#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนแล้ว ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นลง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนบางแห่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 10 - 12 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 13 - 15 ก.พ. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางที่ปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังอ่อน ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 10 ? 15 ก.พ. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ศรชล.เดินหน้ารุกฆาตรื้อขนำ-คอกหอยผิดกฎหมาย สุราษฎร์ธานี - ศรชล.เดินหน้ารุกฆาตรื้อขนำ-คอกหอยผิดกฎหมายในทะเลอ่าวบ้านดอน จะต้องหมดก่อน 15 มีนาคมนี้ ก่อนเจอยาแรง วันนี้ (9 ก.พ.) นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง พร้อมด้วย พล.ร.ต.สุรศักดิ์ ประทานวรปัญญา ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนสอบสวนและกฎหมาย ศรชล. ลงพื้นที่กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยและแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณะอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรวจสอบความคืบหน้าแผนการรื้อถอนขนำคอกหอยผิดกฎหมาย ก่อนคืนพื้นที่ให้ทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการดูแลต่อไป ซึ่งในวันนี้มีผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ 5 อำเภอที่ติดชายฝั่งทะเล ที่ประกอบด้วย อ.ไชยา อ.ท่าฉาง อ.พุนพิน อ.เมืองสุราษฎร์ธานี อ.กาญจนดิษฐ์ เข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงจาก ศรชล.ส่วนกลาง ซึ่งทางผู้ประกอบการบางส่วนก็มีการยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม และมีบางส่วนที่ยินยอมรื้อถอนโดยไม่มีข้อแม้ สำหรับความคืบหน้าการรื้อถอนขนำและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่สาธารณะอ่าวบ้านดอน พื้นที่อำเภอเมือง มีทั้งหมด 89 ขนำ รื้อถอนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว 34 ขนำ ส่วนพื้นที่อำเภอพุนพิน มีทั้งหมด 83 ขนำ รื้อถอนเสร็จสิ้นแล้ว 16 ขนำ อ.กาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการรื้อขนำ มีขนำผิดกฎหมายทั้งหมด 434 หลัง ดำเนินการรื้อแล้ว 7 หลัง ขณะที่อำเภอไชยาและอำเภอท่าฉาง อยู่ในระหว่างการดำเนินการสำรวจขนำ พล.ร.ต.สุรศักดิ์ ประทานวรปัญญา ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนสอบสวนและกฎหมาย ศรชล.ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ขอผู้นำชุมชนและผู้ประกอบการให้เข้าใจตรงกันว่าไม่มีโรดแมปอื่นนอกจากโรดแมปทาง ศรชล.ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 อำเภอจะต้องดำเนินการรื้อถอนขนำเฝ้าหอย และคอกหอยที่เป็นสิ่งผิดกฎหมายของกรมเจ้าท่าให้แล้วเสร็จภายใน 15 มีนาคมนี้ หากมีการฝ่าฝืนหรือดื้อแพ่ง ทาง ศรชล.ก็จะใช้กฎหมายที่รุนแรงสูงสุดเข้าดำเนินการเอาผิดให้ถึงที่สุด และมีรายงานว่า ทีมสอบสวนของสำนักงาน ปปง. จะลงพื้นที่อีกครั้งในสัปดาห์หน้าเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานเอาผิดต่อผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนคำสั่งทางปกครองที่ให้รื้อสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางการเดินเรือในท้องทะเล https://mgronline.com/south/detail/9640000013163 ********************************************************************************************************************************************************* นักวิทยาศาสตร์ชี้เป้า ?โลกร้อน? เหตุสำคัญธารน้ำแข็งหิมาลัยถล่ม ผู้คนเดินผ่านเขื่อนที่ถูกทำลายหลังจากธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยแตกและชนเข้ากับเขื่อนที่หมู่บ้าน Raini Chak Lata ในเขต Chamoli รัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดีย (Credit Photo : Reuters) สำนักข่าวอัลจาชีรา (8 ก.พ.2021) รายงานสะท้อนถึงสาเหตุของภัยพิบัติธารน้ำแข็ง Nanda Devi ในเทือกเขาหิมาลัยถล่ม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า แผ่นดินไหวและการสะสมของแรงดันน้ำอาจทำให้ธารน้ำแข็งแตกออก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ประกอบกับปริมาณหิมะที่น้อยลงสามารถเร่งการละลายซึ่งทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายได้ "ธารน้ำแข็งบนภูเขาส่วนใหญ่ทั่วโลกในอดีตมีขนาดใหญ่กว่านี้มาก และได้ละลายและหดตัวลงอย่างมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน" ซาราห์ดาส (Sarah Das) นักวิทยาศาสตร์ร่วมจากสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮลกล่าว "มีการระบุสถานการณ์น้ำท่วมและธารน้ำแข็งที่อาจเป็นอันตรายถึงตายจำนวนหนึ่งทั่วโลกรวมทั้งในเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ แต่สถานที่ห่างไกลของธารน้ำแข็งและการขาดการตรวจสอบ หมายความว่าเราไม่มีความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าเกิดขึ้นบ่อยเพียงใดและเพิ่มขึ้นหรือไม่" ดาส กล่าว "เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบโดยรวมของการร้อนขึ้นการล่าถอยของธารน้ำแข็งและการเพิ่มขึ้นของโครงการโครงสร้างพื้นฐานดูเหมือนว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะตั้งสมมติฐานว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้นและจะกลายเป็นการทำลายล้างโดยรวมมากขึ้นหากไม่มีการใช้มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้" ดาส กล่าว " มีธารน้ำแข็งและทะเลสาบที่ถูกทำลายด้วยธารน้ำแข็งจำนวนมากทั่วเทือกเขาหิมาลัย แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจสอบ" ดาส กล่าวอีกว่า "ทะเลสาบเหล่านี้หลายแห่งอยู่ต้นน้ำของหุบเขาแม่น้ำที่สูงชันและมีโอกาสเกิดน้ำท่วมรุนแรงเมื่อเกิดการแตก เมื่อน้ำท่วมเหล่านี้ไปถึงพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐานที่ละเอียดอ่อนสิ่งต่างๆจะเป็นหายนะ" ก่อนหน้าเกิดภัยพิบัติธารน้ำแข็งหิมาลัยถล่มราวสองสัปดาห์ มีงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ The Cryosphere โดย Thomas Slater และคณะเมื่อวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.2021 ว่าน้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลาย ในอัตราเร็วซึ่งน่ากังวลที่สุดเท่าที่ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) เคยคำนวณไว้ งานวิจัยสรุปความได้ว่า โลกได้สูญเสียน้ำแข็งไปกว่า 28 พันล้านตันในช่วงปี 1994-2017 ซึ่งเท่ากับปริมาตรน้ำแข็งสูง 100 เมตร บนพื้นที่ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ 2/3 ของน้ำแข็งที่ละลายเกิดจากความร้อนของชั้นบรรยากาศ ส่วนอีก 1/3 จากมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น 65% โดยปี 1990 อยู่ที่ปีละ 800 ล้านตัน ปี 2017 เพิ่มขึ้นถึง 1200 ล้านตันต่อปี ครึ่งหนึ่งของน้ำแข็งที่ละลายมาจากแผ่นดินไหลลงสู่ทะเล ทำให้ตั้งแต่ปี 1994-2017 น้ำทะเลสูงขึ้น 35 มิลลิเมตร ยิ่งน้ำแข็งปริมาณมากที่ขั้วโลกที่ละลายไป ยิ่งทำให้สมดุลเสียและน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น เดิมน้ำแข็งสีขาวช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป เมื่อพื้นที่สีขาวลดลง บริเวณพื้นที่สีเข้มเช่นน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ยิ่งดูดซับความร้อนมากขึ้นและเร่งการละลายยิ่งขึ้น ธารน้ำแข็งกว่า 6 พันล้านตัน หรือคิดเป็น 1/4 ของธารน้ำแข็งทั่วโลกหายไปในช่วง 1994-2017 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและการขาดแคลนแหล่งน้ำจืดในหลายพื้นที่ "ขณะนี้น้ำแข็งกำลังละลายในอัตราเร็วที่แย่ที่สุด ที่องค์กร Intergovernmental Panel on Climate Change ได้เคยทำนายไว้ น้ำทะเลที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบเลวร้ายต่อชุมชนชายฝั่งอย่างมากในศตวรรษนี้" "ทุกๆ หนึ่งเซนติเมตรที่น้ำทะเลสูงขึ้น จะมีประชากรหนึ่งล้านคนได้รับผลกระทบ จนต้องย้ายที่อยู่" https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000012778
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ล็อบสเตอร์สีเหลือง หายาก 1 ใน 30 ล้านตัว ได้ชื่อ บานานา ล็อบสเตอร์สีเหลือง ? เดลีเมล์ รายงานว่า ชาวประมงรัฐเมนของสหรัฐอเมริกา พบกุ้งล็อบสเตอร์สีเหลือง สุดหายาก 1 ใน 30 ล้านตัว มาร์ลีย์ บาบบ์ นักจับกุ้งล็อบสเตอร์แห่งอ่าวเทแนนท์ จับกุ้งสีแปลกได้และส่งมอบให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ เมืองบิดฟอร์ต รัฐเมน กุ้งล็อบสเตอร์สีเหลืองอร่ามมีนามว่า "บานานา" หรือ กล้วย ตามสีสดใสที่เกิดจากยีนผ่าเหล่าในโปรตีนที่เชื่อมโยงกับเม็ดสีที่เปลือก ล็อบสเตอร์ชนิดนี้มีชื่อเรียกทางการว่า "คริสตัล ล็อบสเตอร์" เกิดจากความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีทำให้เป็นสีขาว สีซีดหรือสีกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งตัว ด้านให้ศูนยวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้งบประมาณ 860,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 25,800,000 บาท แก่แผนกวิจัยทางทะเลและองค์กรอื่นๆ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นในอ่าวเมนที่มีต่อตัวอ่อนล็อบสเตอร์และความสำเร็จในการเติบโตจนถึงขั้นโตเต็มวัย ก่อนหน้านี้ เคยมีการศึกษาใหม่ 2 ชิ้น เมื่อปี 2562 ที่พบว่าน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้นและความแตกต่างด้านสมุทรศาสตร์ในท้องถิ่นต่างๆ มีผลต่อประชากรล็อบสเตอร์ทางตอนใต้ของนิวอิงแลนด์ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติกในแคนาดา ส่วน "บานานา" มีสีเหลืองสดใสทำให้ตกเป็นเป้าโจมตีของนักล่าได้ง่ายและมีโอกาสรอดน้อย เจ้าหน้าที่ศูนยวิทยาศาสตร์ทางทะเลช่วยกันดูแลล็อบสเตอร์ตัวนี้และไม่มีแผนที่จะคืนสู่ท้องทะเล มหาวิทยาลัยเมนเปิดเผยผลการศึกษา 2 ชิ้นเมื่อปี 2562 พบว่ามหาสมุทรอุ่นมีผลต่อการเพิ่มและลดจำนวนประชากรล็อบสเตอร์ งานวิจัยชิ้นแรก พบว่าตัวอ่อนล็อบสเตอร์ลดลงในอีก 10 ปีข้างหน้าและน่าเป็นห่วงว่าอ่าวเมนอาจจะฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้เหมือนเดิมได้ยาก ส่วนงานวิจัยชิ้นที่ 2 ศึกษาน้ำขึ้นน้ำลงกับพฤติกรรมของตัวอ่อนเพื่อดูผลกระทบด้านบวกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศเพราะเมื่อน้ำทางตอนใต้ของอ่าวเมนอุ่นขึ้นก็ทำให้เพิ่มพื้นที่สำหรับให้ตัวอ่อนล็อบสเตอร์เติบโต น้ำที่อุ่นขึ้นช่วยให้ตัวอ่อนอยู่บนผิวน้ำได้นาน แต่น้ำที่เย็นอาจทำให้ตัวอ่อนส่วนใหญ่ตาย ส่วนน้ำที่ลึกกว่า กระแสน้ำไม่นิ่ง น้ำทะเลจึงไม่ได้เป็นชั้นของผืนน้ำที่มีอุณหภูมิต่างกันและใต้ท้องทะเลเป็นสถานที่เหมาะสำหรับตัวอ่อนล็อบสเตอร์ที่จะเติบโตต่อไปจนต้องขยายพื้นที่ใต้ทะเลสำหรับเป็นที่อาศัยของตัวอ่อนเหล่านี้และช่วยเพิ่มจำนวนล็อบสเตอร์ที่แข็งแรงให้อยู่รอดในภูมิภาคนี้มากกว่าเมื่อสิบปีก่อนและชดเชยกับจำนวนกุ้งที่อาจจะลดลงในอนาคตได้ https://www.khaosod.co.th/update-news/news_5919546
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
โลมาหลากหลายสายพันธุ์ ว่ายน้ำเล่นบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของท้องทะเลไทยและทรัพยากรธรรมชาติ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่สำรวจประเมินสถานภาพสัตว์ทะเลหายาก พบการแพร่กระจายของโลมาบริเวณอ่าวตะเสะและเกาะใกล้เคียงในท้องทะเล จ.ตรัง และสตูล โดยพบโลมา 2 ชนิด คือ โลมาหลังโหนก 5 ครั้ง บริเวณหน้าเกาะสุกร 2 ตัว , บริเวณคลองหวายดน 3 ตัว , บริเวณหน้าหาดสำราญ 2 ตัว และ จ.สตูล พบบริเวณหลังเกาะเภตรา 3 ตัว , บริเวณหาดราไว 5 ตัว รวมทั้ง ยังพบโลมาอิรวดี 1 ครั้ง บริเวณหน้าเกาะสุกร จ.ตรัง 4 ตัว สำหรับโลมาหลังโหนกที่สำรวจพบจะมีการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อระบุตัวตนและนำไปคำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของโลมาหลังโหนกบริเวณอ่าวตะเสะด้วย https://thainews.prd.go.th/th/news/d...10209163144954
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|