เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 28-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในคืนนี้ (28 ม.ค.64) ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลงกับมีลมแรง โดยภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 - 28 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยมีฝนเป็นบางพื้นที่ ใน บริเวณภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศหนาวเย็น สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง จะทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 2 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ประกอบกับในช่วงวันที่ 29 - 30 ม.ค. 64 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 29 ม.ค. ? 2 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 28-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สะพรึง ภูเขาไฟมาราปี อันตรายสุดในอินโดฯ ปะทุครั้งใหม่

ภูเขาไฟมาราปี ปะทุครั้งใหม่ พ่นธารลาวาแดงฉาน เถ้าถ่าน ก๊าซร้อนขึ้นสู่ท้องฟ้า หลังเพิ่งถูกยกระดับเป็นภูเขาไฟที่อันตรายที่สุดในอินโดนีเซียเมื่อปลายปีก่อน



เมื่อ 27 มกราคม 64 เว็บไซต์มิร์เรอร์รายงาน ภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา ในอินโดนีเซียเกิดการปะทุครั้งใหม่ เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ่นเถ้าถ่านและกลุ่มก๊าซร้อนขึ้นสู่ท้องฟ้า หลังจากอินโดนีเซียได้ยกระดับอันตรายของภูเขาไฟมาราปีว่าถือเป็นภูเขาไฟอันตรายที่สุดในประเทศ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 หลังจากตรวจพบว่าภูเขาไฟลูกนี้เริ่มเพิ่มระดับการเคลื่อนไหวภายใต้ภูเขาไฟมากขึ้น

หัวหน้าศูนย์บรรเทาภัยพิบัติภูเขาไฟและแผ่นดินไหวของจังหวัดยอกยาการ์ตา กล่าวว่า การปะทุของภูเขาไฟมาราปีในครั้งนี้ ได้เกิดธารลาวาขนาดใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่มีการยกระดับอันตรายของภูเขาไฟมาราปี ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองยอกยาการ์ตา เมื่อ พ.ย.ที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน ทางการอินโดนีเซียได้แจ้งเตือนประชาชนให้อยู่ห่างจากปล่องภูเขาไฟมาราปีเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีผู้คนในโลกออนไลน์ส่งความห่วงใยมาถึงประชาชนที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟมาราปี ขอให้ปลอดภัยจากการปะทุครั้งใหม่ของภูเขาไฟอันตรายสุดลูกนี้

ตามรายงานของศูนย์เตือนภัยเถ้าถ่านภูเขาไฟ ระบุว่า หากภูเขาไฟมาราปีเกิดการระเบิดขึ้นมานั้น เถ้าถ้านของภูเขาไฟจะพัดไปไกลถึงเมืองดาร์วินของออสเตรเลีย อีกทั้งจะพ่นเถ้าถ่านขึ้นฟ้าสูงถึงประมาณ 40,000 ฟุต หรือ 4 กิโลเมตรเลยทีเดียว


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2021157


*********************************************************************************************************************************************************


บรรพบุรุษปลาดาว อาจไขปริศนาแขนทั้งห้า


Credit : Colleotion of Yale University

เมื่อกว่า 17 ปีก่อน มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในทะเลทรายโมร็อกโก ซึ่งเอกลักษณ์และประวัติการวิวัฒนาการของมันเป็นความลึกลับมานาน แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศสและมหาวิทยาลัยลียง ศึกษาจนสามารถอธิบายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ได้แล้ว

สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อว่า Cantabrigiaster fezouataensis รูปร่างคล้ายปลาดาว ระบุว่ามีอายุเก่าแก่ 480 ล้านปี แต่ถึงจะดูคล้ายปลาดาว ทว่าก็ขาดคุณสมบัติที่เด่นชัดอื่นๆ ที่เห็นได้จากสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายปลาดาว อย่างปลาดาว 2 ชนิด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ปลาดาวทั่วไปและดาวเปราะหรือดาวตะกร้า แต่นักวิจัยก็สรุปว่า Cantabrigiaster fezouataensis คือบรรพบุรุษของปลาดาวทั้ง 2 ชนิด โดยเคยอาศัยอยู่ในมหาทวีปโบราณกอนด์วานาอันเป็นดินแดนขนาดใหญ่ที่มีบางส่วนเป็นของทวีปแอนตาร์กติกาในปัจจุบัน บรรพบุรุษปลาดาวเหล่านี้มีชีวิตอยู่ในต้นยุคออร์โดวิเชียน (ordovician) เมื่อประมาณ 485.4-460 ล้านปีก่อน และยังไม่แน่ชัดว่า Cantabrigiaster fezouataensis กินอะไรเป็นอาหาร

อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์ในช่วงปลายยุคแคมเบรียน (Cambrian) เมื่อ 497-485.4 ล้านปีก่อน เพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างอีไคโนเดอร์ม (echinoderms) ไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ดาวทะเล ดาวเปราะ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมปลาดาวจึงพัฒนาแขนทั้ง 5 ของพวกมันขึ้นมานั่นเอง.




https://www.thairath.co.th/news/foreign/2020428
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 28-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


มติเอกฉันท์ชาวบ้านไม่เอา "สันดอนทราย" ในอ่าวปัตตานี ................. โดย อัลอามีน มะแต และ ดร.อลิสา หะสาเมาะ


บริเวณที่ทิ้งตะกอนทรายจากการขุดลอก ซึ่งเกิดเป็นสันดอนทรายใหม่กลางอ่าวปัตตานีตามเส้นสีแดง

จากการที่คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยการสนับสนุนจาก พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ได้จัดทำโครงการศึกษาเรื่อง ?สำรวจความต้องการสันดอนทราย จากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี? โดยลงพื้นที่สำรวจจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.2563 แล้วประมวลผลเสร็จเมื่อวันที่ 18 ม.ค.2564 นั้น

ผลสรุปที่ได้จากโครงการนี้พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 315 คน ประกอบอาชีพประมง 100% ปรากฏว่าทั้งหมด 100% ไม่ต้องการสันดอนทราย โดยต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบด้วยการนำกองทรายซึ่งเกิดจากวัสดุขุดลอกไปทิ้งนอกอ่าวไทย


"สันดอนทราย" มีที่มาที่ไปอย่างไร

สำหรับโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีเพื่อแก้ปัญหาการตื่นเขินเกิดขึ้นจาก 2 หน่วยงานคือ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และ ศอ.บต.เริ่มศึกษาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปี 2558 ต่อมาได้ชงเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2560 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหมสมัยรัฐบาล คสช.เป็นประธานพิจารณา

ปรากฏว่า ที่ประชุม คปต.มีมติเห็นชอบในหลักการและอนุมัติงบกลางปี 2560 ตามแผนบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่เศรษฐกิจภายในประเทศ ตามที่กรมเจ้าท่าทำเรื่องเสนอเป็นเงิน 664,994,414 บาท โดยมอบหมายให้คณะทำงานชุดที่มี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้แทนพิเศษรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผทพ.) รับไปดำเนินการตามการร้องขอจากชาวบ้านให้แก้ไขปัญหาเรื่องความตื้นเขินของอ่าวปัตตานี


"อ่าวปัตตานี" ตั้งอยู่ที่ไหน

"อ่าวปัตตานี" ตั้งอยู่ตอนเหนือของ จ.ปัตตานี มีพื้นที่ 74 ตร.กม. ปากอ่าวเปิดออกสู่อ่าวไทยทางทิศตะวันตก ด้านเหนือจดแหลมโพธิ์ หรือแหลมตาชี ซึ่งเป็นสันทรายยื่นออกไปในทะเลยาว 16 กม. โดยแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำยะหริ่ง ไหลที่ลงสู่อ่าวปัตตานี ได้พัดพาตะกอนมาทับถมภายในอ่าวทำให้ค่อนข้างตื้นเขิน

มีประชาชนอาศัยอยู่โดยรอบและได้ใช้ประโยชน์จากอ่าวปัตตานีมากกว่า 50,000 คน ประกอบด้วย 8 ตำบลใน 2 อำเภอ คือ ต.แหลมโพธิ์ ต.ตะโละกาโปร์ ต.ยามู ต.บางปู อ.ยะหริ่ง ต.บาราโหม ต.ตันหยงลุโละ ต.บานา ต.รูสะมิแล อ.เมืองปัตตานี ทั้งหมดประกอบอาชีพหลักประมงพื้นบ้าน ทั้งที่ใช้เรือยนต์และไม่ใช้เรือยนต์


"วัสดุจากการขุดลอก" ทิ้งที่ไหน อย่างไร

โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีเริ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียช่วง เม.ย.2560 ถึงกลางปี 2562 ผลการทำประชาคมได้ข้อสรุปว่าวัสดุที่ได้จากการขุดลอกกว่า 11,082,700 ลบ.ม. จะถูกนำไปจัดการ 4 แนวทาง คือ 1) นำออกไปทิ้งในทะเลอ่าวไทยที่ระดับน้ำลึกไม่ต่ำกว่า 15 ม. ห่างจากอ่าวปัตตานีประมาณ 9 กม. 2) นำไปทิ้งบนฝั่ง 3) นำไปทิ้งริมอ่าวปัตตานี และ 4) นำไปเสริมชายหาด

แต่ข้อเท็จจริงที่ได้จากการลงสำรวจภาคสนามพบว่า ผู้รับเหมาและกรมเจ้าท่าไม่ได้นำวัสดุจากการขุดลอกไปทิ้งตามกำหนด โดยรวมมีการนำไปทิ้งทะเลอ่าวไทยเพียงบางส่วน และนำไปทิ้งบนฝั่งเพียงจุดเดียวคือ ส่วนที่ขุดลอกจากร่องน้ำชุมชนบ้านลาโจ๊ะกู นำไปถมนากุ้งร้างของอดีตกำนัน ต.แหลมโพธิ์ สำหรับปริมาณส่วนใหญ่นำไปทิ้งกลางอ่าวปัตตานี และตามแนวบริเวณข้างๆ ร่องน้ำที่ขุดเป็นจุดย่อมๆ ทั้งที่อยู่เหนือผิวน้ำและใต้น้ำ

ปรากฏว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีการทิ้งตะกอนจากการขุดลอกอ่าวปัตตานีจำนวนมากไปทั้งนั้นกลับกลายเป็นแหล่งทำกินของชาวบ้าน รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำด้วย ทำให้บริเวณนั้นเกิดการตื้นเขิน ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดที่สามารถเห็นได้ด้วยสายตาตามภาพประกอบที่ 1


ข้อมูลน่าสนใจที่ได้รับจากพื้นที่

สำหรับผลสรุปที่ได้จากการสำรวจมีดังนี้ ชาวบ้านที่ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 315 ราย ส่วนใหญ่อยู่ใน ต.แหลมโพธิ์ 237 ราย รองลงมา ต.ตันหยงลุโละ 26 ราย ต.บางปู 24 ราย ต.บาราโหม 12 ราย ต.บานา 9 ราย และ ต.ตะโละกาโปร์ 7 ราย เฉลี่ยอายุ 48 ปี ทุกคนล้วนมีอาชีพทำการประมงพื้นบ้าน แบ่งเป็นชาย 263 ราย คิดเป็น 83.49% และหญิง 52 ราย คิดเป็น 16.15% ลักษณะของเรือประมงมีทั้งใช้เรือยนต์และไม่ใช่เรือยนต์ เช่น การทอดแห วางลอบดักปูตามแนวชายฝั่ง งมหาหอยแครงด้วยมือเปล่า ตกเป็ดปลาดุกทะเล ใช้ตะแครงลากหอยด้วยมือ จับกุ้งและปลาด้วยฉมวกแทงปลา และอื่นๆ

สาเหตุที่ ต.แหลมโพธิ์ มีจำนวนมากกว่าที่อื่นๆ เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อรอบอ่าวปัตตานีเป็นแนวยาวตามการทับถมของสันทรายตั้งแต่อดีตที่ยึดออกไปจนถึงสุดปลายแหลมตาชี รวมระยะทางกว่า 16 กม. ประกอบไปด้วย 4 หมู่บ้าน และมีอาชีพทำประมงพื้นบ้านทั้งในอ่าวปัตตานีและทะเลนอกอ่าวไทย นอกจากนี้พื้นที่ตำบลอื่นๆ นับได้ว่าได้ใช้ประโยชน์ในอ่าวปัตตานีมากที่สุด ขณะที่ตำบลอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพได้ง่ายกว่าเพราะอยู่ใกล้กับชุมชนเมือง


100% ไม่ต้องการ "สันดอนทราย"

ปรากฏว่าทั้ง 315 รายที่ตอบแบบสอบถามระบุชัดเจนว่า ไม่ต้องการสันดอนทราย และต้องการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำสันดอนทรายทั้งหมดออกจากไปจากพื้นที่รอบๆ อ่าวปัตตานี ด้วยส่วนเหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับมากไปหาน้อยคือ 1) เนื่องจากทำให้จับสัตว์น้ำได้น้อยลง 2) ขัดขวางเส้นทางเดินเรือ และ 3) ทำให้พื้นที่ทำประมงลดน้อยลง


อีกทั้งยังมีประเด็นอื่นๆ สามารถสรุปข้อคิดเห็นของชาวบ้านได้ดังนี้

(1) รายได้ของครัวเรือนลดลง เนื่องจากจับสัตว์น้ำน้อยลงอย่างมาก และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนบางครอบครัวต้องให้ลูกออกจากเรียนกลางคัน เพราะไม่มีเงินส่งลูกเรียน ในขณะที่บางครอบครัวมีปัญหาครอบครัวตามมา เนื่องจากมีปัญหารายได้

(2) ปัญหาเรือติดกลางสันดอนทรายและทำลายเครื่องมือประมง เช่น อวนขาด เรือพลิกคว่ำ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จับสัตว์น้ำและมีรายได้ลดลง

(3) ระบนิเวศเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้แหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลง เช่น หญ้าทะเล แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์วัยอ่อน และ

(4) กระแสน้ำไม่แรง เนื่องจากมีสันดอนทรายขัดขวางทางน้ำ ทำให้ระยะเวลาการทำประมงสั้นลงจากเดิม ที่ต้องอาศัยกระแสน้ำในการพัดพาอวนให้ลอยตามกระแสน้ำในการจับสัตว์น้ำ


หลากหลายประเด็น มากมายผลกระทบ

นอกจากนี้ ผลกระทบจากการทิ้งวัสดุขุดลอกผิดแบบ ทำให้โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีไม่ได้แก้ไขปัญหาความตื้นเขินของอ่าวปัตตานี ชาวบ้านประสบปัญหาดังนี้

1) ทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลชายฝั่งและแหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านจับสัตว์น้ำทะเลลดลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งสาเหตุมาจากทางโครงการได้ทิ้งตะกอนทราย หรือวัสดุขุดลอกไปทับถมบริเวณที่ทำมาหากินของชาวบ้านเป็นบริเวณกว้าง ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ หญ้าทะเล สาหร่ายผมนาง

2) ระบบนิเวศทางทะเลเปลี่ยนแปลงไป จากผลของการทิ้งตะกอนกลางอ่าวปัตตานี มีการเกิดขึ้นของเกาะแก่ง หรือเนินทรายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านไม่คุ้นชินกับระบบนิเวศใหม่ ชาวประมงพื้นบ้านเล่าว่า ปกติตนเองใช้เวลาในการทำประมง 5-6 ชั่วโมงต่อวัน แต่ตั้งแต่มีการขุดลอกอ่าวปัตตานี ส่งผลกระทบทำให้กระแสน้ำขึ้นน้ำลงเปลี่ยนแปลงไป คือ น้ำขึ้น 3 ชั่วโมง และน้ำลง 3 ชั่วโมง เวลาในการทำประมงน้อยลง เกิดภาวะน้ำเปรี้ยว และนำไปสู่ภาวะน้ำนิ่ง หรือน้ำตาย ส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของสัตว์น้ำและปัญหาแมงกะพรุนไฟกระทบต่อชาวประมงที่ทำอวนลอย

3) การสัญจรทางทะเลมีความลำบากมากขึ้นและมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการทำประมง เพราะการเกิดขึ้นของสันดอนทรายกลางอ่าว ส่งผลให้เส้นทางสัญจรทางน้ำเดิมที่ชาวบ้านใช้สัญจรในการออกทำการประมง บางพื้นที่ไม่สามารถสัญจรได้ในช่วงเวลาน้ำลงต่ำ จากเดิมมีรายได้วันละ 1,000 บาท ปัจจุบันเหลือ 200-300 บาท

4) รายได้ที่ลดลงจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
เศรษฐกิจชุมชนได้รับความเดือดร้อนเป็นห่วงโซ่ บางครอบครัวถึงขั้นไม่สามารถส่งเงินให้ลูกไปเรียน จนต้องออกจากการเรียนหนังสือกลางคัน นอกจากนี้ ประชาชนรอบอ่าวปัตตานีที่รับจ้างแรงงานในร้านอาหารต้มยำกุ้งในประเทศมาเลเซีย ไม่สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากประเทศเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากการปิดประเทศจากสถานการณ์โรคระบาดโควิค-19


https://mgronline.com/south/detail/9640000008433


*********************************************************************************************************************************************************


นาทีเต่ามะเฟืองน้อย ! หาดบางขวัญ ฟักไข่ลงทะเลชุดใหญ่



เมื่อคืนนี้ (26 มกราคม 2564 ) เวลา 00.20 น. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟืองหาดบางขวัญ สำนักงาน ทช.ที่6 (พังงา) และศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน เฝ้าระวังหลุมฟักไข่เต่า หลังตรวจพบการยุบตัวของปากหลุมจากกล้อง CCTV ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2564จนพบลูกเต่ามะเฟืองทยอยขึ้นมารอบริเวณปากหลุมมากขึ้น จึงจับลูกเต่ามะเฟืองใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วนำไปปล่อยลงสู่ทะเลชุดแรก 45 ตัว

จากนั้นขุดช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองในหลุมที่ยังแข็งแรงและนำไปปล่อยเพิ่มได้อีก 33 ตัว รวม 78 ตัว ส่วนที่เหลือนำไปอนุบาลรอปล่อย 7 ตัว ลูกเต่ามะเฟืองตายแรกเกิด 2 ตัว ไข่ที่มีตัวอ่อน (นำใส่ตู้ ICU Box เพื่อกระตุ้นการฟัก) 8 ฟอง ไข่ไม่ได้รับการผสม 6 ฟอง ไข่ลม 35 ฟอง รวมเป็นจำนวนไข่ที่แม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางทั้งสิ้น 136 ฟอง นับเป็นวันที่ 57 หลังจากการพบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่ (ชมคลิป)

ทั้งนี้ สำนักงาน ทช.ที่ 6 (พังงา) ให้ข้อมูล องค์ความรู้ ประชาสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชมในพื้นที่ และมีการจัดเวรเฝ้าระวัง ในช่วงดึกต่อเนื่องเช้ามืดโดยร่วมกับชุมชนเดินเต่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่แม่เต่ามะเฟืองที่อาจจะขึ้นมาวางไข่อีก โดยลำดับต่อไป รังไข่ที่จะฟักต่อไป คาดว่าจะเป็นที่หาดบางสัก เนื่องจากใช้เวลามากกว่า 60 วัน (ระยะเวลาฟักไข่ของเต่ามะเฟือง) ซึ่งตอนนี้เกินเวลาเฉลี่ยที่ใช้ฟักของไข่เต่ามะเฟืองแล้ว


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000008271

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 28-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


