณีโลกออนไลน์แชร์คลิปสัตว์ทะเลรูปร่างประหลาด ลักษณะคล้ายแมงมุม มีขายาวออกมาจากลำตัวประมาณ 10 ซม. จำนวนประมาณ 20 ขา มีขนเส้นเล็กๆ ตามขา เมื่อผู้ที่ถ่ายคลิปเอาไม้ไปเขี่ยมันก็ขยับขาไปมา สร้างความประหลาดใจแก่ผู้พบเห็น ซึ่งผู้ที่ถ่ายคลิประบุว่า อาจจะเป็นสัตว์ที่มีพิษก็ได้ จะต้องระมัดระวังไม่ไปจับที่ตัวมัน

สอบถามนายเดชา ศรีชัย อายุ 41 ปี ผู้ที่พบสัตว์ดังกล่าว เล่าว่า เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ตนกับเพื่อนและลูกชายได้ไปตกปลาที่ทะเล บริเวณใต้สะพานสิริลันตา ต.เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งพอตกได้สักพักรู้สึกเหมือนเบ็ดไปเกี่ยวอะไรบางอย่าง จึงดึงเบ็ดขึ้นมา ปรากฏว่า มีเศษปะการังและขยะติดเบ็ดขึ้นมา พอจะปลดเอาปะการังและขยะออกจากเบ็ดก็สังเกตเห็น สัตว์ประหลาดตัวดังกล่าว ติดมาด้วย สร้างความประหลาดใจแก่ตนและเพื่อนๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่เคยเห็นมาก่อน จึงได้หยิบโทรศัพท์มือถือมาถ่ายคลิปเอาไว้ ก่อนปล่อยกลับคืนสู่ท้องทะเล ทั้งนี้ ตนได้สอบถามเพื่อนๆ แต่ไม่มีใครเคยเห็นหรือรู้จักสัตว์ดังกล่าวแต่อย่างใด จึงได้นำคลิปมาแชร์ในโลกออนไลน์

ด้าน ดร.สุเมตต์ ปุจฉาการ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สถาบันวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า สัตว์ชนิดดังกล่าว เรียกว่า ดาวขนนก อยู่ในตระกูลปลาดาว ซึ่งมีถิ่นอาศัยในทะเลบริเวณชา0ยฝั่งที่มีน้ำขึ้นน้ำลง จนไปถึงทะเลลึก จะอาศัยเกาะตามกิ่งกัลปังหา หรือแนวปะการัง กินสัตว์จำพวกหอย หนอนปล้อง มีมากกว่า 46 ชนิด พบได้ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งฝั่งอันดามันมีความหลากหลายมากกว่าฝั่งอ่าวไทย แต่เนื่องจากดาวขนนกมีพฤติกรรมชอบหลบซ่อนในแนวปะการัง บางชนิดเกาะนิ่งในเวลากลางวัน จึงไม่ค่อยมีใครสังเกตเห็น นอกจากนักดำน้ำที่สนใจสัตว์จำพวกนี้ นอกจากนี้ ดาวขนนกยังมีความผันแปรของสีสันทำให้ยากต่อการจำแนกชนิด.


https://www.thairath.co.th/news/local/1987464

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:54


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger