#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 26 มกราคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อยในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเป็นบางพื้นที่ ใน บริเวณภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศหนาวเย็น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 31 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนหนาวเย็นลง และมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ประกอบกับในช่วงวันที่ 29 - 30 ม.ค. 64 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 25 - 26 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 27 - 31 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ปัญหาโลกแตก! จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยน หรือว่ามนุษย์ทำให้เปลี่ยนแปลง ในคลิปนี้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สรุปให้เห็นกิจกรรมของมนุษย์มากมายเป็นตัวเร่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลกจนเป็นวิกฤตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น และถี่ขึ้น หากเราดูย้อนหลังประมาณ 5 ปี คงจะเห็นสภาพดินฟ้าอากาศทั่วโลก เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนักหนาสาหัส ผลกระทบทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นก็ได้เห็น ในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นแล้ว Climate Change ไม่ว่า ภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วม พายุกระหน่ำ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ฝุ่น PM2.5 และอื่นๆ อีกล้วนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกคนและสิ่งมีชีวิตบนโลกได้รับผลกระทบ ถามว่า Climate Change แท้ที่จริง เกิดขึ้นเพราะใครกันแน่ ? เราทุกคนยังสามารถช่วยกันเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ความสมดุลทางธรรมชาติกลับคืนมาได้หรือไม่? https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000007715
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
น้ำแข็งบนโลกละลายเร็วกว่า 30 ปีก่อนเกินครึ่งเท่า อะแลสกา 25 ม.ค. ? ผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า น้ำแข็งบนโลกในปัจจุบันละลายเร็วกว่าเมื่อ 30 ปีก่อนถึงร้อยละ 57 เนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้น ผลการศึกษาโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการเดอะไครโอสเฟียร์ (The Cryosphere) ระบุว่า ในภาพรวม น้ำแข็งราว 28 ล้านล้านตันได้ละลายไปจากทะเลน้ำแข็ง แผ่นน้ำแข็ง และธารน้ำแข็งตั้งแต่ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษหลังปี 1990 เป็นต้นมา และขณะนี้น้ำแข็งมีอัตราละลายในแต่ละปีเร็วกว่าเมื่อ 30 ปีก่อนถึงร้อยละ 57 คณะนักวิทยาศาสตร์คำนวณโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมปี 2537-2560 การวัดขนาดสถานที่ และแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์จนพบว่า น้ำแข็งบนโลกละลายเฉลี่ยปีละ 0.8 ล้านล้านตันในช่วงคริสต์ทศวรรษหลังปี 1990 แต่กลับละลายเพิ่มสูงขึ้นเป็นเฉลี่ยปีละ 1.2 ล้านล้านตันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นายโทมัส สเลเตอร์ นักธารน้ำแข็งจากมหาวิทยาลัยลีดส์ของอังกฤษและหนึ่งในผู้เขียนรายงานผลการศึกษาดังกล่าวเผยว่า อัตราการละลายของน้ำแข็งพุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจในเวลาเพียง 30 ปี ผู้คนในพื้นที่ที่ต้องอาศัยธารน้ำแข็งบนภูเขาเพื่อดื่มกินหรือต้องพึ่งพาทะเลน้ำแข็งในฤดูหนาวเพื่อคุ้มกันบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งจากพายุได้รู้ถึงปัญหานี้อย่างชัดเจนมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่ผู้คนที่อยู่ห่างไกลออกไปก็เริ่มที่จะตระหนักถึงปัญหาน้ำแข็งละลายบนโลกเช่นกัน. https://tna.mcot.net/world-624530
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|