ชาวบ้านแห่จับ 'จักจั่นทะเล' ทำเมนูอาหาร-สร้างรายได้



27 ม.ค.64 ที่ชายทะเลหาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งเป็นหาดที่ธรรมชาติมีความสมบูรณ์และสวยงามทอดยาวมากกว่า 20 กิโลเมตร พบว่ามีกลุ่มชาวบ้านจำนวนมากลงไปยืนเรียงหน้าที่ริมทะเลหันหน้าขึ้นชายหาดรอจังหวะคลื่นซัดน้ำทะเลขึ้นมาและม้วนกลับลงไป ก็มีการใช้มือตะครุบขุดคุ้ยลงไปในผืนทรายเหมือนกับหาอะไรบางอย่างเมื่อได้ก็จะโยนขึ้นมาบนฝั่งแล้วจะมีคนเก็บนำใส่ในถัง เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆก็ได้พบว่าเป็นการจับกับสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ?จักจั่นทะเล?มีรูปร่างที่แปลกตาคล้ายๆปูและกุ้ง นับเป็นสัตว์ทะเลเฉพาะถิ่นมีมากในพื้นที่จังหวัดพังงา-ภูเก็ต ช่วงที่คลื่นซัดน้ำทะเลขึ้นมาจักจั่นจะออกจากผืนทรายหากินสาหร่ายและแพลงตอนเมื่อคลื่นม้วนกลับลงมันจะรีบมุดลงไปว่อนตัวในผืนทรายทันที คนที่จับต้องอาศัยความชำนาญจึงจะจับได้มาก ซึ่งช่วงนี้กำลังเป็นฤดูกาลที่จักจั่นทะเลขึ้นมาวางไข่และหากินตามริมชายหาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงมาจับจักจั่นทะเลไปประกอบอาหารทานเองและนำไปจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมกันเป็นจำนวนมาก โดยเมนูเด็ดที่นำไปประกอบอาหารคือเมนูจักจั่นทะเลชุบแป้งทอด ซึ่งจะนำตัวจั๊กจั่นไปล้างด้วยน้ำจืด จากนั้นก็แกะกระดองออกนำไปชุบแป้งลงทอดในน้ำมันร้อนๆแล้วนำมาจิ้มน้ำจิ้มซีฟู้ด เมื่อเข้าปากเคี้ยวแล้วต่างก็บอกว่าหรอยจังฮู้

นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ ชาวอำเภอท้ายเหมือง กล่าวว่า จักจั่นทะเลเป็นสัตว์ทะเลประจำถิ่น พบได้มากในพื้นที่ชายหาดท้ายเหมือง จ.พังงาและหาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปีจะเป็นช่วงที่จักจั่นขึ้นมาริมทะเลเป็นจำนวนมาก จึงมีชาวบ้านในพื้นที่ชักชวนครอบครัวออกมาจับจักจั่นทะเลไปประกอบอาหารกัน บางคนก็ทำเป็นอาชีพ โดยนำไปขายได้ตัวละ 1 บาท ส่วนในร้านอาหารได้ซื้อตัวสดไปทำเป็นเมนูเด็ดประจำร้านกันเกือบทุกร้าน การที่มีตัวจักจั่นขึ้นมามากนั้นบ่งชี้ถึงความอุดสมบูรณ์ทางธรรมชาติของหาดท้ายเหมืองจึงอยากจะวิงวอนให้ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้อย่านำเครื่องมือทุ่นแรงที่จับจักจั่นได้ครั้งละมากมาใช้

สำหรับตัวจักจั่นทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ในวงของปู โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippoidea มีรูปร่างคล้ายจักจั่นที่เป็นแมลงบนบก มีขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ มีกระดองไม่แข็งมากคล้ายปู มีขาทั้งหมด 10 ขา แบ่งเป็น 5 คู่ ขาทั้งหมดไม่ได้ใช้ในการว่ายน้ำเนื่องจากจักจั่นทะเลจะอยู่ในทรายที่มีน้ำขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ขาจึงใช้ในการขุดคุ้ยทรายเพื่อพยุงตัวหรือมุดลงไปซ่อนตัวในทราย หัวมีกรีแต่ไม่แหลมและแข็งเหมือนกุ้ง ไม่มีก้ามหนีบเหมือนปู เป็นสัตว์ที่กินแพลงก์ตอน,สัตว์น้ำขนาดเล็กและพืชน้ำจำพวกสาหร่ายที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร


https://www.naewna.com/likesara/548524

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:52


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger